โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

SMEs-การเกษตร

“โครงการรักษ์น้ำเพื่อพระแม่ของแผ่นดิน” หนุนเกษตรกรมีรายได้ครัวเรือนเพิ่มขึ้น

เดลินิวส์

อัพเดต 1 กรกฎาคม 2568 เวลา 23.54 น. • เผยแพร่ 6 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เดลินิวส์
สศท.2 ติดตาม ‘โครงการรักษ์น้ำเพื่อพระแม่ของแผ่นดิน’ จ.อุตรดิตถ์ เกษตรกรมีรายได้ครัวเรือนเพิ่มขึ้น ลดรายจ่าย

นางธัญญ์พิชชา เถระรัชชานนท์ ผอ.สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 2 พิษณุโลก (สศท.2) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยถึงผลการติดตามโครงการรักษ์น้ำเพื่อพระแม่ของแผ่นดินเพื่อสนองพระราชเสาวนีย์ของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง โดยมีสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นหน่วยงานหลัก และมีหน่วยงานสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในพื้นที่ร่วมบูรณาการอีก 8 หน่วยงาน ในส่วนของ สศท.2 เป็นหน่วยงานหลักในการติดตามผลการดำเนินงานและเสนอแนะแนวทางในการปรับปรุงรูปแบบ กระบวนการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ สำหรับโครงการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อฟื้นฟูและอนุรักษ์สภาพป่าต้นน้ำ พัฒนาชีวิตและความเป็นอยู่ของประชากร สนับสนุนให้ชุมชนมีเครือข่ายการเรียนรู้ด้วยตนเอง รวมถึงยกระดับการพัฒนากลุ่มบ้านให้มีความเข้มแข็ง สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างแท้จริง ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวครอบคลุมพื้นที่ตำบลน้ำหมัน อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ จำนวน 11 หมู่บ้านรวม 2,434 ครัวเรือน และมีประชากรรวม 7,103 คน ครอบคลุมพื้นที่การใช้ประโยชน์ที่ดิน 409.60 ตารางกิโลเมตร เป็นการขยายผลการดำเนินงานของโครงการไปยังชุมชน และหมู่บ้านใกล้เคียงในพื้นที่ลุ่มน้ำ โดยเริ่มดำเนินโครงการตั้งแต่ปี 2549 ต่อเนื่องถึงปัจจุบัน

สำหรับการดำเนินกิจกรรมภายใต้โครงการดังกล่าว ประกอบด้วยกิจกรรม 3 กิจกรรม ได้แก่ 1) กิจกรรมการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพด้านการเกษตร อาทิ การฝึกอบรมเพาะชำกล้าไม้และขยายพันธุ์ไผ่ซางหม่น การฝึกทำน้ำยาล้างจาน และสบู่สมุนไพร การถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีด้านการประมง และการถ่ายทอดความรู้และส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์ปีก 2) กิจกรรมการสนับสนุนปัจจัยการผลิต อาทิ สนับสนุนเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดีให้แก่เกษตรกร จำนวน 60 กระสอบ สนับสนุนพันธุ์ปลานิลแปลงเพศให้แก่เกษตรกร รายละ 1,000 ตัว และสนับสนุนพันธุ์ไก่พื้นเมืองให้แก่เกษตรกร จำนวน 40 ตัว และ 3) กิจกรรมการจัดทำแปลงเรียนรู้ อาทิ จัดทำแปลงต้นแบบและแปลงขยายผลพืชเกษตรผสมผสาน เช่น มะม่วงหิมพานต์ ทุเรียน กาแฟ กล้วย ขิง และข่า เป็นต้น

