โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

การเมือง

อัดโปรฯ‘ท่าเรือละมุ’ เทียบ‘ทวาย’ ดีลแลกภาษีสหรัฐฯ ชักศึกเข้าบ้าน?

กรุงเทพธุรกิจ

อัพเดต 11 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 5 ชั่วโมงที่ผ่านมา

จากข้อมูลที่ “กองทัพเรือ” มีแผนพัฒนา “ท่าเรือละมุ” ฐานทัพเรือพังงา ในพื้นที่บ้านทับละมุ อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา ฝั่งทะเลอันดามัน เพื่อส่งกำลังบำรุงให้ครอบคลุมพื้นที่ปฏิบัติการกองทัพเรือ รองรับกำลังทางเรือตามยุทธศาสตร์ และการพัฒนาขีดความสามารถใต้น้ำ

ก่อนหน้านี้ ท่าเรือละมุ ฐานทัพเรือพังงา เป็นเพียงสถานีทหารเรือพังงา เป็นพื้นที่มีลักษณะแคบ น้ำตื้น ตกตะกอนเร็ว และด้วยงบประมาณที่มีจำกัด กองทัพเรือจึงเลือกพัฒนาเท่าที่จำเป็น เพื่อรองรับและสนับสนุนทัพเรือภาค 3 ในการส่งกำลังบำรุง เช่น การเติมน้ำมัน การซ่อมสร้าง การขนส่งกำลังบำรุง

ในอนาคต หวังจะขยายพื้นที่ให้สามารถจอดเรือตรวจการณ์ หรือเรือฟริเกต ขนาดเบา จำนวน 4 ลำ ควบคู่ไปกับการพัฒนาอู่เรือ ให้สามารถดูแลเรือที่ออกไปปฏิบัติภารกิจ ในทะเลฝั่งอันดามันได้เท่านั้น

ทั้งนี้ สหรัฐอเมริการับรู้ว่า กองทัพเรือมีแผนพัฒนาท่าเรือละมุ ฐานทัพเรือพังงา ซึ่งหากจะพัฒนาได้เทียบเคียงกับท่าเรือน้ำลึกทวาย ประเทศเมียนมา ต้องใช้งบประมาณสูงมาก จึงเสนอช่วยเหลือสนับสนุนงบประมาณส่วนหนึ่ง

สอดคล้องกับที่ “ภูมิธรรม เวชยชัย” รองนายกฯ และรมว.มหาดไทย ที่เพิ่งย้ายเก้าอี้จาก รมว.กลาโหม ออกมาปฏิเสธเสียงแข็งว่า ไม่เคยพูดคุย และไม่รับรู้เรื่องสหรัฐฯ ขอใช้ฐานทัพเรือพังงา แลกกับการลดภาษีการค้าน

แต่ “ภูมิธรรม” ยอมรับว่า กองทัพเรือเคยมาพูดคุยเรื่องแผนพัฒนาท่าเรือละมุ ฐานทัพเรือพังงา ฝั่งอันดามัน เนื่องจากปัจจุบันมีเฉพาะท่าเรือฝั่งอ่าวไทย

“ผมจึงบอกไปว่า ต้องดูรายละเอียด เพราะต้องใช้งบประมาณสูง แต่ยืนยันว่าไม่ได้คุยเรื่องนี้กับสหรัฐฯ แต่กองทัพเรือเขาคงมีแผนอยู่ก่อนแล้ว เพราะว่ามาคุยกับผม” ภูมิธรรม ระบุ

ประเด็นนี้ แม้จะเป็นเรื่องเก่า แต่ก่อนที่ “ทีมไทยแลนด์” ซึ่งนำโดย พิชัย ชุณหวชิร รองนายกฯและรมว.คลัง จะยกคณะเดินทางไปเจรจาภาษีสหรัฐฯ ในรอบแรก ทางรัฐบาลได้สั่งให้สำรวจว่า หน่วยงานความมั่นคงมีประเด็นไหนบ้าง เพื่อเตรียมคำตอบ

ท่าเรือละมุ ฐานทัพเรือพังงา เป็นหัวข้อหนึ่งในหลายประเด็นที่ฝ่ายความมั่นคงเตรียมไว้ แต่ไม่ว่าสหรัฐฯ จะยื่นข้อเสนอใดมา ตรงกับข้อสอบที่เก็งไว้หรือไม่ แต่คำตอบที่ส่งให้ทีมไทยแลนด์ คือ รัฐบาลทุกยุค ยึดนโยบายสร้างความสมดุลมาเป็นอันดับแรก

รวมถึงรายการจัดซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์กองทัพ หน่วยงานความมั่นคงทำรายละเอียดส่งให้ทีมไทยแลนด์ แม้ปัจจุบันนี้กองทัพอากาศไทยมีโครงการจัดซื้อเครื่องบินขับไล่ทดแทน F-16 สหรัฐฯ ที่ทยอยปลดประจำการ เลือกกริพเพน ของสวีเดน แต่ในปีถัดไปจะเลือกเครื่องบินขับไล่ของสหรัฐฯ

