โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

แอปฯ - เว็บฯ ล่ม ทำไมเกิดขึ้นซ้ำ ยังไม่มีทางแก้ไข หรือมีทางแก้แต่แค่ไม่คุ้ม ?

BT Beartai

อัพเดต 6 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 6 ชั่วโมงที่ผ่านมา
แอปฯ - เว็บฯ ล่ม ทำไมเกิดขึ้นซ้ำ ยังไม่มีทางแก้ไข หรือมีทางแก้แต่แค่ไม่คุ้ม ?

เชื่อว่าหลายคนคงเคยมีประสบการณ์หัวเสียกับสารพัดเหตุการณ์ ‘แอปฯ-เว็บฯ ล่ม’ ที่วนเวียนมาให้เจออยู่เป็นประจำ ไม่ว่าจะเป็นสงครามแย่งชิงบัตรคอนเสิร์ตศิลปินดัง, ศึกวัดดวงในการลงทะเบียนเรียนของมหาวิทยาลัย, การกดซื้อสินค้ารุ่นลิมิเต็ดให้ทันในไม่กี่วินาที หรือแม้กระทั่งแอปฯ ธนาคารที่เกิดใช้งานไม่ได้ขึ้นมาในวันที่เราต้องการใช้ที่สุด

และเหตุการณ์ล่าสุดที่ตอกย้ำภาพความโกลาหลนี้ก็เกิดขึ้นสด ๆ ร้อน ๆ ในเช้านี้เอง กับการเปิดลงทะเบียน “โครงการเที่ยวไทยคนละครึ่ง 2568” เมื่อเวลา 8:00 น. ที่ผ่านมา ซึ่งประชาชนทั่วประเทศต่างพยายามเข้าใช้งานแอปพลิเคชัน AmazingThailand และแอปฯ ยืนยันตัวตนอย่าง ThaID พร้อมกัน จนระบบไม่สามารถรองรับจำนวนผู้ใช้งานมหาศาลได้และล่มลงในที่สุด

แน่นอนว่านี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่เกิดเหตุการณ์เช่นนี้ และอาจจะไม่ใช่ครั้งสุดท้าย คำถามสำคัญที่หลายคนอดสงสัยไม่ได้ก็คือ…ในเมื่อปัญหานี้เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า ทำไมถึงยังไม่ถูกแก้ไขเสียที ?

เข้าใจ “ต้นตอ” แอปฯ ล่ม เว็บฯ ล่ม

ลองจินตนาการถึงร้านสะดวกซื้อที่ให้คนเข้าได้พร้อมกัน 20 คน หากมีการประกาศแจกของฟรีทั้งร้าน แน่นอนว่าจะมีคนนับร้อยนับพัน แห่มารอที่ประตู และเมื่อประตูเปิดออกวินาทีนั้นทุกคนจะพุ่งเข้าไปด้านใน ทำให้ในร้านแน่นไปด้วยผู้คนจนล้นออกมานอกร้าน แม้แต่คนที่อยู่ด้านในก็ออกมาไม่ได้ ทุกอย่างหยุดชะงัก นี่คือภาพจำลองของปรากฏการณ์ที่เรียกว่า “Flash Crowd” ที่ส่งผลให้แอปพลิเคชัน หรือเว็บไซต์ล่ม

ปกติแล้วแอปพลิเคชัน หรือเว็บไซต์ จะทำงานอยู่บนเซิร์ฟเวอร์ ที่มีขีดจำกัดในการให้บริการ ซึ่งแต่ละตัวก็จะดีไซน์มาแตกต่างกัน ยกตัวอย่าง เว็บข่าวมีคนเข้าดูพร้อมกันสูงสุด 10,000 คน อาจจะดีไซน์ให้รองรับได้ 15,000-20,000 คน แต่ถ้าเป็นแอปฯ ที่มีคนเข้ามาใช้เยอะ ๆ เช่น แอปฯ ธนาคารก็อาจจะรองรับคนใช้งานพร้อมกันหลายแสนหรือหลายล้านคน

ทุกครั้งที่มีการเข้ามาใช้งาน แอปพลิเคชันหรือเว็บไซต์ นั่นคือการที่คุณ “ส่งคำขอ” ไปยังเซิร์ฟเวอร์ เซิร์ฟเวอร์ก็จะประมวลผลคำขอนั้นแล้วส่งข้อมูล กลับมาแสดงผลบนหน้าจอของเรา เช่น ถ้ากดปุ่มลงทะเบียน แอปฯ ก็จะส่งคำขอไปให้เซิร์ฟเวอร์บันทึกข้อมูลของคุณลงฐานข้อมูล หากเซิร์ฟเวอร์ว่างและมีกำลังพอ ก็จะดำเนินการให้ทันที กลับกันถ้ามีคำขอที่เข้ามามากเกินไป มันก็จะเริ่มทำงานช้าลงเพราะต้องค่อย ๆ ทำตามคิว และถ้ายังมีเข้ามาเพิ่มอีกก็จะเกิดอาการค้าง หรือบางทีอาจจะหยุดทำงานในที่สุด เหมือนที่ยกตัวอย่างในตอนแรก

