โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

ไฮโดรเจน'พลังงานแห่งอนาคตเปลี่ยนโลกให้ยั่งยืน

The Better

อัพเดต 4 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 4 ชั่วโมงที่ผ่านมา • THE BETTER
'ไฮโดรเจน' ทางเลือกพลังงานสะอาด ยุค Energy Transition สร้างความมั่นคงทางพลังงานคู่ขนานความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม กลุ่ม ปตท. พร้อมร่วมผลักดันไทยผู้นำด้านพลังงานไฮโดรเจนในอาเซียนได้ในอนาคต

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาทั่วโลกเผชิญกับปัญหาสิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างรุนแรง นับเป็นความท้าทายใหญ่ของมนุษยชาติ จำเป็นต้องมองหาแหล่งพลังงานใหม่ที่สะอาดและยั่งยืน โดย“ไฮโดรเจน”กำลังได้รับความสนใจ ถูกมองเป็นพลังงานสะอาดที่เป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนผ่านการใช้พลังงาน (Energy Transition) จนกลายเป็นหัวใจสำคัญของระบบพลังงานในอนาคต

ไฮโดรเจนคืออะไร และทำไมโลกถึงให้ความสำคัญ?

“ไฮโดรเจน” เป็นธาตุที่เบาที่สุดในจักรวาล ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น และไม่เป็นพิษ มีศักยภาพสูงในการนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงพลังงานสะอาด เพราะเมื่อเผาไหม้แล้วจะได้เพียง “ไอน้ำ” โดยไม่ปล่อยก๊าซเรือนกระจก

นอกจากนี้ไฮโดรเจนยังถูกนำสามารถนำมาใช้ได้หลากหลาย ตั้งแต่การผลิตไฟฟ้า การขนส่ง ไปจนถึงภาคอุตสาหกรรมหนัก เช่น การผลิตเหล็กและซีเมนต์ ซึ่งล้วนเป็นกิจกรรมที่ปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ (CO₂) สูงในปัจจุบัน

ทั้งนี้ไฮโดรเจนในธรรมชาติจะอยู่ในรูปสารประกอบต่าง ๆ เช่น น้ำ ก๊าซธรรมชาติ เป็นต้น ไม่ได้อยู่ในรูปก๊าซไฮโดรเจน (H2) ทำให้ไม่สามารถใช้ได้ทันที ต้องผ่านกระบวนการผลิต โดยการเลือกวิธีผลิตมีผลต่อระดับความสะอาดของไฮโดรเจนอย่างมาก จึงเกิดเป็นการจำแนกไฮโดรเจนตาม “สี” ที่สะท้อนระดับการปล่อยมลพิษจากกระบวนการผลิต

ทำความรู้จัก “สีของไฮโดรเจน”

Brown Hydrogen – ผลิตจากถ่านหิน ปล่อย CO₂ สูงที่สุด

Grey Hydrogen – ผลิตจากก๊าซธรรมชาติ ยังปล่อย CO₂ อยู่

Blue Hydrogen – ผลิตจากก๊าซธรรมชาติเช่นกัน แต่มีการใช้เทคโนโลยีดักจับและกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ (CCS)

Pink Hydrogen – ผลิตโดยใช้กระบวนการแยกไฮโดรเจนออกจากน้ำ (Water Electrolysis) และพลังงานไฟฟ้าที่ใช้มีต้นกำเนิดมาจากพลังงานนิวเคลียร์

Green Hydrogen – สะอาดที่สุด ผลิตจากกระบวนการแยกไฮโดรเจนออกจากน้ำ โดยพลังงานไฟฟ้ามาจาก พลังงานหมุนเวียน เช่น ลม แสงอาทิตย์

ในอนาคต ไฮโดรเจนสีเขียวจะกลายเป็นมาตรฐานใหม่ของพลังงานสะอาด แต่ในระยะเริ่มต้น โลกยังต้องอาศัย Blue Hydrogen ในการเปลี่ยนผ่านจาก Grey Hydrogen และเป็นสะพานเชื่อมก่อนจะไปถึง Green อย่างสมบูรณ์