สศท.2 ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินโครงการในรอบปีงบประมาณ 2567 โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากเกษตรกรกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 101 ราย ซึ่งภาพรวมเกษตรกรมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด หากพิจารณาในแต่ละด้านพบว่า ด้านเศรษฐกิจ เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการมีรายได้จากการประกอบอาชีพการเกษตรเฉลี่ย 82,539.64 บาท/ครัวเรือน/ปี เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 2,801.69 บาท/ครัวเรือน/ปี หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 4 เมื่อเทียบกับปีงบประมาณ 2566 โดยรายได้เพิ่มขึ้นจากการประกอบกิจกรรมการเกษตร อาทิ เกษตรกรนำความรู้และเทคโนโลยีการผลิตข้าวมาปรับใช้ การจำหน่ายผลผลิตทางการเกษตรที่เหลือจากการบริโภคในครัวเรือน และสามารถลดรายจ่ายในครัวเรือนได้เฉลี่ย 2,510.92 บาท/ครัวเรือน/ปี หรือลดลงร้อยละ 31 จากการปรับเปลี่ยนมาบริโภคสินค้าเกษตรที่ผลิตได้ในครัวเรือน อาทิ เกษตรกรนำปลาที่เลี้ยงไว้ในครัวเรือนมาบริโภคทดแทนการไปซื้อจากตลาดในชุมชน ส่วนค่าใช้จ่ายทางการเกษตร พบว่า เกษตรกรได้รับการสนับสนุนปัจจัยการผลิต อาทิ พันธุ์พืช พันธุ์ปลานิล พันธุ์ไก่พื้นเมือง และการประยุกต์ความรู้ที่ได้รับจากการถ่ายทอดทำให้เกษตรกรมีค่าใช้จ่ายทางการเกษตรลดลงเฉลี่ย 3,073.52 บาท/ครัวเรือน/ปี หรือลดลง ร้อยละ 19.46 ด้านสังคม เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการร้อยละ 98 มีการเกื้อกูลกันภายในชุมชน มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมในพื้นที่โครงการ ร้อยละ 80.20 อาทิ การปลูกป่า การปลูกและดูแลรักษาพืชในแปลงสาธิต มีการรวมกลุ่มแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร ร้อยละ 75.25 อาทิ การแปรรูปมะม่วงหิมพานต์เพื่อเพิ่มมูลค่า และมีการรวมกลุ่มเพื่อดำเนินกิจกรรมทางการเกษตร ร้อยละ 40.59 ส่วนด้านทรัพยากรและความต่อเนื่อง เกษตรกรมีการลดใช้สารเคมีมากที่สุด ร้อยละ 85.15 อนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรทางธรรมชาติ ร้อยละ 83.17 ผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัย ร้อยละ 70.30 ปรับปรุงบำรุงดิน ร้อยละ 55.45 และนำวัสดุเหลือใช้ในครัวเรือนมาใช้ประโยชน์ ร้อยละ 48.51 นอกจากนี้ ยังพบว่าเกษตรกรมีการดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง ร้อยละ 90.10

ในส่วนของ สศท.2 จะนำผลการติดตามโครงการ ปีงบประมาณ 2567 เสนอคณะกรรมการขับเคลื่อนงานด้านการเกษตรจังหวัดอุตรดิตถ์ (SCP) พร้อมข้อเสนอแนะเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน เช่น การส่งเสริมและพัฒนาพันธุ์พืชที่หลากหลายและเหมาะสมกับพื้นที่และความต้องการของเกษตรกร การพัฒนาแหล่งน้ำให้เพียงพอ รวมถึงสนับสนุนองค์ความรู้ด้านการเพาะพันธุ์สัตว์น้ำที่เหมาะสมกับระบบนิเวศในพื้นที่ นอกจากนี้ หน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรฯ ควรมีการกำหนดกิจกรรม เสนอโครงการเชิงบูรณาการเพื่อให้สอดคล้องและเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับภาคการเกษตรในพื้นที่ ทั้งนี้ สำหรับปีงบประมาณ 2568 สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดอุตรดิตถ์ ได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ บูรณาการจัดทำแผนและดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาพื้นที่โครงการเพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายและเกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป หากท่านสนใจรายละเอียดผลการติดตามโครงการสามารถสอบถามได้ที่ สศท.2 โทร. 0 5532 2658 หรือ อีเมล์ zone2@oae.go.th

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก เดลินิวส์

ยูเอ็นเตือน ‘โลกร้อน’ กระทบสิทธิในการมีชีวิตของผู้คน

5 ชั่วโมงที่ผ่านมา

‘แจม รชตะ’ ขออย่าพูดว่าเสียบแทน ‘โตโน่’ ลั่นเขาออกเอง อาชีพผมคือนักแสดง

5 ชั่วโมงที่ผ่านมา

‘คารม’ อัด ‘ปดิพัทธ์’ หยุดพูดเอาดีใส่ตัว หลังบอก ‘อนุทิน’ยึดติดอำนาจ

5 ชั่วโมงที่ผ่านมา

“โคราช มาราธอน 2025” จัดใหญ่ 16 พ.ย.นี้ คาดนักวิ่ง 7,500 คน แห่ร่วม พร้อมเอาใจสายบุญ

5 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความSMEs-การเกษตรอื่น ๆ

Sho Ramen แฟรนไชส์ราเมนสตรีทฟู้ดของญี่ปุ่น ปรับรสชาติให้ถูกปากคนไทย คุ้มค่าคืนทุนไวใน 1 ปี

ชี้ช่องรวย

เตรียมพร้อมดันราคา “ยางพารามาตรฐาน EUDR” ให้มีเสถียรภาพ

เดลินิวส์

กรมชลประทาน ขุดลอกอ่างเก็บน้ำเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ เพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำ บรรเทาภัยแล้ง

เดลินิวส์

บสย. ประชุมเชิงปฏิบัติการคณะกรรมการ จัดทำแผนยุทธศาสตร์ 5 ปี

AEC10NEWs

เฟ้นหา เกษตรกร-สถาบันเกษตรกรชาวสวนยางดีเด่นจากทั่วประเทศ

เดลินิวส์

BAM เดินหน้าปลูกต้นไม้ในพื้นที่ทรัพย์ NPA ผ่านโครงการ “BAM CARE”

AEC10NEWs

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...