โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

EGCOสยายปีกลงทุน”ตะวันออกกลาง” เตรียมปิดดีลM&Aโรงไฟฟ้าพลังงานลมเพิ่มในไต้หวัน

Manager Online

เผยแพร่ 4 ชั่วโมงที่ผ่านมา • MGR Online

ปัจจุบันเทคโนโลยีและนวัตกรรมมีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนผ่านพลังงานจากการพึ่งพาพลังงานฟอสซิลไปสู่การใช้พลังงานสะอาดและยั่งยืน กลายเป็นความท้าทายที่สำคัญของทุกประเทศทั่วโลกที่ต้องการบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์(Net Zero) ทำให้แนวโน้มการใช้พลังงานสะอาดเพิ่มสูงขึ้น

ขณะที่ร่างแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย(PDP)ฉบับใหม่ ก็มุ่งเน้นมีการเพิ่มสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนจากเดิม 36%ขยับเพิ่มเป็น 51% ของกำลังการผลิตไฟฟ้าทั้งหมด และเพื่อให้ประเทศไทยขยับเข้าสู่เป้าหมายNet Zero ในปีค.ศ. 2065 ภาคเอกชนไทยมีบทบาทสำคัญในการศึกษาพัฒนาเทคโนโลยีการกักเก็บพลังงาน (Energy Storage) การดักจับและกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon Capture, Utilization, and Storage - CCUS) ไฮโดรเจน รวมถึงSMR

บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) หรือ EGCO Group มีวิสัยทัศน์ “บริษัทไทยชั้นนำที่ดำเนินธุรกิจพลังงานอย่างยั่งยืน ด้วยความใส่ใจที่จะธำรงไว้ซึ่งสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาสังคม” ได้กำหนดเป้าเพิ่มสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนจากปัจจุบันอยู่ที่ 22%เป็น 30% ของกำลังผลิตรวมในปีค.ศ. 2030 และความเป็นกลางทางคาร์บอน ในปี 2040 ก่อนก้าวสู่ Net Zero ในปีค.ศ. 2050 โดยบริษัทฯ ขยายพอร์ตการลงทุนธุรกิจไฟฟ้าในกลุ่มประเทศที่มีความเสี่ยงต่ำ เป็นประเทศ Investment grade รวม 7 ประเทศ ได้แก่ ไทย ลาว ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย เกาหลีใต้ ไต้หวัน และสหรัฐอเมริกา ปัจจุบันสัดส่วนกำไรของEGCO Group มาจากธุรกิจในต่างประเทศสูงถึง 60% เพื่อก้าวสู่ Global Company บริษัทจึงอยู่ระหว่างการทำยุทธศาสตร์ใหม่ คาดว่าจะมีความชัดเจนภายในปลายปีนี้

เมื่อต้นเดือนมกราคม ปี2568 EGCO Group ประสบความสำเร็จในการจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบในโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานลมนอกชายฝั่งหยุนหลิน( Yunlin ) ที่ไต้หวัน ครบทั้ง 80ต้นๆละ 8 เมกะวัตต์ (MW) และได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการไฟฟ้าเพื่อเดินเครื่องเชิงพาณิชย์อย่างเป็นทางการ รวมกำลังผลิต 640 เมกะวัตต์ในเดือนมิถุนายน 2568 ซึ่งถือว่าเป็นโครงการแรกของEGCO Group ที่ลงทุนโรงไฟฟ้าพลังงานลมนอกชายฝั่ง

เร่งปิดดีลฮุบโรงไฟฟ้าลมในไต้หวัน

นางสาวจิราพร ศิริคำ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า จากความสำเร็จในการลงทุนโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานลมนอกชายฝั่งYunlin ที่ไต้หวัน และนโยบายส่งเสริมพลังงานหมุนเวียนในไต้หวันเพิ่มขึ้นเป็น 15 กิกะวัตต์ในปีค.ศ.2035 และลดการพึ่งพานิวเคลียร์และถ่านหิน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายNet Zeroในปีค.ศ.2050 จึงเป็นโอกาสของEGCO Group ในการขยายการลงทุนโรงไฟฟ้าในไต้หวันเพิ่มเติม

