โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

30 นวัตกรรม SDGs จากแล็บธรรมศาสตร์ รับมือโจทย์ใหญ่ประเทศ

ฐานเศรษฐกิจ

อัพเดต 12 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 5 ชั่วโมงที่ผ่านมา

เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ SDGs เป็นกรอบแนวคิดที่องค์กรระหว่างประเทศ ภาครัฐ และภาคธุรกิจทั่วโลกพยายามผลักดันมานานหลายปี แต่ในความเป็นจริง ความยั่งยืนจะเกิดขึ้นได้หรือไม่ อาจไม่ได้ขึ้นอยู่แค่กับนโยบายระดับบน แต่อยู่ที่ว่าจะสามารถ “เปลี่ยนโจทย์ใหญ่” ให้เป็น “การเปลี่ยนแปลงเล็ก ๆ” ที่คนทั่วไปเข้าถึงได้หรือไม่

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นหนึ่งในองค์กรการศึกษาที่พยายามตอบคำถามนี้ ผ่านการบูรณาการงานวิจัย เทคโนโลยี และนวัตกรรม ให้กลายเป็นเครื่องมือที่ใช้ได้จริงในระดับชุมชน โดยเฉพาะในกลุ่มเปราะบาง

ทั้งหมดนี้ถูกร้อยเรียงไว้ในผ่าน นิทรรศการ “SDGs เพื่อประชาชน นวัตกรรมเพื่อชีวิต สร้างอนาคตที่ยั่งยืน” ซึ่งจัดแสดงผลงานกว่า 30 ชิ้นจากคณาจารย์และนักวิจัยหลากหลายสาขา เพื่อชวนสำรวจว่า SDGs เป็นนวัตกรรมที่เกิดขึ้นจริง ใช้ได้จริง และเปลี่ยนชีวิตคนได้จริง

SDGs ไม่ได้เป็นแค่เรื่องของนโยบาย แต่คือชีวิตของประชาชน

สังคมไทยกำลังเผชิญจุดเปราะบางร่วมในหลายมิติ ไม่ว่าจะเป็นภัยธรรมชาติที่รุนแรงขึ้นทุกปี ความเหลื่อมล้ำทางรายได้ที่ลึกขึ้นเรื่อย ๆ รวมถึงคุณภาพชีวิตที่ไม่เท่ากัน โดยเฉพาะในกลุ่มเปราะบาง เช่น ผู้สูงอายุและผู้มีรายได้น้อย

ศ.ดร.ศุภสวัสดิ์ ชัชวาลย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวถึงที่มาเบื้องหลังการขับเคลื่อน SDGs ในระดับพื้นที่

ศ.ดร.ศุภสวัสดิ์ ชัชวาลย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

นี่ไม่ใช่แค่ตัวเลขในรายงาน แต่คือความจริงของชีวิตผู้คน อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ยกข้อมูลจากสหประชาชาติที่ระบุว่า ไทยเป็นประเทศที่มีความเหลื่อมล้ำทางรายได้สูงที่สุดในอาเซียน และยังติดอันดับประเทศที่มีอัตราการเสียชีวิตจากภัยพิบัติมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ขณะที่ธนาคารโลกชี้ว่า ไทยปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากกว่า 250 ล้านตัน CO₂ ต่อปี และยังมีอัตราการใช้พลังงานที่เพิ่มขึ้น 3–4% ทุกปี สวนทางกับความสามารถในการจัดการขยะและทรัพยากรอย่างยั่งยืน

ทั้งหมดนี้คือโจทย์ที่ SDGs ต้องตอบให้ได้อย่างเป็นรูปธรรม ไม่ใช่แค่ด้วยนโยบาย แต่ต้องลงมือทำผ่านงานวิจัยและนวัตกรรมที่เปลี่ยนแปลงชีวิตคนได้จริง

