9 ก.ค. วัดฝีมือทีมเพื่อไทย เจรจาภาษี! ชี้ชะตาเศรษฐกิจ-ตลาดหุ้น ถ้าพลาดโดนเก็บ 30% SET ดิ่งยับ
จับตาเจรจาการค้าไทยกับสหรัฐฯรวมไปถึงอีกหลายประเทศ หากไม่สามารถบรรลุข้อตกลงได้จะกระทบกับนิคมอุตสาหกรรมและส่งออก โบรกฯ ชี้มีโอกาสน้อยจะโดนเรียกเก็บ 10% แต่ถ้าเผชิญภาษีนำเข้า 30% ขึ้นไป SET INDEX มีโอกาสตอบรับเชิงลบมีโอกาสทดสอบระดับ Low เดิมที่ 1,050 จุด
นักวิเคราะห์บริษัทหลักทรัพย์ พาย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า สัปดาห์นี้นักลงทุนจะไปให้น้ำหนักกับเส้นตายภาษีนำเข้าของสหรัฐฯกับนานาประเทศ ตามกำหนดการจะแล้วเสร็จในวันที่ 9 ก.ค. ประเทศที่สามารถตกลงการค้ากับสหรัฐฯได้ประกอบไปด้วย จีน เวียดนาม อังกฤษ ข้อมูลล่าสุดสหรัฐฯระบุว่าบางประเทศอาจเผชิญภาษีนำเข้าเพียง 10% และบางประเทศก็อาจสูงถึง 70%
รัฐมนตรีคลังได้แถลงในวันศุกร์ที่ผ่านมาโดยระบุว่าการเจรจากับสหรัฐฯเป็นไปได้ด้วยดี โดยได้พูดคุยกับทั้งฝั่งรัฐบาลและเอกชนแต่ข้อเสนอที่ทางไทยเสนอให้กับสหรัฐฯอาจยังไม่ตรงกับความต้องการจึงต้องกลับมาทำข้อเสนอให้กับสหรัฐฯใหม่ โดยสรุปก็คือยังไม่สามารถบรรลุข้อตกลงรอบสุดท้ายได้ แต่อย่างไรก็ตามในช่วงวันอาทิตย์ที่ผ่านมา Team Thailand ได้ระบุว่าจะเจรจาให้ทันก่อนวันที่ 9 ก.ค. คาดหวังให้ภาษีต่ำกว่าระดับ 18% ฝั่งสหรัฐฯก็ได้ระบุว่าในวันจันทร์นี้จะเตรียมส่งจดหมายให้แต่ละประเทศว่าจะเก็บภาษีนำเข้าในอัตราเท่าใด
ประเมินความน่าจะเป็นของภาษีแบ่งออกเป็นดังนี้
1.กรณีดีที่สุดไทยอาจเผชิญกับภาษีนำเข้าในระดับ 10% กรณีนี้ธนาคารแห่งประเทศไทยเชื่อว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวได้ 2% และ SET INDEX มีโอกาสตอบรับเชิงบวกนำและกลุ่มนิคมอุตสาหกรรมกับส่งออกจะได้ผลบวกจากปัจจัยข้างต้น (แต่เชื่อว่าโอกาสน้อย)
2.กรณีกลางๆกล่าวคือไทยเผชิญภาษีนำเข้าในช่วง 15-25% เศรษฐกิจไทยน่าจะพอเติบโตได้ในช่วง 1-1.5% SET INDEX อาจตอบรับเชิงบวกระยะสั้นๆและกลุ่มนิคมอุตสาหกรรมกับส่งออกอาจได้รับผลกระทบแต่ยังไม่มากเท่าใดนักโดยให้โอกาสเกิดขึ้นมากที่สุด
และ 3.กรณีเผชิญภาษีนำเข้า 30% ขึ้นไป หากกรณีเช่นนี้ธนาคารแห่งประเทศไทยประเมินว่าเศรษฐกิจไทยอาจขยายตัวเพียง 1.3% และ SET INDEX มีโอกาสตอบรับเชิงลบมีโอกาสทดสอบระดับ Low เดิมที่ 1,050 จุด สร้างแรงกดดันต่อกลุ่มนิคมอุตสาหกรรมและส่งออก