ทั้งนี้ ไต้หวันเปิดกว้างให้ต่างชาติเข้ามาลงทุนโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนได้ 100% แต่มีเงื่อนไขบังคับว่าต้องใช้วัตถุดิบ อุปกรณ์และชิ้นส่วนในประเทศ (Local Content) ไม่ต่ำกว่า 50% และบริษัทขนาดใหญ่ในไต้หวันต้องมีสัดส่วนการซื้อไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนตามที่กำหนดด้วย หากไม่สามารถทำได้ต้องจ่ายเงินชดเชยให้รัฐบาล จึงเป็นเหตุผลทำให้ไต้หวันมีการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนเพิ่มมากขึ้นทุกปี

นางสาวจิราพร กล่าวว่า ขณะนี้ EGCO Group อยู่ระหว่างเจรจาควบรวมหรือซื้อกิจการ (M&A)โรงไฟฟ้าพลังงานลมในไต้หวันที่เปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์(COD)แล้ว คาดว่าจะได้ข้อสรุปในเร็วๆนี้ โดยโครงการโรงไฟฟ้าพลังลมที่บริษัทอยู่ระหว่างเจรจาM&Aนั้น มีขนาดกำลังการผลิตใกล้เคียงกับโครงการโรงไฟฟ้าพลังลมนอกชายฝั่งYunlin ที่ 640เมกะวัตต์

เหตุผลที่EGCO Group สนใจเลือกลงทุนโรงไฟฟ้าพลังงานลมนั้น เนื่องจากภูมิศาสตร์ไต้หวันเป็นเกาะ ล้อมรอบด้วยทะเล โดยช่องแคบไต้หวัน เป็นตำแหน่งที่มีลมแรงมากติดอันดับต้น ๆ ของโลกจึงสามารถผลิตไฟฟ้าจากแรงลมได้ในอัตราที่สูง ซึ่งในช่วง 5 เดือนแรกปีนี้ (มกราคม - พฤษภาคม 2568 )โรงไฟฟ้าพลังงานลมนอกชายฝั่ง Yunlin มีอัตราการผลิตไฟฟ้า (Capacity Factor) ประมาณ 35%

เบนเข็มรุกธุรกิจไฟฟ้าในตะวันออกกลาง

ในปี2568 EGCO Group ตั้งเป้าหมายมีกำลังการผลิตไฟฟ้าใหม่เพิ่มอีก 1,000เมกะวัตต์ จากปัจจุบันมีกำลังผลิตตามสัดส่วนการถือหุ้นรวม 6,653 เมกะวัตต์ โดยบริษัทอยู่ระหว่างการเจรจาM&Aโรงไฟฟ้าจำนวน 4-5 โครงการทั้งในสหรัฐฯ ตะวันออกกลาง และไต้หวัน คาดจะเห็นการทยอยปิดดีลในปีนี้ โดยปีนี้ บริษัทตั้งงบลงทุนไว้ที่ 30,000 ล้านบาท และมีROE (Return on Equity) ประมาณ8%

นอกเหนือจากไต้หวันแล้ว EGCO Group มองการลงทุนโรงไฟฟ้าในตะวันออกกลาง ซึ่งพบว่ามีความต้องการใช้ไฟฟ้าสูง ซึ่งการตัดสินใจลงทุนในตะวันออกกลางนั้น บริษัทได้คำนึงถึงความเสี่ยงจากความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์แล้ว ขณะนี้บริษัทอยู่ระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้ในการทำM&Aโรงไฟฟ้าประเภทConventional คาดว่าจะมีความชัดเจนภายในปี2568

ส่วนความคืบหน้าการลงทุนโรงไฟฟ้าในสหรัฐอเมริกานั้น ปัจจุบัน EGCO Group ได้เข้าไปมีการลงทุนโรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติและพลังงานหมุนเวียนรวมกว่า 1,000 เมกะวัตต์ เนื่องจากความต้องการใช้ไฟฟ้าในสหรัฐฯที่เติบโตมากจากโครงการData Center ทำให้ค่าไฟในตลาดปรับตัวสูงขึ้นหลายเท่า จึงเป็นจังหวะที่ดีในการขยายธุรกิจไฟฟ้าเพิ่มในสหรัฐฯ โดยบริษัทให้ความสำคัญในการลงทุนโรงไฟฟ้าก๊าซฯและพลังงานหมุนเวียน

