โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

ธปท.-สภาพัฒน์-คลัง เร่งหามาตรการช่วยภาคธุรกิจรอดพ้นเศรษฐกิจโตแผ่ว

PostToday

อัพเดต 19 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 7 ชั่วโมงที่ผ่านมา

ดร.รุ่ง มัลลิกะมาส รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ในปัจจุบันที่เศรษฐกิจไทยมีการเติบโตช้า และมีความเสี่ยงมากขึ้นจากเหตุการณ์ของสหรัฐ ดังนั้นเศรษฐกิจไทยในขณะนี้มีความต้องการธุรกิจในรูปแบบที่จะไปต่อได้อย่างยั่งยืน และ Investment Cycle ใหม่ ที่ไทยไม่มีมาเป็นเวลาหลาย 10 ปี มากกว่าแค่ต้องการให้มีสภาพคล่อง

ดังนั้นขณะนี้ ธปท. ร่วมกับ สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ และกระทรวงการคลัง ในการหารือเกี่ยวกับมาตรการที่ช่วยให้ลูกหนี้สามารถปรับตัวได้ดีขึ้นในช่วงที่เศรษฐกิจมีความไม่แน่นอน โดยมีการบูรณาการข้อมูลจากสถาบันการเงินเพื่อประเมินสถานการณ์ของลูกหนี้อย่างรอบด้าน

“ท่านรัฐมนตรีคลังก็เป็นคนสั่งการเรื่องนี้ด้วย ให้เราคุยกับธนาคารพาณิชย์ว่าลูกหนี้แบบที่จะไปรอดจะต้องเป็นอย่างไร ต้องมีสินค้าใหม่ ตลาดใหม่ หรือได้รับความช่วยเหลืออะไร อย่างไร รวมไปถึงถ้าธนาคารพาณิชย์จะปล่อยสินเชื่อให้กับกลุ่มนี้ ต้องการเห็นอะไร และต้องการอะไร” ดร.รุ่ง กล่าว

ขณะเดียวกัน จะมีการเข้าไปพูดคุยกับทางผู้ประกอบการในแต่ละอุตสาหกรรม ในเบื้องต้นจะนำร่อง 3 อุตสาหกรรม ได้แก่ อุตสาหกรรมท่องเที่ยว อุตสาหกรรมอาหารและเกษตรแปรรูป และอุตสาหกรรม Medical & Wellness

“ถามว่าลดดอกเบี้ยได้มั้ย เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระหนี้ให้กับลูกหนี้ และเพิ่มสภาพคล่องในการทําธุรกิจ มองว่าช่วยแบ่งเบาภาระหนี้ได้บางส่วน แต่เศรษฐกิจไทยอาจจะต้องการอะไรที่มากกว่าแค่ให้คนมีสภาพคล่อง ดังนั้นเราจะต้องช่วยเหลือผู้ประกอบการให้ปรับตัวได้อย่างราบรื่น และสภาพคล่องก็เป็นหนึ่งในปัจจัยที่จะต้องมี แต่สภาพคล่องอย่างเดียวไม่เพียงพอที่จะทำให้เขารอด” ดร.รุ่ง กล่าว

ทั้งนี้ การดำเนินการดังกล่าวจะช่วยให้เข้าใจถึงแนวทางการช่วยเหลือลูกหนี้มากขึ้น เพื่อนำไปสู่การสร้างมาตรการสนับสนุนของภาครัฐที่เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจ เช่น เครดิตการันตี หรือซอฟต์โลน เป็นต้น

ในส่วนของเครดิตการันตี สามารถดำเนินการได้โดยที่ไม่ต้องรอสถาบันค้ำประกันเครดิตแห่งชาติ (NaCGA) ซึ่งจะดำเนินการผ่านบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) แต่เปอร์เซ็นต์การค้ำประกันอาจจะต้องสูงขึ้น

อย่างไรก็ตาม ปัญหาสําคัญของการไม่ปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ จากปัญหาความเสี่ยงด้านเครดิต (Credit Risk) ดังนั้น ธปท.มีกลไกในการที่จะช่วยในการลด Credit Risk โดยระยะสั้นจะต้องทำภาพให้ชัดเจนขึ้นจากสิ่งที่ ธปท.ร่วมมือกับหลายหน่วยงานในการดำเนินการดังกล่าว ซึ่งธนาคารพาณิชย์จะกล้าปล่อยลูกหนี้ก็ต่อเมื่อมั่นใจว่าลูกหนี้รายนี้มีเปอร์เซ็นต์ที่จะไปรอดและคืนหนี้สูง

ส่วนระยะยาว ทําให้ต้นทุนของการ Acquire ลูกหนี้รายเล็กลดลง และทําให้อํานาจต่อรองมาอยู่ในมือของลูกหนี้มากขึ้น ดังนั้นจึงอยากให้มีผู้เล่นที่หลากหลายขึ้น และมีความคล่องตัวขึ้นมาแข่งกันมากขึ้น และอีกด้านหนึ่งก็ต้องมีข้อมูลมากขึ้น จึงเป็นสาเหตุที่ผลักดันโครงการ Your Data

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก PostToday

“สุชาติ”เสนอตั้ง“ธนาคารพุทธศาสนา”ฟื้นวิกฤตศรัทธาพระสงฆ์

41 นาทีที่แล้ว

CKP ติดทำเนียบหุ้น ESG100 ต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 ภายใต้กลยุทธ์ "C-K-P"

57 นาทีที่แล้ว

"พิชัย" ลุ้นสหรัฐฯ ขยายเส้นตายเก็บภาษีนำเข้าถึง 1 ส.ค.นี้

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

ชูศักดิ์รับครม.นัดพิเศษถกอำนาจรักษาการนายกฯยุบสภาได้หรือไม่

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าว ธุรกิจ-เศรษฐกิจ อื่น ๆ

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...