TTB คาดกำไรQ2ที่ 4.9 พันล. มองว่าสินเชื่อยังไม่ฟื้นในระยะสั้น
หุ้นวิชั่น
อัพเดต 1 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 8 ชั่วโมงที่ผ่านมา • HoonVision | หุ้นวิชั่น - หุ้น ข่าวหุ้น หุ้นไทยวันนี้ หุ้นวันนี้ หุ้นเด่น วิเคราะห์หุ้น ธุรกิจ การเงิน เศรษฐกิจ การลงทุน ดัชนีราคาหุ้นหุ้นวิชั่น – ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงานว่า บริษัทหลักทรัพย์ เคจีไอ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ระบุถึง TTB ว่า TTB จะถูกกดดันอย่างหนักจากสินเชื่อที่หดตัว และ NIM ยังถูกกดดันจากนโยบายการขยายสินเชื่ออย่างระมัดระวังในขณะที่โครงการคุณสู้ เราช่วยก็เป็นปัจจัยที่ฉุดให้ NIM ยิ่งลดลงไปอีก เราคาดว่ากําไรในไตรมาส 2/2568 จะอยู่ที่ 4.9 พันล้านบาท (-3% ไตรมาสก่อนหน้า และ-8% จากช่วงเดียวกันปีก่อน), -6% ในครึ่งแรกของปี 2568 ราคาหุ้น TTB outperform ดัชนี SET ในช่วงสามเดือนที่ผ่านมา ซึ่งส่วนหนึ่งสะท้อนถึงอัตราผลตอบแทนจากเงินปันผลที่น่าสนใจ และ โครงการซื้อหุ้นคืน ซึ่งจะสิ้นสุดในวันที่ 1 สิงหาคม 2568 เนื่องจากเรามองว่าสินเชื่อจะยังไม่ฟื้นในระยะสั้น เราจึงปรับลดสมมติฐานอัตราการขยายตัวของสินเชื่อปี 2568F/2569F ลง และ ปรับลดประมาณการกําไรปี 2568F/2569F ลงปีละ 6% ทั้งนี้เนื่องจาก ROE ลดลงจึง de-rate PBV เป็น 0.75x (จาก 0.8x) ทําให้ได้ราคาเป้าหมายสิ้นปี 2568F ใหม่ที่ 1.88 บาทจากเดิม 2.02 บาทโดยยังคงคําแนะนําถือ
Impact
สินเชื่อที่หดตัว และ NIM ที่ลดลงฉุดรายได้ คาดว่า TTB จะยังคงใช้นโยบายขยายสินเชื่ออย่างระมัดระวัง และ ไม่คิดว่าสินเชื่อจะกลับมาฟื้นตัวได้ในระยะสั้นในภาวะเศรษฐกิจที่ยังมีความไม่แน่นอนดังนั้น เราจึงปรับลดสมมติฐานอัตราการขยายตัวของสินเชื่อในปี 2568F/2569F เป็น -6%/+3% จากเดิม 0%/+3% นอกจากนี้ เรายังใช้สมมติฐานว่าสินเชื่อจะหดตัวประมาณ 2% ไตรมาสก่อนหน้า และ 3.5% YTD ในไตรมาส 2/2568 ในขณะเดียวกัน ทั้ง yield และมาร์จิ้นยังคงถูกกดดันจากการลดดอกเบี้ย และ yield ที่ลดลงจากโครงการ “คุณสู้ เราช่วย” คงการตั้งสํารองฯ (credit cost) ไว้ที่ระดับสูงเพื่อเพิ่มสํารองส่วนเกิน (management overlay) ธนาคารขนาดใหญ่หลายแห่งแสดงความกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจในประเทศในครึ่งแรกของปี 2568 และ เชื่อว่า TTB จะอยู่ในสถานะที่ลําบากกับการเผชิญอุปสรรคในระยะต่อไป ซึ่งในสถานการณ์นี้ เราคิดว่า TTB จําเป็นต้องเพิ่มสัดส่วนสํารองหนี้เสีย/สินเชื่อ (LLR/Loan) เพื่อรองรับความไม่แน่นอน ทั้งนี้ TTB เผยว่าธนาคารพยายามจะเพิ่มสัดส่วน LLR/สินเชื่อให้อยู่ในระดับใกล้เคียงกับธนาคารอื่น ๆ โดยสัดส่วน LLR/สินเชื่อใน 1QL8 อยู่ที่ 4.9% ในไตรมาส 1/2568 (ค่าเฉลี่ยของธนาคารอื่น ๆ อยู่ที่ 6.8%) คาดว่า credit cost น่าจะยังอยู่ในระดับสูงที่ 1.5% (จาก 1.5% ในไตรมาส 1/2568 และเป้าปีนี้ที่ 1.25-1.35%) คาดว่ากําไรในไตรมาส 2/2568 จะอยู่ที่ 4.9 พันล้านบาท (-3% ไตรมาสก่อนหน้า, -8% จากช่วงเดียวกันปีก่อน และ -6% ในครึ่งแรกของปี 2568)
กําไรที่คาดว่าจะลดลงจากไตรมาสก่อนหน้าสะท้อนถึง
1.) NII ที่ลดลงจากการที่สินเชื่อหดตัวกดดันให้ NIM -8bps จากไตรมาสก่อนหน้า
2.) FVTP ลดลง ส่วนกําไรที่เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนจะเป็นเพราะสินเชื่อหดตัว 7% จากช่วงเดียวกันปีก่อนและ NIM ลดลง 15bps จากช่วงเดียวกันปีก่อนนอกจากนี้ เราใช้สมมติฐาน credit cost ในไตรมาส 2/2568 ที่ 1.4% (จาก 1.5%ในไตรมาส 1/2568 และ 1.6% ในไตรมาส 2/2568)ในขณะเดียวกัน โครงการคุณสู้เราช่วยจะทําให้ NPL ของธนาคารอยู่ในระดับที่บริหารจัดการได้ที่ +2% จากไตรมาสก่อนหน้า และ-1% จากช่วงเดียวกันปีก่อน ทั้งนี้ เมื่ออิงตามประมาณการกําไรในไตรมาส 2/2568 ของเรา กําไรในช่วงครึ่งแรกของปี 2568 จะคิดเป็น 52% ของประมาณการกําไรเต็มปี
ปรับลดประมาณการกําไรปี 2568F/2569F ลง -6%/-6% และ ปรับลดราคาเป้าหมายปีนี้เป็น 1.88 บาท
เราปรับสมมติฐานดังนี้
1.) ปรับเพิ่ม credit cost ปี 2568F/2569F เป็น1.5%/1.4% (จากเดิม 1.45%/1.3%)
2.) ปรับลดอัตราการขยายตัวของสินเชื่อเป็น -6%/+3% (จากเดิม 0%/+3%)เรายังคงสมมติฐาน NIM ปี 2568F/2569F ไว้ที่ 3%/3% และ อัตราการขยายตัวของรายได้ค่าธรรมเนียมไว้ที่ 2%/3% ทั้งนี้ เนื่องจาก ROE ลดลง เราจึง de-rate PBV เป็น 0.75x (จาก0.8x) ทําให้ได้ราคาเป้าหมายสิ้นปี 2568 ใหม่ที่ 1.88 บาท จากเดิม 2.02 บาท โดยยังคงคําแนะนําถือ
ราคาปิด ณ วันที่ 8 กรกฎาคม 2568: 1.89 บาท
ราคาเป้าหมายใน 12 เดือน (บาทต่อหุ้น): 1.88 บาท
คงประมาณการ / ปรับเพิ่ม (ปรับลด): ปรับลด 6.9%
อัพไซด์ / ดาวน์ไซด์: ดาวน์ไซด์ 0.5%