ปัจจุบัน EGCO Group มีกำลังผลิตตามสัดส่วนการถือหุ้นในสหรัฐอเมริกาจำนวน 1,320 เมกะวัตต์ คิดเป็นประมาณ 20% ของกำลังผลิตทั้งหมด ประกอบด้วย โรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติ ได้แก่ โรงไฟฟ้า Linden Cogen และกลุ่มโรงไฟฟ้า Compass ส่วนโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน ได้แก่ โรงไฟฟ้าภายใต้ APEX และกลุ่มโรงไฟฟ้า Pinnacle ll โดย EGCO Group รับรู้กำไรจากการลงทุนโรงไฟฟ้าในสหรัฐฯคิดเป็นสัดส่วนราว16-17%ของกำไรรวม ขณะที่สัดส่วนกำไรจากไทยอยู่ราว 40-45%

ส่วนความคืบหน้าการลงทุนโครงการผลิตและส่งออกก๊าซธรรมชาติเหลว(LNG)จากรัฐอะแลสกา (โครงการ Alaska LNG) สหรัฐอเมริกา ขณะนี้บริษัทอยู่ระหว่างการศึกษาร่วมกับกระทรวงพลังงาน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) บมจ.ปตท.และEGCO Group ถึงความเป็นไปได้ในโอกาสนำเข้าLNG การลงทุนท่อส่งก๊าซฯ และการสำรวจและผลิตLNG ในอะแลสกา ซึ่งEGCO Group ให้ความสนใจ

โดยบริษัทได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ในการจัดหาและค้าส่งก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG Shipper License) ในปริมาณสูงสุด 200,380 ตันต่อปี เป็นระยะเวลา 10 ปี เพื่อนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิง สำหรับโรงไฟฟ้าขนาดเล็ก(SPP)ในเครือEGCO Group ทำให้บริษัทมีศักยภาพในการนำเข้าLNGมาป้อนโรงไฟฟ้าในไทย หรือส่งไปขายยังโรงไฟฟ้าในฟิลิปปินส์ด้วย

หาพาร์ทเนอร์ลุยทำตลาดนิคมฯ

ส่วนความคืบหน้าการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมเอ็กโก ระยอง ในพื้นที่โรงไฟฟ้าระยองเดิมที่มาบตาพุดขนาด 621 ไร่นั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างการทำถนนในนิคมฯ ส่วนการหาพันธมิตรร่วมทุนที่มีความเชี่ยวชาญในธุรกิจนิคมฯเพื่อมาร่วมทำตลาดนั้นอยู่ระหว่างการเจรจา โดยEGCO Group ยังคงนโยบายให้ลูกค้าเช่าที่ดินในนิคมฯ ระยะยาวแทนการขายที่ดินในนิคมฯ เนื่องจากราคาที่ดินในมาบตาพุดปรับสูงขึ้นทุกปี

จากการเจรจากับบริษัทพัฒนานิคมฯหลายราย มีการเสนอโมเดลการขายที่ดินให้กับลูกค้าบริษัท แต่EGCO Group ไม่ต้องการขายที่ดินแต่จะใช้วิธีปล่อยเช่าที่ดินในนิคมฯระยะยาวแทน โดยพาร์ทเนอร์ต้องปรับโมเดลการทำตลาดใหม่ ซึ่งเหมือนกับสมัยที่EGCO Groupเข้าไปลงทุนในAPEX จากเดิมที่เน้นพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนเพื่อขายอย่างเดียว ก็ปรับมาเป็นเลือกบางโรงไฟฟ้ามาดูแลเองบ้างและขายบางส่วนไป

นิคมอุตสาหกรรมอุตสาหกรรมเอ็กโกระยอง เน้นลูกค้ากลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย S-Curve และ New S-Curve ได้แก่ ยานยนต์แห่งอนาคต อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ หุ่นยนต์ การบินและโลจิสติกส์ การแพทย์ครบวงจรและเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ เป็นต้น

