โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

หวังที่เลือนราง นักอุตฯต้องพึ่งตัวเองส่งออกอาจพัง 9 แสนล้านจะยั่งยืนอย่างไร?

เดลินิวส์

อัพเดต 15 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 5 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เดลินิวส์
ภาษีทรัมป์ปั่นป่วนไปทั่วโลก ช่วงนี้แต่ละประเทศส่งทีมไปเจรจาต่อคิวเป็นหางว่าว บางประเทศกลับไปด้วยรอยยิ้ม แต่บางประเทศกลับไปมือเปล่า ประเทศไทย ทางสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ได้วิเคราะห์เบื้องต้น ถ้าภาษีทรัมป์ ยังยืนยันเก็บภาษีนำเข้าไทย 36% ภาคการส่งออกไทย มีโอกาสได้รับผล กระทบสูงถึง 8–9 แสนล้านบาท เหล่านักอุตสาหกรรมเดือดร้อนหนัก ถึงเวลาต้องใช้แผนสำรองช่วยตัวเองไปพลาง ๆ ก่อน

แผนสำรองของนักอุตสาหกรรมทั่วโลกเขามีอะไรกันบ้าง

1.การปรับเปลี่ยน และเพิ่มทางเลือกใหม่ ๆ ของSupply Chain หลายประเทศเร่งเสาะหาวัตถุดิบ และชิ้นส่วนประกอบสินค้า จากประเทศใหม่ ๆ นอกจากจีน เช่น เวียดนาม อินโดนีเซีย อินเดีย ไต้หวัน หรือเกาหลีใต้ หลายประเทศเริ่มหาที่ตั้งโรงงานใหม่ หรือท่าเรือส่งออกไปอเมริกาใหม่ในประเทศที่ได้เปรียบทางภาษี หลายประเทศเปลี่ยนวิธีบริหารการจัดการสินค้าคงคลังใหม่ ให้ตอบสนองได้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว และบางประเทศออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ให้มีส่วนประกอบของวัตถุดิบที่มาจากเขตที่มีภาษีต่ำ

2.ปรับราคาสินค้า ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ตลาด และคู่แข่งที่เปลี่ยนไป ทบทวนต้นทุนสินค้าใหม่ทั้งระบบ เตรียมรับมือกับยอดขายที่จะลดลงเพราะราคาสูงขึ้น พร้อมทั้งประเมินกำไรขาดทุนใหม่ตามสถานการณ์จริง

3.วิเคราะห์ความเสี่ยงใหม่ ประเมินสถานการณ์ พร้อมทั้งปรับยุทธศาสตร์ และแผนงานแผนกต่าง ๆ ใหม่เพื่อรองรับสถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุด ทบทวนข้อตกลงและสัญญากับคู่ค้าให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง เปิด War Room ติดตาม Data ต่าง ๆ ตั้งแต่ต้นน้ำ ยันปลายน้ำ การบริหารจัดการจะใช้ข้อมูลแบบ Real Time

4.แต่ละอุตสาหกรรม มีผลกระทบต่างกัน บางอุตสาหกรรมมีปัญหาด้านการส่งออก บางอุตสาหกรรมมีผลกระทบในด้านนำเข้า จึงต้องปรับยุทธศาสตร์ชาติใหม่ให้รับมือได้ทั้งสองด้าน ทั้งรุกและรับ

5.สร้างความร่วมมือกับพันธมิตรในอุตสาหกรรมเดียวกันและอุตสาหกรรมต่อเนื่อง ทั้งในประเทศ ในภูมิภาค และในระดับโลก ถึงเวลาที่คู่แข่งอาจเปลี่ยนเป็นคู่ค้า และคู่ค้าอาจกลายเป็นคู่แข่ง หรืออาจจะเป็นแบบ Hybrid

แล้วรัฐบาลประเทศต่าง ๆ เขาช่วยเหลืออุตสาหกรรมอย่างไร อุ้ม ไม่อุ้ม หรืออุ้มอย่างมียุทธศาสตร์

