โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

กรมประมงโชว์ไอเดียแปรรูป “สาหร่ายผักกาดทะเล” พลิกโฉมสู่แพ็กเกจจิงรักษ์โลก

สยามรัฐ

อัพเดต 11 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 11 ชั่วโมงที่ผ่านมา

กรมประมงโชว์ไอเดียแปรรูป “สาหร่ายผักกาดทะเล” พลิกโฉมสู่แพ็กเกจจิงรักษ์โลกและสารสกัดเพิ่มคุณค่าทางอาหาร ตอบโจทย์เทรนด์ผู้บริโภคยุคใหม่

กรมประมงพลิกโฉม “สาหร่ายผักกาดทะเล” สู่บรรจุภัณฑ์ชีวภาพและผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ เดินหน้ายกระดับงานวิจัยพร้อมต่อยอดและขยายผลในวงกว้าง มุ่งเสริมศักยภาพการแข่งขันของเกษตรกรและผู้ประกอบการ โดยคำนึงถึงการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและยั่งยืน ภายใต้แนวทาง “ตลาดนํา นวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้” ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

นายบัญชา สุขแก้ว

นายบัญชา สุขแก้ว อธิบดีกรมประมง เปิดเผยว่า กรมประมงได้มีการศึกษาวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสาหร่ายผักกาดทะเลมาอย่างต่อเนื่อง ด้วยมีคุณค่าทางโภชนาการสูง อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระหลากหลายชนิด ทนต่อการเปลี่ยนแปลงของความเค็มได้ดี เจริญเติบโตเร็ว สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ในระยะเวลาอันสั้นและตลอดทั้งปี ประกอบกับมีกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและมีราคาจำหน่ายสูง จึงมีความเหมาะสมที่จะส่งเสริมให้เกษตรกรมีการเพาะเลี้ยงเชิงพาณิชย์และแปรรูปอย่างครบวงจร เพื่อเพิ่มความหลากหลายของสินค้าและตอบโจทย์ผู้บริโภคสายรักสุขภาพที่มีแนวโน้มความต้องการอย่างต่อเนื่อง โดยกรมประมงได้สนับสนุนองค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ทั้งการเพาะเลี้ยง การเก็บรักษา การแปรรูปต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ รวมถึงการขยายช่องทางการตลาด สามารถขยายผลไปยังกลุ่มเกษตรกรจนประสบความสำเร็จในหลายพื้นที่ ซึ่งในปี 2567 ที่ผ่านมา มีปริมาณผลผลิตสาหร่ายทะเลสูงถึง 1,031.31 ตัน คิดเป็นมูลค่ากว่า 43,335,000 บาท

นางสาวพิชญา ชัยนาค

ด้าน นางสาวพิชญา ชัยนาค ผู้อำนวยการกองวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมสัตว์น้ำ กล่าวเสริมในรายละเอียดว่า “สาหร่ายผักกาดทะเล” จัดว่าเป็นวัตถุดิบที่มีศักยภาพสูงสำหรับแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ และนำมาสกัดสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพเพื่อใช้ประโยชน์ด้านอาหารฟังก์ชัน หรือ Functional Foods ที่ช่วยเพิ่มคุณค่าทางอาหารและส่งเสริมการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย ซึ่งกำลังได้รับความนิยมในหมู่ผู้บริโภครักสุขภาพ กรมประมง โดยกองวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมสัตว์น้ำ จึงได้ทำการศึกษา ค้นคว้า วิจัย นำสาหร่ายผักกาดทะเลมาเป็นส่วนประกอบสำคัญในอาหารหลากหลายเมนู ได้แก่ บะหมี่สาหร่ายผักกาดทะเล ที่มีโปรตีนและใยอาหารสูงขึ้น กัมมี่เยลลี่สาหร่ายผักกาดทะเล เพิ่มคุณประโยชน์ให้กับขนมขบเคี้ยว โดยการเติมสาหร่ายผักกาดทะเลพร้อมเสริมคุณค่าทางอาหารด้วยอินนูลิน วิตามินซี และคอลลาเจน เยลลี่พร้อมดื่ม (Jelly Drink) ผสมสาหร่ายผักกาดทะเล รสมะนาว ผลิตภัณฑ์ที่เสริมใยอาหารและโปรตีนจากสาหร่ายผักกาดทะเล และวิตามินซีถึงร้อยละ 180 และ เจลลีสติป (Jelly Strip) ผสมสาหร่ายผักกาดทะเล รสองุ่น เพิ่มคุณค่าทางอาหารจากสาหร่ายผักกาดทะเล คอลลาเจนไตรเปปไทด์ และวิตามินซี

