โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

การเมือง

ดร.ณัฏฐ์ ชำแหละ คดีฮั้วสว.-ปมหมอเกศ!

ไทยโพสต์

อัพเดต 5 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 12 ชั่วโมงที่ผ่านมา

นักกฎหมายมหาชน ชำแหละ คดี "ฮั้ว สว." ในชั้น กกต.ไม่เกิน 150 วัน ส่วนกรณี "สว.หมอเกศ" เปิดช่องในการจัดทำคำวินิจฉัยกลางไม่มีกรอบเวลา ทำให้คดีล่าช้า

23 กรกฎาคม 2568 - สืบเนื่องจากคณะกรรมการสืบสวนไต่สวน กกต. ชุดที่ 26 ได้สรุปความเห็นทุจริตการเลือก สว.เป็นกระทำฝ่าฝืน พรป.ว่าด้วยการได้มาซึ่ง สว. และเสนอสำนวนคดีฮั้ว สว. จำนวน 229 ราย ประกอบไปด้วย สว. จำนวน 138 คนและผู้ที่ร่วมกระทำทุจริตการเลือก สว.จำนวน 91 คน ให้แก่เลขาธิการ กกต. เพื่อให้ประมวลผลและส่งสำนวนพร้อมความเห็นให้แก่คณะอนุกรรมการวินิจฉัยเพื่อกลั่นกรอง ก่อนที่จะเสนอสำนวนพร้อมความเห็นให้แก่ที่ประชุม กกต.เพื่อวินิจฉัยชี้ขาด ล่าสุด สำนักงาน กกต.ได้เผยแพร่ผลมติวินิจฉัยชี้ขาดเป็นการทั่วไป ในคดีที่ พญ.เกศกมล เปลี่ยนสมัย สว.ถูกกล่าวหาว่า แอบอ้างเรียนจบปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา โดยอ้างตนว่า มีตำแหน่งทางวิชาการ “ศาสตราจารย์”โดยการหาเสียงหลอกลวง ตามมาตรา 77(4) แห่ง พรป.การได้มาซึ่ง สว.ปรากฏว่า กกต.มีมติยกคำร้องเรื่องวุฒิการศึกษา ให้เพิกถอนสิทธิต่อศาลฎีกากรณีแอบอ้างตำแหน่ง “ศาสตราจารย์” และให้ดำเนินคดีอาญานั้น

ล่าสุด “ดร.ณัฏฐ์” หรือ “ดร.ณัฐวุฒิ วงศ์เนียม นักกฎหมายมหาชน ได้ให้ความเห็นเพื่อประโยชน์สาธารณะว่า ในคดีฮั้ว สว.ที่มี สว.และนายอนุทิน ชาญวีรกูล หัวหน้าพรรคและ สส.พรรคภูมิใจไทย นายเนวิน ชิดชอบ และบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องจำนวนมากถึง 229 คน

หากดูกรอบเวลาในแง่มิติทางกฎหมาย พรป.กกต.มาตรา 42 วรรคหนึ่ง ประกอบระเบียบ กกต.ว่าด้วยการสืบสวน ไต่สวนและวินิจฉัยชี้ขาด พ.ศ.2561 และฉบับที่แก้ไขเพิ่มเติม สำนวนคดี ที่ส่งมายังเลขาธิการ กกต. มีกรอบเวลาในชั้นนี้ มีระยะเวลา 60 วันนับแต่เลขาธิการ กกต.ได้รับสำนวน

เลขาธิการ กกต.มีหน้าที่ประมวลผลและทำความเห็นเสนอสำนวนให้คณะอนุกรรมการวินิจฉัย กรอบเวลา 60 วัน จะใช้เวลาไม่ถึงก็ได้ ไม่มีกฎหมายห้าม

ซึ่ง กกต.ได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการวินิจฉัย ไว้แล้ว จำนวน 35 คณะ มีองค์ประกอบ 5 คนต่อคณะ มีกรอบเวลา 90 วัน นับแต่ได้รับสำนวน โดยจะมีความเห็นและสรุปสำนวนก่อนเวลาก็ได้

แต่ให้ข้อสังเกตว่า คดีที่ สว.กับพวกถูกกล่าวหา เป็นการกระทำความผิดเดียวกัน กกต.อาจใช้ช่องทางตั้งคณะอนุกรรมการวินิจฉัยชุดพิเศษขึ้นมา 1 ชุด เพื่อทำความเห็น กลั่นกรองสำนวนให้เป็นไปทิศทางเดียวกันก็ได้ เพราะหากแจกจ่ายสำนวนกระจาย ความเห็นไปยัง 35 คณะ ส่งผลให้คำวินิจฉัยไปคนละทิศทาง ยากต่อการวินิจฉัยชี้ขาดในชั้น กกต.