EU เตรียมนโยบายรับมือการถดถอยทางเศรษฐกิจต่อเนื่องยาวนาน ด้วยอุตสาหกรรมรถยนต์ เหล็ก อะลูมิเนียม ที่มีตัวเลขตกต่ำ รัฐบาลมีนโยบายช่วยเหลือบางอุตสาหกรรมที่มีต้นทุนสูงขึ้นมากจากภาษี พร้อมเสริมทีมล็อบบี้ยิสต์เจรจากับอเมริกาอย่างต่อเนื่อง ยอมย้ายฐานการผลิตบางอุตสาหกรรมไปอเมริกา ที่สำคัญจะชูธงนโยบายเรื่องความยั่งยืน และพลังงานสะอาดเป็นมาตรการตอบโต้ทางการค้าในอนาคต

Mexico รัฐอุ้มบางอุตสาหกรรมที่มีผลกระทบหนัก เช่น เหล็ก อะลูมิเนียม ชิ้นส่วนยานยนต์ เตรียมนโยบายส่งเสริมพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมใหม่ รองรับนักลงทุนต่างชาติ และอุตสาหกรรมบางประเภทที่จะย้ายฐานมาใกล้อเมริกา

Canada เตรียมนโยบายช่วยเหลือผลกระทบจากการส่งออกที่ลดลง ส่งเสริมการใช้งานในประเทศ เตรียมทีมพัฒนาตลาดใหม่ ๆ ทดแทนตลาดอเมริกา รัฐบาลเตรียมแผนและงบประมาณรองรับแรงงานที่จะตกงานจากอุตสาหกรรมบางชนิด และวางยุทธศาสตร์การจัดการ Supply Chain กันใหม่ทั้งระบบ

Vietnam เวียดนามดูท่าจะได้เปรียบหลายประเทศ เพราะข้อแลกเปลี่ยนที่ถูกใจอเมริกา ต้องพิสูจน์ว่าสินค้าที่ผลิตไม่ใช่ของจีน หรือแปลงร่างมา นโยบายไม่อุ้ม ยอมเจ็บตัวระยะสั้นเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพอุตสาหกรรมระยะยาว เพิ่ม
สินค้านวัตกรรม เติมอุตสาหกรรมมูลค่าสูงเช่น เซมิคอนดักเตอร์ พร้อมปรับการศึกษา พัฒนาคนเติมในอุตสาหกรรมไฮเทค

China น่าจะเป็นเป้าใหญ่ของสงครามภาษีนี้ แต่ด้วยความยิ่งใหญ่ของอุตสาหกรรมจีน จึงสามารถตอบโต้ได้ไม่แพ้กัน โดยต้องติดตามดูกันว่าใครจะยืนระยะความเสียหายได้ยาวนานกว่ากัน ในระหว่างการต่อสู้นั้น จีนก็เตรียมแผน Supply Chain และ Logistic โลกใหม่ให้แยบยลขึ้น และยังคงเล่นเกมความยั่งยืน และพลังงานสะอาดเป็นเรือธงทางการค้า

เพื่อน ๆ นักอุตสาหกรรมทั่วโลก เปิดวงคุยกันในกลุ่มลับบ้าง ออกสื่อบ้าง ต่างเห็นตรงกันว่า ถึงเวลาปรับใหญ่ เพราะสถานการณ์บีบบังคับให้รีบทำเพื่อความอยู่รอด ในระยะสั้นทุกคนน่าจะเจ็บตัวกันไม่มากก็น้อย ต้องรีบปิดแผลกลับมาสู้ใหม่ ให้เติบโตได้ในระยะกลาง สร้างภูมิคุ้มกันในระยะยาวให้แข็งแกร่งและยั่งยืนขึ้นกว่าเดิม เพื่อนหลายคนเสนอให้นำAI มาช่วยลดต้นทุนบุคลากร

