โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

ชัวร์ก่อนแชร์: ฉีดโบท็อกซ์ เสี่ยงมะเร็ง จริงหรือ?

ชัวร์ก่อนแชร์

อัพเดต 1 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 8 ชั่วโมงที่ผ่านมา • สำนักข่าวไทย อสมท

24 กรกฎาคม 2568
แปลและเรียบเรียงบทความ : อดิศร สุขสมอรรถ
ตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล

ข้อมูลน่าสงสัย :

มีความกังวลใจเกี่ยวกับการเสริมความงามและความเสี่ยงมะเร็ง เมื่อมีความเชื่อว่าการฉีดโบท็อกซ์เพื่อลดการหย่อนคล้อยบนใบหน้าเพิ่มความเสี่ยงมะเร็ง เนื่องจากเป็นสารที่สกัดจากพิษของแบคทีเรีย และการฉีดเพื่อให้กล้ามเนื้อบนใบหน้าเป็นอัมพาต ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันบกพร่องจนนำไปสู่มะเร็ง

บทสรุป :

1.ไม่มีหลักฐานว่าการฉีดโบท็อกซ์ก่อให้เกิดมะเร็ง
2.โบท็อกซ์ทางการแพทย์มีความปลอดภัยสูง
3.ผลเสียจากโบท็อกซ์มาจากการใช้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้มาตรฐาน

FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง :

โบท็อกซ์ เป็นชื่อการค้าของสาร โบทูลินัม ท็อกซิน (Botulinum Toxin) สารสกัดจากแบคทีเรียที่มีชื่อว่า คลอสตริเดียม โบทูลินัม แบ่งได้ 7 ชนิดได้แก่ โบทูลินัม ท็อกซิน เอ ถึง จี

โบท็อกซ์เพื่อการรักษา

โบทูลินัม ท็อกซิน หรือ โบท็อกซ์ ถูกนำมาใช้ทางการแพทย์เพื่อรักษาหลากหลายอาการ ทั้งการรักษาภาวะทางระบบประสาท เช่น ภาวะกล้ามเนื้อบิดเกร็ง (Dystonia) และภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็ง (Spasticity)

ใช้รักษาการปวดไมเกรน อาการคอบิดเกร็ง ภาวะกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกิน ภาวะเหงื่อออกมากผิดปกติ

จนถึงการใช้นอกข้อบ่งใช้ (Off-Label Use) เพื่อรักษาอาการใบหน้าไม่เท่ากันและภาวะความผิดปกติของกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน

โบท็อกซ์เพื่อเสริมความงาม

โบทูลินัม ท็อกซิน หรือ โบท็อกซ์ ได้รับความนิยมนำมาใช้เพื่อสร้างความกระชับให้กับผิวหน้า โบท็อกซ์จะทำหน้าที่ขัดขวางการหลั่งของสารอะเซทิลโคลีน ซึ่งเป็นสารสื่อประสาท (Neurotransmitter) ที่สั่งการให้กล้ามเนื้อหดตัว เมื่อฉีดที่บริเวณใบหน้า กล้ามเนื้อบริเวณนั้นจะถูกทำให้เป็นอัมพาตชั่วคราว ช่วยให้กล้ามเนื้อลดการเคลื่อนไหวและผ่อนคลายมากขึ้น

การใช้โบท็อกซ์ยับยั้งการหย่อนคล้อยของกล้ามเนื้อบนใบหน้าจะคงอยู่ได้นาน 3-4 เดือน ก่อนที่จะสลายตัวไปตามกระบวนทางธรรมชาติโดยไม่ทิ้งสารตกค้างในร่างกาย

โบท็อกซ์ในทางการแพทย์เจือจางจนไม่เป็นอันตราย

เป็นความจริงที่ว่า โบทูลินัม ท็อกซิน ถือเป็นหนึ่งในสารพิษที่ส่งผลต่อระบบประสาทร้ายแรงที่สุดเท่าที่วงการวิทยาศาสตร์เคยรู้จัก ในปริมาณเท่ากันมีความเป็นพิษมากกว่าพิษของงูเห่านับล้านเท่า

