โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

การเมือง

‘ดร.สามารถ’ ชี้โศกนาฏกรรมเลือดเปื้อนปูนต้องไม่เงียบหาย!

ไทยโพสต์

อัพเดต 23 กรกฎาคม 2568 เวลา 19.41 น. • เผยแพร่ 10 ชั่วโมงที่ผ่านมา

23 ก.ค.2568 - ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ อดีต สส.และอดีตรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร โพสต์เฟซบุ๊กในหัวข้อ “ตึก สตง. ถล่ม” โศกนาฏกรรม “เลือดเปื้อนปูน” ใครผิด? ใครลอยนวล? ระบุว่า 28 มีนาคม 2568 เกิดเหตุการณ์ “สลด” สั่นสะเทือนวงการก่อสร้างและวิศวกรรมไทยอย่างรุนแรง เมื่ออาคารสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) สูง 30 ชั้น ที่กำลังก่อสร้างในย่านถนนกำแพงเพชร 2 กรุงเทพฯ พังทลายราบคาเมืองหลวงในพริบตา มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก นับเป็นโศกนาฏกรรมทางวิศวกรรมครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งของประเทศไทย พูดได้ว่าเป็น “วันอัปยศของวงการก่อสร้างไทย”

จนถึงวันนี้…คนไทยส่วนใหญ่ยังคงถามอยู่ในใจว่า “ใครต้องรับผิดชอบ?”

แม้เหตุการณ์นี้จะถูกโยนความผิดให้กับแผ่นดินไหวในพม่าขนาด 7.7 ริกเตอร์ ที่แรงสั่นสะเทือนส่งมาถึงกรุงเทพฯ แต่ความจริงแล้ว…มันมีอะไรมากกว่านั้น เพราะตึกสูงอีกนับร้อยแห่งในกรุงเทพฯ ไม่ถล่ม! แต่ทำไม “ตึก สตง.” ถึงพังทลายราวกับกองทราย?

นายกรัฐมนตรีแถลงเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2568 ว่าปัญหาเกิดจากการออกแบบและก่อสร้างไม่เป็นไปตามกฎหมาย และจะให้กรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) ดำเนินคดีต่อไป

ใครคือ "ตัวจริง" ที่ทำผิดพลาด? วิศวกรออกแบบ? บริษัทรับเหมา? หรือวิศวกรควบคุมงาน? ทุกคนอยากรู้
ใครต้องติดคุก? จับไปแล้วหลายราย ทั้งผู้ออกแบบ ผู้รับเหมา และผู้คุมงาน และเมื่อวานนี้ (22 ก.ค. 2568) ตำรวจนำสำนวนการสอบสวนคดีส่งให้อัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา 8 พิจารณาสั่งฟ้องผู้ต้องหาทั้งนิติบุคคล (จำนวน 7 บริษัท) และบุคคลธรรมดา (จำนวน 18 คน) ต้องติดตามดูว่าจะมี "มีใครติดคุกสักคนไหม?" เราต้องการเห็นความเป็นธรรม คนผิดจะต้องถูกลงโทษ ไม่ปล่อยให้ลอยนวล

ขอให้ดวงวิญญาณของผู้เสียชีวิตเป็นพลังผลักดันให้ความยุติธรรมบังเกิด!

เหตุการณ์นี้…ไม่ได้กระทบแค่ชื่อเสียงของวงการก่อสร้างไทยเท่านั้น แต่ยังสร้างความกังวลให้กับประชาชนทั่วไปในเรื่องความปลอดภัยของตึกสูงทั่วประเทศ

เหตุการณ์นี้…กำลังบั่นทอน “ศักดิ์ศรีวิศวกรไทย” ทั้งแผ่นดิน! ด้วยเหตุนี้ เราต้องไม่ยอมให้เรื่องนี้เงียบหายไปกับกาลเวลา เราควร…

(1) จัดทำกรณีศึกษาให้นักศึกษา วิศวกรรุ่นใหม่ได้เรียนรู้

(2) ยกระดับมาตรฐานการออกแบบ ควบคุมงาน และการรับรองวัสดุ

(3) สร้างระบบตรวจสอบอิสระที่โปร่งใส ไม่มีใครแทรกแซงได้

หากทำได้เช่นนี้ โศกนาฏกรรมซ้ำรอยจะไม่เกิดขึ้นอีกในอนาคต และจะส่งผลให้ “วิศวกรไทย” และ “อุตสาหกรรมก่อสร้างไทย” ยังคงเป็นที่ต้องการของตลาดโลกต่อไป!

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก ไทยโพสต์

ดร.ณัฏฐ์ ชำแหละ คดีฮั้วสว.-ปมหมอเกศ!

7 นาทีที่แล้ว

โมเดอร์นฟอร์ม อัดแคมเปญลดกระหน่ำสูงสุด 80%

20 นาทีที่แล้ว

ต่อลมหายใจอีกเฮือก! ศาลรธน. ให้ ‘อิ๊งค์’ ยืดเวลาชี้แจงปมคลิปเสียงฮุนเซนถึง 31 ก.ค.นี้

22 นาทีที่แล้ว

ศาลฎีกาพิพากษาเเก้ สั่งสถานพยาบาล-เซปิง ชดใช้เงิน 1 แสน ‘เฟซออฟ’ ทำหน้าพัง

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความการเมืองอื่น ๆ

ข่าวและบทความยอดนิยม