ส่วนนายแสวง บุญมี เลขาธิการ กกต.ให้สัมภาษณ์ว่าตนมีส่วนได้เสีย โดยจะมอบหมายให้รองเลขาธิการ กกต. คนใดคนหนึ่งกระทำการแทน ย่อมมอบหมายได้ เพราะเป็นอำนาจเฉพาะตัวที่จะสามารถมอบหมายให้รองเลขาธิการ กกต.ทำหน้าที่แทนเฉพาะเรื่องได้

แต่ระยะเวลาชี้ขาด ของ กกต. นับแต่วันที่ 17 กรกฎาคม 2568 เป็นต้นไป มีกรอบเวลาไม่เกิน 150 วัน หรือไม่เกิน 5 เดือน นับแต่คณะกรรมการสืบสวนไต่สวน ชุดที่ 26 ส่งสำนวนถึงเลขาธิการ กกต.

โดยในชั้นนี้ตามระเบียบ กกต.ฯไม่อาจขยายระยะเวลาได้

ส่วนที่วานนี้ (22 ก.ค. 2568) สว.สีน้ำเงิน เห็นชอบ ให้นายณรงค์ กลั่นวารินทร์ นั่งกกต. คนใหม่ แทน นายอิทธิพร บุญประคอง ประธาน กกต. ที่พ้นวาระนั้น ย่อมมีผลให้นายณรงค์ฯ เข้ามากุมบทบาทใน กกต. มีผลต่อเสียงข้างมากในคดีนี้แน่นอน

โดยให้จับตา กกต.อีก 2 ท่าน จะพ้นตำแหน่งในเดือนธันวาคม 2568 จะมีความเห็นคดีฮั้ว สว.ทิ้งทวนหรือไม่?

เพราะหาก เกมการเมืองกลุ่มการเมืองสีน้ำเงิน กุมเสียงข้างมากใน กกต.ถึง 4 เสียง ฟันธงล่วงหน้าได้เลย คดีย่อมเป็นผลบวก

เหตุที่เป็นเช่นนี้ หาก กกต.มีมติเสียงข้างมาก ยกคำร้อง ย่อมมีผลเสร็จเด็ดขาด

อธิบายภาษาชาวบ้านได้ว่า หากคดีฮั้ว สว.ยกคำร้องในชั้น กกต. เป็นที่สุด ไม่อาจอุทธรณ์คำสั่งในองค์กรตุลาการได้

“มันจบแล้วครับนาย”

ส่วนในคดีที่ พญ.เกศกมล เปลี่ยนสมัย สว.โดย กกต.วินิจฉัยชี้ขาดยกคำร้อง“วุฒิการศึกษา”แต่วินิจฉัยชี้ขาดว่า เป็นการหลอกลวงหรือแอบอ้างในการหาเสียงในตำแหน่ง “ศาสตราจารย์” ตามมาตรา 77(4) แห่ง พรป.ว่าด้วยการได้มาซึ่ง สว.

โดย กกต.มีมติให้ยื่นคำร้องเพิกถอนสิทธิต่อศาลฎีกาและดำเนินคดีอาญานั้น

หากนับแต่วันที่ กกต.มีคำวินิจฉัยชี้ขาด แต่ปัจจุบันยังไม่มีการยื่นคำร้องต่อศาลฎีกา

โดยระเบียบ กกต.ฯ เปิดช่องในการยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาตามรัฐธรรมนูญมาตรา 226 ประกอบ มาตรา 62 แห่ง พรป.ว่าด้วยการได้มาซึ่ง สว. โดยระเบียบฯ กกต. เปิดช่องว่างไม่ได้กำหนดระยะเวลาในการยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาไว้ ทำให้เกิดช่องว่างหลังมติวินิจฉัยของ กกต.เปิดช่อง ในการจัดทำคำวินิจฉัยกลางให้แล้วเสร็จและยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาไม่มีกรอบเวลา ดังจะเห็นได้จากการเผยแพร่คำวินิจฉัย ห่างกันถึง 2-3 เดือนนับแต่ กกต.วินิจฉัยชี้ขาด

ส่งผลให้คดีมีความล่าช้า เพราะระเบียบ กกต.ว่าด้วยการสืบสวน ไต่สวนและวินิจฉัยชี้ขาด (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2566 ข้อ 92 กำหนดกรอบเวลา เฉพาะให้เลขาธิการ กกต. ดำเนินการสืบสวนหรือไต่สวน ภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ประกาศผลการเลือกตั้งหรือการเลือก สว.

ทำให้ พญ.เกศกมลฯ ใช้ช่องว่างนี้ ยังทำหน้าที่ สว.หรือในกรรมาธิการ สว.ที่ตนได้รับการแต่งตั้ง รวมถึงได้รับเงินค่าตอบแทนอื่นๆด้วย ทั้งมีผลต่อผู้ช่วย สว.ประจำตัวของตนด้วย จนกว่า กกต.มอบอำนาจให้นิติกรที่เกี่ยวข้องนำคดีไปยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาและจะต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่ชั่วคราว.

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก ไทยโพสต์

วันนี้ทั่วไทยยังเจอฝนฟ้าคะนอง 60-70% ส่วนภาคใต้เจอ 20%

11 นาทีที่แล้ว

เข้าสู่ยุคสิ้นหวัง

6 ชั่วโมงที่ผ่านมา

ที่ปรึกษา‘หวย’?

6 ชั่วโมงที่ผ่านมา

‘สนิทเบอร์ไหน’

6 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความการเมืองอื่น ๆ

ข่าวและบทความยอดนิยม