แต่กระนั้น โบทูลินัม ท็อกซิน ที่ใช้ในทางการแพทย์ถูกนำมาเจือจางและทำให้บริสุทธิ์ก่อนนำมาใช้ จึงไม่เป็นอันตรายต่อผู้ป่วยและผู้ใช้บริการแต่อย่างใด

โบท็อกซ์กับโรค Botulism

โบทูลิซึม (Botulism) เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อโบทูลินัม ท็อกซินจากแบคทีเรีย คลอสตริเดียม โบทูลินัม อาการที่เด่นชัดคือ อาการอ่อนแรง การมองเห็นผิดปกติ รู้สึกอ่อนล้า และพูดลำบาก จากนั้นอาจตามมาด้วยอาการอ่อนแรงของแขน กล้ามเนื้อหน้าอก และขา และอาจมีความรุนแรงถึงเสียชีวิตได้

แม้จะมีที่มาเหมือนกัน แต่โบทูลินัม ท็อกซินทางการแพทย์ที่ถูกเจือจางและทำให้บริสุทธิ์แล้ว เมื่อใช้อย่างถูกวิธีจะไม่ก่อให้เกิดโรคโบทูลิซึมกับผู้ป่วยแต่อย่างใด

โรค Botulism เพราะใช้โบท็อกซ์ปลอม/ผิดวิธี

เมื่อปี 2004 ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (CDC) รายงานพบผู้ป่วยเพศหญิงอายุระหว่าง 25-59 ปี จำนวน 22 ราย มารักษาตัวจากการใช้โบท็อกซ์ปลอมหรือใช้ผิดวิธี

มี 11 รายต้องรักษาตัวในโรงพยาบาล โดย 6 รายต้องรักษาตัวด้วยยาต้านพิษ จากความกังวลต่อโรคโบทูลิซึมเนื่องจากโบท็อกซ์ไหลออกจากจุดที่ฉีดและไปโจมตีระบบประสาทส่วนกลาง

จากการตรวจสอบพบว่า ผู้หญิงทั้ง 22 รายเข้ารับการฉีดโบท็อกซ์โดยผู้ที่ไม่มีใบอนุญาตหรือไม่มีความชำนาญการ

ส่วนปี 2023 พบผู้ป่วยโรคโบทูลิซึมในสหราชอาณาจักรจำนวน 67 ราย สืบประวัติพบว่าไปเข้ารับการลดน้ำหนักด้วยการฉีดโบท็อกซ์ที่โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งในประเทศตุรกี

โบท็อกซ์ไม่มีความเสี่ยงมะเร็ง

มีความเชื่อที่ว่าการทำให้กล้ามเนื้อเป็นอัมพาตเป็นการขัดขวางการระบายของระบบน้ำเหลืองอย่างเหมาะสม นำไปสู่โรคมะเร็งได้ ซึ่งไม่เป็นความจริง

ส่วนการเกิดตุ้มแดงบริเวณจุดที่ฉีดโบท็อกซ์ ไม่ใช่สัญญาณของการเติบโตของก้อนเนื้อที่ควบคุมไม่ได้ แต่เป็นอาการช้ำเข็มที่เกิดเมื่อระบบภูมิคุ้มกันแสดงปฏิกิริยาต่อการระคายเคืองในจุดที่ฉีดเท่านั้น

เทียบความปลอดภัยการใช้โบท็อกซ์รักษาผู้ป่วย

ความปลอดภัยของการใช้โบท็อกซ์เสริมความงาม เห็นได้จากความปลอดภัยของการใช้รักษาโรค ผลสำรวจผู้ที่ใช้โบท็อกซ์รักษาอาการป่วยเป็นเวลานานมากกว่า 15 ปีไม่พบว่ามีอัตราการป่วยเป็นมะเร็งมากกว่าคนทั่วไปแต่อย่างใด

