คนไทยสายบุญ ดันตลาดการกุศล ปี 68 เงินสะพัด 1.5 แสนล้าน/ปี
จะว่า “คนไทยใจบุญ” อาจจะไม่เกินจริง เพราะตัวเลขตลาดการกุศล ที่เกี่ยวข้องกับการทำบุญ อาทิ การบริจาคให้วัด คนและสัตว์ยากไร้ ตลอดจนการบรรเทาสาธารณภัย กำลังโตแบบเงียบ ๆ และขยายตัวต่อเนื่อง (อ้างอิงศูนย์วิจัยกสิกรไทย)
ปี 2560 ตลาดการกุศล มีมูลค่า 129,000 ล้านบาท
ปี 2568 ตลาดการกุศล คาดการณ์มีมูลค่า 150,000 ล้านบาท
“ระยะ 9 ปี (พ.ศ. 2560 - 2568) ตลาดการกุศลมีอัตราการเติบโตเฉลี่ย (CAGR) 2% ต่อปี”
แล้วอะไรทำให้ตลาดการกุศลเงินสะพัดขนาดนี้?
1.คนไทยอินกับการทำบุญตามความเชื่อทางศาสนา โดยในแต่ละเดือน ค่าใช้จ่าย 1% ของครัวเรือน จะใช้ไปกับกิจกรรมทางศาสนา
ยกตัวอย่าง ครอบครัว A มีรายได้รวมกันอยู่ที่ 50,000 บาท ก็จะใช้เงินไปกับการทำบุญราว 500 บาท/เดือน นั่นเอง
2.การช่วยเหลือสังคมผ่านการทำ CSR โดยองค์กรต่าง ๆ หันมา “ทำดีเพื่อสังคม” ผ่านการบริจาค เช่น ธนาคารตั้งกองทุนช่วยเหลือเด็กและผู้สูงอายุ เป็นต้น
3.การบริจาคในสถานการณ์ฉุกเฉิน เช่น น้ำท่วม แผ่นดินไหว เป็นต้น
4.การลดหย่อนภาษี คนไทยบริจาคเพื่อใช้ลดหย่อนภาษีมากกว่า 5.5 หมื่นล้านบาท/ปี
3 เทรนด์บริจาคใหม่น่าจับตา
New Motivation : เหตุผลการบริจาคเปลี่ยนไปจาก “เพราะเชื่อ” เป็น “เพราะอยากช่วย” เช่น
บริจาคช่วยสัตว์ยากไร้
บริจาคออนไลน์ (Online Donation)
New Target : กลุ่มเป้าหมายใหม่มาแรง
- เด็ก Gen Z ที่โตมากับโลกดิจิทัล เริ่มหันมาทำบุญผ่านแอปหรือโซเชียลมีเดียมากขึ้น เช่น สนับสนุนกิจกรรมใน TikTok ที่ระดมทุนช่วยผู้ป่วย เป็นต้น
New Collaboration : การร่วมมือข้ามวงการ
- Tech Startup จับมือ NGOs สร้างแพลตฟอร์มบริจาคที่ตรวจสอบได้
4 ปัจจัยที่กำลัง “เปลี่ยนเกม” การกุศลไทย
1.ความน่าเชื่อถือคือหัวใจ- ผู้บริจาคต้องการความโปร่งใส อาทิ มีใบเสร็จ รายละเอียดชัดเจน เช็กสถานะเงินได้
2.ขยายวัตถุประสงค์ให้หลากหลาย เน้นผลลัพธ์ระยะยาว เช่น การศึกษา การแพทย์ เป็นต้น
3.การให้สิทธิประโยชน์จูงใจ เช่น ขยายขอบเขตการลดหย่อนภาษี และการให้ส่วนลดร้านค้า ของที่ระลึก
4.เทคโนโลยีช่วยเร่งบุญเช่น การบริจาคผ่านช่องทางออนไลน์ การปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล