โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

บิ๊กเทคโลกปรับโครงสร้างองค์กร แรงงานระดับกลางถูกแทนที่ หัวกะทิถูกแย่งชิง

กรุงเทพธุรกิจ

อัพเดต 9 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 6 ชั่วโมงที่ผ่านมา

แม้เม็ดเงินลงทุนด้านเอไอจะเพิ่มสูงสุดเป็นประวัติการณ์ และหุ้นกลุ่มเทคโนโลยียังร้อนแรงต่อเนื่องในปี 2025 แต่ในเวลาเดียวกัน บริษัทเทคยักษ์ใหญ่กลับเดินหน้า ‘ปลดพนักงาน’ อย่างต่อเนื่อง ขณะที่ค่าตัวนักวิจัยเอไอชั้นนำพุ่งทะยานระดับแตะดาวอังคาร

สิ่งที่เกิดขึ้นพร้อมกันคือ 1) การปลดพนักงานจำนวนมากในตำแหน่งกลางถึงบน และ 2) การเร่งลงทุนในเอไอพร้อมแย่งตัว ‘หัวกะทิ’ ซึ่งเป็น Talent ระดับสูงสุดของโลก

ตัวเลขล่าสุดจาก Layoffs.fyi ระบุว่า เพียงครึ่งปีแรกของปีนี้ มีพนักงานด้านเทคโนโลยีถูกปลดไปแล้วกว่า 60,000 คน นำโดยบริษัทอย่าง Microsoft, Google, Amazon, Meta และ Intel และหากนับตั้งแต่ต้นปี 2023 ตัวเลขทะลุกว่า 150,000 รายไปแล้ว

ขณะที่บางบริษัททุ่มงบหลายล้านดอลลาร์ เพื่อแย่งชิงตัวนักวิจัยเอไอระดับหัวกะทิ พร้อมเสนอเงินเดือนสูงถึง 340,000 ดอลลาร์ต่อปี ไม่รวมโบนัส - หุ้น

ปลดคนหมื่นราย กระทบแรงงานระดับกลาง

การปลดพนักงานจำนวนมากในปี 2025 ไม่ได้เกิดจากผลประกอบการที่ตกต่ำ หากแต่เป็น ‘ยุทธศาสตร์เชิงรุก’ เพื่อระดมทุนเข้าสู่สนามรบใหม่ นั่นคือ ปัญญาประดิษฐ์

Microsoft คือ ตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุด เพียงครึ่งปีแรกของปีนี้ บริษัทปลดพนักงานไปแล้วกว่า 16,000 คน โดยล่าสุดในเดือนกรกฎาคม ตัดพนักงานเพิ่มอีก 9,100 ราย หรือราว 4% ของพนักงานทั่วโลก เพื่อปรับโครงสร้างองค์กร รองรับการขยายการลงทุนด้านเอไอ

Google เองก็ไม่ต่างกัน เดือนมิถุนายน ที่ผ่านมา บริษัทเสนอแพ็กเกจสมัครใจลาออกให้กับพนักงานหลายแผนกหลัก เช่น Search และ Ads พร้อมทั้งเพิ่มงบลงทุนด้านเอไอขณะที่ลดงบสำหรับธุรกิจ Android TV และ Google TV ลงกว่า 10%

Intel ประกาศตัดคนกว่า 21,000 คน หรือ 20% ของพนักงานทั่วโลก ในเวลาไล่เลี่ยกัน พร้อมเปลี่ยนผู้นำองค์กร สะท้อนว่าแนวโน้มนี้ไม่ใช่แค่ขนาดเล็ก แต่เป็นการรีเซ็ตองค์กรในระดับโครงสร้าง ขณะที่ Amazon ลดคนในทีม Alexa และ Zoox อย่างต่อเนื่อง

ด้าน Meta ปลดพนักงานชุดใหญ่ในแผนก VR และ Reality Labs โดยบริษัทกำลังเข้าสู่ระยะใหม่ เพราะรวบรวมบุคลากรระดับสูงจาก OpenAI, DeepMind, Apple และบริษัทเอไอชั้นนำอื่นๆ เพื่อมาก่อตั้ง Meta Superintelligence Lab ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มุ่งเป้าพัฒนาเอไอขั้นสูงระดับ AGI และจะเป็นแกนหลักของ Meta ในอีก 5 - 10 ปีข้างหน้า

ภายใต้โครงสร้างใหม่นี้ Meta ไม่ได้ประกาศปลดพนักงานครั้งใหญ่แบบหวือหวาอีกแล้ว แต่เลือกใช้วิธีปรับโครงสร้างแบบค่อยเป็นค่อยไป ด้วยการปลดพนักงานเฉพาะกลุ่ม ลดคนในส่วนที่ไม่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์เอไอ และนำทรัพยากรที่ได้ไปลงทุนกับคนที่มีความสามารถเฉพาะทางมากขึ้น

