โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

การเมือง

ชยพล-วิโรจน์ซัดศาลทหาร "คดีน้องเมย" สะท้อนความอยุติธรรม

Thai PBS

อัพเดต 11 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 13 ชั่วโมงที่ผ่านมา • Thai PBS
กมธ.ทหารและพรรคประชาชนชงร่างแก้กฎหมายศาลทหาร เปิดทางผู้เสียหายเป็นโจทก์ได้ “ชยพล” ชี้คดีน้องเมยสะท้อนความอยุติธรรม เรียกร้องกองทัพใช้มาตรฐานเข้มงวด “วิโรจน์” จี้นายกฯ ลงนาม OPCAT อนุญาตสุ่มตรวจการซ้อมทรมานในกองทัพ เพื่อความโปร่งใสและยุติธรรม

วันนี้ (23 ก.ค.2568) นายชยพล สท้อนดี สส.พรรคประชาชน และกรรมาธิการการทหาร (กมธ.ทหาร) แถลงข่าวถึงคำพิพากษาศาลฎีกาคดีนักเรียนเตรียมทหาร "น้องเมย" เสียชีวิตจากการถูกรุ่นพี่สั่งธำรงวินัย โดยแสดงความเสียใจต่อครอบครัวผู้เสียหาย แม้คดีจะสิ้นสุด แต่คำตัดสินยังทำให้สังคมตั้งคำถามถึงความยุติธรรมและการคงอยู่ของศาลทหาร ซึ่งมีอำนาจพิจารณาคดีบุคลากรทหาร แต่ผลลัพธ์มักทำให้ประชาชนที่เป็นคู่ขัดแย้งรู้สึกไม่ได้รับความเป็นธรรม

นายชยพล ซึ่งเป็นศิษย์เก่าโรงเรียนเตรียมทหาร กล่าวว่า คดีนี้มีช่องว่างและข้อสงสัยมากมาย โดยเฉพาะวิธีลงโทษที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐาน เช่น การสั่งให้หัวปักลงตะแกรงน้ำ หรือลงโทษนอกเวลานอน พร้อมตั้งคำถามถึงผู้บังคับบัญชาที่รับผิดชอบดูแลนักเรียนเตรียมทหาร ซึ่งไม่สามารถอ้างว่าไม่รู้หรือไม่เกี่ยวข้องเมื่อมีการกระทำนอกกฎระเบียบ

กองทัพต้องตระหนักว่ามาตรฐานไม่ได้มีไว้แค่เขียนในกระดาษ ต้องบังคับใช้อย่างเข้มงวด ทุกครั้งที่มีการสูญเสีย ไม่ว่าจะเป็นพลทหารหรือนักเรียนเตรียมทหาร กองทัพมักอ้างว่ามีระเบียบห้ามละเมิด แต่สุดท้ายยังเกิดเหตุซ้ำ ๆ โดยไม่มีผู้รับผิดชอบอย่างแท้จริง

เขายังวิจารณ์ระบบศาลทหารว่าเป็นพื้นที่ของทหารเอง ทำให้เกิดวัฒนธรรม ตรวจสอบกันเอง ย้ายกันเอง จบกันเอง โดยไม่มีการเรียนรู้หรือแก้ไขอย่างจริงจัง พร้อมตั้งคำถามว่าการให้ผู้กระทำผิดที่ทำให้เกิดความสูญเสียกลับไปรับราชการต่อนั้นเหมาะสมหรือไม่

ทางด้าน นายเอกราช อุดมอำนวย สส.กทม. พรรคประชาชน และ กมธ.ทหาร กล่าวว่า สังคมตั้งคำถามถึงความไม่เป็นธรรมในศาลทหาร โดยเฉพาะโทษที่ไม่สอดคล้องกับการกระทำ และกระบวนการที่ครอบครัวผู้เสียหายไม่มีส่วนร่วมอย่างเท่าเทียม ปัญหานี้เกิดจากพระธรรมนูญศาลทหารที่ไม่ให้สิทธิ์ประชาชนผู้เสียหายฟ้องคดีได้โดยตรง ต้องผ่านอัยการทหาร ซึ่งมีระบบคัดกรองจำกัดสิทธิ์แม้แต่การเป็นโจทก์ร่วม