เมื่อไฮโดรเจนถูกมองเป็นหัวใจสำคัญจะช่วยลดคาร์บอนไดออกไซด์ ส่งผลให้หลายประเทศออกนโยบายและแผนยุทธศาสตร์มาใช้ในการพัฒนาอุตสาหกรรมไฮโดรเจนภายในประเทศเพื่อกระตุ้นให้เกิดอุปสงค์และอุปทานที่เกี่ยวข้อง

ปัจจุบันมีการใช้งานเทคโนโลยีไฮโดรเจนกว่า 30 ประเทศทั่วโลก โดยเฉพาะแถบยุโรป สหรัฐอเมริกา และตะวันออกลาง เนื่องจากได้เปรียบเชิงพื้นที
ในการพัฒนา พลังงานหมุนเวียน และอีกหลายประเทศที่กำลังเตรียมความพร้อมพัฒนาไฮโดรเจน

กรณีตัวอย่างจากต่างประเทศที่เริ่มใช้ไฮโดรเจนในภาคพลังงานอย่างจริงจัง เช่น

-เยอรมนี(Net Zero 2045) เปิดใช้รถไฟพลังงานไฮโดรเจนเชิงพาณิชย์แห่งแรกของโลกทดแทนรถไฟดีเซล วิ่งได้ 1,000 กม./H2 หนึ่งถัง ความเร็วสูงสุด 140 กม./ชม.

-ฝรั่งเศส(Net Zero 2050)พัฒนาเรือพลังงานไฮโดรเจนการขนส่งสินค้าเชิงพาณิชย์ และจักรยานพลังงานไฮโดรเจน

-ญี่ปุ่น (Net Zero2050) – Honda เริ่มทดสอบ Data Center พลังงานไฮโดรเจน และISUZU เตรียมเปิดขายรถบรรทุกไฮโดรเจน (ISUZU GIGA) ภายในปี 2027

โอกาสของประเทศไทย กับพลังงานไฮโดรเจน

สำหรับประเทศไทย การผลักดันพลังงานไฮโดรเจนยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น แต่มีสัญญาณที่ชัดเจนว่าภาครัฐและเอกชนให้ความสำคัญอย่างมาก โดยเฉพาะการใช้ประโยชน์เพื่อลดการปล่อยคาร์บอนใน 3 ภาคส่วน ได้แก่

1.ภาคอุตสาหกรรมหนัก เช่น โรงงานซีเมนต์ โรงถลุงเหล็ก ซึ่งปล่อยคาร์บอนสูง

2.การผลิตไฟฟ้าและกักเก็บพลังงานหมุนเวียน ไฮโดรเจนสามารถทำหน้าที่เสมือน “แบตเตอรี่ใหญ่ของประเทศ” โดยสามารถ แปลงกลับเป็นไฟฟ้า
ด้วยเทคโนโลยีเซลล์เชื้อเพลิง

3.ภาคขนส่ง โดยเฉพาะรถบรรทุกระยะไกล รถโดยสารระยะยาว ซึ่งต้องการพลังงานต่อเนื่อง สามารถนำมาปรับใช้ในการปรับปรุงคุณภาพน้ำมันปิโตรเลียมสำหรับเครื่องยนต์สันดาปภายใน หรือเป็นเชื้อเพลิงโดยตรงในรถยนต์ไฟฟ้าเซลล์เชื้อเพลิง (Fuel Cell Electric Vehicle: FCEV) รวมถึง
รถโดยสารและรถบรรทุก (Heavy Duty Long-Haul Vehicle)