Photo: Matt Cardy/Getty Images

โดยตำแหน่งที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดคือ Software Engineer, Project Manager, HR, Customer Service และตำแหน่งระดับกลางในโครงสร้างองค์กร ซึ่งในอดีตเคยเป็นฟันเฟืองหลักของการเติบโตในโลกเทคโนโลยี

‘สงครามชิงตัว’ เงินเดือนหลักร้อยล้าน แลกกับสมองระดับโลก

เบื้องหลังการปลดพนักงานนับหมื่น คือ การแข่งขันที่รุนแรงในอุตสาหกรรมเอไอระดับสูง โดยเฉพาะระหว่าง Meta, OpenAI, Google และ Microsoft

ข้อมูลจากวีซ่าทำงาน (Visa Workforce Insights) ไตรมาสแรกปี 2025 เผยว่า Microsoft เสนอเงินเดือนให้ Software Engineer ด้านเอไอสูงสุดถึง 284,000 ดอลลาร์ และใน LinkedIn ซึ่งเป็นบริษัทลูก มีบางตำแหน่งพุ่งถึง 336,000 ดอลลาร์ต่อปี

ด้าน Google เสนอค่าตอบแทนให้ตำแหน่งวิศวกรซอฟต์แวร์สูงสุดถึงปีละ 340,000 ดอลลาร์ต่อปี เพื่อจ้างและรักษาบุคลากรระดับหัวกะทิ ซึ่งค่าตอบแทนที่สูงมาพร้อมกับความคาดหวัง และแรงกดดันมหาศาล โดยพนักงานต้องทำผลงานในระดับท็อปอย่างสม่ำเสมอภายใต้ระบบการประเมินที่เข้มข้น

Meta คือ ผู้เล่นที่รุกหนักที่สุดในศึกนี้ โดยในเดือนมิถุนายน มีรายงานว่า Meta สามารถดึงตัวนักวิจัยระดับสูงจาก OpenAI ได้มากถึง 8 คนภายในสัปดาห์เดียว พร้อมตั้ง Meta Superintelligence Labs เพื่อรวมพลังวิจัยทั้งหมดไว้ในที่เดียว

แซม อัลท์แมน ซีอีโอ OpenAI ถึงกับกล่าวว่า “รู้สึกเหมือนมีคนบุกรุกบ้านเราแล้วขโมยของไป” หลังสูญเสียนักวิจัยชุดใหญ่ให้กับ Meta แม้จะพยายามต้านด้วยการเพิ่มโบนัสหุ้นรวมกว่า 4.4 พันล้านดอลลาร์

บริษัทที่ยังไม่ปลดคน เดินเกมคนละแบบ

อย่างไรก็ตาม มีบริษัทบางรายที่เลือกกลยุทธ์คนละทาง โดยไม่รีบเร่งปลดพนักงาน แต่กลับพัฒนาเอไอด้วยวิธีที่สงบนิ่งกว่า

หนึ่งในนั้นคือ Apple ซึ่งยังไม่ปรากฏกรณีปลดพนักงานครั้งใหญ่ แม้จะอยู่ในช่วงเร่งพัฒนา Foundation Models สำหรับ iOS และผลิตภัณฑ์ในอนาคต โดยเลือกใช้แนวทางที่เรียกว่า ‘เอไอแบบแนบเนียน’ (Ambient AI) ซึ่งผสานเอไอเข้ากับระบบปฏิบัติการโดยไม่เน้นโมเดลที่หวือหวาเหมือน Gemini หรือ ChatGPT

Apple ไม่เพียงไม่ปลดคน แต่ยังเน้นการใช้ทรัพยากรภายในองค์กรอย่างเงียบๆ มาเป็นแกนหลักในการวิจัยเอไอ โดยเฉพาะในหน่วย Apple Machine Intelligence และ Apple’s Foundation Models Group ที่ก่อตั้งในช่วงต้นปี 2024 พร้อมดึงนักวิจัยระดับสูงจาก Google, Meta และสตาร์ตอัปที่ปิดตัวจากฟองสบู่เอไอ

ขณะเดียวกัน บริษัทเทคดั้งเดิมอย่าง IBM และ Oracle ก็เลือกโฟกัสไปที่เอไอเชิงองค์กร (Enterprise AI) ซึ่งเป็นตลาดที่มีขนาดใหญ่แต่ไม่หวือหวา โดยยังไม่มีการปลดคนครั้งใหญ่เช่นกัน IBM กลับเน้นหนักไปที่โครงการ “AI Skills Build” เพื่อ reskill พนักงานกว่า 30,000 คนทั่วโลกให้สามารถทำงานร่วมกับ Watsonx ซึ่งเป็นเอไอแพลตฟอร์มหลักของบริษัท

