โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

ม.นเรศวร เปิดผลตรวจ “ปลาแค้” สัมพันธ์น้ำปนเปื้อนสารพิษ จ.เชียงราย

Thai PBS

อัพเดต 6 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 6 ชั่วโมงที่ผ่านมา • Thai PBS

เมื่อวันที่ 7 พ.ค.2568 สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) เปิดเผยผลตรวจวิเคราะห์ทางโลหิตวิทยาและจุลพยาธิวิทยาปลาแค้ ที่สมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิตส่งตรวจ ผลการตรวจพบว่า ปลาแค้อาจมีความสัมพันธ์กับสารพิษในแม่น้ำ หลังตรวจพบเม็ดเลือดแดงและเม็ดเลือดขาวผิดปกติ

ดร.ณัฐวุฒิ เจริญผล สาขาพยาธิวิทยากายวิภาค ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยนเรศวร เปิดผลการวิเคราะห์ปลาแค้ ที่ได้รับมาจากสมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิต เมื่อวันที่ 13 มิ.ย.2568 บริเวณ บ้านสบคำ อ.เชียงแสน จ.เชียงราย ผลการชั่งน้ำหนักได้ 60 กรัม ลำตัวยาว 142 ซม. เมื่อดูลักษณะภายนอกพบว่า ปลาป่วย มีลักษณะเป็นก้อน ช่วงแรกเข้าใจว่าเป็นก้อนเนื้อหรือถุงน้ำอ่อนนุ่ม แต่พบว่าเป็นก้อนเนื้อแข็ง

ดร.ณัฐวุฒิระบุว่า ปกติทำงานด้านพยาธิจะเห็นลักษณะปลาที่เป็นมะเร็ง จะมีลักษณะประมาณนี้ แต่ปลาตัวอย่างที่ได้มาพบปรสิตจำนวนมาก จากการเก็บตัวอย่างเลือดและผ่าพิสูจน์เพื่อดูอวัยวะภายใน

ปลาที่ได้มายังมีชีวิตอยู่ดูคร่าวๆ ยังดูแข็งแรง แต่มีลักษณะผอม เจอก้อนกลม ๆ ทั้งครีบหลัง หนวด ครีบท้ายลำตัวเกือบ 40 เม็ด เป็นก้อนเนื้อไม่ใช่ถุงน้ำ ลักษณะเหมือนยางลบ นุ่ม ๆ แข็ง ๆ

ขณะเดียวกันภายด้านในของตัวปลา ยังพบลักษณะถุงเนื้อเยื้อในตัวปลา โดยเมื่อนำตัวอย่างไปวิเคราะห์ความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาวและเกล็ดเลือด โดยผ่านการทำสไลด์เม็ดเลือดและย้อมด้วยเทคนิค

สิ่งที่เห็นมีลักษณะของเม็ดเลือดแดงผิดปกติ และเจอเม็ดเลือดขาว กับเกล็ดเลือดขึ้นสูง และยังพบแบคทีเรียที่ติดเชื้อในกระแสเลือด

อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ ม.นเรศวร ยังระบุว่า ปลาแค้ มีลักษณะที่อ่อนแอมากมีเชื้อฉวยโอกาสพบจำนวนมากและทำให้เกิดอาการล้มเหลวในอวัยวะที่พบ

พบเม็ดเลือดแดง 40 เปอร์เซ็นต์เสื่อมสภาพ โดยเจอเม็ดเลือดแดงผิดปกติหลากหลายรูปแบบ สิ่งที่งานวิจัยต่างประเทศนับ 10,000 ฉบับ ในไมโครนิวเคลียส เมื่อโลหะหนักเข้าไปในตัวปลา ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสารพันธุกรรม จนหลุดออกมาอยู่ในเม็ดเลือดแดงเป็นสิ่งที่ต้องเฝ้าระวัง