นอกจากนี้ การใช้โบท็อกซ์เพื่อการรักษาโรคยังใช้ปริมาณโบท็อกซ์สูงกว่าการใช้เพื่อเสริมความงามอย่างมาก

การใช้โบท็อกซ์เพื่อเสริมความงาม 1 ครั้งใช้ปริมาณโบท็อกซ์ 20-50 ยูนิต แต่การใช้เพื่อรักษาโรค เช่น ภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็ง ต้องใช้ปริมาณโบท็อกซ์มากกว่า 300 ยูนิต

ส่วนการเว้นช่วงในการฉีดโบท็อกซ์ 3-4 เดือนต่อครั้ง เป็นช่วงเวลาที่มากพอจะทำให้ร่างกายเผาผลาญและกำจัดโบท็อกซ์ออกไปโดยเหลือตกค้างในร่างกาย ซึ่งการทดสอบพบว่าการได้รับสารโบท็อกซ์นานนับทศวรรษก็ไม่เพิ่มความเสี่ยงการเป็นมะเร็งแต่อย่างใด

โบท็อกซ์ปลอดภัยกับผู้ป่วยมะเร็ง

โบท็อกซ์ยังถูกใช้กับผู้ป่วยมะเร็ง ทั้งการบรรเทาอาการกล้ามเนื้อกระตุกจากรังสีหรืออาการปวดไมเกรนหลังการบำบัด

เนื่องจากโบท็อกซ์จะส่งผลต่อบริเวณที่ฉีดเท่านั้น จึงไม่ส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกันและไม่ส่งผลต่อการรักษาผู้ป่วยมะเร็งแต่อย่างใด

ปัจจุบันยังมีการวิจัยนำโบท็อกซ์มาใช้ในการรักษาผู้ป่วยมะเร็ง ซึ่งเป็นการหักล้างความเชื่อเรื่องโบท็อกซ์เป็นสารก่อมะเร็งอีกทางหนึ่งด้วย

ผลเสียจากการใช้โบท็อกซ์

ความเสี่ยงของการใช้โบท็อกซ์มีทั้งอาการหนังตาตก (Eyelid Drooping) ซึ่งเกิดจากการฉีดโบท็อกซ์ไม่ถูกวิธี ซึ่งอาจส่งผลนานถึง 6 เดือน

การใช้โบท็อกซ์เสริมความงามเป็นเวลานาน อาจส่งผลต่อให้ผู้ใช้ไม่สามารถขยับกล้ามเนื้อใบหน้าได้ตามธรรมชาติอีกต่อไป

งานวิจัยปี 2022 พบว่าผู้ที่ใช้โบท็อกซ์อย่างต่อเนื่องเกิดความผิดปกติบนกล้ามเนื้อบนใบหน้า แม้จะหยุดใช้โบท็อกซ์ไปแล้วถึง 4 ปี

ผู้เชี่ยวชาญอธิบายการหยุดใช้งานกล้ามเนื้อเป็นเวลานาน ทำให้กล้ามเนื้อไม่สามารถกลับมาทำงานได้สมบูรณ์เหมือนเดิม ซึ่งส่งผลต่อการแสดงสีหน้าของผู้ใช้โบท็อกซ์เป็นเวลานาน

เทียบความเสี่ยงกับการฉีดฟิลเลอร์

การฉีดฟิลเลอร์ เป็นการช่วยเติมเต็มชั้นผิวและช่วยกักเก็บความชุ่มชื้นให้เซลล์ ทำให้ใบหน้าอ่อนวัย และลดปัญหาริ้วรอย

