โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

สุขภาพ

‘ม่วงคำ’ The old man town เมืองผู้สูงวัย ใช้ชีวิตอย่างมีศักดิ์ศรี

กรุงเทพธุรกิจ

อัพเดต 18 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 5 ชั่วโมงที่ผ่านมา

การเป็นสังคมผู้สูงอายุของประเทศไทย ไม่ใช่เป็นเรื่องเพียงแค่จำนวนตัวเลขผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น แต่สิ่งสำคัญ หมายถึง การเตรียมสภาพแวดล้อมในทุกมิติให้พร้อมเอื้อต่อการใช้ชีวิตของผู้คนที่สูงวัย เพราะการมีอายุที่มากขึ้นนั้น ย่อมตามมาด้วยข้อจำกัดในหลายๆเรื่อง โดยเฉพาะสุขภาพที่เปลี่ยนไปตามวัย

รายงานของสํานักอนามัยผู้สูงอายุ กรมอนามัย พบว่าโรคหลอดเลือดสมองเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ของประชากรทั้งเพศชายและเพศหญิง โดยมีอัตราการเสียชีวิตต่อประชากร 300,000 คน ในปีพ.ศ. 2557-2559 เท่ากับ 38.7, 43.3 และ 48.7 ตามลําดับ และมีอัตราการป่วยที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี

ผู้ป่วยที่มีการบาดเจ็บที่ศีรษะและสมอง เนื่องจากอุบัติเหตุทางถนนมีประมาณ 140,000 คนต่อปี และยังมีผู้ป่วยที่บาดเจ็บทางไขสันหลัง (Spinal cord injury) เพิ่มขึ้นทุกปีโดยมีจํานวน 16.7 % รองลงมา 18.5 %และ 19.6 % คนต่อประชากร 100,000 คน ในปีพ.ศ. 2552-2554

สถานการณ์สุขภาพผู้สูงอายุ

ผู้ป่วยกระดูกสะโพกหัก (Hip fracture) พบว่า อุบัติการณ์การเกิดกระดูกหักในผู้สูงอายุจะสูงขึ้นปีละ 180 รายต่อ 100,000 ประชากรผู้สูงอายุ เป็น 450 - 750 รายต่อ 100,000 ประชากรผู้สูงอายุ ภายในปีพ.ศ. 2568 แนวโน้มที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก โดยในปี2556 - 2559 จํานวนผู้สูงอายุที่บาดเจ็บและขอใช้บริการระบบการแพทย์ฉุกเฉินมีจํานวนเฉลี่ย 140 ครั้ง/วัน หรือ 50,000 ครั้ง/ปี

บวกกับ ผู้สูงอายุมีการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง ราว 46 % ส่วนใหญ่มีการเจ็บป่วยด้วยความดันโลหิตสูง 65 % เบาหวาน 30 % กระดูกและข้อเสื่อม 7.78 %

ผู้สูงอายุ มีความพิการ 10.79 % ส่วนใหญ่พิการทางกาย/เคลื่อนไหว 41.86 % มีปัญหาและความต้องการในการดูแลช่วยเหลือด้านสุขภาพ 12.02 % ส่วนใหญ่มีปัญหาและความต้องการในการดูแลช่วยเหลือด้านกินยา/ฉีดยาไม่ต่อเนื่อง 25.79 %

มีพฤติกรรมเสี่ยงของผู้สูงอายุ 28.28 % ส่วนใหญ่มีพฤติกรรมเสี่ยงจากไม่ได้ออกกําลังกาย 35.42 % ดื่มสุราเป็นประจํา 17.44 % สูบบุหรี่เป็นประจํา 15.63 %

ชุมชนท้องถิ่นร่วมดูแลต่อเนื่อง

ทั้งนี้ จํานวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ความต้องการรับบริการในสถานพยาบาลระดับตติยภูมิเพิ่มสูงขึ้น เกิดปัญหาความแออัด ผู้ป่วยต้องรอรับการรักษาเป็นเวลานาน และมีข้อจํากัดในการส่งต่อกลับไปยังโรงพยาบาลระดับทุติยภูมิ

การดูแลและฟื้นฟูผู้สูงอายุในระยะท้ายโดยชุมชนท้องถิ่น จึงควรมุ่งเน้นไปที่การสร้างระบบการดูแลที่เหมาะสม โดยเฉพาะการพัฒนาระบบการดูแลต่อเนื่อง (Day Care) ซึ่งเป็นบริการที่รวมกิจกรรมช่วยฟื้นฟูและดูแลด้านสุขภาพในช่วงเวลากลางวัน

รวมถึง การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยระยะกลาง (Intermediate care: IMC) ซึ่งช่วยปิดช่องว่างในการให้บริการ เชื่อมต่อบริการจากระยะเฉียบพลัน สู่ระยะกลาง ก่อนเข้าสู่การดูแลต่อเนื่องในระยะยาว (Long term care)

ส่งผลให้ผู้ป่วยในกลุ่มโรคสําคัญ ได้แก่ โรคหลอดเลือดสมอง การบาดเจ็บสมอง การบาดเจ็บไขสันหลัง และกลุ่มกระดูกสะโพกหัก ได้รับการฟื้นฟูอย่างเข้มข้น และควรได้รับโอกาสในการฟื้นฟูสมรรถภาพ ในช่วงเวลา 6 เดือนแรกอย่างเต็มประสิทธิภาพและต่อเนื่อง จะส่งผลให้ผู้ป่วยลดภาวะแทรกซ้อน ลดภาวะพึ่งพิง สามารถช่วยเหลือตนเอง และมีคุณภาพชีวิตที่ดี

การเสริมศักยภาพการดูแลต่อเนื่อง โดยชุมชนท้องถิ่น จึงเป็นกลยุทธ์สําคัญในการจัดระบบบริการสุขภาพ ตอบโจทย์สังคมสูงวัย โรคเรื้อรัง และภาวะพึ่งพิงในระดับชุมชนได้อย่างเป็นรูปธรรม เน้นการบูรณาการภาคส่วนต่างทั้งภาครัฐ ท้องถิ่น (อปท.) ชุมชน อสม. และภาคประชาชนเข้ามาร่วมกันดูแล การจัดบริการผสมผสานระหว่างกิจกรรมการรักษา และกิจกรรมทางสังคม โดยสามารถจัดบริการได้ที่โรงพยาบาล ในสถานบริการสุขภาพ หรือในชุมชน

ต้นแบบ ม่วงคำ The old man town

ต้นแบบหนึ่งที่ทำได้จริง คือ องค์การบริหารส่วนตําบล(อบต.)ม่วงคำ อ.พาน จ.เชียงราย นางสายสุรี ทนันชัย นายกอบต.ม่วงคํา เล่าว่า จากจำนวนประชากรในพื้นที่ 7,900 คน ในปี 2567 เป็นผู้สูงอายุ 2,615 คน คาดว่าในอีก 10 ปีข้างหน้าจะเพิ่มเป็น 3,500 คน

อบต.จึงได้กำหนดเป็น “นโยบายสาธาณะ The old man town เมืองสูงวัยตำบลม่วงคำ” ให้ผู้สูงอายุได้ใช้ชีวิตอย่างสมศักดิ์ศรี ประกอบด้วย 6 มิติ คือ 1.สุขภาพ ,สวัสดิการ , สภาพแวดล้อม ,เศรษฐกิจอาชีพ ,เทคโนโลยีและนวัตกรรมและ ศาสนา วัฒนธรรม ภูมิปัญญา

สำหรับส่วนของการพัฒนาระบบการดูแลต่อเนื่องนั้น มีรูปแบบการบริการ แยกเป็น

  • ระยะเฉียบพลัน มีบริการช่วยเหลือกรณีฉุกเฉิน 24 ชั่วโมง ,ให้บริการ รับ-ส่ง ผู้ป่วยกรณีแพทย์นัด ,ให้บริการ รับ-ส่ง หญิงตั้งครรภ์ ,ให้บริการกายอุปกรณ์ ,การประสานงานกับโรงพยาบาล นัดหมายส่งต่อผู้ป่วย และร่วมเป็นวิทยากรสอนการปฐมพยาบาลเบื้องต้น การช่วยเหลือการฟื้นคืนชีพ
  • ระยะกลาง : Day Care ภารกิจที่ดําเนินการ จัดทําบันทึกข้อตกลงความร่วมมือสนับสนุนการพัฒนาระบบบริการดูแลกลางวันโดยชุมชนท้องถิ่น ภายใต้โครงการ “การพัฒนาระบบบริการดูแลกลางวันโดยชุมชนท้องถิ่น” ที่ประสานกับ วิสาหกิจนักบริบาลภาคประชาสังคม
  • ระยะยาว : Long Term Care มีการพัฒนาศักยภาพ Care giver / อาสาบริบาล ,นําโปรแกรม Awuso.net มาประยุกต์ใช้ในการเยี่ยม ติดตาม ดูแลผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง ,กิจกรรมมอบผ้าอ้อมผู้ใหญ่ให้แก่ผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง และการเยี่ยมติดตามผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง โดยสหวิชาชีพจากรพ.พาน
  • และระยะท้าย : ชีวาภิบาล มีNursing home ในพื้นที่ตําบลม่วงคํา จัดบริการการดูแลแบบประคับประคอง, จัดกิจกรรม “สมุดเบาใจ” แก่ผู้สูงอายุเพื่อเตรียมพร้อมสําหรับช่วงสุดท้ายของชีวิต และติดต่อประสานการส่งต่อผู้ป่วย

