โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

“กองทัพสมัยพระเจ้าตาก” เก่งจน “อะแซหวุ่นกี้” แม่ทัพพม่า ยอมรับ?

ศิลปวัฒนธรรม

อัพเดต 13 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 13 ชั่วโมงที่ผ่านมา
จิตรกรรมเขียนขึ้นใหม่ ภาพเหตุการณ์

“กองทัพสมัยพระเจ้าตาก” เก่งจน “อะแซหวุ่นกี้” แม่ทัพพม่า ยอมรับ?

รัชสมัย “สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช” แม้จะมีสงครามเกิดขึ้นมากมาย แต่มีอยู่หนึ่งสงครามที่เรียกว่ายิ่งใหญ่ของยุคธนบุรี นั่นคือ “ศึกอะแซหวุ่นกี้” หรือ “ศึกเมืองพิษณุโลก” เมื่อ พ.ศ. 2318-2319

ครานั้นอะแซหวุ่นกี้ได้ยกทัพพม่ามาตีเมืองพิษณุโลก เพื่อขยายผลไปตีกรุงธนบุรี ที่กำลังก่อร่างสร้างเมืองอยู่ โดยยึดหัวเมืองฝ่ายเหนือก่อน เพื่อตัดกำลัง ก่อนจะไล่ตีหัวเมืองรายทาง และล้อมพิษณุโลก

เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงเห็นเช่นนั้น จึงทรงให้เจ้าพระยาจักรีและเจ้าพระยาสุรสีห์ไปปกป้องเมืองพิษณุโลก ขณะเดียวกันพระองค์ก็ทรงวางแผนการศึกต่าง ๆ รวมถึงทรงยกทัพหลวงไปตั้งที่ปากพิงลำน้ำน่านใต้เมืองพิษณุโลก เพื่อช่วยเจ้าพระยาทั้ง 2 คนอีกด้วย (แต่สุดท้ายพระองค์ต้องทรงถอยทัพไปอยู่ที่บางข้าวตอก เมืองพิจิตร เนื่องจากทหารพม่าโจมตี)

ท้ายที่สุด หลังทำศึกนานหลายเดือน ทางสยามก็ขาดแคลนอาหาร เนื่องจากอะแซหวุ่นกี้ล้อมพิษณุโลกไว้ จนเจ้าพระยาทั้ง 2 คนตัดสินใจตีฝ่าวงล้อมพม่าออกมา แต่หลังจากพม่าตีพิษณุโลกแตกได้ไม่นาน ก็ต้องล่าถอยกลับไป เนื่องจากพระเจ้ามังระ กษัตริย์พม่าขณะนั้นสวรรคต

แม้กองทัพฝ่ายสยามจะเพลี่ยงพล้ำในเหตุการณ์นี้ แต่อะแซหวุ่นกี้ก็เอ่ยปากยกย่องกองทัพภายใต้การนำของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช กับแม่ทัพนายกองของตน ว่า

“ไทยเดี๋ยวนี้ฝีมือเข้มแข็งนัก ไม่เหมือนไทยแต่ก่อน และเมืองพิษณุโลกเสียครั้งนี้ ใช่จะแพ้เพราะฝีมือทะแกล้วทหารนั้นหามิได้ เพราะเขาอดข้าวขาดเสบียงอาหารจึงเสียเมือง และซึ่งจะมารบเมืองไทยสืบไปหน้านั้น แม่ทัพมีสติปัญญาและฝีมือแต่เพียงเสมอเรา และต่ำกว่าเรานั้น อย่ามาทำสงครามตีเมืองไทยเลย จะเอาชัยชำนะเขามิได้ แม้นดีกว่าเราจึงจะมาทำศึกกับไทยได้ชัยชำนะ”

อย่างไรก็ตาม ข้อความที่ปรากฏเป็นข้อมูลจากฝั่งไทยเท่านั้น หากมีข้อมูลเหล่านี้ปรากฏในเอกสารพม่าบ้าง ก็จะนำมาให้ทุกท่านได้อ่านกันต่อไป

