เปิดรายชื่อ รพ.จังหวัดปิดบริการ!!
ข้อมูลเหตุสู้รบไทย - กัมพูชา เปิดรายชื่อ รพ.รายจังหวัดปิดบริการ - เปิดเฉพาะแผนกฉุกเฉิน
ผู้สื่อข่าวโตโจ้นิวส์รายงานว่า น.ส.ตรีชฎา ศรีธาดา โฆษกกระทรวงสาธารณสุขฝ่ายการเมืองเปิดเผยว่า นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธาณสุข มีความเป็นห่วงประชาชนในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบเป็นอย่างมาก และได้ลงพื้นที่ติดตามดูแลประชาชนที่ได้รับผลกระทบในจังหวัดศรีสะเกษ ทั้งที่โรงพยาบาลและศูนย์พักพิงเพื่อดูแลช่วยเหลืออย่างใกล้ชิด ขณะเดียวกันรายงานข้อมูลผู้ได้รับผลกระทบจากการสู้รบชายแดนไทย - กัมพูชาในส่วนของสถานบริการ ณ วันที่ 26 กรกฎาคม 2568 ดังนี้
พื้นที่เขตสุขภาพที่ 10 จำนวน รพ.ที่ได้รับผลกระทบ ได้แก่ อุบลราชธานี 3 แห่ง, รพ.นาจะหลวยปิดบางส่วน 1 แห่ง(เปิดเฉพาะฉุกเฉิน, ปิดให้บริการ 2 แห่ง ได้แก่ รพ.น้ำขุ่น และรพ.น้ำยืน ศรีสะเกษ รพ.ที่ได้รับผลกระทบ 2 แห่ง, ปิดให้บริการ 2 แห่ง ได้แก่ รพ.กันทรลักษณ์และ รพ.ภูสิงห์
พื้นที่เขตสุขภาพที่ 9 จำนวน รพ.ที่ได้รับผลกระทบ ได้แก่ สุรินทร์ 5 แห่ง, ปิดบริการบางส่วน 3 แห่งแต่เปิดเฉพาะฉุกเฉิน ได้แก่ รพ.บัวเชด รพ.สังขะ และรพ.ปราสาท, ปิดให้บริการ 2 แห่ง ได้แก่ รพ.กาบเชิง และรพ.พนมดงรัก บุรีรัมย์ รพ.ที่ได้รับผลกระทบ 2 แห่ง, ปิดบริการบางส่วน 1 แห่ง ได้แก่ รพ.ประโคนชัยเปิดเฉพาะฉุกเฉิน, ปิดให้บริการ 1 แห่ง ได้แก่ รพ.บ้านกรวด
พื้นที่เขตสุขภาพที่ 6 จำนวน รพ.ที่ได้รับผลกระทบ ตราด 2 แห่ง, ปิดบริการบางส่วน 2 แห่ง ได้แก่ รพ.คลองใหญ่ เปิดเฉพาะฉุกเฉิน รพ.บ่อไร่ เปิดเฉพาะฉุกเฉิน สำหรับจังหวัดสระแก้วโรงพยาบาล 3 แห่ง ปิดบริการบางส่วน ได้แก่ รพ.ตาพระยา เปิดเฉพาะฉุกเฉิน รพ.โคกสูง เปิดเฉพาะฉุกเฉิน รพ.คลองหาด เปิดเฉพาะฉุกเฉิน โดยรพ.ที่เปิดฉุกเฉินจะมีสถานที่ แพทย์ ผู้ชำนาญการพร้อมรับมือผู้ป่วยทุกสถานการณ์
น.ส.ตรีชฎากล่าวถึงข้อมูลการอพยพผู้ป่วยในและพลเรือน แบ่งเป็นรายจังหวัดตามรพ.ต่างๆที่รับดูแล ดังนี้ อุบลราชธานี อพยพผู้ป่วยใน จำนวน 22 ราย จำนวนอพยพพลเรือน 13,927 ราย, ศรีสะเกษ อพยพผู้ป่วยใน 204 ราย จำนวนอพยพพลเรือน 24,214 ราย จ.สุรินทร์ อพยพผู้ป่วยใน 209 ราย อพยพพลเรือน 37,676 ราย จ. บุรีรัมย์ อพยพผู้ป่วยใน 56 ราย อพยพพลเรือน 26,205 ราย จ.ตราด อพยพผู้ป่วยใน 15 ราย อพยพลเรือน 5,318 ราย จ.สระแก้ว อพยพผู้ป่วยใน 52 ราย เป็นผู้ป่วยสุขภาพจิต อพยพพลเรือน 4,076 ราย