ทั้งนี้กลุ่มตัวอย่างยังไม่มาก และต้องดูเพิ่มขึ้นในระยะเวลาการเพิ่มขึ้นของสารพิษ ซึ่งเม็ดเลือดแดงบ่งบอกถึงคุณภาพและสิ่งแวดล้อม ส่วนค่าเม็ดเลือดขาวปกติไม่ควรจะเกิน 10 แต่ขึ้นมาถึง 20 สะท้อนถึงการติดเชื้อและการอักเสบของปลาเรื้อรัง ไม่ได้พึ่งเกิดขึ้นแต่เกิดขึ้นมาหลายเดือนแล้ว จึงพบลักษณะนี้ร่วมด้วยกับการติดเชื้อในกระแสเลือดของแบคทีเรีย

ส่วนการตรวจดูอวัยวะภายใน เช่น เหงือก ตับ ไต พบก้อนเนื้ออักเสบเรื้อรังจำนวนมาก ซึ่งมีพยาธิอยู่ภายใน และพบเม็ดเลือดขาวมีภาวะเลือด และเกิดการสลายตัวของเนื้อเยื้อ และเป็นที่อยู่ของปรสิต พบพยาธิกลุ่มไดจีน ((Digenea) เป็นกลุ่มของพยาธิตัวแบนที่อาศัยอยู่ในสัตว์มีกระดูกสันหลังหลายชนิด โดยเฉพาะปลา) จำนวนมาก “เนื้อเยื้อตับ” เสียสภาพ “เนื้อเยื้อหลอดเลือด” สลายตัว “ไตปลา” พบการอักเสบเรื้อรัง เห็นร่องรอยของเซลล์ไตปริมาณมากและมีพยาธิอยู่ด้านในจำนวนมาก

โดยปกติจะมีปรสิตอยู่แล้วในแหล่งน้ำ แต่ปลาป่วย ปลาจะอ่อนแอลง ปรสิตจะอาศัยเป็นแหล่งรัง หรือเพิ่มจำนวนเจริญเติบโตมากขึ้น

ดร.ณัฐวุฒิ กล่าวว่า ปัญหาสารพิษและสิ่งแวดล้อมในแม่น้ำ ส่งผลให้ปลาแค้ ติดเชื้อเรื้อรังหลายระบบทั้งจากพยาธิ แบคทีเรีย ร่วมกับการพบความผิดปกติของระบบเลือดอย่างชัดเจน ทั้งเม็ดเลือดขาวสูง และเม็ดเลือดแดง สะท้อนถึงสุขภาพของปลาและสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่บริเวณนั้น

ดร.ธนพล เพ็ญรัตน์ หน่วยภารกิจระบบฐานข้อมูลและดิจิทัล สกสว. กล่าวว่า การติดเชื้อในปลาเนื่องจากมลพิษทางน้ำ จากการปนเปื้อนของโลหะหนักและกึ่งโลหะหนัก ทำให้ปลาป่วยและอาจติดเชื้อง่ายขึ้น

มีการประเมินสถิติมีงานวิจัยจำนวนมาก ที่พบว่า สารหนู ซีลีเนียม ปรอท แคดเมียม ตะกั่ว พบทั้งในธรรมชาติและในห้องปฏิบัติการ ทำให้ภูมิคุ้มกันอ่อนแอและติดไวรัสมากขึ้น โดยพบว่า สารหนู และซีลีเนียม ทำให้มีโอกาสติดเชื้อสูงในปลา

การปนเปื้อนของสารหนู เกินค่ามาตรฐาน เชื่อว่ามาจากเหมืองในเมียนมา และมาจากตะกอนแขวนลอย การเก็บตัวอย่าง อ.แม่อาย จ.เชียงใหม่ พบสารหนู 0.06 มิลลิกรัมต่อลิตร เกินค่ามาตรฐาน 6 เท่า เมื่อแยกการละลายน้ำโดยการกรอง และไม่กรองพบว่า มาจากอนุภาพขนาดเล็กแขวนลอยบริเวณใกล้กับต้นน้ำจะพบเยอะและค่อย ๆ ลดลงเมื่ออยู่ไกลแหล่งกำเนิด ที่เกินค่ามาตรฐานมีตะกั่ว อีกตัวหนึ่งเกินหนึ่งจุด และสารหนูเกิน 4 จุด ซึ่งข้อมูลสอดคล้องกับทุกหน่วยงานที่มีการเก็บตัวอย่างก่อนหน้านี้