ส่วนความเห็นนักวิเคราะห์บริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ประเด็น รมว. พาณิชย์ เปิดเผยความคืบหน้าเจรจาการค้าล่าสุด ยังไม่มีข้อสรุป แต่มีความเข้าใจความต้องการฝั่งสหรัฐฯมากขึ้น จึงวางเป้าหมายเร่งส่งข้อเสนอกลับไปให้สหรัฐฯ ก่อนสิ้นสุดช่วงผ่อนผัน 9 ก.ค. (ขณะที่อาจจะต้องรอแนวทางสหรัฐฯที่อาจพิจารณาขยายระยะเวลาให้บางประเทศที่กำลังเจรจาถึง 1 ส.ค.) เพื่อได้ข้อเสนอภาษีที่รักษาศักยภาพแข่งขันไทยไว้มากสุด
อย่างไรก็ดี ข้อสรุปที่ยังไม่เกิดขึ้น ทำให้ระยะสั้นทำให้ตลาดมีโอกาสให้น้ำหนักด้านความเสี่ยง และลดน้ำหนักสินทรัพย์เสี่ยง เพื่อรอติดตามสถานการณ์
ปัจจุบันประเมินกลยุทธ์ลงทุนภาษีการค้าไทยจะได้เชิงเปรียบเทียบกับเวียดนามที่ได้รับข้อเสนอแล้ว ด้วย 5 ฉากทัศน์ โดยคงให้น้ำหนัก 65% ว่าท้ายที่สุดยังน่าจะได้รับข้อเสนอกรอบฉากทัศน์ที่ 1-3 (ใกล้เคียง/ดีกว่าเวียดนาม) อิงแนวทางหลักที่ให้สหรัฐฯให้น้ำหนัก คือ การจำกัดการสวมสิทธิ์ส่งออก (Transshipping) ที่เวียดนามมีประเด็นสหรัฐฯให้ความกังวลมากกว่าไทย
1.ไทยได้ดีลภาษี 10–15% (ดีลดีกว่าเวียดนาม) คาด SET จะตอบรับทางบวก Bullish +3–5% เน้นนิคมฯ WHA, AMATA รับ FDI China plus 1 Export Tech เน้น DELTA, KCE, HANA : ส่งออก TU, ITC, AAI, CPF, STA กลุ่มนำเข้า (กรณีไทยตกลงงดภาษีนำเข้าสินค้าสหรัฐฯ เช่นกัน) COM7, ADVICE, SYNEX, BE8, BBIK, GULF, GPSC กลุ่มInfra + Import Technology Play ADVANC, TRUE
2. ไทยได้ดีลภาษี 15–18% (ดีกว่าเวียดนามเล็กน้อย) คาด SET แกว่งตัวในกรอบ 1,130–1,180 หุ้นเด่นเน้น Selective Export: KCE, HANA นิคมฯ WHA, AMATA (ยังสะสมได้) นำเข้า (กรณีไทยตกลงงดภาษีนำเข้าสินค้าสหรัฐฯ เช่นกัน) ADVANC, COM7, ADVICE, INSET นำเข้าก๊าซ :PTTGC, GPSC, BGRIM
3. ไทยได้ดีลภาษี 19–21%(เท่าเวียดนาม) ประเมินเป็นกลางถึงบวกแคบต่อ SET หุ้นเด่นเน้น กลุ่มDomestic Defensive: BDMS, CPALL โรงไฟฟ้า: GULF, GPSC เปิดเมือง–ท่องเที่ยว: MINT, CENTEL กลุ่ม เช่าซื้อ KTC, MTC
4.ไทยได้ดีลภาษี 22–25% (แย่กว่าเวียดนาม) SET มีโอกาสแกว่งต่ำกว่า 1,100 จุด เน้นหุ้นพลังงาน PTTEP, BANPU โรงพยาบาล: BDMS Domestic Laggards ADVANC, GULF เช่าซื้อ KTC, MTC, SAWAD
5. ไทยถูกเก็บภาษี >25% ( Worst Case) SET ปรับฐานและมีโอกาสปรับลงทดสอบ low เก่า บริเวณ 1053 จุด เน้นหุ้นดอกเบี้ยลด KTC, MTC High Yield ADVANC, AP หนี้สูง อาทิ TRUE, MINT, CPALL กลุ่ม Energy Defensive: GULF, BCPG กลุ่ม Healthcare BDMS, BCH, CHG ท่องเที่ยว CENTEL, ERW