สรุปแล้ว ผู้ป่วยในที่้มีการอพยพ จำนวน 583 ราย, รพ.ที่รับดูแล 28 รพ. พลเรือนที่อพยพ จำนวน 111,416 ราย
สำหรับข้อมูลศูนย์พักพิงชั่วคราว ที่ได้รับรายงานล่าวุด มีดังนี้ ศรีสะเกษ จำนวนศูนย์พักพิงมากที่สุด คือ 159 จุด รองรับผู้อพยพยพจำนวน 93,184 คน จำนวนผู้อพยพภายในศูนย์ฯปัจจุบัน 24,214 คน รองลงมา คืออุบลราชธานี จำนวนศูนย์พักพิง 69 จุด จำนวนรองรับผู้อพยพ 70,886 คน จำนวนผู้อพยพภายในศูนย์ฯปัจจุบัน 13,927 คน นอกจาก สุรินทร์ ตราด สระแก้วและตราด จำนวนศูนยพักพิง และจำนวนผู้อพยพภายในศูนย์ฯปัจจุบันลดหลั่นกันลงมา สรุปแล้ว ใน 3 เขตสุข มีผู้อพยพพายในศูนย์ฯปัจจุบัน 93,006 คน ขณะที่สามารถรองรับผู้อพยพได้มากถึง 353,920 คน
อย่างไรก็ตามกลุ่มเปราะบางในศูนย์พักพิงชั่วคราว มี ผู้พิการ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียง หญิงตั้งครรภ์ เด็กเล็ก 0 - 5 ปี ผู้ป่วยฟอกไต ผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรัง ในเขตสุขภาพที่ 10, 9, 6 รวม 3 เขต ได้แก่อุบลราชธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ ตราด มีผู้เข้าอยู่ศูนย์พักพิงชั่วคราวทั้งสิ้่น 10,586 คน
สสจ.ตราด สั่งย้ายด่วนผู้ป่วยจังหวัดจาก รพ.คลองใหญ่ - บ่อไร่ไปอยู่ที่ปลอดภัย เผย 3 อำเภอจังหวัดตราเสี่ยงภัยสู้รบแม้อยู่ห่างชายแดน 14 - 34 กม.
ขณะที่สถานการณ์เบื้องต้นของจังหวัดตราดอันเนื่องการสู้รบตามแนวชายแดนไทย - กัมพูชา ดังนี้
อำเภอคลองใหญ่ อำเภอบ่อไร่ และอำเภอเมืองเป็นอำเภอเสี่ยงที่ใกล้ชายแดนห่างจากกัมพูชา14กม., 24กม. และ34กม.ตามลำดับ พื้นที่ดังกล่าวมีโอกาสเกิดการปะทะได้ สสจ.ตราดจึงสั่งการให้ย้ายผู้ป่วยในจากรพ.คลองใหญ่และรพ.บ่อไร่ไปรพ.ที่ปลอดภัยตั้งแต่ตอนบ่ายวันที่ 25 กรกฎาคม จากนั้น
เวลา 17.00น. สสจ.จัดประชุมร่วมกับจังหวัด ความมั่นคง กองทัพ จึงดำเนินการอพยพผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียงและประชาชนออกจากพื้นที่เสี่ยงตั้งแต่เมื่อคืนวันที่ 25 กรกฎาคม
นอกจากนี้ ยังได้รับรายงานว่า การปะทะเกิดที่ตำบลชำราก อำเภอเมือง จังหวัดตราดเมื่อเช้าวันที่ 26 กรกฎาคม 2 ครั้ง เวลา 05.20 น.และเวลา 07.00 น.จนถึงเช้ายังไม่มีการปะทะอีก ไม่มีผู้บาดเจ็บหรือเสียชีวิต ทางด้านรพ.หลัก คือรพ.ตราดมีความพร้อมที่รองรับผู้ป่วย ขณะเดียวกัน การตั้งศูนย์พักพิงทาง สสจ.ตราดพร้อมจะเข้าไปช่วยเหลือดูแลพี่น้องประชาชนได้ทันทีหากจำเป็น” นางสาวตรีชฎา กล่าว
#เพื่อไม่พลาดข่าวสารดีๆ อย่าลืมกดติดตามพวกเรา TOJO NEWS