โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

กทม. แจงปมใช้งบกล้องวงจรปิด 3 ปี 2.3 พันล้าน เป็นค่าบำรุงรักษากว่า 80% ยันใช้งบโปร่งใสตามระเบียบทุกขั้นตอน

THE STANDARD

อัพเดต 2 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 2 ชั่วโมงที่ผ่านมา • thestandard.co
กทม. แจงปมใช้งบกล้องวงจรปิด 3 ปี 2.3 พันล้าน เป็นค่าบำรุงรักษากว่า 80% ยันใช้งบโปร่งใสตามระเบียบทุกขั้นตอน

วันนี้ (12 กรกฎาคม) สิทธิพร สมคิดสรรพ์ ผู้อำนวยการสำนักการจราจรและขนส่ง ชี้แจงประเด็นที่เพจเฟซบุ๊กหนึ่งโพสต์ข้อความตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับการใช้งบประมาณติดตั้งกล้องวงจรปิดของกรุงเทพมหานคร ในช่วง 3 ปี (พ.ศ. 2566-2568) รวมกว่า 2,300 ล้านบาท ซึ่งทางเพจระบุว่าเป็นการจัดซื้อในราคาที่สูงกว่าท้องตลาด และหลายโครงการส่งงานล่าช้า

สิทธิพร ได้ชี้แจงประเด็นสำคัญ ดังนี้

ประเด็นที่ 1: การใช้งบประมาณในช่วงระยะเวลา 3 ปี กว่า 2,300 ล้านบาท, วิธีการจัดซื้อแบบคัดเลือก, ราคาที่สูงกว่าท้องตลาด และความล่าช้าในการส่งมอบงาน

วัตถุประสงค์ของกล้องวงจรปิด: กล้องวงจรปิดที่ติดตั้งโดย กทม. มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อประโยชน์ในการจราจร และป้องปรามอาชญากรรม รวมถึงใช้เป็นพยานหลักฐานด้านอาชญากรรม ซึ่งช่วยให้กรุงเทพฯ ปลอดภัยและส่งเสริมการท่องเที่ยว นอกจากนี้ ยังมีการเชื่อมโยงสัญญาณภาพไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการสืบสวนสอบสวน และให้บริการข้อมูลภาพแก่ประชาชนเพื่อใช้ในคดีจราจร อาชญากรรม หรือทรัพย์สินสูญหาย โดยในช่วงเดือนตุลาคม 2566 ถึงกันยายน 2567 มีการคัดลอกข้อมูลภาพไปแล้วกว่า 44,000 รายการ และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี

ซึ่งประเภทของงบประมาณที่เกี่ยวกับกล้องโทรทัศน์วงจรปิด ตามข้อบัญญัติงบประมาณกรุงเทพมหานคร ประจำปีงบประมาณ ตั้งแต่ พ.ศ. 2566-2568 ที่ สจส. ได้รับเกี่ยวกับกล้องวงจรปิดแบ่งเป็น 2 ส่วนหลัก คือ

1. ค่าใช้สอย เป็นงบประมาณสำหรับการบำรุงรักษากล้องวงจรปิด พร้อมระบบที่เกี่ยวข้อง จำนวน 65,015 ตัว (16,623 จุด) รวมถึงระบบบริหารจัดการข้อมูล ระบบสื่อสาร ค่าเช่าวงจรสื่อสาร และระบบตรวจสอบสถานะกล้องโทรทัศน์วงจรปิด โดยผู้รับจ้างจะต้องรับผิดชอบทุกกรณีหากอุปกรณ์ชำรุด โดยงบประมาณส่วนนี้คิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 80% ของงบประมาณทั้งหมด หรือประมาณปีละ 800 ล้านบาท

2. ค่าลงทุน เป็นงบประมาณสำหรับการจัดซื้อหรือติดตั้งกล้องใหม่ รวมถึงการเปลี่ยนกล้องที่ชำรุด

การจัดซื้อจัดจ้างได้ดำเนินการตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 โดยส่วนใหญ่ใช้วิธี ประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding) ยกเว้นโครงการที่จำเป็นต้องดำเนินการโดยวิธีการคัดเลือก

ในส่วนการกำหนดราคาทั้งค่าบำรุงรักษาและราคากล้องวงจรปิดใช้ เกณฑ์ราคากลางและคุณลักษณะพื้นฐานที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมกำหนด และปฏิบัติตามมาตรา 4 ของ พ.ร.บ. จัดซื้อจัดจ้างฯ พ.ศ. 2560 ในการกำหนดราคากลาง ซึ่งมีแหล่งที่มาของราคา 6 แหล่ง ได้แก่ 1. ราคาที่คำนวณตามหลักเกณฑ์ของคณะกรรมการราคากลาง 2. ราคาจากฐานข้อมูลราคาอ้างอิงของพัสดุที่กรมบัญชีกลางจัดทำ 3.ราคามาตรฐานที่สำนักงบประมาณหรือหน่วยงานกลางอื่นกำหนด 4. ราคาที่สืบจากท้องตลาด 5.ราคาที่เคยซื้อหรือจ้างครั้งล่าสุดภายใน 2 ปีงบประมาณ และ 6. ราคาอื่น ๆ ตามแนวปฏิบัติของหน่วยงานรัฐนั้น ๆ

ทั้งนี้ แต่ละโครงการผู้รับจ้างได้ดำเนินการแล้วเสร็จตามกำหนดในสัญญาทุกโครงการ ยกเว้นบางโครงการที่อาจล่าช้าเนื่องจากปัญหาอุปสรรคที่ทำให้ผู้รับจ้างไม่สามารถดำเนินงานได้