หนึ่งในความท้าทายของไฮโดรเจน คือ ต้นทุนที่สูงกว่าพลังงานจากฟอสซิล ดังนั้นการนำไฮโดรเจนไปใช้ในระยะเริ่มต้นควรมุ่งไปที่ภาคอุตสาหกรรม
ที่มีความจำเป็นต้องใช้ในกระบวนการผลิต หรือ ไม่มีทางเลือกอื่นที่สามารถทดแทนได้ ซึ่งภาคส่วนเหล่านี้มักถูกเรียกว่า “Hard-to-abate sectors”
หมายถึงภาคอุตสาหกรรมที่ลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ ได้ยาก เนื่องจากปัจจัยต่างๆ เช่น

ความต้องการใช้พลังงานความร้อนที่อุณหภูมิสูง การปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ ที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับกระบวนการผลิต ซึ่งไม่สามารถใช้พลังงานไฟฟ้าทดแทนได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือการใช้งานไฮโดรเจนสีเทาเป็นสารตั้งต้นในกระบวนการผลิต ดังนั้น ภาคอุตสาหกรรมเหล่านี้จึงเป็นกลุ่มเป้าหมายหลักสำหรับการนำไฮโดรเจนคาร์บอนต่ำมาใช้เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

นอกจากนี้ไฮโดรเจนส่วนใหญ่ในปัจจุบันผลิตจากก๊าซธรรมชาติ ซึ่งมีการปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ในปริมาณมาก หากเปลี่ยนมาใช้ ไฮโดรเจน
สีเขียว ที่ได้จากพลังงานหมุนเวียน (เช่น พลังงานจากแสงอาทิตย์ หรือ ลม) จะช่วยลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ ในกระบวนการผลิต หรือการผลิตแอมโมเนีย ที่เป็นส่วนประกอบสำคัญใน ปุ๋ย สารเคมี และเชื้อเพลิงสะอาดสำหรับเรือขนส่ง ไฮโดรเจนมีบทบาทสำคัญในการผลิตแอมโมเนีย
ในกระบวนการที่เรียกว่า Haber-Bosch คือการรวม ไฮโดรเจน และ ไนโตรเจนเข้าด้วยกันภายใต้ความดันและอุณหภูมิสูง ซึ่งหากใช้ไฮโดรเจนจากแหล่งพลังงานสะอาดจะช่วยลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ จากการผลิตแอมโมเนีย

ขณะที่การผลิตเมทานอล (CH₃OH) เป็นสารเคมีสำคัญในเชื้อเพลิง พลาสติก และเคมีภัณฑ์ โดยผลิตจากไฮโดรเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ ที่ได้จากเทคโนโลยีการดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ การใช้ประโยชน์และการกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon Capture Utilization and Storage: CCUS)

ด้านการประยุกต์ใช้ไฮโดรเจนในภาคการขนส่ง ปัจจุบันการเปลี่ยนผ่านจากพลังงานฟอสซิลไปสู่พลังงานสะอาด เป็นแนวโน้มสำคัญของอุตสาหกรรมยานยนต์ โดยยานยนต์พลังงานไฟฟ้าเป็นทางเลือกหลักที่ช่วยลดการปล่อยมลพิษ โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ได้แก่ Fuel Cell Electric Vehicle (FCEV) หรือ รถยนต์ไฟฟ้าเซลล์เชื้อเพลิง

และ Battery Electric Vehicle (BEV) หรือ รถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ ซึ่งมีแนวทางการใช้พลังงานที่แตกต่างกัน โดย FCEV ใช้ไฮโดรเจนเป็นแหล่งพลังงาน โดยเปลี่ยนเป็นไฟฟ้าผ่านเซลล์เชื้อเพลิง ขณะที่ BEV ใช้พลังงานไฟฟ้าที่เก็บไว้ในแบตเตอรี่โดยตรง แต่ละเทคโนโลยีมีข้อดีและข้อจำกัดที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งาน

ส่วนการประยุกต์ใช้ไฮโดรเจนเป็นระบบกักเก็บพลังงาน (Energy Storage System: ESS)นั้น เทคโนโลยีที่ใช้ในการสะสมพลังงานที่ผลิตได้จากแหล่งต่างๆ โดยเฉพาะจากพลังงานหมุนเวียน เช่น แสงอาทิตย์ ลม และน้ำ เพื่อสำรองไว้ใช้ในช่วงเวลาที่แหล่งผลิตพลังงานไม่สามารถจ่ายไฟได้ตามความต้องการ