นอกจากนี้ ธุรกิจเหมืองถ่านหินที่อินโดนีเซีย บริษัทฯมีแผนที่จะขายธุรกิจดังกล่าวในอนาคต แต่เนื่องจากราคาถ่านหินปรับลดลงมากจึงไม่เอื้อให้เกิดการซื้อขายกิจการและธุรกิจเหมืองถ่านหินยังทำกำไรให้บริษัทอย่างต่อเนื่องจึงไม่รีบร้อน ล่าสุดเริ่มเห็นสัญญาณโอกาสในการซื้อขายเหมืองถ่านหิน จึงเป็นโอกาสที่บริษัทจะกลับมาให้ความสำคัญอีกครั้ง

ทั้งนี้ EGCO Group ถือหุ้นทางอ้อม40%ใน “เอ็มเอ็มอี” เจ้าของโครงการเหมืองถ่านหินชนิดเปิดที่เมืองเมารา อีนิม จังหวัดสุมาตราใต้ อินโดนีเชีย โดยได้รับสัมปทานจากรัฐบาลอินโดนีเซียเป็นระยะเวลา 28 ปี ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2553 ถึงเดือนมีนาคม 2581 เอ็มเอ็มอีมีปริมาณสำรองถ่านหิน 134 ล้านตัน

กว่าจะเป็นโรงไฟฟ้าYunlinเช่นวันนี้

มองย้อนถึงการลงทุนโรงไฟฟ้าพลังงานลมนอกชายฝั่งหยุนหลิน(Yunlin)ที่ไต้หวันเริ่มในปี2562 ยุคนายจักษ์กริชพิบูลย์ไพโรจน์”ดำรงตำแหน่งCEO EGCOได้ตัดสินใจเข้าไปถือหุ้น 26.56%ในบริษัทยุนเหนิงวินด์พาวเวอร์จำกัดซึ่งดำเนินการก่อสร้างโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานลมนอกชายฝั่งด้วยการติดตั้งกังหันลม(Wind Turbine Generators) 80ต้นกำลังผลิตต้นละ8เมกะวัตต์ (ขนาดใหญ่สุดในช่วงนั้น)รวม 640เมกะวัตต์ถือเป็นโครงการพลังงานลมขนาดใหญ่สุดของไต้หวัน

โครงการนี้ต้องเผชิญกับความท้าทายหลายด้านทั้งสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และข้อจำกัดทางเทคนิคการติดตั้งเนื่องจากการออกเรือเพื่อก่อสร้างติดตั้งเสากังหันลม (Monopile)ที่ระดับความลึกของน้ำทะเล 7-35เมตรทำได้เพียง5-6เดือนต่อปีเพราะจะติดปัญหาคลื่นลมรุนแรงห้ามออกเรือทำให้โครงการดังกล่าวต้องเลื่อนการ CODออกไปทำให้กลุ่มผู้ถือหุ้นโครงการYunlinต้องปรับโครงสร้างทางการเงินและประสานงานกับหน่วยงานต่างๆส่งผลให้ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นมากฉุดผลตอบแทนการลงทุนลดลงในท้ายสุดโครงการนี้ดำเนินการแล้วเสร็จตามที่รัฐบาลไต้หวันขีดเส้นตายไว้ในปลายปี2567

โครงการนี้มีสัญญาซื้อขายไฟฟ้าระยะยาว 20ปีกับ Taiwan Power Companyในอัตราการรับซื้อไฟที่ 7.1ดอลลาร์ไต้หวันต่อหน่วยในช่วง 10ปีแรกหลังจากนั้นอีก10ปีอัตราค่าไฟฟ้าจะปรับลดลงมาอยู่ที่ 3.5ดอลลาร์ไต้หวันต่อหน่วยโดยโรงไฟฟ้าพลังลมนอกชายฝั่ง Yunlinจะสร้างกระแสเงินสดให้ EGCOเฉลี่ย2,000ล้านบาทต่อปีในช่วง 5ปีแรกและมีส่วนสำคัญผลักดันให้ EGCOบรรลุเป้าหมายการเพิ่มสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนเป็น 30%ภายในปี 2573ด้วย