Oracle ก็ใช้วิธีคล้ายกัน โดยโฟกัสที่เอไอในระบบฐานข้อมูลและโครงสร้างคลาวด์สำหรับลูกค้าองค์กร ไม่ใช่การแข่งกันสร้างโมเดล LLM แบบที่บริษัทเทคยักษ์ใหญ่อื่นทำ

จุดเด่นของกลุ่มบริษัทเหล่านี้คือ พวกเขาไม่ได้เล่นเกมเร็วที่สุด หรือใหญ่ที่สุด แต่เลือกพัฒนาทักษะภายในให้สอดคล้องกับจังหวะการเติบโตของตลาดจริง

Good Attrition การจากลาแบบที่บริษัทอยากให้เกิดขึ้น

ในอีกด้าน บริษัทเทคเริ่มนิยามการปลดคนใหม่ให้ ‘เชิงบวก’ มากขึ้น Microsoft ตั้งระบบใหม่ที่เรียกว่า Good Attrition หรือการจากลาในทางที่ดี โดยเฉพาะกับพนักงานที่อยู่ในระบบ Performance Improvement Plan (PIP) ที่หากไม่ผ่านเกณฑ์ จะถูกเสนอให้ออกโดยสมัครใจ พร้อมแพ็กเกจลาออกแบบ Global Voluntary Separation Agreement (GVSA)

สัตยา นาเดลลา ซีอีโอ Microsoft เคยกล่าวไว้ว่า การปรับโครงสร้างนี้ “ไม่ใช่เพราะคนเหล่านั้นล้มเหลว แต่เป็นเพราะทิศทางใหม่ของบริษัทต้องการทักษะใหม่ๆ” Meta ก็ใช้แนวทางเดียวกัน โดยประกาศปลดพนักงาน 5% ในเดือนมกราคม โดยชี้ว่าเป็นการตัดคนที่ “ผลงานต่ำ” เพื่อเตรียมรับมือปีที่ท้าทาย

ทักษะด้านเอไอคือ สกุลเงินใหม่แห่งโลกเทค

สิ่งที่น่าจับตามองคือ จำนวนผู้เชี่ยวชาญเอไอชั้นสูงทั่วโลกนั้นมีไม่ถึงพันคน และส่วนใหญ่กระจุกตัวอยู่ในมหาวิทยาลัยชั้นนำ หรือเคยทำงานกับองค์กรระดับ OpenAI, DeepMind, Meta หรือ Google มาก่อน

การแย่งชิงตัวคนกลุ่มนี้จึงไม่ต่างจากสงครามทรัพยากรแบบใหม่ ที่วัดกันด้วยเงินสด หุ้น และเป้าหมายวิจัยที่ทะเยอทะยาน เช่น การพัฒนาเอไอด้าน reasoning, agents, multimodal, หรือ LLM infrastructure

Meta ถึงขั้นดึง อเล็กซานเดอร์ หวัง ผู้ก่อตั้ง Scale เข้ามาเสริมทีม พร้อมนักวิจัยระดับหัวกะทิจาก DeepMind และ OpenAI หลายราย

ในเวลาเดียวกันสตาร์ตอัปเล็กๆ ที่ก่อตั้งโดยอดีตทีมงานของบริษัทใหญ่ เช่น Ilya Sutskever (Safe Superintelligence), Mira Murati และ Lilian Weng (Thinking Machines Lab) เริ่มเผชิญแรงสั่นสะเทือนจากทุนใหญ่ที่แย่งตัวทีมงานไปอย่างไม่ไว้หน้า

ตลาดแรงงานถูกแบ่งเป็นสองขั้ว

สงครามแย่งชิงซูเปอร์สตาร์เอไอ สิ่งที่กำลังเกิดขึ้นคือ การหายไปของตำแหน่งงานระดับกลาง เช่น Software Engineer, Project Manager, HR, และ Customer Service

รายงานของ World Economic Forum ปี 2025 คาดการณ์ว่าจะมีตำแหน่งงานหายไปกว่า 92 ล้านตำแหน่ง แต่เกิดใหม่ 170 ล้านตำแหน่ง ทว่า ทักษะที่ต้องใช้เปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง
งานที่จะอยู่รอดคือ งานที่เอไอยังเสริมได้แต่ยังไม่แทนได้ เช่น การดูแลผู้สูงอายุ งานก่อสร้าง งานที่ใช้แรงกาย หรืองานสร้างสรรค์ที่ต้องใช้ความเข้าใจมนุษย์ เช่น ศิลปะ การตลาด หรือจิตวิทยา

