โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

สุขภาพ

'ไข้หวัดนก' ประชิดไทย เพื่อนบ้านเจอป่วยเพิ่ม ฉากทัศน์ที่โลกไม่อยากเห็น

กรุงเทพธุรกิจ

อัพเดต 12 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 6 ชั่วโมงที่ผ่านมา

ประเทศไทยไม่พบผู้ป่วยไข้หวัดนก H5N1 มาเกือบ 20 ปีแล้ว แต่สถานการณ์โลกยังมีรายงานผู้ป่วยยืนยันติดเชื้ออย่างต่อเนื่อง และบางพื้นที่มีการระบาดของโรค โดยทั่วโลกในคนและสัตว์ ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.-27 พ.ค.2568 มีผู้ป่วยสะสมจาก ไข้หวัดนก H5N1 จำนวน 976 ราย ผู้เสียชีวิต 470 ราย คิดเป็นอัตราป่วยตาย 48.2 %

ที่น่ากังวัลสำหรับประเทศไทยมากที่สุด อยู่ที่การพบผู้ป่วยไข้หวัดนก กัมพูชา ซึ่งอยู่ติดกับชายแดนไทย โดยในปี 2568 กัมพูชามีรายงานผู้ป่วยแล้ว 12 ราย โดยในช่วงราว 1 เดือนระหว่างวันที่ 7 มิ.ย.-3 ก.ค.2568 มีรายงานพบผู้ป่วย 7 ราย

ไข้หวัดนก กัมพูชาเจอ 7 รายใน 1 เดือน

รายงานล่าสุด เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 3 ก.ค. 2568 กระทรวงสาธารณสุข ประเทศกัมพูชาได้ออกแถลงการณ์อย่างเป็นทางการ ยืนยันว่า สถาบันสาธารณสุขแห่งชาติได้ตรวจพบเชื้อไวรัสไข้หวัดนก H5N1 ในเด็กชายวัย 5 ขวบ ถือเป็นผู้ป่วยรายที่ 12 ของปี 2568 ในกัมพูชา โดยผู้ป่วยอาศัยอยู่ที่หมู่บ้านกมากร ตำบลซำลาหน อำเภออังกอร์เจย จังหวัดกัมปอต

โดยมีอาการไข้ ไอ หายใจลำบาก และหายใจถี่ ขณะนี้ผู้ป่วยอยู่ภายใต้การดูแลอย่างใกล้ชิดจากทีมแพทย์ ซึ่งจากการสอบสวนโรคพบว่า ครอบครัวของผู้ป่วยเลี้ยงไก่ไว้ประมาณ 40 ตัว และมีไก่ป่วยและตาย 2 ตัว ซึ่งเด็กชายชอบเล่นคลุกคลีกับไก่เหล่านี้ทุกวัน

ทีมตอบโต้ภาวะฉุกเฉินของกระทรวงสาธารณสุขทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่น ได้ประสานงานกับหน่วยงานเกษตรและเจ้าหน้าที่ทุกระดับ ลงพื้นที่สอบสวนการระบาดอย่างแข็งขัน ค้นหาแหล่งที่มาของเชื้อทั้งในสัตว์และคน รวมถึงติดตามผู้ต้องสงสัยและผู้สัมผัสใกล้ชิดเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดในชุมชน

นอกจากนี้ยังได้มีการแจกจ่ายยาต้านไวรัสทามิฟลู (Tamiflu) ให้กับผู้สัมผัสใกล้ชิด และจัดกิจกรรมให้ความรู้ด้านสุขภาพแก่ประชาชนในหมู่บ้านที่ได้รับผลกระทบ อย่างไรก็ตาม แม้จะมีการระบาดอย่างรวดเร็วในสัตว์ปีก แต่จนถึงขณะนี้ยังไม่มีหลักฐานที่บ่งชี้ถึงการแพร่เชื้อจากคนสู่คน
ก่อนหน้าเมื่อวันที่ 1 ก.ค.2568 แม้กระทรวงสาธารณสุข กัมพูชา ยังไม่ได้ประกาศอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับผู้ป่วยรายที่ 11 แต่ได้รับการระบุโดยศูนย์ข้อมูลโรคติดเชื้อและนโยบาย (CIDRAP) และได้รับการยืนยันในรายงานอัปเดตสถานการณ์ไข้หวัดนกรายสัปดาห์จากศูนย์ป้องกันสุขภาพ (CHP) ของฮ่องกง และองค์การอนามัยโลก (WHO) โดยเป็นเด็กชายวัย 19 เดือน จากจังหวัดตาแก้ว ซึ่งเสียชีวิตจากการติดเชื้อ โดยมีรายงานเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน และเริ่มแสดงอาการป่วยตั้งแต่วันที่ 7 มิถุนายน

ไวรัสสายพันธุ์ผสมใหม่ กำลังแพร่กระจายเร็ว

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ รพ. รามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ระบุว่า การระบาดระลอกใหม่ในกัมพูชา มีความน่าสนใจเป็นพิเศษ เนื่องจากมีรายงานว่าอาจเกี่ยวข้องกับเชื้อไวรัส H5N1 สายพันธุ์ใหม่ ที่เกิดจากการผสมข้ามสายพันธุ์ (reassortment) ของไวรัส clade 2.3.2.1c ซึ่งเป็นสายพันธุ์ดั้งเดิมที่พบในภูมิภาค กับไวรัส clade 2.3.4.4b ที่กำลังระบาดทั่วโลก

สายพันธุ์ใหม่นี้ได้รับการตั้งชื่อใหม่ว่า 2.3.2.1e ลักษณะการระบาดเป็นกลุ่มก้อนในชุมชนหลังจากมีการตายของสัตว์ปีกจำนวนมาก ชวนให้นึกถึงรูปแบบการระบาดของไข้หวัดนกในช่วงปี พ.ศ. 2547-2559

รายงานผู้ติดเชื้อในมนุษย์หลายรายในหลายจังหวัดของกัมพูชาภายในเวลาไม่กี่สัปดาห์ ชี้ให้เห็นว่าเชื้อไวรัสกำลังแพร่กระจายอย่างรวดเร็วในสัตว์ปีกท้องถิ่น โดยผู้เชี่ยวชาญระบุว่าเชื้อที่ระบาดเป็นเชื้อไวรัส H5N1 ที่เกิดจากการผสมข้ามสายพันธุ์ใหม่ ระหว่างสายพันธุ์ดั้งเดิมในพื้นที่กับสายพันธุ์ที่ระบาดทั่วโลก

ศูนย์จีโนมฯ ระบุด้วยว่า ผู้เชี่ยวชาญยังคงเฝ้าจับตาการระบาดครั้งนี้อย่างใกล้ชิด เนื่องจากทุกครั้งที่เชื้อไวรัสข้ามมาติดในมนุษย์ ถือเป็นโอกาสให้ไวรัสสามารถกลายพันธุ์และปรับตัวเข้ากับร่างกายมนุษย์ได้มากขึ้น ซึ่งอาจนำไปสู่ความเสี่ยงที่รุนแรงกว่าเดิมในอนาคต

3 ปัจจัยที่ต้องสนใจ ไข้หวัดนก เป็นพิเศษ

สถานการณ์ครั้งนี้มีประเด็นที่น่าติดตามอยู่หลายประการ

  • เชื้อสายพันธุ์ผสมใหม่ การเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมของไวรัสเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้เสมอ ไวรัส 2.3.2.1e อาจมีคุณสมบัติบางอย่างที่ต่างไปจากเดิม ซึ่งผู้เชี่ยวชาญกำลังศึกษาอย่างใกล้ชิดถึงคุณสมบัติดังกล่าว
  • จำนวนผู้ติดเชื้อที่เพิ่มขึ้น การพบผู้ติดเชื้อในคนเป็นระยะๆ เปิดโอกาสให้นักวิทยาศาสตร์ได้ศึกษาการปรับตัวของไวรัส ซึ่งเป็นข้อมูลสำคัญในการประเมินความเสี่ยงต่อไป
  • อัตราการป่วยรุนแรงที่สูง ในอดีต H5N1 เป็นสายพันธุ์ที่มักก่อให้เกิดอาการรุนแรงในผู้ป่วย จากข้อมูลที่องค์การอนามัยโลก (WHO) รวบรวมมา มีอัตราการป่วยตาย ในผู้ที่ติดเชื้อและได้รับการยืนยันอยู่ที่ประมาณ 52%

ประเมินความเสี่ยง ไข้หวัดนก ในอนาคต

เพื่อทำความเข้าใจถึงความสำคัญของการป้องกันโรค ผู้เชี่ยวชาญได้ตั้งข้อสังเกตว่า หากในอนาคตไวรัส H5N1 สามารถพัฒนาตนเองจนแพร่จากคนสู่คนได้ จะก่อให้เกิดความท้าทายด้านสาธารณสุขที่รุนแรงกว่า โควิด-19 มาก