ประเด็นที่ 2 การเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของกล้อง CCTV ในการจับปรับผู้กระทำผิด และการติดตามประเมินผล

ในการบังคับใช้กฎหมาย กทม. มีกล้องที่ใช้ตรวจจับผู้กระทำผิดกฎจราจรในบางพื้นที่เท่านั้น ด้านจราจรได้เชื่อมโยงข้อมูลจากกล้องวงจรปิดไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กองบังคับการตำรวจจราจร กองบัญชาการตำรวจนครบาล เพื่อพิจารณาออกใบสั่งอิเล็กทรอนิกส์ ในส่วนการขับขี่จักรยานยนต์บนทางเท้าได้เชื่อมข้อมูลการกระทำผิดให้แต่ละสำนักงานเขตพิจารณาดำเนินการตามพระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2535

ด้านการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมมีการเชื่อมโยงข้อมูลยานพาหนะให้กองบัญชาการตำรวจสันติบาล กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง กองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด และสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด เพื่อใช้สนับสนุนภารกิจของหน่วยงานนั้น ๆ ในส่วนการติดตามและประเมินผลได้มีการประสานข้อมูลตลอดเวลาซึ่งแต่ละหน่วยอยู่ระหว่างการปรับปรุงระบบเพื่อให้สามารถแยกข้อมูลเฉพาะในส่วนที่เชื่อมโยงข้อมูลจากกรุงเทพมหานคร

ประเด็นที่ 3 การสำรวจตรวจสอบกล้อง CCTV ที่อยู่ในความดูแลของ กทม. ให้พร้อมใช้งานและปรับมุมกล้องให้เหมาะสมกับพื้นที่

สจส. ได้จ้างบริษัทเอกชนเข้ามาดูแล ตรวจสอบ และบำรุงรักษาระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด นอกจากนี้ กำลังดำเนินโครงการติดตั้งศูนย์ควบคุมและบริหารจัดการระบบเทคโนโลยีการจราจรและความปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร ระยะที่ 1 ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือนกุมภาพันธ์ 2569 โดยศูนย์นี้จะมีระบบตรวจสอบกล้องวงจรปิดแบบอัตโนมัติ ทำให้เจ้าหน้าที่สามารถเข้าซ่อมบำรุงได้ทันทีที่กล้องขัดข้อง รวมถึงการตรวจสอบ ปรับมุมกล้อง และตัดแต่งกิ่งไม้ที่บดบังกล้องอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้กล้องทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

โดยสิทธิพร ยืนยันว่าการใช้งบประมาณกล้องวงจรปิดเป็นไปอย่างโปร่งใสตามระเบียบราชการ และมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มความปลอดภัยและสนับสนุนการทำงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก THE STANDARD

Financial Times เผย สหรัฐฯ กดดันพันธมิตร ให้ชี้แจงบทบาทตัวเอง หากเกิดสงครามไต้หวัน

3 ชั่วโมงที่ผ่านมา

‘วิสุทธิ์’ ย้ำ เพื่อไทยไม่ติดใจหากรองประธานสภาคนที่ 2 เป็นของพรรคอื่น โต้ข่าวรัฐบาลถึงทางตัน

3 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความทั่วไปอื่น ๆ

“สุชาติ” แจงข่าวลำไยเชียงใหม่ราคาตกเหลือ 1 บาท/กก. คลาดเคลื่อน

สำนักข่าวไทย Online

“กัน จอมพลัง” บุกช่วยตาวัย 80 ถูกหลานทรพีทำร้ายอ้างเมา ตาไม่ให้อภัยลั่นตายก็ไม่ต้องมาเผา

Manager Online

แม่ทัพภาคที่ 2 เตรียมเข้ากรุง รับมอบ บลูบังเกอร์ จากฝีมือ วิทยาเขตอุเทนถวาย

tvpoolonline.com

หนุ่มกัมพูชาลอบเข้าไทย เล่าสิ่งที่เจอหลังโดนเรียกกลับประเทศ

TNews

กระเป๋าผู้หญิง แหล่งสะสมเชื้อโรค เสี่ยงสุขภาพที่หลายคนไม่รู้ตัว

ThaiNews - ไทยนิวส์ออนไลน์

โรงพยาบาลสัตว์ มช.แห่งใหม่ ทันสมัยครบวงจร ใหญ่สุดในภาคเหนือ

สำนักข่าวไทย Online

วันเสาร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ.2568

สำนักข่าวไทย Online

สาว ๆ ระวัง! วิธีดูแลเครื่องสำอางให้ปลอดเชื้อ ลดปัญหาสิวและผิวแพ้ง่าย

ThaiNews - ไทยนิวส์ออนไลน์

ข่าวและบทความยอดนิยม

‘สุขุมวิทโมเดล’ มหาดไทย-กทม.-ตำรวจ สนธิกำลังสร้างความปลอดภัยให้นักท่องเที่ยวและประชาชน

THE STANDARD

คนกรุงเทพฯร่วมเสนอแก้ พ.ร.บ.กรุงเทพฯ กว่า 10,000 ความเห็น กทม. เตรียมเดินหน้าปรับโครงสร้างบริหารครั้งใหญ่ในรอบ 40 ปี

THE STANDARD

ผนึกกำลังรัฐ-เอกชน นวัตกรรมจากขยะอาหาร ต่อยอด ‘สารหน่วงไฟจากขยะเปลือกหอย’

THE STANDARD
ดูเพิ่ม
Loading...