“การที่เราจะไปรับอะไรของเขามา ต้องคิดให้ดี รัฐบาลทุกยุคยึดนโยบายสร้างสมดุล ไม่ว่าสหรัฐฯ จะยื่นเงื่อนไขอะไรมา เกี่ยวกับความมั่นคง แลกกับการลดภาษี สุดท้ายก็ต้องกลับไปชั่งน้ำหนัก และยึดนโยบายสมดุลเป็นหลัก” แหล่งข่าวความมั่นคง ระบุ

ทั้งนี้ หากพิจารณาความสำคัญทะเลไทยด้านตะวันตก ฝั่งทะเลอันดามัน และช่องแคบมะละกา ถูกโอบล้อมด้วยน่านน้ำของประเทศมาเลเซีย และอินโดนีเซีย แต่พื้นที่ตอนบน ถูกโอบล้อมด้วยน่านน้ำของประเทศอินเดีย

ปัจจุบันอิทธิพลของจีนขยายในทะเลจีนใต้ สหรัฐฯ มีหมู่เกาะสแปรตลีย์เป็นฐานอยู่แล้ว แต่จีนมีส่วนหนึ่งที่ขยายไปทางเมียนมา เรียกว่า เส้นทางสายไหมใหม่ ที่คือระเบียงเศรษฐกิจจีน-เมียนมา (China-Myanmar Economic Corridor - CMEC)

นับเป็นส่วนหนึ่งของโครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง (Belt and Road Initiative-BRI) เชื่อมโยงจีนกับมหาสมุทรอินเดีย โดยมีท่าเรือน้ำลึกทวายเป็นส่วนสำคัญในการเชื่อมต่อเส้นทางการค้าทางทะเล

ในมุมมองสหรัฐฯ ถือเป็นภัยคุกคามในภูมิภาคแถบนี้ ส่วนไทยมีภูมิรัฐศาสตร์ที่ดี โดยเฉพาะทะเลภาคใต้ ไม่ว่าจะอยู่ในจุดใด สามารถเดินทางได้ทั้งตะวันออกเชื่อมต่อแปซิฟิก ฝั่งตะวันตกเชื่อมต่ออินเดีย ควบคุมได้ 2 ด้าน จึงเล็งท่าเรือละมุ ฐานทัพเรือพังงา

ภายหลัง “พิชัย”ทีมไทยแลนด์ กลับจากสหรัฐฯ “รัฐบาล”ยังไม่ส่งสัญญาณใดๆ มายังกองทัพเรือ ขณะที่ “พล.ร.อ.จิรพล ว่องวิทย์” ผู้บัญชาการทหารเรือ ให้ตรวจสอบข้อมูลแหล่งที่มาของข่าว

แน่นอนว่า การใช้ความมั่นคงแก้ไขปัญหาภาษีสหรัฐฯ เป็นเรื่องใหญ่ ที่รัฐบาลต้องชั่งน้ำหนักว่า สิ่งใดที่ให้ได้ ก็ต้องอยู่ในกรอบที่เหมาะสม เพื่อไม่ให้นโยบายสร้างความสมดุลของไทยเอียงข้าง กลายเป็นชักศึกเข้าบ้าน

ฉะนั้น รัฐบาลควรมุ่งหาทางเลือกอื่น ไม่ควรยึดติดสหรัฐฯ เช่น เพิ่มการส่งออกไปกลุ่มประเทศยุโรป แอฟริกา แทนสหรัฐฯ หรือเปิดตลาดใหม่

ปัญหาภาษีสหรัฐฯ นับเป็นความท้าทายของรัฐบาล และทีมเศรษฐกิจ ซึ่งต้องปรับเปลี่ยนไปตามสิ่งแวดล้อมใหม่ที่เกิดขึ้น นำมาซึ่งโอกาสและอุปสรรค

ต้องวัดกึ๋นของรัฐบาล ว่าจะแก้ไขปัญหากันด้วยวิธีใด ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อผลประโยชน์ของประเทศ เพราะไทยเป็นเพียงประเทศเล็กๆ ที่มีเสถียรภาพการเมือง การทหาร ไม่เข้มแข็ง ที่ประเทศมหาอำนาจ ทั้งสหรัฐอเมริกา จีน สหภาพยุโรป หรือมหาอำนาจใหม่คอยรุมทึ้ง จะหามิตรแท้ที่จริงใจคงไม่มี

ดังนั้น นโยบายสร้างความสมดุลไทย คือสิ่งที่รัฐบาลต้องรักษาไว้

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก กรุงเทพธุรกิจ

แนะวิธีรับมือทรัมป์ ‘ปลดปธ.เฟด’ ขายบอนด์ 10 ปี ซื้อบอนด์ 2 ปีแทน

26 นาทีที่แล้ว

หุ้นไทยร่วง 7.04 จุด นักลงทุนทยอยขายทำกำไร หลังดัชนีเร่งตัวเร็วทะลุ 1,200 จุด

28 นาทีที่แล้ว

'พล.อ.ณัฐพล' แจงไทม์ไลน์ฟ้องกัมพูชา ละเมิดออตตาวา จี้ สปอนเซอร์ หยุดให้เงิน

32 นาทีที่แล้ว

'กมธ.ทหาร' เชิญ 'รมช.กลาโหม' แจงปมกับระเบิดชายแดน 24ก.ค.นี้

34 นาทีที่แล้ว

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความการเมืองอื่น ๆ

ข่าวและบทความยอดนิยม