โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

สังคม

เบื้องหลังเพลงฮิต แท้จริงคือเสียงและดนตรีจาก AI

Reporter Journey

อัพเดต 19 กรกฎาคม 2568 เวลา 1.43 น. • เผยแพร่ 3 ชั่วโมงที่ผ่านมา • Reporter Journey

วงดนตรีน้องใหม่จาก AI กำลังทำวงการเพลงสั่นสะเทือน

สำนักข่าว The Guardian รายงานว่า The Velvet Sundown วงดนตรีซึ่งกำลังได้รับความนิยมอย่างมาก จนมียอดสตรีมบน Spotify กว่า 1 ล้านครั้งภายในระยะเวลาเพียงไม่กี่สัปดาห์ แท้จริงแล้วเป็นวงที่ถูกสร้างจาก AI ทั้งหมด!!!

อ่านไม่ผิด วงดนตรีที่มียอดผู้ฟังกว่า 1 ล้านครั้งถูกสร้างขึ้นโดย AI ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของดนตรี ภาพโปรโมต หรือแม้แต่เบื้องหลังที่มาของวง ความน่าตกใจนี้สร้างกระแสถกเถียงตามมาถึงความจริงแท้ในวงการดนตรี โดยผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมเพลงเสนอให้แพลตฟอร์มสตรีมมิงควรถูกบังคับตามกฎหมายให้มีการระบุเพลงที่สร้างขึ้นโดย AI ให้ชัดเจนเพื่อให้ผู้ฟังทราบ ว่าเพลงที่ตนกำลังฟังอยู่นั้นมาจากเสียงคนจริง ๆ หรือเสียงปัญญาประดิษฐ์

ในช่วงแรก The Velvet Sundown เคยระบุว่าวงของพวกเขาใช้ดนตรีสังเคราะห์ที่ผ่านการควบคุมโดยมนุษย์ และได้ปฏิเสธว่าไม่ใช่ผลงานที่สร้างขึ้นผ่าน AI จากนั้นก็ได้ปล่อย 2 อัลบั้มออกมาในเดือนมิถุนายน คือ ‘Floating On Echoes’ และ ‘Dust And Silence’ ซึ่งสไตล์ของเพลงมีความคล้ายคลึงกับแนวเพลงคันทรีโฟล์กของวง Crossby, Stills, Nash & Young

เรื่องราวเริ่มซับซ้อนขึ้นเมื่อมีผู้ออกมาอ้างว่าตนเป็นสมาชิกเสริมของวง และได้ออกมาให้สัมภาษณ์กับนักข่าวว่า Velvet Sundown ใช้ AI ชื่อว่า ‘Suno’ ในการสร้างสรรค์ผลงานเพลง และยังกล่าวอีกว่าโปรเจกต์นี้เป็นเพียง “ศิลปะลวงโลก” (Art Hoax) อีกด้วย

ต่อมาโซเชียลมีเดียอย่างเป็นทางการของวงได้ออกมาปฏิเสธข้อกล่าวหาดังกล่าว พร้อมระบุว่าวงของพวกเขากำลังถูกแอบอ้าง ก่อนจะมีแถลงการณ์ในเวลาต่อมาว่าวงดนตรีนี้ถูกสร้างขึ้นโดย AI โดยระบุว่า “ไม่ใช่มนุษย์โดยสิ้นเชิง แต่ก็ไม่ใช่เครื่องจักรเสียทีเดียว” พวกเขาอยู่ “ตรงกลางระหว่างทั้งสองสิ่งนี้”

จนถึงตอนนี้สื่อสตรีมมิ่งต่าง ๆ รวมถึง Spotify ก็ยังไม่มีข้อบังคับทางกฎหมายที่กำหนดให้ต้องระบุแหล่งที่มาของเพลงที่สร้างขึ้นโดย AI อย่างแน่ชัด และนั่นทำให้ผู้ฟังไม่สามารถทราบแหล่งที่มาของเพลงได้ ดีไม่ดีเพลงที่ถูกสุ่มเปิดขึ้นมาจากเพลลิสต์ discover weekly อาจมาจาก AI ก็เป็นได้…

โรแบร์โต เนรี (Roberto Neri) ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ Ivors Academy กล่าวว่า วงดนตรีที่สร้างขึ้นโดย AI อย่าง Velvet Sundown ซึ่งกำลังได้รับความนิยมในขณะนี้ ก่อให้เกิดความน่ากังวลอย่างมากถึงความโปร่งใส การเป็นเจ้าของผลงาน และความยินยอมของผู้สร้างสรรค์ผลงาน และในขณะนี้ Ivors Academy กำลังจับตาและแสดงความกังวลถึงการใช้ AI ในการสร้างสรรค์ผลงานทางดนตรี