หนึ่งในเทคโนโลยีสำคัญที่ได้รับความสนใจสำหรับการกักเก็บพลังงานสะอาด คือ แบตเตอรี่ และ ไฮโดรเจน ซึ่งแต่ละเทคโนโลยีมีหลักการทำงานและข้อได้เปรียบที่แตกต่างกัน โดยระบบแบตเตอรี่(BESS)เหมาะสำหรับเก็บพลังงานระยะสั้นถึงปานกลาง (ตั้งแต่ไม่กี่ชั่วโมงถึงหลายชั่วโมง) เช่น
ระบบโซลาร์เซลล์ภายในบ้าน ระบบสำรองไฟระยะสั้น เป็นต้น แต่ไม่เหมาะสำหรับการเก็บพลังงานในระยะยาว เนื่องจากมีการคายประจุ(สูญเสียพลังงาน)และมีต้นทุนสูงเมื่อขยายขนาดการเก็บพลังงานขนาดใหญ่

ขณะที่ระบบไฮโดรเจน (HESS) เหมาะสำหรับการเก็บพลังงานระยะยาว หรือการเก็บพลังงานตามฤดูกาล(ตั้งแต่หลายสัปดาห์ถึงหลายเดือน)เพราะไม่มีการสูญเสียพลังงานในระหว่างที่เก็บพลังงานเป็นระยะเวลานาน ระบบสำรองไฟที่ต้องการความต่อเนื่องยาวนาน เช่น ศูนย์ข้อมูลขนาดใหญ่ โรงพยาบาล หรือระบบสำรองไฟในพื้นที่ห่างไกล ที่ต้องการสำรองไฟตั้งแต่หลายวันจนถึงหลายสัปดาห์ พื้นที่ที่ไม่เชื่อมต่อกับระบบไฟฟ้าหลัก (Off-grid) หรือพื้นที่ห่างไกลที่มีการใช้ พลังงานหมุนเวียน เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ หรือ พลังงานลม ที่ผลิตได้ในฤดูหนึ่งและเก็บไว้ใช้ในฤดูถัดไป ระบบไฮโดรเจนจึงเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุด เนื่องจากแบตเตอรี่อาจไม่คุ้มค่าทางเศรษฐกิจในกรณีนี้

สำหรับระบบกักเก็บพลังงาน แนวทางที่มีความยั่งยืนมากที่สุด คือ การผสมผสานเทคโนโลยีเข้าด้วยกันอย่างเหมาะสม โดยใช้แบตเตอรี่เพื่อรองรับความต้องการพลังงานในช่วงสั้นถึงกลาง และใช้เทคโนโลยีไฮโดรเจนในการเพิ่มเสถียรภาพของระบบในระยะยาว ซึ่งจะตอบโจทย์การใช้งานในพื้นที่
ที่อยู่นอกระบบสายส่งหลักหรือ off-grid

นโยบายภาครัฐกับการส่งเสริมไฮโดรเจน

ประเทศไทยตระหนักถึงบทบาทของไฮโดรเจนในระบบพลังงานที่ยั่งยืน กระทรวงพลังงานได้กำหนดแนวทางการพัฒนาพลังงานไฮโดรเจนสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ 4 ด้าน ได้แก่ 1.พัฒนาตลาดและสร้างแรงจูงใจให้กับผู้ใช้ 2.ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรม 3.พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และ 4ปรับปรุงกฎระเบียบและมาตรฐาน

ทั้งนี้ได้แบ่งการดําเนินงานเป็น 3 ระยะ คือ ระยะสั้น (ค.ศ. 2025-2030) เตรียมความพร้อมพัฒนาโครงการนำร่อง จัดทํามาตรฐานความปลอดภัย
จัดทําแผน และศึกษารูปแบบธุรกิจใหม่ ทดสอบ ปรับปรุงระบบกักเก็บและขนส่ง