แต่การฉีดฟิลเลอร์ก็มีความเสี่ยงการเกิดฟิลเลอร์จับตัวเป็นก้อน หรือ แกรนูโลมา ซึ่งเป็นปฏิกิริยาของระบบภูมิคุ้มกันต่อสิ่งแปลกปลอมที่ร่างกายไม่สามารถกำจัดได้ เซลล์เหล่านี้จะรวมตัวกันเป็นก้อนเพื่อล้อมรอบและยับยั้งการแพร่กระจายของสิ่งแปลกปลอม

รวมถึง อาการฟิลเลอร์อุดตันหลอดเลือดซึ่งอาจนำไปสู่ภาวะเนื้อตาย (Necrosis) หรือตาบอด

อาการข้างเคียงจากการใช้โบท็อกซ์และฟิลเลอร์เกิดขึ้นได้ยาก หากเข้ารับการเสริมความงามกับผู้เชี่ยวชาญและใช้ผลิตภัณฑ์ที่มาตรฐาน

ข้อมูลอ้างอิง :

https://medicalrealities.com/does-botox-cause-cancer-a-complete-medical-review-of-risks-and-evidence/
https://www.bbc.com/future/article/20240503-are-there-long-terms-health-risks-to-using-botox

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก ชัวร์ก่อนแชร์

ชัวร์ก่อนแชร์ : ไข้ทับระดูมี 2 แบบ คือแบบที่ไม่มีโรคแอบแฝงและแบบที่มีสภาวะโรคแอบแฝง จริงหรือ ?

4 ชั่วโมงที่ผ่านมา

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : ไขมันพอกตับเพราะกินหวาน ออกกำลังกายก็ไม่หาย จริงหรือ ?

14 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความทั่วไปอื่น ๆ

"ปราสาทตาเมือนธม" ย้อนปมร้อน ประเด็นเขตแดนไทย – กัมพูชา

คมชัดลึกออนไลน์

BREAKING: ประกาศลดระดับความสัมพันธ์ทางการทูต! เรียกทูตไทยกลับประเทศ ส่งทูตกัมพูชาในไทยคืน ตอบโต้หลังกำลังพลไทยโดนกับระเบิดขาขาดเพิ่ม

THE STANDARD

‘โฆษก ทบ.’ ลั่น ‘กัมพูชา’ เปิดฉากยิงบีบ ‘ทหารไทย’ ตอบโต้

The Bangkok Insight

ชัวร์ก่อนแชร์ Motor Check : เตือน ! ห้ามใช้ตัวหลอกเข็มขัดนิรภัย อันตราย จริงหรือ ?

ชัวร์ก่อนแชร์

ชัวร์ก่อนแชร์ Motor Check : เตือน ! ห้ามใช้ตัวหลอกเข็มขัดนิรภัย อันตราย จริงหรือ ?

สำนักข่าวไทย Online

เหตุปะทะ "ปราสาทตาเมือนธม" 2 โรงพยาบาลใหญ่อพยพผู้ป่วยออกจาก รพ.

คมชัดลึกออนไลน์

“ฮุน เซน-โฆษกกลาโหมกัมพูชา” แจงด่วน อ้างไทยเปิดฉากยิงก่อน

ข่าวช่องวัน 31
วิดีโอ

"รพ.น่าน" เร่งอพยพ น้ำทะลักแผนกฉุกเฉิน | ข่าวช่องวัน

ข่าวช่องวัน 31

ข่าวและบทความยอดนิยม

ชัวร์ก่อนแชร์: ใช้ยาย้อมผม เสี่ยงมะเร็ง จริงหรือ?

ชัวร์ก่อนแชร์

กษัตริย์อังกฤษพบแพทย์เรื่องรักษามะเร็ง

ชัวร์ก่อนแชร์

ชัวร์ก่อนแชร์: เคี้ยวหมากและใบพลู ฆ่าเชื้อในปาก ต้านโควิด-มะเร็ง จริงหรือ?

ชัวร์ก่อนแชร์
ดูเพิ่ม
Loading...