ธรรมศาสตร์-เอกชน สร้างหลักสูตร ESG

ผศ.ดร.ปรีย์กมล รัชนกุล รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนาคุณภาพและบริการการเปลี่ยนแปลง ระบุว่า การเปิดพื้นที่นิทรรศการครั้งนี้เป็นครั้งแรก ซึ่งต่อไปจะมีการหมุนเวียนจัดแสดงผลงานของกลุ่มสาขาต่างๆ และจะพัฒนาเป็นนิทรrrศการถาวร เพื่อเป็นพื้นที่เรียนรู้สำหรับผู้สนใจจากภายนอก ทั้งชุมชน นักเรียน นักศึกษา มหาวิทยาลัย รวมถึงหน่วยงานรัฐและเอกชนที่ต้องการศึกษาเรียนรู้ ขณะเดียวกัน มหาวิทยาลัยฯ จะฝึกฝนนักศึกษาที่สนใจให้เป็นผู้นำเยี่ยมชมนิทรรศการด้วย

ผศ.ดร.ปรีย์กมล รัชนกุล รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนาคุณภาพและบริการการเปลี่ยนแปลง

ด้านความร่วมมือกับภาคเอกชน ผศ.ดร.ปรีย์กมล ชี้ให้เห็นว่า องค์กรภาคอุตสาหกรรมและเอกชนหลายแห่งกำลังดำเนินงานด้าน ESG อยู่แล้ว ในขณะที่มหาวิทยาลัยเป็นแหล่งผลิตและสร้างองค์ความรู้ ส่วนภาคอุตสาหกรรมที่มี Know-how อาจต้องการองค์ความรู้เชิงบูรณาการ

ปัจจุบันมีเอกชนเข้ามาร่วมงานกับธรรมศาสตร์หลายโครงการ เช่น หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาการจัดการเพื่อความยั่งยืน ร่วมมือกับ UN Global Compact Network Thailand โดยนักศึกษาได้เรียนรู้จากผู้เชี่ยวชาญของธรรมศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญจากสถานประกอบการสมาชิกเครือข่าย ซึ่งมาร่วมสอน 1-2 รายวิชาต่อภาคการศึกษา นักศึกษาจะได้เรียนรู้จากโจทย์ปัญหาจริงของสถานประกอบการ และบุคลากรที่จบไปสามารถไปทำงานกับภาคเอกชนได้ทันที

เกี่ยวกับการขับเคลื่อน SDG ในประเทศไทย ผศ.ดร.ปรีย์กมล มองว่าจุดเริ่มต้นอยู่ที่ "การตระหนักรู้" (Awareness) เพราะบางคนอาจคิดว่า SDG เป็นเพียงแนวคิดที่ล่องลอย โดยไม่รู้ว่าการตระหนักรู้นี้จะเชื่อมโยงกับชีวิตและความเป็นอยู่ในอนาคต หากเป็นเพียงนักวิชาการกลุ่มเดียวที่รับรู้ ขณะที่คนทั่วไปไม่ได้รับรู้ แต่หากทุกคนมีความตระหนักรู้ร่วมกันว่าตนเองต้องรับผิดชอบต่อโลก ต่อการเปลี่ยนแปลง และต่อสังคม ก็จะนำมาสู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม โดยมหาวิทยาลัยทำหน้าที่สร้างองค์ความรู้

นอกจากนี้ นโยบาย (Policy) ก็มีความสำคัญเป็นตัวตั้งต้น เพราะเมื่อมีการประกาศนโยบายที่ชัดเจน ในระดับมหาวิทยาลัยอย่างธรรมศาสตร์ เรื่อง SDG ได้ถูกบรรจุไว้ในแผนยุทธศาสตร์ของธรรมศาสตร์ช่วง 5-10 ปีที่ผ่านมา ปัจจุบันเข้าไปอยู่ในแผนยุทธศาสตร์ในเรื่อง "การเป็นที่พึ่งของสังคม" ซึ่งหนึ่งในนั้นคือเรื่องความยั่งยืนในระดับประเทศ แม้นโยบายจะมีแล้ว แต่ยังคงต้องการการขับเคลื่อนให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น