ระยะกลาง (ค.ศ. 2031-2040) การพัฒนาไฮโดรเจนเชิงพาณิชย์ในภาคพลังงาน ผสมไฮโดรเจน 5-10% ในระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติสำหรับการผลิตไฟฟ้า ส่งเสริมการลงทุน และสิทธิประโยชน์ด้านภาษีพัฒนาโครงข่ายระบบไฟฟ้าสีเขียว รองรับไฮโดรเจนสีเขียว และขยายสถานีไฮโดรเจนติดตาม ประเมินผล และปรับปรุงแก้ไขกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง

ระยะยาว (ค.ศ. 2041-2050) มุ่งสู่ Carbon Neutrality และ Net Zero Emissions ผสมไฮโดรเจน 10-20% ในระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติสำหรับการผลิตไฟฟ้าพัฒนากลไกตรวจติดตาม ประเมิน และปรับปรุงแก้ไขโครงสร้างพื้นฐานพิจารณาภาษีคาร์บอนในโครงสร้างราคา พัฒนาแพลตฟอร์มและการซื้อขายคาร์บอนกำหนดมาตรฐานการขนส่ง FCEV และสถานีเติมไฮโดรเจน

กลุ่ม ปตท.กับบทบาทผู้นำด้านไฮโดรเจนของประเทศไทย

ในฐานะผู้นำด้านพลังงานของประเทศ กลุ่ม ปตท. เดินหน้าศึกษาและพัฒนาเทคโนโลยีด้านไฮโดรเจนอย่างจริงจัง โดยเล็งเห็นความสำคัญของการประยุกต์ใช้งานไฮโดรเจนในการลดการปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์รวมถึงโอกาสในการสร้างธุรกิจไฮโดรเจน

ในปี 2562 ได้จัดตั้ง Hydrogen Thailand Club ร่วมกับพันธมิตรภาครัฐและเอกชนเพื่อเตรียมความพร้อมและผลักดันเทคโนโลยีไฮโดรเจนให้กับประเทศไทย ปัจจุบันมีสมาชิก 54 บริษัท

ขณะที่ในปี 2565 ร่วมกับพันธมิตรติดตั้งสถานีนำร่อง Hydrogen Station สำหรับรถยนต์ไฟฟ้าเซลล์เชื้อเพลิงแห่งแรกของไทย อ.บางละมุง จ.ชลบุรี และ
นำ FCEV รุ่น Mirai ของ TOYOTA มาทดสอบการใช้งาน เพื่อศึกษาการใช้ไฮโดรเจนในภาคขนส่งของประเทศ

ปี 2566 ปตท.สผ. ชนะการประมูลการพัฒนาโครงการไฮโดรเจนสีเขียว ประเทศโอมาน รวมถึง PTT – RINA พัฒนาทดสอบการเผาไหม้ของการผสม Hydrogen กับก๊าซธรรมชาติ ในห้องปฏิบัติการของสถาบันนวัตกรรม ปตท.

ปี 2567 ร่วมกับพันธมิตรยกระดับ Hydrogen Thailand Club จัดตั้งเป็นสมาคมไฮโดรเจนแห่งประเทศไทย (Hydrogen Thailand Association) โดย
อยู่ในระหว่างการถ่ายโอนสมาชิกเข้าสู่สมาคม

และล่าสุด ปี 2568 ลงนามบันทึกข้อตกลงการพัฒนาธุรกิจและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีไฮโดรเจนคาร์บอนต่ำของกลุ่ม ปตท. เพื่อมุ่งสู่เป้าหมาย Net-Zero

