โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

เอไอเอส ผนึกอมตะซิตี้ ชลบุรี ยกระดับนิคมฯ สู่สมาร์ทซิตี้ ปูทางอุตสาหกรรม 4.0

PostToday

อัพเดต 12 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 5 ชั่วโมงที่ผ่านมา

บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส เดินหน้าสานต่อภารกิจพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลทั่วประเทศ ภายใต้แนวคิด “AI for Sustainable Nation” ล่าสุดชูโมเดลความร่วมมือกับ อมตะ คอร์ปอเรชัน พัฒนา อมตะซิตี้ ชลบุรี ให้เป็นเมืองอัจฉริยะต้นแบบ (Smart City) เพื่อรองรับการเปลี่ยนผ่านของภาคอุตสาหกรรมไทยเข้าสู่ยุค อุตสาหกรรม 4.0 อย่างเป็นรูปธรรม ด้วยเครือข่าย เอไอเอส 5G ที่ครอบคลุม 100% พื้นที่ เขตระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) และโครงข่ายใยแก้วนำแสง (ไฟเบอร์ออปติก) ที่เสริมประสิทธิภาพการผลิตระดับโลก

เครือข่ายดิจิทัลเร่งเครื่องเศรษฐกิจ EEC

วสิษฐ์ วัฒนศัพท์ หัวหน้าหน่วยธุรกิจงานปฏิบัติการและสนับสนุนด้านเทคนิคทั่วประเทศ เอไอเอส เปิดเผยว่า พื้นที่ภาคตะวันออก โดยเฉพาะในเขต อีอีซี ถือเป็นศูนย์กลางภาคอุตสาหกรรมของไทย โดยมีโรงงานและนิคมอุตสาหกรรมกระจุกตัวมากที่สุดในประเทศ ขับเคลื่อน จีดีพี ของประเทศถึง 34% จากโรงงานภาคการผลิต แต่กลับพบว่าโรงงานหรืออุตสาหกรรม 4.0 มีแค่ 2% ขณะที่ส่วนใหญ่ยังอยู่ที่อุตสาหกรรม 2.0 ถึง 61% รองลงมาคืออุตสาหกรรม 3.0 ที่ 28% และ อุตสาหกรรม 1.0 ที่ 9%

วสิษฐ์ วัฒนศัพท์ หัวหน้าหน่วยธุรกิจงานปฏิบัติการและสนับสนุนด้านเทคนิคทั่วประเทศ เอไอเอส

สำหรับการเปลี่ยนผ่านโรงงานไปสู่อุตสาหกรรม 4.0 ต้องใช้มากกว่าการลงทุนด้านเครื่องจักร แต่ต้องมีรากฐานโครงข่ายที่รองรับการประสานระหว่าง OT (Operational Technology) และ IT พร้อมระบบคาดการณ์ วิเคราะห์ และควบคุมการผลิตแบบเรียลไทม์ จึงเป็นเหตุผลที่ เอไอเอส เร่งวางโครงข่าย 5G และ ไฟเบอร์ออปติก ครอบคลุมนิคมอุตสาหกรรม เพื่อสนับสนุน Smart Manufacturing และ Smart Logistics

“โรงงานเก่ามีข้อจำกัดในการอัปเกรดระบบต่างๆ เราจึงเริ่มจากการเข้าไปในนิคมฯ วางโครงข่ายให้พร้อมก่อน แล้วทำงานร่วมกับผู้ประกอบการเพื่อออกแบบระบบให้เหมาะสม โดยเอไอเอสทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดกับทั้ง 16 นิคมอุตสาหกรรมใน อีอีซี การนำเสนอโซลูชันของเอไอเอส ไม่ใช่ว่าใช้แล้วเร็วอย่างไร ดีอย่างไร แต่ต้องบอกได้ว่า ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของธุรกิจอย่างไร ” วสิษฐ์ กล่าว

ไม่ใช่แค่โครงข่าย แต่เป็นที่ปรึกษาธุรกิจอุตสาหกรรม

เอไอเอส ต้องวางบทบาทใหม่เป็นมากกว่าโอเปอเรเตอร์ ด้วยการให้บริการแบบ Total Solution ไม่เพียงติดตั้งระบบเครือข่าย แต่ยังให้คำปรึกษาเชิงลึกกับผู้ประกอบการในนิคมอุตสาหกรรม ทั้งในเรื่องของการออกแบบระบบอัจฉริยะ การอัปสกิลและรีสกิลบุคลากร ไปจนถึงการช่วยเขียนโครงการเพื่อขอรับสิทธิประโยชน์จากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) และพร้อมหาสิทธิประโยชน์ต่างๆเพิ่มเติมให้อย่างต่อเนื่อง