กมธ.ทหารและพรรคประชาชนจึงผลักดันร่างแก้ไขกฎหมายต่อสภาฯ เพื่อให้ผู้เสียหายสามารถเป็นโจทก์ในศาลทหารได้ และเรียกร้องให้ยกเลิกศาลทหารในยามปกติ โดยให้คดีทุจริตและประพฤติมิชอบขึ้นศาลพลเรือน

นายเอกราชยังอ้างถึง พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ.2565 ที่กำหนดว่าการซ้อมหรือธำรงวินัยจนเสียชีวิตในค่ายทหารถือเป็นการทรมาน ต้องขึ้นศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ ซึ่งให้โทษสูงถึง 20 ปีสำหรับผู้กระทำผิดหลัก เช่น กรณีพลทหารวรปรัชญ์ที่ศาลพิพากษาจำคุกครูฝึก 20 ปี เขาย้ำว่าโทษทางอาญาไม่ใช่การแก้แค้น แต่ต้องสอดคล้องกับความผิดและผลกระทบ พร้อมเตือนว่ากองทัพพยายามดึงคดีจากศาลอาญาทุจริตกลับไปศาลทหาร เช่น กรณีคดีในเชียงรายที่จำเลยโต้แย้งเขตอำนาจศาล

ส่วน นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร สส.พรรคประชาชนและ ประธาน กมธ.ทหาร กล่าวว่า ครอบครัวน้องเมยพยายามรื้อฟื้นคดี โดย กมธ.จะรวบรวมหลักฐานส่งกระทรวงยุติธรรมเพื่อหาทางรื้อคดี แม้คำพิพากษาจะถึงชั้นฎีกาศาลทหารแล้ว ซึ่งตัดสินจำคุกผู้กระทำผิด 4 เดือน 16 วัน ปรับ 15,000 บาท รอลงอาญา 2 ปี และยังให้รับราชการต่อ (หนึ่งนายเป็นทหาร อีกนายเป็นตำรวจ) ประธาน กมธ.ทหาร แสดงความกังวลว่าจะกลายเป็นแบบอย่างให้เกิดวัฒนธรรมลอยนวลในกองทัพ และตั้งคำถามว่ากองทัพจะยอมให้ผู้ที่ทำร้ายเพื่อนทหารจนเสียชีวิตเป็นทหารต่อไปหรือ

นายวิโรจน์ยังระบุว่า การทำร้ายในค่ายทหารหลายกรณีไม่ใช่การธำรงวินัย แต่เกิดจากการที่ทหารบางนายไม่ยอมร่วมขบวนการทุจริตหรือประพฤติมิชอบ จึงถูกกลั่นแกล้งจนบาดเจ็บหรือเสียชีวิต ซึ่งเข้าข่ายการทรมาน จึงเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรี ลงนามในพิธีสารเลือกรับอนุสัญญาต่อต้านการทรมาน (OPCAT) เพื่อให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนและอนุกรรมการสหประชาชาติสุ่มตรวจค่ายทหารโดยไม่ต้องแจ้งล่วงหน้า รวมถึงผลักดันให้คดีทุจริตของทหารขึ้นศาลพลเรือน เพื่อหยุดวัฒนธรรมลอยนวลและสร้างความยุติธรรม

อ่านข่าวอื่น :

"ทรัมป์" เก็บภาษีฟิลิปปินส์ 19% แลกเปิดเสรีการค้า

ทรัมป์ปิดดีลญี่ปุ่น ภาษี 15% เปิดตลาดรถ-ข้าว จ้างงานแสนตำแหน่ง

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก Thai PBS

"กลาโหมกัมพูชา" โต้ปมทุ่นระเบิด ชี้ไทยลาดตระเวนนอกเส้นทาง

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา
วิดีโอ

แบบจำลองกระดูก 3 มิติจากเอไอ ทางเลือกลดการสัมผัสรังสีปริมาณมาก

4 ชั่วโมงที่ผ่านมา

"แม่น้ำน่าน" เกินจุดวิกฤต ทะลักท่วมเขตเศรษฐกิจน่าน

4 ชั่วโมงที่ผ่านมา

เปิดประวัติ "ฮุน ซาเรือน" ทูตกัมพูชาผู้ถูกส่งกลับบ้าน

5 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าว การเมือง อื่น ๆ

ข่าวและบทความยอดนิยม

ความคิดเห็นมากที่สุด

ดูเพิ่ม