โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

การเมือง

‘เลขาฯกฤษฎีกา’ แจงชัด ‘ยุบสภา-ตั้งรมต.’ อำนาจเฉพาะตัว ‘นายกฯ’ รักษาการทำไม่ได้

ไทยโพสต์

อัพเดต 7 กรกฎาคม 2568 เวลา 18.01 น. • เผยแพร่ 5 ชั่วโมงที่ผ่านมา

'เลขาฯกฤษฎีกา' อธิบายหลักการรัฐธรรมนูญ ย้ำชัด 'รักษาการนายกฯ' ไร้อำนาจยุบสภา-ตั้งรมต. ชี้เป็นอำนาจเฉพาะตัว 'นรม.' เท่านั้น

7 ก.ค. 2568 - นายปกรณ์ นิลประพันธ์ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก “Alex Pakorn” ว่า อธิบายซ้ำ : ผมอธิบายว่าตามประเพณีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยของบ้านเรา การเสนอแต่งตั้งรัฐมนตรีและการยุบสภา เป็นอำนาจเฉพาะตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเท่านั้น เช่นเดียวกับกลุ่มประเทศที่ปกครองในระบอบรัฐสภาแบบ Westminster เป็นไปตาม "หลักความไว้วางใจ"

ประเทศไทยจะเห็นได้ชัดในประกาศแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี ซึ่งมีความสรุปว่า ประธานสภา …. กราบบังคมทูลว่าสภาลงมติไว้วางใจให้ นาย/นางสาว … เป็นนายกรัฐมนตรี จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี

ส่วนกรณีประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี ก็ชัดเจนว่า บัดนี้นาย/นางสาว … นายกรัฐมนตรี ได้กราบบังคมทูลเสนอชื่อบุคคลผู้สมควรไว้วางใจให้เป็นรัฐมนตรี จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งบุคคลดังต่อไปนี้เป็นรัฐมนตรี

จะเห็นได้ชัดว่าเป็นความไว้วางใจมาเป็นทอดๆ และพระมหากษัตริย์ก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนายกรัฐมนตรี ตามที่สภาเสนอและประธานสภานำความกราบบังคมทูล หรือทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งรัฐมนตรี ตามที่นายกรัฐมนตรีกราบบังคมทูลว่าสมควรไว้วางใจ

โดยนัยนี้เอง รองนายกรัฐมนตรี (รนม.) รักษาราชการแทนนายกฯ จึงไม่มีอำนาจเสนอแต่งตั้งรัฐมนตรี หรือเสนอให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง เพราะ รนม. รักษาราชการแทน นรม. นั้นเป็นเพียงรัฐมนตรีคนหนึ่งซึ่งได้รับความไว้วางใจจาก นรมซ เฉกเช่นเดียวกับ รมต. คนอื่น ไม่ได้รับความไว้วางใจจากสภาให้เป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร จึงจะแต่งตั้งหรือปลด รมต. คนอื่นๆ มิได้

หรือยิ่งไปกว่านั้นคือ รนม. รักษาราชการแทน นรม. จะเสนอให้ยุบสภา ถ้ายังมีผู้ดำรงตำแหน่ง นรม. อยู่ ยิ่งไม่ได้ เพราะไม่ใช่ผู้ได้รับความไว้วางใจจากสภาให้เป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร หากเป็นเพียงผู้ซึ่ง นรม. ถวายความเห็นต่อพระมหากษัตริย์ว่าเป็นผู้สมควรไว้วางใจให้แต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีเท่านั้น การยุบสภาจึงเป็นอำนาจเฉพาะของ นรม. เท่านั้น

กล่าวได้ว่าการกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง รมต. ก็ดี หรือถวายคำแนะนำให้ยุบสภาก็ดี เป็นเรื่องของ นรม. ซึ่งได้รับความไว้วางใจจากสภาให้เป็นหัวหน้าฝ่ายบริหารโดยแท้

ถ้า นรม. พ้นจากตำแหน่ง รนม. รักษาราชการแทน นรม. จะมีอำนาจเช่นนั้นหรือไม่ ต้องทราบว่าถ้า นรม. พ้นจากตำแหน่งไปไม่ว่าด้วยเหตุใด ผลคือคณะรัฐมนตรี (ครม.) จะพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะ และรัฐธรรมนูญบัญญัติรองรับไว้ว่า เมื่อ ครม. พ้นจากตำแหน่งทั้งคณะ ให้ดำเนินการเพื่อให้มี ครม .ขึ้นใหม่ implication จึงชัดเจนว่าสภาต้องดำเนินการเพื่อให้มีการเลือก ครม. ใหม่ขึ้น

ดังนั้น จึงต้องมีสภาอยู่เพื่อดำเนินการดังกล่าว เป็นบทบังคับที่ต้องดำเนินการ สภาจึงไม่อาจถูกยุบได้ในห้วงเวลานี้ และถึงอยากจะทำก็ทำไม่ได้ เพราะไม่มีความชอบธรรมที่จะทำดังกล่าวมาข้างต้น

ถ้า นรม. เกิดป่วยจนปฏิบัติหน้าที่ไม่ได้โดยสิ้นเชิง รนม .รักษาราชการแทน นรม .จะกราบบังคมทูลเพื่อยุบสภาได้ไหม ต้องบอกว่าในระบบความไว้วางใจนั้น ถ้าผู้ซึ่งสภาให้ความไว้วางใจปฏิบัติหน้าที่ไม่ได้โดยสิ้นเชิง สภาก็ต้องเรียกประชุมกันเพื่อถอดถอนความไว้วางใจสำหรับท่านเดิม แล้วพิจารณาลงมติกันว่าสมควรไว้วางใจผู้ใดขึ้นแทน เป็นกระบวนการของสภาที่จะต้องปรึกษาหารือตกลงกัน ไม่ใช่กิจของผู้รักษาราชการแทน

ย้ำว่าคำว่า "ไว้วางใจ" ในรัฐธรรมนูญ ไม่ใช่ "แบบ" แต่มันคือ "ระบบ"

ที่เขียนมานี้เพียงเพื่ออธิบายหลักการของรัฐธรรมนูญตามความรู้ที่ร่ำเรียนมาเท่านั้น ถ้าอยากรู้ลึกๆ ให้ไปอ่านตำราประวัติศาสตร์ของระบบรัฐสภาแบบ Westminster ดู เอา ตั้งแต่สมัยพระเจ้า George I ที่เริ่มมี Prime Minister คนแรกคือ Sir Robert Whapole (later : 1st Earl of Oxford) ก็พอ.

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก ไทยโพสต์

ทัพเรือภาค 3 พร้อมรับมือหากเกิดสึนามิ ซ้อมช่วยเรือโดยสารใหญ่ 9 ก.ค.นี้

20 นาทีที่แล้ว

ปชน. ยื่นร่างแก้รธน.รายมาตราให้รัฐสภา รื้ออำนาจองค์กรอิสระ เข้าชื่อถอดตุลาการศาลได้

25 นาทีที่แล้ว

ชาวทุ่งใหญ่ผวา ต้นยางนา 100 ปี 500 ต้นถูกโค่นกลางวัด เชื่อมีตำรวจใหญ่เอี่ยว

35 นาทีที่แล้ว

🛑LIVE ดิ้นแถกเหงือก | ห้องข่าวไทยโพสต์

37 นาทีที่แล้ว

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความการเมืองอื่น ๆ

ข่าวและบทความยอดนิยม