ยกตัวอย่าง การทำงานร่วมกับ SMC หรือ Sustainable Manufacturing Center (ศูนย์นวัตกรรมการผลิตยั่งยืน) เพื่อร่วมผลักดันผู้ประกอบการไทยเข้าสู่อุตสาหกรรม 4.0 โดย SMC ทำหน้าที่ให้คำปรึกษา ประเมินความพร้อม และออกใบรับรองให้กับโรงงานที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานการเป็นโรงงานอัจฉริยะ พร้อมเชื่อมโยงกับหน่วยงานภาครัฐเพื่อส่งเสริมการเข้าถึงสิทธิประโยชน์และการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการไทยในระดับสากล

ต้นแบบความร่วมมือ “อมตะ เน็ทเวอร์ค” เชื่อมเมืองกับเทคโนโลยี

เอไอเอส และอมตะ คอร์ปอเรชัน ได้ร่วมทุนจัดตั้งบริษัท “อมตะ เน็ทเวอร์ค จำกัด” ตั้งแต่ปี 2559 เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลในนิคมอุตสาหกรรม อมตะซิตี้ ชลบุรี ซึ่งมีโรงงานกว่า 750 แห่งในพื้นที่ การวางรากฐานดิจิทัลตั้งแต่ต้น ทำให้ในวันนี้นิคมฯ ดังกล่าวสามารถรองรับการใช้งานโซลูชัน 5G SA (Standalone), Network Slicing และระบบ ไฟเบอร์ ออปติก อย่างเต็มรูปแบบ

“เราทำงานร่วมกับอมตะในการนำ IoT, Data, ระบบอัตโนมัติ และโครงข่ายอัจฉริยะเข้าไปเชื่อมทุกฟังก์ชันในนิคม ทั้งระบบผลิต สาธารณูปโภค และความปลอดภัย เพื่อเป็นต้นแบบ Smart City ที่แท้จริง ซึ่งการมีเน็ตเวิร์กที่ดี มีส่วนสำคัญในการดึงดูดนักลงทุนต่างชาติ ซึ่งประเทศไทยสามารถนำไปเป็นจุดขายในการดึงดูดการลงทุนได้” วสิษฐ์ กล่าว

วิวัฒน์ กรมดิษฐ์ ประธานเจ้าหน้าที่เทคนิควิศวกรรม และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทย อมตะ

วิวัฒน์ กรมดิษฐ์ ประธานเจ้าหน้าที่เทคนิควิศวกรรม และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทย บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำกัด (มหาชน) กล่าวเสริมว่า อมตะซิตี้ ชลบุรี ได้กันพื้นที่กว่า 6,000 ไร่ รองรับการลงทุนของ Data Center ซึ่งเป็นโครงสร้างสำคัญของเศรษฐกิจดิจิทัลในอนาคต ด้วยปัจจัยด้านไฟฟ้า น้ำ และโครงข่ายที่เสถียรของไทย ทำให้กลุ่มทุนต่างชาติเริ่มสนใจเข้ามาลงทุนมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง

“เมื่อพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไป เก็บข้อมูลบน Cloud มากขึ้น ใช้ AI มากขึ้น ความต้องการ Data Center ก็จะพุ่งสูง ซึ่งไทยมีศักยภาพเต็มที่ที่จะเป็นศูนย์กลางของอาเซียน ดังนั้นเน็ตเวิร์กและโซลูชันเป็นสิ่งสำคัญที่ธุรกิจ Data Center ต้องการ” วิวัฒน์ กล่าว

ด้วยวิสัยทัศน์ที่มีร่วมกันในการนำ 5G Digital Infrastructure มาพัฒนา Smart City และฟื้นฟูเศรษฐกิจประเทศไทย จะช่วยสร้างข้อได้เปรียบทางการผลิตและแข่งขันให้กับภาคอุตสาหกรรม พร้อมดึงดูดนักลงทุนจากทั่วโลกเข้ามาลงทุนในพื้นที่ อีอีซี และผลักดันให้พื้นที่เศรษฐกิจพิเศษแห่งนี้กลายเป็นฮับอุตสาหกรรม 4.0 หลักของภูมิภาคได้อย่างแน่นอน

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก PostToday

ท่องเที่ยวเลื่อนเก็บค่าเหยียบแผ่นดิน รับสถานการณ์ยังไม่เอื้อ

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

ตลาดหุ้นไทยปิดพุ่ง 22.18 จุด เกาะติดสหรัฐฯ เก็บภาษีไทย

2 ชั่วโมงที่ผ่านมา

ก.ล.ต. เตือนผู้ถือหุ้นกู้ EA จำนวน 2 รุ่น ใช้สิทธิโหวต 16 ก.ค.68

2 ชั่วโมงที่ผ่านมา

พศ.ออกกฎเหล็กคุมเงินสงฆ์ทุกบาทเข้าวัดพระถือได้ไม่เกิน1แสนบาท

2 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าว ธุรกิจ-เศรษฐกิจ อื่น ๆ

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...