นอกจากนี้ ยังมีกระบวนการดูแลตามกลุ่มสําคัญ ได้แก่

1.กลุ่มติดสังคม มีโรงเรียนผู้สูงอายุ (ทุกวันจันทร์) ,คาราโอเกะเพื่อชีวิต/กีฬาเปตองผู้สูงอายุ (ทุกวันศุกร์) ,Smart motion analysis (เครื่องออกกําลังกาย Ai สําหรับผู้สูงอายุ)

2.กลุ่มติดบ้าน ปรับปรุงสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยตามการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล(Universal Design) โดยช่างชุมชน จากพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ , กิจกรรม เพื่อนช่วยเพื่อนด้วยการเยี่ยมให้กําลังใจ ผู้สูงอายุที่มีอาการเจ็บป่วย

3.กลุ่มติดเตียง นําเข้าการดูแลโดย Long Term Care ดูแลโดย Care giver หรือ อาสาบริบาลท้องถิ่น ดูแลจัดการตาม Care Plan และกิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อน

อีกทั้ง มีระบบคัดกรอง ด้วยการใช้แบบคัดกรองผู้สูงอายุเบื้องต้น ในการประเมินการทํากิจวัตรประจําวันความคิดความจํา เสี่ยงผลัดตกหกล้ม เพื่อเก็บข้อมูลการคัดกรองและให้ความช่วยเหลือผู้สูงอายุตามสิทธิและสวัสดิการที่ผู้สูงอายุควรได้รับ

ทั้งหมดนี้เป็นการประสานทำงานร่วมมือกันระหว่าง อบต.ม่วงคำ ,ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพชุมชนตําบลม่วงคํา ,โรงพยาบาลพานและ สถาบันการศึกษา

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก กรุงเทพธุรกิจ

วิกฤติน้ำโขง MRC จ่อประสานไทย-ลาว-เมียนมา ประชุมด่วน 21 ก.ค. สารหนูเกินเกณฑ์

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

ทันตจุฬาฯ เปิดแอป Thai Teledentistry ยกระดับการรักษา ช่องปาก

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

TESTA เตือน พลังงานสะอาดต้องปลอดภัย แบตเตอรี่ความจุสูงอาจเป็นภัยต่อชุมชน

4 ชั่วโมงที่ผ่านมา

กต. ยืนยัน ไทยส่งหนังสือชี้แจ้ง UN แล้ว กรณีกัมพูชาฟ้องร้องไทยต่อ UNSG

4 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความสุขภาพอื่น ๆ

กรมควบคุมโรค เตือนสูบบุหรี่ไฟฟ้า เสี่ยงเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาว

ฐานเศรษฐกิจ

ประกาศเกณฑ์จ่ายค่ารถรับส่งผู้ป่วยใช้หุ่นยนต์ผ่าตัด 3 โรคมะเร็ง

ฐานเศรษฐกิจ

ลดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เร่งฉีด HPV เพิ่มอีก 1 ล้านโดส ปี 68

ฐานเศรษฐกิจ

นักโภชนาการเผยเเล้ว กินผักใบเขียว ทุกวันช่วยให้สมองอ่อนเยาว์ลงถึง 11 ปี

News In Thailand

DPU จัดใหญ่! ประชุมระดับชาติ ดัน 'สิ่งแวดล้อม & ธุรกิจยั่งยืน'

กรุงเทพธุรกิจ

หนุนท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ-สมุนไพร ต่อยอด "เวลเนส คอมมูนิตี้"

ฐานเศรษฐกิจ

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...