เปิดโลกนวัตกรรม SDGs จากเทคโนโลยีเตือนภัยถึงอาหารแห่งอนาคต

ในงานเปิดนิทรรศการครั้งเเรกนี้ยังมีการเปิดเวทีเสวนาพิเศษจาก 3 นักวิจัยธรรมศาสตร์ ได้แก่ ผศ.ดร.อมรเทพ จิรศักดิ์จำรูญศรี ผศ.ดร.กฤติยา เขื่อนเพชร รศ.ดร.ธนิท เรืองรุ่งชัยกุล ทั้งสามร่วมแลกเปลี่ยนมุมมองและเบื้องหลังงานวิจัยที่ไม่เพียงเกิดจากโจทย์ทางวิชาการ แต่เกิดจาก ความต้องการจริงของคนในสังคม พร้อมร่วมกันขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยให้เป็นศูนย์กลางการบูรณาการองค์ความรู้เพื่อความยั่งยืนอย่างเป็นระบบ

หนึ่งในไฮไลต์สำคัญของนิทรรศการ “SDGs เพื่อประชาชน: นวัตกรรมเพื่อชีวิต สร้างอนาคตที่ยั่งยืน” คือโซน “Resilience & Disaster Preparedness” ที่นำเสนอเทคโนโลยีเพื่อการเตรียมพร้อมรับมือภัยพิบัติ ไม่ว่าจะเป็น เครื่องจำลองแผ่นดินไหว ที่ให้ผู้ชมได้สัมผัสประสบการณ์จริง หรือ ระบบสื่อสารฉุกเฉิน EmergencyTU ที่ยังคงทำงานได้แม้ไม่มีอินเทอร์เน็ต โดยอาศัยโครงข่ายวิทยุพื้นฐาน ช่วยส่งต่อข้อมูลสำคัญในสถานการณ์วิกฤติ โดยเฉพาะในพื้นที่ห่างไกล

ผศ.ดร.อมรเทพ จิรศักดิ์จำรูญศรี อาจารย์ประจำสาขาเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนายั่งยืน กล่าวว่า จุดเริ่มต้นของนวัตกรรมนี้มาจากการตั้งคำถามถึงความจำเป็นของอุปกรณ์ตรวจวัดแผ่นดินไหวในพื้นที่เสี่ยงอย่างจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งที่ผ่านมาใช้เครื่องมือจากต่างประเทศที่มีต้นทุนสูง จึงพัฒนาอุปกรณ์ต้นแบบที่สามารถตรวจวัดการสั่นสะเทือนจากทั้งแผ่นดินไหว การจราจร ลมหรือพายุ ด้วยงบวิจัยที่ใช้เวลากว่า 4 ปี

แม้จะไม่ได้ส่งมอบให้ประชาชนโดยตรง แต่นวัตกรรมนี้ได้ถูกนำไปติดตั้งจริงแล้วในอาคารโรงเรียน โรงพยาบาล และโบราณสถานในพื้นที่เสี่ยง เช่น ภาคเหนือกว่า 50 แห่ง ภาคตะวันตกอีกกว่า 10 แห่ง และในกรุงเทพมหานคร รวมถึงอาคารในสังกัด กทม.

ผศ.ดร.อมรเทพ จิรศักดิ์จำรูญศรี อาจารย์ประจำสาขาเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนายั่งยืน

สิ่งสำคัญไม่ใช่แค่อุปกรณ์ แต่คือข้อมูลที่ได้จากการตรวจวัด ซึ่งสามารถนำไปใช้ในการออกแบบหรือปรับปรุงมาตรฐานอาคาร เพื่อเพิ่มความปลอดภัยและลดการสูญเสียชีวิตและทรัพยากรในอนาคต

อย่างไรก็ตาม เขายอมรับว่าในกลุ่มอาคารเอกชน เช่น คอนโดมิเนียม การติดตั้งยังขึ้นอยู่กับความสมัครใจของเจ้าของอาคาร และระดับความตระหนักรู้เรื่องความปลอดภัยในระยะยาว