โซฟี โจนส์ (Sophie Jones) ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายกลยุทธ์ขององค์กรการค้าด้านดนตรี British Phonographic Industry (BPI) ได้สนับสนุนข้อเรียกร้องให้มีการระบุที่มาของเพลงอย่างแน่ชัด เธอกล่าวว่า

“AI ควรถูกใช้เพื่อสนับสนุนความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ ไม่ใช่ถูกนำมาแทนที่มนุษย์”

และ นั่นคือเหตุผลที่ต้องเรียกร้องให้รัฐบาลของสหราชอาณาจักรหันมาปกป้องลิขสิทธิ์ และออกข้อกำหนดใหม่ด้านความโปร่งใสสำหรับบริษัทผู้พัฒนา AIรวมถึงเรียกร้องให้มีการระบุที่มาของเพลงให้ชัดเจนสำหรับเนื้อหาที่ถูกสร้างขึ้นโดย AI

ลิซ เพลลี (Liz Pelly) ผู้เขียนหนังสือ Mood Machine: The Rise of Spotify and the Costs of the Perfect Playlist กล่าวว่า ศิลปินอิสระกำลังถูกเอาเปรียบโดยผู้ที่อยู่เบื้องหลังเหล่าวงดนตรี AI ที่อาจนำผลงานของพวกเขาไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต เช่นเดียวกับกรณีที่เคยเกิดขึ้นในปี 2023 เคยมีเพลงหนึ่งถูกอัปโหลดไปยัง TikTok, Spotify และ Youtube โดยใช้เสียงร้องที่สร้างจาก AI และอ้างว่าเป็นเสียงของ The Weeknd และ Drake โดยทาง Universal Music Group ได้ออกมาระบุว่าเพลงดังกล่าวมีเนื้อหาที่ละเมิดลิขสิทธิ์ซึ่งถูกสร้างขึ้นโดย AI และหลังจากนั้นเพลงนี้ก็ได้ถูกลบออกไปไม่นานหลังจากถูกเผยแพร่

เนื้อหาเพลงในอัลบั้มของ Velvet Sundown ยังไม่แน่ชัดว่าใช้ผลงานของศิลปินคนใดเป็นต้นแบบในการสร้างบ้าง โดยนักวิจารณ์ได้แสดงความกังวลว่า ความไม่โปร่งใสในจุดนี้อาจส่งผลให้ศิลปินอิสระสูญเสียโอกาสในการได้รับค่าตอบแทนอย่างเป็นธรรม

สำหรับบางคน การปรากฏตัวขึ้นของ Velvet Sundown อาจเป็นก้าวแรกของการนำเอาดนตรีและเทคโนโลยี AI มาผสมผสานกัน แต่ขณะเดียวกันกฎหมายก็กำลังพยายามปรับตัวเพื่อให้ทันกับกระแสการเปลี่ยนแปลงของดนตรีที่กำลังเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว

โจนส์ กล่าวว่า การเพิ่มขึ้นของวงดนตรี AI ที่เริ่มเข้าสู่ตลาดนี้ ได้ชี้ให้เห็นว่าบริษัทเทคโนโลยีผู้พัฒนา AI หลายแห่งมีการละเมิดลิขสิทธิ์และไม่ได้มีการจ่ายเงินให้กับผู้สร้างสรรค์ผลงานหรือผู้ถือลิขสิทธิ์ เพื่อที่จะนำ AI เข้ามาแข่งขันกับมนุษย์

เนรียังกล่าวเสริมว่าสหราชอาณาจักรมีโอกาสที่จะเป็นผู้นำโลกในการนำเอา AI มาใช้อย่างถูกต้องในวงการดนตรี แต่ทั้งนี้ก็ต้องอาศัยกรอบทางกฎหมายควบคุม AI ที่แข็งแกร่งพอ เพื่อรับประกันความยุติธรรมให้กับศิลปินที่สร้างสรรค์ผลงาน และเพื่อให้เกิดความโปร่งใสกับผู้ฟัง เพราะหากไม่มีกฎหมายป้องกันดังกล่าวก็อาจมีโอกาสที่จะเกิดความเสี่ยงซ้ำรอยกับกรณีที่เคยเกิดขึ้นก่อนหน้านี้ และศิลปินก็จะยังถูกทิ้งเอาไว้ข้างหลังเช่นเดิม

ออเรลียง แฮโรลต์ (Aurélien Hérault) ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายนวัตกรรมของแพลตฟอร์มสตรีมมิงเพลง Deezer กล่าวว่า บริษัทมีการใช้ซอฟแวร์ตรวจจับเพื่อระบุเพลงที่สร้างขึ้นโดย AI เขากล่าวว่า ตอนนี้แพลตฟอร์มต่าง ๆ ควรมีความโปร่งใสและแจ้งให้ผู้ใช้งานทราบ โดยเฉพาะช่วงเวลาแบบนี้ที่ AI กลายเป็นเรื่องปกติ อย่างไรก็ตาม เขาก็ยังไม่ปฏิเสธเป็นไปได้ที่จะยกเลิกการระบุที่มาของเพลงในอนาคต หากดนตรีที่สร้างขึ้นโดย AIกลายเป็นที่นิยมขึ้นมา