สำหรับสาหร่ายส่วนที่เหลือจากการคัดแยก เนื่องจากเกินอายุการเลี้ยงหรือมีความไม่สมบูรณ์จะถูกนำไปสกัดสารอาหารเพื่อเพิ่มคุณค่าและลดการเกิดขยะ (Zero waste) โดยใช้เอนไซม์โบรมิเลนสกัดโปรตีนไฮโดรไลเซทจากสาหร่ายผักกาดทะเล ทำให้โปรตีนมีขนาดเล็กลง ร่างกายสามารถดูดซึมและใช้ประโยชน์ได้ง่ายขึ้น เพื่อผสมลงในเมนูต่าง ๆ ได้แก่ เมอแรงค์สูตรลดน้ำตาลผสมโปรตีนไฮโดรไลเซทจากสาหร่ายผักกาดทะเล ซึ่งช่วยให้เนื้อสัมผัสแน่นคงตัวและมีกลิ่นรสเฉพาะของสาหร่ายผักกาดทะเล ซอสทสึยุผสมโปรตีนไฮโดรไลเซทจากสาหร่ายผักกาดทะเล โดยใช้แทนดาชิที่เป็นส่วนผสมหลัก ปราศจากสารปรุงแต่งอื่น ๆ และใยอาหารจากสาหร่ายผักกาดทะเล นำมาผลิตเป็น Jelly Strip เสริมสารสกัดใยอาหารจากสาหร่ายผักกาดทะเล ที่มีใยอาหารสูงถึง 8 กรัม ต่อหนึ่งหน่วยบริโภค คิดเป็นร้อยละ 32 ของปริมาณสารอาหารที่แนะนำให้บริโภคต่อวัน (Thai Recommended Daily Intakes หรือ Thai RDI) ซึ่งช่วยให้ระบบขับถ่ายมีการทำงานดีขึ้น นอกจากนี้ ยังสามารถนำไปผลิตเป็น บรรจุภัณฑ์รักษ์โลก ทดแทนการใช้พลาสติกสังเคราะห์และโฟมในอุตสาหกรรมอาหาร โดยสกัดและฟอกสีสาหร่ายผักกาดทะเลผสมกับเยื่อทางใบปาล์มแล้วนำไปขึ้นรูปด้วยเครื่องกดอัด (Compression Molding) จนได้บรรจุภัณฑ์สำหรับอาหารที่มีความแข็งแรง ทนต่อการดูดซึมน้ำ และสามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ เหมาะสำหรับใช้เป็นบรรจุภัณฑ์แบบใช้แล้วทิ้ง พร้อมผลักดันให้เป็นวัสดุทางเลือกใหม่สำหรับผลิตเป็นบรรจุภัณฑ์อาหาร ที่ใช้เวลาในการเพาะปลูกหมุนเวียนสั้น ย่อยสลายได้ง่าย และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอีกด้วย


โดยในอนาคตทางกองฯ มีแผนที่จะต่อยอดและขยายผลงานวิจัยดังกล่าวไปยังกลุ่มเกษตรกรและผู้ประกอบการในพื้นที่จังหวัดเพชรบุรีและจันทบุรี เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากสาหร่ายผักกาดทะเลและส่วนที่เหลือจากการคัดแยก สำหรับเป็นช่องทางในการสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรต่อไป ทั้งนี้ ผู้ประกอบการที่สนใจนำงานวิจัยไปต่อยอดสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ กองวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมสัตว์น้ำ กรมประมง เบอร์โทรศัพท์ 0 2940 6130 ต่อ 45

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก สยามรัฐ

สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16 สาขาแม่สะเรียง ประชุมประเมินผลสัมฤทธิ์ของ พรบ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562

22 นาทีที่แล้ว

หน้า 1 หนังสือพิมพ์สยามรัฐรายวัน ฉบับวันที่ 24/07/68

25 นาทีที่แล้ว

"กัณวีร์" ประณามกัมพูชา! หนุนไทยยกระดับมาตรการตอบโต้ถึงขั้นขับทูต เตือนระวังกลลวงสู่ UNSC

28 นาทีที่แล้ว

ฟิลิปปินส์ บินลัดฟ้า ศึกษาการเลี้ยงกุ้ง GI ราชบุรี

29 นาทีที่แล้ว

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความทั่วไปอื่น ๆ

พายุลูกใหม่ต่อจากวิภา “พายุฟรานซิสโก - ก๋อมัย ” ก่อตัวในทะเล จับตาผลกระทบไทย

TNN ช่อง16

เหนือ-ตะวันตกของไทยตอนบน ฝนตกหนักมากบางแห่ง

สำนักข่าวไทย Online

ก่อตัวมาอีก 2 ลูก กรมอุตุ เตือนฉ.17 ดิเปรสชั่นวิภา วันนี้ 19 จว.เตรียมรับมือด่วน!

สยามนิวส์

เปิดภาพ…นาทีชีวิต! ลำเลียง ทหารเหยียบกับระเบิด ขึ้น ฮ.MI 17

TOJO NEWS

พิชัย ระบุไทยส่งคำอธิบายเพิ่มเติม หลัง สหรัฐเห็นข้อเสนอภาษีการค้าจากไทยแล้ว

JS100

วิกฤต! น้ำท่วมวัดหนองบัว จมครึ่งวิหาร จิตรกรรมฝาผนังเสียหายหนัก

มุมข่าว

‘แม่น้ำเมย’ ล้นตลิ่งหลากท่วม ‘ตลาดริมเมย’ ฝ่ายปกครอง-ทหาร ผนึกกำลังเร่งช่วยเหลือ

เดลินิวส์

Heart over Height ยูกิ คาวามูระ เพราะหัวใจใหญ่กว่าตัวเสมอ

THE STANDARD

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...