อ่านเพิ่มเติม :

สำหรับผู้ชื่นชอบประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรม แง่มุมต่าง ๆ ทั้งอดีตและร่วมสมัย พลาดไม่ได้กับสิทธิพิเศษ เมื่อสมัครสมาชิกนิตยสารศิลปวัฒนธรรม 12 ฉบับ (1 ปี) ส่งความรู้ถึงบ้านแล้ววันนี้!! สมัครสมาชิกคลิกที่นี่

อ้างอิง :

พระราชประวัติและพระราชกรณียกิจในสมเด็จพระเจ้าตากสินกรุงธนบุรี. [ม.ป.ท.]:ม.ป.พ., 2524. สืบค้นเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2568. https://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:178473.

https://finearts.go.th/storage/contents/file/ntPkXCb3uR0liF3dUhzobvdnCtaEUFt8PGZKJeiH.pdf

https://www.lib.kmutt.ac.th/king-taksin-chapter10/

https://www.silpa-mag.com/history/article_14707

https://www.silpa-mag.com/history/article_79963

เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 15 กรกฎาคม 2568

อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ : “กองทัพสมัยพระเจ้าตาก” เก่งจน “อะแซหวุ่นกี้” แม่ทัพพม่า ยอมรับ?

ติดตามข่าวล่าสุดได้ทุกวัน ที่นี่
– Website : https://www.silpa-mag.com

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก ศิลปวัฒนธรรม

พระพุทธชินราชสร้างพุทธศตวรรษที่ 20 สมัยกษัตริย์พระองค์ใด?

11 ชั่วโมงที่ผ่านมา

ศึกพระสงฆ์ในสยาม สังฆเภทคณะสงฆ์ลังกา ป่าแดง vs ป่ามะม่วง-สวนดอก สู่การสังคายนาพระไตรปิฎก

12 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความไลฟ์สไตล์อื่น ๆ

บอลวันนี้ ดูบอลสด ถ่ายทอดสด โปรแกรมฟุตบอล วันพุธที่ 16 ก.ค. 68

PostToday

"หอมนสิการ" มิวเซียมระดับโลก .. สัมผัสประสบการณ์ธรรมะ Immersive แห่งแรกของไทย!

สยามรัฐ

Bloom Under Moonlight ขนมไหว้พระจันทร์ลิมิเต็ดอิดิชัน

Manager Online

ขนมไหว้พระจันทร์แสนอร่อยในกล่องสุดหรู

Manager Online

ชวนปักหมุดอาหารญี่ปุ่น Honomi Shabu & Omakase Halal สุดลักซ์ชัวรี่

Manager Online

ไลฟ์สไตล์อินฟลูฯไฮโซตัวท็อปกัมพูชา เน้นแบรนด์เนม...เที่ยวเมืองนอกฉ่ำ

Manager Online

เซเลบรุ่นใหม่หนุ่มสาวลาเบลเอลาโบ ส่งมอบความสุขให้ผู้พิการสายตา

Manager Online

“เจี๊ยบ โสภิตนภา” แชร์ปัญหาสายตา ตัดแว่นแบบไหนเข้ากับใบหน้า

Manager Online

ข่าวและบทความยอดนิยม

“กองทัพสมัยพระเจ้าตาก” เก่งจน “อะแซหวุ่นกี้” แม่ทัพพม่า ยอมรับ?

ศิลปวัฒนธรรม

“เสวยต้น” สมัยรัชกาลที่ 6 คืออะไร เหมือนหรือต่างกับ “ประพาสต้น” สมัยรัชกาลที่ 5

ศิลปวัฒนธรรม

เปิดวิธีไล่ “ผีกำเนิด ผีแนน” ต้นเหตุทารกร้องไห้ไม่หยุด ในตำราวชิรญาณเมื่อ 100 กว่าปีก่อน

ศิลปวัฒนธรรม
ดูเพิ่ม
Loading...