โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

งานวิจัยนวัตกรรมก่อสร้างตั้งรับ “เมกะซิตี้”

เดลินิวส์

อัพเดต 15 กรกฎาคม 2568 เวลา 2.13 น. • เผยแพร่ 3 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เดลินิวส์
กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นมหานครขนาดใหญ่ หรือ เมกะซิตี้ นอกจากนี้เมืองเศรษฐกิจสำคัญอย่างเชียงใหม่ เมืองอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ทางภาคตะวันออกมีแนวโน้มที่จะพัฒนาเมืองไปสู่การเป็นเมกะซิตี้ในอนาคต การก่อสร้างหรือพัฒนาเมกะซิตี้เหล่านี้จำเป็นต้องออกแบบและใช้วัสดุอาคารที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพื่อลดคาร์บอน

มหานคร (Megacity) คือเมืองขนาดใหญ่ที่มีประชากรหนาแน่นตั้งแต่ 10 ล้านคนขึ้นไป การเติบโตของเมืองในระดับนี้มักนำมาซึ่งปัญหาที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากไม่มีการบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐานที่ดีพอ โดยเฉพาะปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม และความท้าทายในการรับมือกับภัยพิบัติต่างๆ การพัฒนาทักษะ องค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมชั้นแนวหน้าจะช่วยตอบโจทย์ปัญหาเหล่านี้ให้เกิดความยั่งยืนได้

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ได้รับทุนสนับสนุนกลุ่มวิจัยศักยภาพสูง ประจำปี 2568จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ดำเนินโครงการวิจัยเทคโนโลยีและนวัตกรรมชั้นแนวหน้าในอุตสาหกรรมก่อสร้างเพื่อรองรับการพัฒนาเมกะซิตี้แห่งอนาคต จำนวน 15 ล้านบาท และงบประมาณสนับสนุนจาก ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มจธ. จำนวน 3 ล้านบาท รวมงบประมาณทั้งสิ้น 18 ล้านบาท มีระยะเวลาการดำเนินงานวิจัย 3 ปี โดยมีเป้าหมายหลักที่จะมุ่งพัฒนากำลังคนทักษะสูงที่มีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีวัสดุและเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ เพื่อการก่อสร้างและบริหารจัดการเมกะซิตี้ และสร้างองค์ความรู้ใหม่ 4 ด้าน ได้แก่
1.เทคโนโลยีวัสดุใหม่และการก่อสร้างแห่งอนาคต โดยมุ่งพัฒนา Green Technology สำหรับงานก่อสร้างเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ลดปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ มีความยั่งยืน และทนทาน รวมถึงการวิจัยวัสดุสำหรับการพิมพ์ 3 มิติ (3D Printing)
2.เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI)

3.เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการก่อสร้างและบริหารจัดการ เน้นการประยุกต์ใช้ AI ในการบริหารจัดการน้ำ การบำบัดน้ำเสีย และปัญหาขยะ
4.เทคโนโลยีเพื่อรองรับภัยพิบัติต่างๆ ทั้งภัยจากธรรมชาติ (เช่น น้ำท่วม แผ่นดินไหว) และภัยจากความมั่นคง (เช่น การก่อการร้าย) เน้นการประยุกต์ใช้กลศาสตร์การคำนวณขั้นสูงและเทคโนโลยีการตรวจสมัยใหม่ รวมถึงการเก็บข้อมูลอัจฉริยะ (Smart Data) สำหรับการบริหารจัดการเมืองใหญ่และพัฒนาระบบเตือนภัยสำหรับโบราณสถาน และ
5.เทคโนโลยีการสัญจรอัจฉริยะ (Smart Mobility) เน้นการขนส่งที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น ระบบราง การขนส่งทางเรือ และการจัดการขนส่งในเมืองใหญ่ รวมถึงการจัดทำข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงมาตรฐานในด้านความปลอดภัยสำหรับสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน
ศาสตราจารย์

ดร.ชัย จาตุรพิทักษ์กุล อาจารย์จากภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) และหัวหน้าโครงการวิจัยเทคโนโลยีและนวัตกรรมชั้นแนวหน้าในอุตสาหกรรมก่อสร้างเพื่อรองรับการพัฒนาเมกะซิตี้แห่งอนาคต กล่าวว่า ประเทศไทยมีกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นมหานครขนาดใหญ่ หรือ เมกะซิตี้ นอกจากนี้เมืองเศรษฐกิจสำคัญอย่างเชียงใหม่ เมืองอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ทางภาคตะวันออกมีแนวโน้มที่จะพัฒนาเมืองไปสู่การเป็นเมกะซิตี้ในอนาคต ซึ่งในการบริหารการก่อสร้างหรือพัฒนาเมกะซิตี้เหล่านี้จำเป็นต้องครอบคลุมการออกแบบและใช้วัสดุอาคารที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพื่อลดคาร์บอน การพัฒนาระบบ Smart Mobility ที่มีทั้งการจราจรอัจฉริยะและการขนส่งที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงการปรับปรุงข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงสู่การเป็นเมืองขนาดใหญ่