ขยับมาที่โซน “Sustainable Urban & Public Spaces” ต้นแบบสวนสาธารณะสำหรับ ผู้พิการ 7 ประเภท ที่ออกแบบมาอย่างครอบคลุมทั้งการเคลื่อนไหวและการรับรู้ รวมถึง Future Street ถนนแห่งอนาคตที่เชื่อมโยงข้อมูลจราจร ความปลอดภัย และระบบสีเขียวเข้าด้วยกัน พร้อมเทคโนโลยีแบบอินเทอร์แอคทีฟ ที่เปิดโอกาสให้ผู้ใช้งานหลากหลายกลุ่มมีส่วนร่วมกับพื้นที่เมืองอย่างแท้จริง

ด้านสุขภาพและอาหาร โซน “Health & Future Food” นำเสนอ อาหารแห่งอนาคต อย่าง “ผักแผ่นอบกรอบ” ที่มีส่วนผสมของ "ไข่ผำ" พืชน้ำที่หลายคนให้ความสนใจ ประกอบอาหารได้หลากหลายและเป็นหนึ่งในวัตถุดิบของไทยมาตั้งแต่สมัยโบราณ หนึ่งในอาหารซุปเปอร์ฟู้ดประโยชน์สูง

โดยผักแผ่นอบกรอบยังคงคุณค่าสารอาหารและเก็บรักษาได้นาน เหมาะกับผู้บริโภคยุคใหม่ที่ใส่ใจสุขภาพ พร้อมด้วยต้นแบบเครื่องออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุ และ เทคโนโลยีการแพทย์ ที่ใช้เลเซอร์และไมโครเวฟวิเคราะห์โรคร้ายแรงอย่างแม่นยำ

ผศ.ดร.กฤติยา เขื่อนเพชร อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร อธิบายว่า ไข่ผำ เป็นวัตถุดิบที่น่าสนใจ มีระยะการเก็บเกี่ยวสั้นและสามารถแปรรูปได้หลายรูปแบบ แต่ยังมีข้อจำกัดเรื่อง การเข้าถึงของชุมชน เนื่องจากหลายพื้นที่ยังขาดเครื่องมือพื้นฐาน เช่น เครื่องอบ หรืออุปกรณ์แปรรูปที่จำเป็น

ผศ.ดร.กฤติยา เขื่อนเพชร อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร

บางชุมชนอาจคิดว่า ถ้าจะทำผลิตภัณฑ์แบบนี้ต้องมีเครื่องมือยุ่งยาก ทั้งที่จริงสามารถพัฒนาได้จากฐานที่มีอยู่ เพียงต้องการองค์ความรู้และการสนับสนุนที่เหมาะสม

5 โซน นวัตกรรมเพื่ออนาคต

ภายในนิทรรศการแบ่งเป็น 5 โซนหลัก ครอบคลุมหลากหลายมิติของความยั่งยืน ได้แก่

1. Resilience & Disaster Preparedness Zone นำเสนอเทคโนโลยีเตือนภัย เช่น เครื่องจำลองแผ่นดินไหว และ EmergencyTU ระบบสื่อสารฉุกเฉินที่ส่งข้อมูลได้แม้ไม่มีสัญญาณอินเทอร์เน็ต เหมาะสำหรับพื้นที่ห่างไกล

2. Clean Energy & Infrastructure Innovation Zone แสดงนวัตกรรมพลังงานสะอาด เช่น Solar Tracker, คอนกรีตไร้ซีเมนต์, และหุ่นยนต์ใต้น้ำ สำหรับระบบสาธารณูปโภคอัจฉริยะ

3. Sustainable Urban & Public Spaces Zone รวมงานออกแบบเพื่อเมืองและพื้นที่สาธารณะ เช่น AI ดูแลต้นไม้, พื้นที่ออกกำลังกายสำหรับผู้พิการ 7 ประเภท และ Future Street ถนนต้นแบบแห่งอนาคต

4. Health & Future Food Zone เสนออาหารฟังก์ชันเพื่อสุขภาพ เช่น ผักแผ่นอบกรอบที่คงคุณค่าสารอาหาร และเทคโนโลยี Microwave MedTech ด้านการแพทย์ พร้อมเครื่องออกกำลังกายผู้สูงอายุ