‘คนที่มีสกิลเอไอหายาก’ และ ‘คนที่กำลังถูกเอไอแทนที่’ เรากำลังเข้าสู่ยุคที่ตลาดแรงงานมีความเหลื่อมล้ำชัดเจนที่สุด คนส่วนน้อยที่เข้าใจเอไอลึก และเร็วกำลังกลายเป็นเศรษฐีใหม่ ด้านคนส่วนใหญ่ที่เคยมีบทบาทในองค์กร กลายเป็นส่วนเกินของระบบ

นี่คือ ภาพที่ชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ ของโลกเทคโนโลยีที่กำลังเดินเข้าสู่ ‘ระบบแรงงานสองขั้ว’ ด้านหนึ่งคือ กลุ่มผู้เชี่ยวชาญเอไอที่มีอำนาจต่อรองสูง ได้รับเงินเดือนหลักร้อยล้าน พร้อมหุ้น และอิสรภาพในการทำวิจัย อีกด้านคือ แรงงานเดิมที่กำลังถูกแทนที่โดยอัลกอริทึม และต้องเผชิญกับตลาดงานที่เปลี่ยนเร็วเกินจะตั้งตัวทัน

เอไออาจเป็นคำตอบของการเติบโตระยะยาว แต่ตอนนี้ หลายโมเดลยังไม่มีรายได้รองรับต้นทุนที่เกิดขึ้น องค์กรที่ลงทุนหนักในอุตสาหกรรมเอไอ ได้แก่

  • Microsoft (ผ่าน OpenAI และ Azure AI)
  • Google (Gemini + AI Search + Cloud)
  • Meta (MSL + Llama + AI Agents)
  • Amazon (AWS + CodeWhisperer + Q)

คำถามคือ โมเดลพวกนี้จะสร้างรายได้กลับคืนมาอย่างไร หรือเรากำลังเห็นการเทเม็ดเงินครั้งใหญ่แบบปี 2000 ซ้ำอีกครั้ง?

อ้างอิง: forbes, winbuzzer, techcrunch และ business insider

พิสูจน์อักษร….สุรีย์ ศิลาวงษ์

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก กรุงเทพธุรกิจ

รัฐลดหย่อนภาษีโซลาร์รูฟ‘บ้านยุคใหม่’ สร้างสมดุลพลังงานสะอาด

44 นาทีที่แล้ว

'มทภ.2' เผย ทหาร เหยียบกับระเบิด ชายแดนไทย-กัมพูชา เจ็บ 3 นาย

3 ชั่วโมงที่ผ่านมา

‘โต๊ะ พันธมิตร’ คืนสังเวียนพากย์ ‘เฉินหลง’ ใน Karate Kid: Legends

3 ชั่วโมงที่ผ่านมา

Karate Kid: Legends การกลับมาของตำนานหนังกังฟูยุค 80 และ 'เฉินหลง'

4 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความไอที ธุรกิจอื่น ๆ

จับตา! “ทักษิณ” นัดคนไทยฟังทางรอดเศรษฐกิจ 17 ก.ค.นี้ ย้ำ “เรายังมีหวัง”

ข่าวหุ้นธุรกิจ

“ดร.รุ่ง” เปิดใจผ่าน “บลูมเบิร์ก” ดันการเงินผ่อนคลาย จับมือรัฐ-เอกชนขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย

ข่าวหุ้นธุรกิจ

‘BWG - ETC’ ร่อนแถลงการณ์แจ้งนักลงทุน หลังเกิดกระแสข่าว ‘GULF’ เข้าซื้อกิจการ

THE STATES TIMES

“ดาวโจนส์” พุ่งเฉียด 200 จุด ขานรับงบแบงก์ Q2 แกร่ง-ดัชนี PPI ต่ำคาด

ข่าวหุ้นธุรกิจ

“สหรัฐ” เปิดดัชนี PPI เดือนมิ.ย. ขยายตัว 2.3%

ข่าวหุ้นธุรกิจ

OSP ดัน “มุกดา ไพรัชเวทย์” นั่ง CEO พร้อมตั้ง “ญนน์ โภคทรัพย์” ประธานบอร์ด มีผล 1 ต.ค.นี้

ข่าวหุ้นธุรกิจ

TMI บอร์ดไฟเขียว! อนุมัติโครงการซื้อหุ้นคืน

สยามรัฐ

กสทช. สั่งค่ายมือถือปรับราคา "แพ็กเกจธงฟ้า" ต่ำกว่า 240 บาทต่อเดือน

PPTV HD 36

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...