รองศาสตราจารย์ ดร.ชัยณรงค์ อธิสกุล ผู้อำนวยการโครงการเทคโนโลยีวิศวกรรมโยธา และรองหัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมโยธา มจธ. และ รองศาสตราจารย์ ดร. วีรชาติ ตั้งจิรภัทร หัวหน้าห้องปฏิบัติการคอนกรีต ภาควิชาวิศวกรรมโยธา ได้ร่วมกันกล่าวถึงบทบาทของวิศวกรรมโยธาในการพัฒนาเมกะซิตี้ว่ารากศัพท์ของโยธามาจาก Civil Engineering หมายถึง วิศวกรรมพลเรือนที่เป็นงานที่เกี่ยวข้องกับคนและเมือง ดังนั้นวิศวกรรมโยธามีบทบาทสำคัญในการพัฒนาเมกะซิตี้ โครงการนี้จึงมุ่งสร้างบุคลากรรุ่นใหม่ด้านวิศวกรรมชั้นสูงและวิจัยนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง เพื่อรับมือกับปัญหาเมืองที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา โดยเฉพาะการปลูกฝังกระบวนการคิดตั้งแต่โจทย์วิจัยไปจนถึงการบริหารจัดการ เพื่อให้มีคนทำงานวิจัยที่ตอบโจทย์ แม้มีเงินทุนหรือโจทย์ก็ไร้ประโยชน์หากไม่มีบุคลากร การสร้างคนจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยยกระดับอุตสาหกรรมก่อสร้างไทยให้แข่งขันได้ในระดับโลก และงานวิจัยกลุ่มนี้น่าจะตอบสนองนโยบายระยะยาวของประเทศ

ศาสตราจารย์ ดร.ชัย กล่าวเสริมว่า ในประเทศไทยมีบุคลากรที่จบวิศวกรรมโยธาอยู่จำนวนมาก ส่วนใหญ่จะทำงานในภาคสนามหรืองานก่อสร้างเป็นหลัก แต่คนที่ทำงานด้านวิจัยชั้นสูง (Advanced research) เพื่อสร้างมาตรฐานและกำหนดทิศทาง รวมถึงแก้ปัญหาที่ซับซ้อนทางวิชาการและวิชาชีพยังมีไม่มาก ดังนั้นไทยจึงจำเป็นต้องทำงานและพัฒนาวิศวกรรมชั้นสูงเพิ่มมากขึ้น เพราะงานวิจัยชั้นสูงเป็นงานวิจัยที่ใช้ระเบียบวิธีวิจัยที่ซับซ้อน ลึกซึ้ง และครอบคลุมมากกว่างานวิจัยทั่วไปที่ผู้จบการศึกษาในระดับปริญญาตรีจะทำได้

ผลผลิตที่ได้จากโครงการนี้ จะเป็นรากฐานสำคัญสำหรับการพัฒนาเมกะซิตี้แห่งอนาคตของประเทศไทยในทุกมิติ ทั้งด้านกำลังคนทักษะสูง ด้านนวัตกรรมวัสดุสมัยใหม่ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ด้านการบริหารจัดการเมือง การประเมินความเสี่ยงและเตรียมพร้อมรับมือกับเหตุภัยพิบัติต่างๆ ซึ่งนำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจและนโยบายเพื่อการสร้างเมืองแห่งอนาคตที่ยั่งยืน เป็นไปตามนโยบายและยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2566-2570 ยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนากำลังคนและสถาบันด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมให้เป็นฐานการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศแบบก้าวกระโดดและอย่างยั่งยืน” ศาสตราจารย์ ดร.ชัย กล่าว

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก เดลินิวส์

แซ่บละลายใจ “เบเบ้-ธันย์ชนก” อวดหุ่นสุดเฟิร์ม ซิกแพ็กเป็นมัดๆแถมเซ็กซี่ขยี้เล่นผ่านบิกินี่ตัวจิ๋วอีก

30 นาทีที่แล้ว

‘โฆษกพรรคกล้าธรรม’ ยันงบเกษตรฯ ปี 69 ไม่ดักดาน – โปร่งใส- ตรวจสอบได้

31 นาทีที่แล้ว

คุก119ปี! ‘บิ๊กหวาน’ เตือน คนไทยอย่าขายชาติ ร่วมแก๊งคอลฯ ลั่นรับโทษหนัก

31 นาทีที่แล้ว

เซ็นจ้างแล้ว 135 ล้าน ทบทวนศึกษา “สายสีแดง” วงเวียนใหญ่-มหาชัย จบปีหน้า

49 นาทีที่แล้ว

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความธุรกิจ-เศรษฐกิจอื่น ๆ

'แพทองธาร' รมว.วัฒนธรรม หารือ ภาคเอกชน-เลขาธิการ BOI เดินหน้าอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ไทยต่อเนื่อง

VoiceTV

เซ็นจ้างแล้ว 135 ล้าน ทบทวนศึกษา “สายสีแดง” วงเวียนใหญ่-มหาชัย จบปีหน้า

เดลินิวส์

ททท.ปรับสมดุลโครงสร้างตลาดท่องเที่ยวปี 69 เจาะกลุ่มคุณภาพคาดสร้างรายได้โตเพิ่ม 7%

สยามรัฐ

GULF ซื้อหุ้น AISBB เพิ่มดันถือ 50% จ่อเปลี่ยนชื่อใหม่ ปักหมุดผู้นำคลาวด์-ดิจิทัลครบวงจร

PostToday

'กลุ่มดุสิตธานี'เปิดตัวแบรนด์ใหม่'ดุสิต โฮเทล' รุกตลาดอัปเปอร์อัปสเกลคาดภายใน 2 ปีเซ็นสัญญาเพิ่มอีก 8 แห่ง

สยามรัฐ

เจาะสงครามกินด่วน! ตี๋น้อยฮิต ลูกค้าวันละ 1.2 แสนคน MK เทหมดหน้าตัก ส่ง 'โบนัสสุกี้' ท้าสู้

MATICHON ONLINE

เงินบาทไทยพุ่ง แข็งค่าจัดใน 28 ปี ย้อนวิกฤตต้มยำกุ้ง | คุยกับบัญชา | 11 ก.ค. 68

BTimes

YLG เผยครึ่งปีแรก 68 ทองคำพุ่ง 25%

Wealth Me Up

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...