เกิดขึ้นซ้ำ ไม่มีทางแก้ หรือมีทางแก้แต่แค่ไม่คุ้ม

หลายคนอาจมองว่าทำไมไม่สร้างร้านให้ใหญ่ขึ้น หรือสร้างทางเข้าออกเยอะ ๆ เพื่อรองรับคนที่จะเข้ามา นี่ดูจะเป็นวิธีแก้ปัญหาที่ง่ายที่สุด แต่ในความเป็นจริงมันมีสิ่งที่เรียกว่า “ต้นทุน” ที่อาจจะทำให้ยังแก้ไม่ได้ในเวลานี้

ลองคิดดูว่าถ้าเราขยายร้านให้ใหญ่ จ้างพนักงานมาเยอะ ๆ เพื่อรองรับคนเป็นล้านที่พุ่งเข้ามาลงทะเบียนในเวลาไม่ถึง 20 นาที แต่เวลาที่เหลือทั้งวันกลับมีคนใช้บริการแค่ไม่กี่พัน และในหนึ่งปีจะใช้อยู่ไม่กี่ครั้ง เพื่อแก้ปัญหาช่วงสั้น ๆ แต่กลับต้องลงทุนมหาศาลระดับ 10 – 100 ล้านบาท พอจะเห็นภาพแล้วใช่ไหมว่ามันมีเรื่อง ‘ความคุ้มค่า’ ที่ต้องพิจารณา

จริง ๆ แล้ว ในการแก้ปัญหา แอปฯ ล่ม เว็บฯ ล่ม ในเชิงเทคนิคแล้วมีอยู่หลายวิธีมาก ๆ ตั้งแต่การทำ Load Balancer ที่กระจาย ‘คำขอ’ หรือผู้ใช้งานที่เข้ามาไปยังเซิร์ฟเวอร์หลาย ๆ ตัวที่เตรียมไว้ เพื่อลดภาระไม่ให้มีตัวใดตัวหนึ่งหนักเกินไป หรือ Auto Scaling ที่เพิ่มทรัพยากรเซิร์ฟเวอร์ (เช่น CPU, RAM) ได้เองโดยอัตโนมัติเมื่อตรวจพบว่ามีผู้ใช้งานพุ่งสูงขึ้น และเมื่อผู้ใช้งานลดลงก็จะ “ลดขนาด” กลับมาเท่าเดิม เพื่อลดภาระค่าใช้จ่าย นอกจากนี้ยังมีระบบรอคิว ที่แบ่งคนเข้ามาใช้งานให้ไปรอในห้องต่าง ๆ ก่อน แล้วค่อย ๆ ทยอยส่งเข้าไปตามลำดับ เหมือนกับที่เราเห็นในการรอคิวจองตั๋วคอนเสิร์ต

บทสรุปที่ต้องตัดสินใจ

จะเห็นได้ว่าในทางเทคนิคแล้วมีเครื่องมือและแนวทางมากมายที่สามารถป้องกันหรือลดผลกระทบจากปัญหานี้ได้ แต่ทั้งหมดก็ต้องมีการลงทุนเพิ่ม และมองถึงความคุ้มค่าในระยะยาว จุดนี้จึงเป็นเรื่องของคนที่มีส่วนเกี่ยวข้องที่ต้องตัดสินใจ ว่าจะยอมจ่ายเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นเพียงชั่วระยะเวลาสั้น ๆ หรือยอมให้เกิดปัญหาเพื่อเก็บงบไว้เพราะยังไม่คุ้ม

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก BT Beartai

'Hypernova' : แวร์เอเบิลใหม่ของ Meta ที่อาจทำให้ Apple หวั่นใจ

2 ชั่วโมงที่ผ่านมา

Apple ขยายความสำเร็จถึงโลกภาพยนตร์ ด้วย 'F1: The Movie'

3 ชั่วโมงที่ผ่านมา

Marks & Spencer เผยความเสียหายจากเหตุไซเบอร์เมื่อเดือน

4 ชั่วโมงที่ผ่านมา

Cloudflare จะตั้งค่าการบล็อก AI เก็บเกี่ยวข้อมูลบนโดเมนเป็นค่าเริ่มต้น

4 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความไอที ธุรกิจอื่น ๆ

“ดาวโจนส์” เด้งเฉียด 300 จุด หลัง “พาวเวล” ส่งซิก “เฟด” เตรียมหั่นดอกเบี้ยเดือนนี้

ข่าวหุ้นธุรกิจ

TTB ปิดดีลซื้อหุ้น “บล.ธนชาต” ดันถือครอง 99.97%

ข่าวหุ้นธุรกิจ

EA ปรับแผนชำระหุ้นกู้ใหม่เหลือ 5 ปี คงสิทธิดอกเบี้ย-เงื่อนไขเดิม นัดประชุม 9 ก.ค.นี้

ข่าวหุ้นธุรกิจ

“ฉาย บุนนาค” เก็บ AQUA เข้าพอร์ตเพิ่ม 33 ล้านหุ้น ดันถือ 14.83%

ข่าวหุ้นธุรกิจ

ตลท.จับ DV8 ติด “แคชบาลานซ์” เริ่มพรุ่งนี้

ข่าวหุ้นธุรกิจ

โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง “เพียรศักดิ์ สมบัติทอง” นั่งเป็นกรรมการ ป.ป.ช.

ข่าวหุ้นธุรกิจ

เปิดราคา OPPO Reno14 Series 5G - AI Portrait Expert เริ่มต้น 11,999 บาท

SpringNews

UNIQ คว้างานขุดคลองระบายน้ำหลาก “บางบาล–บางไทร” มูลค่า 850 ล้านบาท

ข่าวหุ้นธุรกิจ

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...