อย่างไรก็ตาม ปตท. วางแนวทางการดำเนินงานในอนาคต พร้อมให้การสนับสนุนข้อมูลแก่ภาครัฐ เพื่อพิจารณากำหนดให้ไฮโดรเจนและแอมโมเนีย
เป็นส่วนหนึ่งของ พระราชบัญญัติน้ำมันเชื้อเพลิง รวมทั้งศึกษาและประเมินผลกระทบ ของการผสมไฮโดรเจนในระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติ เพื่อนำเสนอข้อมูลเชิงเทคนิคให้ภาครัฐใช้ประกอบการตัดสินใจวางแผนดำเนินนโยบายด้านพลังงาน

นอกจากนี้ยังให้ข้อมูลเชิงเทคนิคและข้อเสนอแนะ สำหรับการปรับปรุงกฎหมายและกฎระเบียบด้านความปลอดภัยในการผลิตและใช้งานไฮโดรเจน และศึกษาความเป็นไปได้ในการประยุกต์ใช้ไฮโดรเจน ภายใน กลุ่ม ปตท. เพื่อสนับสนุนการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และ เสริมสร้างความมั่นคง
ทางพลังงานอย่างยั่งยืน

การพัฒนาเทคโนโลยีไฮโดรเจนไม่ใช่เพียงเพื่อสิ่งแวดล้อม แต่ยังเป็นโอกาสทางเศรษฐกิจในการสร้างอุตสาหกรรมพลังงานใหม่ สร้างงานใหม่ และเสริมความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศ ซึ่ง กลุ่ม ปตท. พร้อมขับเคลื่อนประเทศไทยให้ก้าวทันกระแสโลก และเป็นผู้นำในพลังงานสะอาดอย่างแท้จริง

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก The Better

"พระพยอม" ชี้ต้องปฏิรูปการเงินคณะสงฆ์ หนุน "สุชาติ" ตั้งธนาคารพุทธศาสนาแก้ปัญหา

20 นาทีที่แล้ว

คดีฮั้วเลือกส.ว. ยังไม่จบ กกต.ใช้เวลา-ไม่ลัดขั้นตอน "อิทธิพร" ยัน "ไม่อยู่ใต้อาณัติการเมือง"

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

เตือน 19-24 ก.ค. ทั่วไทย รับมือ “พายุวิภา”

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

กทม. เร่งเคลียร์ทางเท้า จัดระเบียบวินมอเตอร์ไซต์

2 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความธุรกิจ-เศรษฐกิจอื่น ๆ

แสนสิริ ท็อปฟอร์ม Sold Out แนวราบ 17,000 ล้าน จ่อปิดอีก 4 โครงการปีนี้

MATICHON ONLINE

“สุชาติ” ใช้ ตลาดนำการผลิต หนุน ”กล้วยหอมเขียว“ สู่ตลาดส่งออกญี่ปุ่น เพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร ชี้โอกาสทองในกรอบ JTEPA

สวพ.FM91

เซ็นทรัล พัทยา ชวนโยคะริมบีช ในงาน “Beach YOGA Nature of the Ocean 2025” เปิดประสบการณ์ใหม่สายโยคะ ตอบรับกระแส Wellness Tourism

Manager Online

EA จ่อปลดเครื่องหมาย DNP-CB หลังผู้ถือหุ้น EA257A ผ่านมติท่วมท้น

PostToday

OMODA & JAECOO ส่งแคมเปญกลางปีสุดพิเศษ มอบข้อเสนอสุดคุ้มครบทุกรุ่น พร้อมลุ้นทริปสุดเอกซ์คลูซิฟที่ญี่ปุ่น

BTimes

กรมท่องเที่ยว เผยเงินกองถ่ายหนังต่างชาติ สะพัด 6 พันล้านบาทต่อปี

Khaosod

นักลงทุนต่างชาติ กลับเข้าตลาดหุ้นไทย ปิดตลาดแตะ1,200 จุด – จับตาผลเจรจาภาษีสหรัฐต่อ

JS100

สรวงศ์ เผยถ้าผลตอบรับเที่ยวไทยคนลครึ่งดี อาจมีต่อเฟส 2

MATICHON ONLINE

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...