ดร.ธนพล กล่าวว่า ตัวอย่างปลาแม้ผลการตรวจจะผ่านหมด เมื่อเทียบกับค่ามาตรฐานไทยและองค์การอนามัยโลก รวมถึงมาตรฐานยุโรป ส่วนไส้ปลาเกินในบางตัวอย่าง เช่น แคดเมียม ตะกั่ว

ที่น่าสนใจปรอทไม่ควรเกิน 0.5 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม แต่ผลกระทบการเรียนรู้ทางสติปัญญา ของเด็กและหญิงตั้งครรภ์อาจตั้ง 0.3 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม ซึ่งค่าปรอทสูงสุดที่พบในเนื้อปลาจากการศึกษาครั้งนี้ 0.25 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัมอยู่ระดับใกล้เคียงกับเกณฑ์นี้อย่างมาก

ซึ่งจะมีการศึกษาเพิ่มเติมคาดว่าจะมีรายงานอีกฉบับภายใน 3 เดือน เพื่อประเมินความเสี่ยงค่าพิษในปลาจะเกินค่ามาตรฐาน

สถานการณ์ปัจจุบันยังคงปลอดภัยแต่ต้องเฝ้าระวังความเสี่ยง โดยดูจากสามส่วน คือ ความเสี่ยงต่อสุขภาพประชาชนการใช้น้ำใต้ดินระดับตื้น การบริโภคพืชผักและปลา ยังอยู่ในเกณฑ์ที่ปลอดภัย แต่มีสัญญาณเตือนในปลาที่ป่วยผิดปกติสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับ “โลหะและกึ่งโลหะ” ในแม่น้ำทำให้ปลาแค้อ่อนแอและติดเชื้อได้ง่าย เป็นตัวชี้บ่งความเสี่ยงในระบบนิเวศ

รายงาน : โกวิท บุญธรรม ผู้สื่อข่าวไทยพีบีเอส ศูนย์ข่าวภาคเหนือ

อ่านข่าว : จบดรามา! จอนนี่-กรมพัฒนาฯ ถกทางออกร่วมปมรีสอร์ตรุกที่ป่า

"ฮุน เซน" เปรียบไทยทิ้งหินใส่เท้าตัวเอง ปราบอาชญากรรมออนไลน์ล่าช้า

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก Thai PBS

การเมืองในประเทศ-ภาษีทรัมป์ ฉุดดัชนีเชื่อมั่นผู้บริโภค มิ.ย.ต่ำสุดรอบ 28 เดือน

56 นาทีที่แล้ว

จับตา โควิดสายพันธุ์ "XFG" แพร่กระจายได้เร็ว-หลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันได้ดี

59 นาทีที่แล้ว

"สุชาติ" ยื่นลาออก สส.บัญชีรายชื่อเพื่อไทย เลื่อน "เอกพร" ขึ้นแทน

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

"รางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ" จากอุดมคติสู่เครื่องมือทางการเมือง

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าว ทั่วไป อื่น ๆ

ข่าวและบทความยอดนิยม

ม.นเรศวร เปิดผลตรวจ “ปลาแค้” สัมพันธ์น้ำปนเปื้อนสารพิษ จ.เชียงราย

Thai PBS

น้ำท่วมฉับพลัน "เท็กซัส" เร่งหาผู้สูญหายกว่า 160 คน

Thai PBS

"ฮุน เซน" เปรียบไทยทิ้งหินใส่เท้าตัวเอง ปราบอาชญากรรมออนไลน์ล่าช้า

Thai PBS
ดูเพิ่ม
Loading...