สาเหตุหลักมาจากอัตราการป่วยรุนแรงที่แตกต่างกัน โดยโควิด-19 มีอัตราการป่วยตายต่ำกว่า 1% ขณะที่ H5N1 ในอดีตสูงถึง 52% แม้ว่าในการระบาดใหญ่จริง อัตราการป่วยตายอาจลดลง แต่ก็ยังคงเป็นตัวเลขที่สูงมากและอาจส่งผลกระทบเป็นวงกว้างได้ หากการแพร่ระบาดเกิดขึ้น และอาจนำไปสู่การสูญเสียชีวิตเป็นจำนวนมากถึง 50-100 ล้านคนทั่วโลก หรือมากกว่านั้น

ฉากทรรศน์ที่โลกไม่อยากเห็น

ขณะที่ ภาพจำลองสถานการณ์เลวร้ายที่สุดที่ผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุขทั่วโลกหวาดกลัว และเป็นเหตุผลว่าทำไมทุกฝ่ายจึงต้องพยายามป้องกันอย่างเต็มที่

  • สัปดาห์แรก จุดเริ่มต้นของวิกฤต โลกจะหยุดนิ่งเมื่อ WHO ประกาศยืนยันการแพร่เชื้อจากคนสู่คน การเดินทางทางอากาศทั่วโลกหยุดชะงัก พรมแดนถูกปิดตาย ตลาดหุ้นดิ่งเหว
  • เดือนแรก ระบบสาธารณสุขล่มสลาย ด้วยจำนวนผู้ป่วยหนักและอัตราการตายที่สูงเกินรับไหว โรงพยาบาลจะกลายเป็นสมรภูมิรบที่แพทย์ต้องตัดสินใจเลือกรักษาผู้ที่มีโอกาสรอดสูงสุด
  • หกเดือนและต่อไป โลกในภาวะชะงักงัน เศรษฐกิจโลกพังพินาศ ห่วงโซ่อุปทานขาดสะบั้น สังคมเต็มไปด้วยความหวาดกลัว และความหวังเดียวของมนุษยชาติคือการเร่งพัฒนาวัคซีนให้สำเร็จ

ศูนย์จีโนม ระบุอีกว่า ณ วันนี้ สถานการณ์ในกัมพูชา คือ สัญญาณสำคัญที่เตือนให้ทั่วโลกต้องยกระดับการเฝ้าระวังและเตรียมความพร้อมด้านสาธารณสุข นี่ไม่ใช่เรื่องของประเทศใดประเทศหนึ่ง แต่เป็นความท้าทายร่วมกันของประชาคมโลก

ปัจจุบันยังอยู่ในจุดที่สามารถควบคุมและจัดการได้ การทำงานอย่างหนักของทีมแพทย์และนักวิทยาศาสตร์ รวมถึงความร่วมมือของประชาชนในการปฏิบัติตามคำแนะนำด้านสาธารณสุข คือหัวใจสำคัญที่จะทำให้เราผ่านพ้นความท้าทายครั้งนี้ไปได้ และยับยั้งวิกฤตได้ตั้งแต่ต้นทาง

ไทยเฝ้าระวังไข้หวัดนก ต่อเนื่อง

ขณะที่ พญ.จุไร วงศ์สวัสดิ์ นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ โฆษกกรมควบคุมโรค กล่าวว่า สายพันธุ์ไข้หวัดนกที่พบในกัมพูชา เป็นสายพันธุ์ที่มีความรุนแรงสูง จัดอยู่ในกลุ่ม Clade 2.3.2.1e เป็นสายพันธุ์ที่พบในภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ได้แก่ กัมพูชา เวียดนาม และลาว ส่วนสายพันธุ์ที่ระบาดในสหรัฐอเมริกา ยุโรป และหลายพื้นที่ทั่วโลก เป็น Clade2.3.4.4b ซึ่งมีความรุนแรงน้อยกว่า ขณะนี้ประเทศไทย มีความเสี่ยงในระดับต่ำ แต่ยังต้องเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง

ทั้งนี้ ประเทศไทยมีระบบการเฝ้าระวังสถานการณ์โรคไข้หวัดนกทั้งในคน สัตว์ และสัตว์ป่า รวมทั้งการประเมินความเสี่ยงภายใต้ความร่วมมือระหว่างกรมควบคุมโรค กรมปศุสัตว์ และกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ตามแนวคิดสุขภาพหนึ่งเดียว (One Health) ซึ่งมีการตรวจสุขภาพสัตว์ปีก และเฝ้าระวังฟาร์มสัตว์ปีกในพื้นที่เสี่ยง

พื้นที่ไข้หวัดนกระบาด

คำแนะนำสำหรับประชาชน คือ รับประทานอาหารปรุงสุก โดยเฉพาะสัตว์ปีก ไข่ และผลิตภัณฑ์จากโคนม หลีกเลี่ยงการสัมผัสสัตว์ปีก สุกร โคนม ที่ตายผิดปกติ

หากมีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ เช่น ไข้ ไอ น้ำมูก หายใจเหนื่อยหอบ ตาแดงอักเสบ ควรรีบพบแพทย์ กรณีพบสัตว์ปีกป่วยตายจำนวนมากให้แจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ในพื้นที่ทันที

ประชาชนที่เดินทางไปพื้นที่เสี่ยงหรือพื้นที่ระบาดให้ติดตามข่าวสารในพื้นที่ที่จะเดินทางไป ทำประกันสุขภาพสำหรับการเดินทาง รักษาสุขอนามัยส่วนตัว รับประทานอาหารที่ปรุงสุก หลีกเลี่ยงการสัมผัสสัตว์ปีก รวมถึงนกป่า ขนนก มูลสัตว์

กรณีที่เดินทางกลับจากประเทศที่มีการระบาดไข้หวัดนก เช่น กัมพูชา สหรัฐอเมริกา เม็กซิโก อินเดีย แคนาดา สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส เยอรมนี เนเธอร์แลนด์ ปากีสถาน เวียดนาม ไต้หวัน บราซิล ให้สังเกตอาการตนเอง ภายใน 2 สัปดาห์ หากมีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ เช่น ไข้สูง ไอ เจ็บคอ ให้พบแพทย์พร้อมแจ้งประวัติการเดินทาง

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก กรุงเทพธุรกิจ

องค์ทะไลลามะ เผย พระองค์หวังจะมีอายุยืนยาว 130 ปี

20 นาทีที่แล้ว

DPU จัดใหญ่! ประชุมระดับชาติ ดัน 'สิ่งแวดล้อม & ธุรกิจยั่งยืน'

37 นาทีที่แล้ว

‘มนพร’ย้ำ ‘เพื่อไทย‘ เร่งแก้ รธน. ตั้ง สสร.แก้คุณสมบัติจริยธรรม

54 นาทีที่แล้ว

‘ม่วงคำ’ The old man town เมืองผู้สูงวัย ใช้ชีวิตอย่างมีศักดิ์ศรี

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความสุขภาพอื่น ๆ

นักโภชนาการเผยเเล้ว กินผักใบเขียว ทุกวันช่วยให้สมองอ่อนเยาว์ลงถึง 11 ปี

News In Thailand

DPU จัดใหญ่! ประชุมระดับชาติ ดัน 'สิ่งแวดล้อม & ธุรกิจยั่งยืน'

กรุงเทพธุรกิจ

หนุนท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ-สมุนไพร ต่อยอด "เวลเนส คอมมูนิตี้"

ฐานเศรษฐกิจ

วิธีช่วยให้นอนหลับง่ายขึ้น หลังสะดุ้งตื่นกลางดึก ไม่ต้องพลิกตัวไปมาถึงเช้า

SistaCafe

‘ม่วงคำ’ The old man town เมืองผู้สูงวัย ใช้ชีวิตอย่างมีศักดิ์ศรี

กรุงเทพธุรกิจ

โรงพยาบาลวิภาวดีจัดกิจกรรม Age Well Live Well โรคใกล้ตัวในวัยเก๋า ป้องกันงูสวัดขึ้นตา

MATICHON ONLINE

ผัก 5 ชนิดที่ไม่ควรซื้อ แม้ราคาถูก ถ้ายังไม่อยากเป็นมะเร็ง

สยามนิวส์

สูบ 'บุหรี่ไฟฟ้า" เสี่ยงเป็น 'มะเร็งเม็ดเลือดขาว' ละอองไอมีสารบิวตาไดอีน

กรุงเทพธุรกิจ

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...