ปัจจุบัน Spotify ยังไม่มีการระบุเพลงที่ถูกสร้างขึ้นโดย AI และก่อนหน้านี้ก็เคยถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าเคยนำเพลงของ “ศิลปินผี” หรือ ศิลปินแบบปลอม ๆ ที่สร้างเพลงขึ้นมาแบบสำเร็จรูปเข้ามาอยู่ในเพลย์ลิสต์ ซึ่งทางโฆษกของบริษัท ออกมาชี้แจงว่า ทาง Spotify ไม่ได้ให้ความสำคัญกับเพลงที่สร้างขึ้นโดย AI เป็นพิเศษ โดยเพลงทั้งหมดบน Spotify รวมถึงเพลงที่สร้างด้วย AI ล้วนถูกสร้าง เป็นเจ้าของ และถูกอัปโหลดโดยบุคคลที่สามที่ได้รับอนุญาตอย่างถูกต้อง

เห็นแบบนี้แล้วต้องบอกว่า AI เป็นเทคโนโลยีที่มีทั้งข้อดีและข้อเสียต่อมนุษย์ เช่นเดียวกับในวงการเพลงที่เริ่มเห็นผลกระทบอย่างชัดเจน โดยเฉพาะกับศิลปินบางกลุ่มที่อาจกำลังเสียเปรียบหรือถูกลดบทบาทลงจากการเข้ามาของ AI คำถามที่ตามมาก็คือ มนุษย์กำลังได้รับผลกระทบอะไรบ้างจาก AI และในอนาคต AI จะสามารถเข้ามาแทนที่มนุษย์ได้จริงหรือไม่ ติดตามหาคำตอบได้ในบทความถัดไปของ Reporter Journey ได้เลย

ที่มา : The Guardian

แปลและเรียบเรียง : ชัทราภรณ์ แตงอ่อน

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก Reporter Journey

โรงพยาบาลธีรพร จากคลินิกสู่โรงพยาบาลดูแลสุขภาพอย่างยั่งยืน

11 ชั่วโมงที่ผ่านมา

ทำไมการจบมหาวิทยาลัยถึงกลายเป็นเรื่องธรรมดา ?

1 วันที่แล้ว

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความสังคมอื่น ๆ

วิดีโอ

“จ่าโอ”ประกาศตามตัว“ทหารกล้า”เสียขา! ฐานะทหารผ่านศึก พิการเหมือนกัน! ขอมอบสิ่ง คาดไม่ถึง?!

ThaiNews - ไทยนิวส์ออนไลน์

กองทัพบก วอนสื่อ อย่าเรียกผู้บังคับบัญชาว่า "บิ๊ก" หวั่นถูกมองมุมลบ

THE ROOM 44 CHANNEL

สยามพารากอนจัดงานใหญ่ เทิดไท้ในหลวง - ฉลองสัมพันธ์จีน

ฐานเศรษฐกิจ

กทม. ลงโทษเจ้าหน้าที่ใช้ภาพตัดต่อรายงานผล “Traffy Fondue” พร้อมประสานด่วน สวทช. พัฒนาระบบกรองภาพปลอม เร่งฟื้นความเชื่อมั่นประชาชน

สวพ.FM91
วิดีโอ

ไม่ใช่ระเบิดเก่า? "ผู้พันเบิร์ด" ชำแหละแผนลับ "เขมร" หลังฝังกับระเบิด ทำทหารไทยเสียขา!

ThaiNews - ไทยนิวส์ออนไลน์

"กฎห้ามถือเงินแสน" วัดป่าเห็นด้วย-วัดเมืองชี้ต้องปรับให้เหมาะสม

Thai PBS

บ่อนกลางกรุงท้าทายกฎหมาย! ตำรวจบุกทลายกลางดึก นักพนัน 12 รายเผ่นไม่ทัน

สยามนิวส์

หนุ่มใจดี ขี่มอเตอร์ไซค์ช่วยป้า แต่พอขึ้นรถป้าเท่านั้นแหละ งงหนักเพราะสิ่งที่ควรมีกลับหายไป

สยามนิวส์

ข่าวและบทความยอดนิยม

เยอรมนี จากเครื่องยนต์แห่งยุโรป สู่สมอถ่วงจมทะเล

Reporter Journey

พ่อแม่ทั่วโลกอยากมีลูกสาวมากขึ้น เกิดอะไรกับลูกชายในยุคสมัยนี้ ?

Reporter Journey

สวีเดนทำอย่างไรให้เป็นประเทศ “ปลอดบุหรี่” มีประชากรน้อยกว่า 5% ที่เป็นนักสูบ ต่ำที่สุดในโลก

Reporter Journey
ดูเพิ่ม
Loading...