แต่แบบนี้จะกระทบการจ้างงานขนานใหญ่ หลายคนหันมาใส่ใจประสิทธิภาพ อุดรูรั่วต่าง ๆ เช่น การสูญเสียจากการผลิต ค่าน้ำ ค่าไฟ ฯลฯ หลายคนเดินสายทั่วโลก หาตลาดใหม่ หาคู่ค้าใหม่ หาพันธมิตรใหม่ แต่ในวงนักธุรกิจไทยมีคำแนะนำว่าถึงเวลาทบทวน หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง อย่างจริงจังเน้นการ พึ่งพาตัวเอง ตั้งแต่การทบทวนยุทธศาสตร์องค์กรใหม่แบบระเบิดจากข้างใน การวิเคราะห์ความเสี่ยงจากสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง สร้างภูมิคุ้มกัน และวางแผนงานการเติบโตอย่างมีเหตุผล และชวนกันคิดว่าอะไรคือ พอดี ในยามวิกฤตินี้ ที่สำคัญต้องรีบปรับปรุง ความรู้ และ คุณธรรม ของชาติให้ดีกว่าเดิม พึ่งตนเองโดยไม่ต้องหวังผลการเจรจา.

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก เดลินิวส์

เลขา ป.ป.ส. จ่อบินเชียงราย รับตัว 2 นักค้ายารายสำคัญ หลบหนีซุกท่าขี้เหล็ก!

23 นาทีที่แล้ว

‘อิ๊งค์’ไม่ตอบเขมร แอบขึ้นทะเบียนวรรณกรรมไทย ต่อยูเนสโก

23 นาทีที่แล้ว

‘อนุทิน’ มั่นใจไร้ผิดไม่กังวลถูกเช็คบิล ‘คดีฮั้ว สว.’สรุปสำนวน17ก.ค.นี้

25 นาทีที่แล้ว

‘มนพร’ ปัดดีล 3 สส. ‘ภูมิใจไทย’

28 นาทีที่แล้ว

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความธุรกิจ-เศรษฐกิจอื่น ๆ

เอ็น.ซี.ซี. เตรียมจัดงานเสริมแกร่งภาคธุรกิจและSMEไทยสร้างแบรนด์

ไทยโพสต์

"วิจัยกรุงศรี" ชี้ความเสี่ยงจากนโยบายการค้าสหรัฐฯ และเศรษฐกิจจีนกดดันการส่งออกไทย และคาดเฟดลดดอกเบี้ยอีก 2 ครั้งในปีนี้

สยามรัฐ

นทท.ต่างชาติเข้าไทยสร้างรายได้เข้าประเทศแล้วกว่า 821,669 ล้านบาทตลาดระยะไกลเดินทางมาอย่างต่อเนื่อง

สยามรัฐ

ภาคเอกชนฮ่องกงได้รับโอกาสพัฒนาในเขตอ่าวกว่างตง-ฮ่องกง-มาเก๊า

China Media Group

น่านฟ้า สปป.ลาว กำลังจะตกอยู่ในมือจีน เมื่อรัฐบาลจะขาย “การบินลาว” สายการบินแห่งชาติให้ “COMAC” บริษัทเครื่องบินจีนเพื่อใช้หนี้เงินกู้

Reporter Journey

BCPG รุกโซลาร์รูฟท็อปซื้อ 32 โครงการ รวม 17.5 MW หนุนพอร์ตพลังงานสะอาด-เพิ่มศักยภาพการแข่งขัน

การเงินธนาคาร

ททท. จับมือพันธมิตร เปิดแคมเปญ ‘Burn Out Break’ กระตุ้นเที่ยวหน้าฝน

ไทยโพสต์

เลขาฯครม. ยังไม่เห็นวาระแต่งตั้งผู้ว่าฯธปท. ชี้สามารถเสนอวาระจรได้

เดลินิวส์

ข่าวและบทความยอดนิยม

เปิดชื่อ 9 จังหวัดระวังอันตราย ‘ฝนถล่ม’ เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน-น้ำป่าไหลหลาก

เดลินิวส์

เดลินิวส์15ก.ค.68 “2เจ้าคุณ”ย่องลาสิกขา เซ่นโอน12.8ล.-สัมพันธ์‘กอล์ฟ’

เดลินิวส์

“เจ๊ฟองเบียร์” ฟันเน้น! งวดนี้วิ่งรูดเลขสวยส่องกันเลยรีบหาลอตเตอรี่ให้ทัน

เดลินิวส์
ดูเพิ่ม
Loading...