โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที

ค้นพบ "3I/ATLAS" วัตถุจากนอกระบบสุริยะ ผู้มาเยือนดวงที่ 3 ในประวัติศาสตร์

TNN ช่อง16

เผยแพร่ 6 ชั่วโมงที่ผ่านมา
ค้นพบ

วันที่ 1 กรกฎาคมที่ผ่านมา นักดาราศาสตร์ตรวจพบวัตถุท้องฟ้าลึกลับที่ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของระบบสุริยะของเรา นั่นคือ “ดาวหางระหว่างดวงดาว” ซึ่งได้รับการตั้งชื่ออย่างเป็นทางการว่า 3I/ATLAS โดยกล้องโทรทรรศน์สำรวจ ATLAS ที่ตั้งอยู่ในเมืองริโอฮูร์ตาโด ประเทศชิลี ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจากองค์การนาซา (NASA)
ดาวหางจากนอกระบบสุริยะคืออะไร?
ดาวหางส่วนใหญ่ที่เราพบ มักเป็นวัตถุที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ เช่นเดียวกับดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ แต่ 3I/ATLAS เป็นดาวหาง “ระหว่างดวงดาว” (Interstellar comet) หรือ วัตถุจากนอกระบบสุริยะที่มันไม่ได้กำเนิดในระบบสุริยะของเรา แต่อาจมาจากระบบดาวฤกษ์อื่น หรือลึกเข้าไปในกาแล็กซี ก่อนจะหลุดเข้าสู่ระบบสุริยะด้วยความเร็วสูง
นี่เป็นเพียงครั้งที่ 3 ในประวัติศาสตร์ ที่มีการค้นพบวัตถุระหว่างดวงดาวเข้าสู่ระบบสุริยะ ต่อจาก 'Oumuamua ในปี 2017 และ 2I/Borisov ในปี 2019

เส้นทางและความปลอดภัยของโลก
ดาวหาง 3I/ATLAS ถูกพบขณะเคลื่อนที่มาจากทิศทางของกลุ่มดาวคนยิงธนู (Sagittarius) และในขณะนี้อยู่ห่างจากโลกประมาณ 670 ล้านกิโลเมตร หรือราว ๆ 4.5 หน่วยดาราศาสตร์ (AU) โดย 1 AU เท่ากับระยะห่างระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์
จุดเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด (Perihelion) คาดว่าเป็นวันที่ 30 ตุลาคม 2025 โดยมีระยะห่างจากดวงอาทิตย์ขณะเข้าใกล้ที่สุดประมาณ 1.4 AU หรือราว 210 ล้านกิโลเมตร และมันจะเข้าใกล้โลกมากที่สุดไม่เกิน 1.6 AU (ระยะปลอดภัย)

นักดาราศาสตร์จับตาดูใกล้ชิด
นับตั้งแต่การค้นพบ กล้องโทรทรรศน์อีกหลายแห่งทั่วโลก เช่น Zwicky Transient Facility ที่หอดูดาว Palomar ในแคลิฟอร์เนีย ได้เข้าร่วมสังเกตการณ์วัตถุนี้อย่างละเอียด รวมถึงการย้อนดูข้อมูลภาพเก่า (Pre-discovery data) เพื่อวิเคราะห์พฤติกรรมการเคลื่อนที่ย้อนหลังไปถึงกลางเดือนมิถุนายน
นักวิทยาศาสตร์คาดว่าดาวหาง 3I/ATLAS จะสามารถสังเกตได้จากกล้องโทรทรรศน์ภาคพื้นดินจนถึงช่วงเดือนกันยายน ก่อนที่มันจะเข้าใกล้ดวงอาทิตย์จนสว่างจ้าเกินกว่าจะมองเห็นได้ หลังจากนั้นในช่วงต้นเดือนธันวาคม เมื่อดาวหางโคจรพ้นจากดวงอาทิตย์แล้ว อาจสามารถสังเกตการณ์ได้อีกครั้ง
การศึกษาดาวหางระหว่างดวงดาวอย่าง 3I/ATLAS เป็นโอกาสอันหายากในการเข้าใจวัตถุที่มาจากนอกระบบสุริยะ ซึ่งอาจมีองค์ประกอบเคมีแตกต่างจากวัตถุที่เราคุ้นเคย และอาจเปิดเผยเบาะแสเกี่ยวกับต้นกำเนิดของระบบดาวอื่น ๆ ในจักรวาล
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากสามารถวิเคราะห์ไอระเหยหรือฝุ่นจากดาวหางได้ นักวิทยาศาสตร์อาจพบร่องรอยของโมเลกุลอินทรีย์ หรือข้อมูลที่ชี้ไปถึงกระบวนการก่อกำเนิดดาวเคราะห์ในระบบอื่น ๆ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก TNN ช่อง16

ปภ. ทดสอบระบบเตือนภัยผ่าน Cell Broadcast เดินหน้าพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพ

41 นาทีที่แล้ว

นิหน่า สุฐิตา ร่วมอาลัย ดิโอโก้ โชต้า เสียชีวิต โพสต์ภาพลูกชายเคยจูงมือลงสนาม

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

เตือนอย่าหลงเชื่อข่าวลือ 2 จังหวัดภาคใต้จะเกิดสึนามิ วันที่ 5 ก.ค. 68

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

ยูเครนโจมตีภูมิภาคเคิร์สก์ สังหารรองผบ.ทัพเรือรัสเซีย

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความไอทีอื่น ๆ

ประหยัดงบ วิศวกรซ่อมสะพานเก่า ด้วยเหล็กจาก 3D Print

Techhub

ยุคใหม่ของการเกษตร ฟาร์มอังกฤษทุ่ม 3.7 ล้านบาท ซื้อโดรน DJI ปลูกผัก ลดต้นทุน ช่วยพนักงาน

BT Beartai

บอกลาจอฟ้า Windows ปรับครั้งใหญ่ ขึ้นจอดำ บอกความผิดปกติ

Techhub

Haier เปิดตัวเครื่องซักผ้า AI อัจฉริยะ 3 รุ่นใหม่ นวัตกรรมเพื่อไลฟ์สไตล์ไฮเอนด์

BT Beartai

รีวิว vivo X200 FE สมาร์ตโฟนไซส์กะทัดรัด ประสิทธิภาพระดับโปร

Siamphone

“LINE GIFT” เปลี่ยนบทสนทนาให้มีความหมาย สร้างเทรนด์ใหม่ให้ของขวัญผ่านแชท

เดลินิวส์

อดีตผู้จัดการ SpaceX ฟ้องร้องอ้างถูกคุกคาม และละเมิดความปลอดภัย

TNN ช่อง16

สัมผัสแรก vivo X200 FE มือถือไซล์พอดีมือ เด่นที่กล้อง เริ่ม 24,999 บาท

sanook.com

ข่าวและบทความยอดนิยม

งานวิจัยชี้พายุฝุ่นบนดาวอังคารอาจก่อให้เกิดฟ้าผ่าภัยคุกคามยานสำรวจเพอร์เซเวียแรนซ์

TNN ช่อง16

NASA เผชิญโจทย์ใหญ่ หลังจรวดขับดันโครงการอาร์เทมิสเกิดความเสียหายระหว่างการทดสอบ

TNN ช่อง16

นักบินอวกาศ กินอะไรบนอวกาศ ? เปิดหลักการอาหารสำหรับการใช้ชีวิตบนอวกาศ

TNN ช่อง16
ดูเพิ่ม
Loading...