โครงการโรงไฟฟ้าพลังลมนอกชายฝั่งYunlinมีศักยภาพการผลิตไฟฟ้า 2,400ล้านหน่วยต่อปีสามารถจ่ายไฟฟ้าให้กับภาคครัวเรือนไต้หวันมากกว่า 600,000หลังคาเรือนหรือคิดเป็น 90%ของความต้องการใช้ไฟฟ้าภาคครัวเรือนทั้งหมดของมณฑลหยุนหลินลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ประมาณ 1.2ล้านตันต่อปี

Yunlinดำเนินการโดยบริษัทยุนเหนิงวินด์พาวเวอร์จำกัดซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนระหว่าง Skyborn Renewablesถือหุ้น 31.98% TotalEnergiesถือหุ้น 29.46% EGCOถือหุ้น 26.56%และ Sojitz Corporationถือหุ้น 12%ปัจจุบันบริษัท TotalEnergiesรับหน้าที่หลักด้านการเดินเครื่องและบำรุงรักษา(Operations and Maintenance - O&M)ในขณะที่บริษัท Skyborn Renewablesดูแลด้านงานบริหารจัดการโครงการ

website : mgronline.com
facebook : MGRonlineLive
twitter : @MGROnlineLive
instagram : mgronline
line : MGROnline
youtube : MGR Online VDO

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก Manager Online

"อิ๊งค์" ถกหนุนอุตสาหกรรมบันเทิง เล็งใช้มาตรการจูงใจทางภาษี ชูเครื่องมือสำคัญส่งออกอัตลักษณ์ไทย

26 นาทีที่แล้ว

ผช.รมต.ประจำกระทรวงทรัพย์ฯ ลงพื้นที่จันทบุรี หารือการจัดการขยะในทะเลอย่างยั่งยืน

29 นาทีที่แล้ว

งดงามชุ่มฉ่ำ “น้ำตกตาดฟ้า” กลางผืนป่าภูเวียง จ.ขอนแก่น

48 นาทีที่แล้ว

GULF ซื้อหุ้น AISBB เพิ่มอีก 10% ส่งผลครองหุ้น 50% เท่ากับ ADVANCE

52 นาทีที่แล้ว

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความธุรกิจ-เศรษฐกิจอื่น ๆ

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยเผยเงินบาทปิดตลาดที่ 32.40-แข็งค่าสอดคล้องฟันด์โฟลว์-ราคาทองคำ

Manager Online

กรุงศรี ออโต้ โบรคเกอร์ รุกกลยุทธ์ Convergence of Choices

Khaosod

GFT 2025 งานรวมนวัตกรรมเครื่องปัก-เย็บ-พิมพ์ AI ยกระดับอุตสาหกรรมสิ่งทอ

ฐานเศรษฐกิจ

ค่าเงินบาทปิดตลาดวันที่ 14ก.ค.ที่ระดับ 32.40 บาทต่อดอลลาร์

ฐานเศรษฐกิจ

ฮอนด้า2 ล้อ ท้าลองเทคโนโลยี คลัตช์ไฟฟ้า ครั้งแลกในคลาส 300 ซีซี.

Khaosod

GPSC ปลื้ม ฟิทช์คงอันดับเครดิตองค์กรในประเทศ “A+” และสากล “BBB-“

AEC10NEWs

ไทยเตรียมซอฟต์โลน 2 แสนล้าน รับมือภาษีทรัมป์ SME กระทบหนัก

Thai PBS

สว.ชงดีล พลังงานสหรัฐฯ หวังลดภาษีทรัมป์ 0% จี้ดัน นิวเคลียร์จิ๋ว เร่งด่วน

Thaiger

ข่าวและบทความยอดนิยม

ฟิทช์ เรทติ้งส์ คงเครดิตองค์กรGPSCที่ A+

Manager Online

RX ร่วมกับ BHIRAJ BURI GROUP (BBG) เปิดตัว “RX BITEC”

Manager Online

คิดใหม่ “ซอฟต์พาวเวอร์ไทย” จากภาพจำ สู่พลังสร้างสรรค์ที่โลกสัมผัสได้

Manager Online
ดูเพิ่ม
Loading...