‘หมอวรงค์’ ฟังไต่สวนคดีชั้น 14 ยันมีการแทรกแซงกระบวนการยุติธรรมในอดีต
เมื่อวันที่ 4 ก.ค. นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ประธานพรรคไทยภักดี เดินทางเข้าร่วมรับฟังการไต่สวนคดีการพักรักษาตัว รพ.ตำรวจ ชั้น 14 ว่า วันนี้มาในคดีไต่สวนนักโทษชั้น 14 เนื่องจากเป็นคดีที่เกี่ยวข้องกับทางการแพทย์ และตนได้ติดตามคดีนี้มานานพอสมควร เชื่อว่าคดีนี้จะมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้นหลังจากที่ผ่านการไต่สวนไปแล้ว และถ้าเราได้ติดตามการไต่สวนรอบที่แล้ว ข้อมูลที่ตนได้รับคาดว่าไม่น่าจะเป็นคุณกับนายทักษิณเท่าที่ควร
‘ทวี’ ไม่ทราบ ‘หมอวรงค์’ อ้างมีคนพยายามแทรกแซงศาล หวังล้มคดีชั้น 14
‘ทนายวิญญัติ’ หอบหลักฐานไต่สวน คดี ‘ทักษิณ-ชั้น14’ ชี้ ‘แพทย์-พยาบาลราชทัณฑ์’ มาขึ้นศาล
นพ.วรงค์ กล่าวว่า ตนได้อ่านรายละเอียดของคดีในหลายๆ ประเด็น มีการตั้งข้อสังเกตอยู่หนึ่งอย่าง คือการอ้างถึงมาตรา 55 พ.ร.บ. ราชทัณฑ์ว่าด้วยการส่งนักโทษไปรักษาภายนอก ในความเห็นของตน มาตรา 55 มีความขัดแย้งกับกฎกระทรวง ซึ่งในกฎกระทรวงกำหนดไว้ว่าหากมีการเจ็บไข้ได้ป่วยโดยเฉพาะมีอาการจิต หรือโรคติดต่อ ในกฎกระทรวง ระบุไว้ว่าให้ไปส่งที่สถานพยาบาลโดยเร็ว แต่ใน พ.ร.บ.ราชทัณฑ์ มาตรา 55 ได้ระบุว่าให้พบแพทย์โดยเร็ว ซึ่งมีความขัดแย้งกัน โดยความเห็นของตน การใช้กฎกระทรวงในการส่งตัวนายทักษิณไปรักษา ตนเชื่อว่าใช้ไม่ได้จึงเป็นสิ่งที่ตนต้องเดินทางมาฟังที่ศาลฎีกา
เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่ามีการแทรกแซงในกระบวนการใช่หรือไม่ นพ.วรงค์ กล่าวว่า เรื่องนี้เกิดขึ้นในเดือนมีนาคม แต่เพิ่งได้รับข้อมูลเมื่อสองวันที่ผ่านมาเป็นข้อมูลที่น่าเชื่อถือ คนที่เอาข้อมูลมาให้กับตน เขาต้องการให้ปรามกระบวนการแทรกแซงกระบวนการยุติธรรม ที่จะทำให้กระบวนการยุติธรรมเสียหาย และข่าวที่ตนได้รับทราบในขณะนี้ภายในของกระบวนการกำลังตรวจสอบเรื่องนี้ หลังจากที่ตนได้เผยแพร่ออกไป ส่วนรายละเอียด ขออนุญาตไม่พูด แต่ทราบข่าวว่ามีการขยับในการตรวจสอบคดี
“ทุกคนส่วนใหญ่ ทำงานเพื่อชาติบ้านเมือง แต่มีคนแค่ไม่กี่คนทำให้กระบวนการยุติธรรมเสียหาย โดยเฉพาะบางคนที่มีความสัมพันธ์กับนักการเมือง” นพ.วรงค์ กล่าวย้ำ
เมื่อถามว่ามีความกังวลอะไรหรือไม่ในวันนี้ นพ.วรงค์ ระบุว่า วันนี้เข้าสู่กระบวนการการไต่สวนแล้ว เห็นว่าผ่านขั้นตอนการแทรกแซงมาแล้ว ดังนั้นการที่สื่อสารเลือกแทรกแซงออกมาเพราะต้องการสื่อสารให้รู้ว่าในอดีตเคยมีเรื่องนี้เกิดขึ้น ซึ่งโชคดีที่ตอนนี้ขบวนการเข้าสู่กระบวนการไต่สวน ขอขอบคุณและชื่นชมศาลฎีกาที่ให้สื่อมวลชนเข้าไปรับฟังการไต่สวนเพื่อให้ประชาชนได้เรียนรู้ไปพร้อมกัน จนถึงวันที่ศาลมีคำพิพากษาออกมา ประชาชนจะได้เรียนรู้และเข้าใจ