5. Circular Economy & Sustainable Production Zone โซนเศรษฐกิจหมุนเวียน เช่น บรรจุภัณฑ์ชีวภาพ ปุ๋ยหมุนเวียน และเส้นใยเหลือใช้สำหรับสิ่งทอ

ทุกโซนภายในงานถูกออกแบบให้มีส่วนร่วมแบบอินเทอร์แอคทีฟ เพื่อให้ประชาชน นักเรียน นักศึกษา และชุมชน ได้ทดลอง เรียนรู้ และต่อยอดนวัตกรรมไปด้วยกัน สะท้อนแนวคิด “SDGs เพื่อประชาชน” อย่างแท้จริง

นิทรรศการครั้งนี้ออกแบบให้ทุกโซนมีความ “อินเทอร์แอคทีฟ” เปิดโอกาสให้ผู้เข้าชมมีส่วนร่วม ทดลอง และเรียนรู้ได้จริง โดยเปิดให้ประชาชนทั่วไป นักเรียน นักศึกษา และผู้สนใจ เข้าร่วมได้ตั้งแต่วันนี้ถึง 30 กันยายน 2568 ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต

สำหรับการเเสดงนิทรรศการของมหาวิทยาลัธรรมศาสตร์ในเเต่ละรอบจะหมุนเวียนงานวิจัยของเเต่ละสาขาในช่วงเวลาดังนี้

  • รอบ 1 สายเทคโนโลยี ก.ค.-ก.ย.
  • รอบ 2 สายศิลปศาสตร์ ต.ค.-ธ.ค.
  • รอบ 3 สายสุขศาสตร์ ม.ค.69-มี.ค.69
  • รอบ 4 รวมรอบ1-3 เม.ย.69-ก.ย.69
ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก ฐานเศรษฐกิจ

รัฐบาลชวนสวมเสื้อเหลืองในเดือนมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษาในหลวง

21 นาทีที่แล้ว

ผู้ว่าฯ ธปท.คนใหม่ ความท้าทายของการรักษาดุลยภาพนโยบายการเงิน

40 นาทีที่แล้ว

ด่วน! วุฒิสภาโหวตหนุน“สราวุธ”นั่งตุลาการศาล รธน. ตีตก“สุธรรม”

44 นาทีที่แล้ว

ปลัด สธ. ย้ำ 8 ข้อสั่งการรับมือ "พายุวิภา" ถล่ม 49 จังหวัด

54 นาทีที่แล้ว

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความทั่วไปอื่นๆ

อัปเดทพายุโซนร้อนกำลังแรง "วิภา" ฝนถล่มไทย 22-25 ก.ค.

ข่าวเวิร์คพอยท์ 23
วิดีโอ

กัมพูชายอมยกออกแล้ว! ตู้บริจาคในปราสาทตาควาย หลังพบวางในเขตไทยตั้งแต่ปี 54

WeR NEWS

รู้จัก ‘วิทัย รัตนากร’ ผู้ว่าแบงก์ชาติคนใหม่ เปิดประวัติการศึกษา-การทำงาน

THE STANDARD

นักท่องเที่ยวต่างชาติเยือนมาเลเซียเพิ่มขึ้น 20%

สำนักข่าวไทย Online
วิดีโอ

ศาลทหารชั้นฎีกา พิพากษาจำคุกรุ่นพี่ คดี “น้องเมย” 4 เดือน 16 วัน รอลงอาญา 2 ปี

WeR NEWS

มั่นใจ “ทักษิณ” ร่วมดินเนอร์พรรคร่วมในฐานะอดีตนายกฯ ไม่ถือว่าครอบงำ

ข่าวช่องวัน 31
วิดีโอ

กัมพูชาปฏิเสธวางกับระเบิด อ้างไทยล้ำแดน-ผิด MOU43 ท้าขึ้นศาลโลก เคลียร์กันให้รู้ดำรู้แดง

BRIGHTTV.CO.TH

UNESCO ยกย่องเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ

ไทยโพสต์

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...