โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

13 คณะ 10 มหา’ลัย ร่วมประชุมวิชาการ

เดลินิวส์

อัพเดต 19 กรกฎาคม 2568 เวลา 8.32 น. • เผยแพร่ 4 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เดลินิวส์
เศรษฐศาสตร์ ม.เกษตรฯ จัด 3 ประชุมใหญ่ รวมพลัง 13 คณะใน 10 มหาวิทยาลัยไทย ปั้นนโยบายเศรษฐกิจยุคใหม่

เครือข่ายคณะเศรษฐศาสตร์ และเกษตรศาสตร์จาก 10 มหาวิทยาลัยชั้นนำของไทย พร้อมด้วยสมาคมเศรษฐศาสตร์เกษตรแห่งประเทศไทยฯ และ Leibniz University Hannover เยอรมนี ร่วมกันจัดการประชุมวิชาการพร้อมกัน 3 การประชุม ได้แก่ The International Conference of Economists, 18th National Conference of Economists (การประชุมวิชาการระดับชาติของนักเศรษฐศาสตร์ครั้งที่ 18) และ 18th Graduate Conference in Economic (การประชุมวิชาการระดับบัณฑิตศึกษาทางเศรษฐศาสตร์ ครั้งที่ 18) 2025 ภายใต้ธีม "Transforming Economies for Equity, Stability, and Sustainability: The Power of Diversity" (การปฏิรูปเศรษฐกิจสู่ความเท่าเทียม เสถียรภาพ และความยั่งยืน: พลังแห่งความหลากหลาย) มีผู้เข้าร่วมประมาณ 150 คน โดยจัดขึ้นในวันที่ 18 กรกฎาคม 2568 อาคารปฏิบัติการ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

งานนี้รวมพลังทางวิชาการจาก 13 คณะใน 10 มหาวิทยาลัยไทย (ม.เกษตรศาสตร์, ม.เชียงใหม่, จุฬาฯ, ม.ขอนแก่น, นิด้า, ม.สงขลานครินทร์, ม.รามคำแหง, ม.ศรีนครินทรวิโรฒ, ม.ธรรมศาสตร์, ม.แม่โจ้) ร่วมกับ สมาคมเศรษฐศาสตร์เกษตรแห่งประเทศไทยฯ และ Leibniz University Hannover สาระหลักในการประชุมเป็นการนำเสนอผลงานวิจัยเศรษฐศาสตร์ในด้านการเปลี่ยนแปลงที่หลากหลาย ที่ส่งผลต่อการปฏิรูปเศรษฐกิจเพื่อความเป็นธรรม ความมีเสถียรภาพ และความยั่งยืน ซึ่งสามารถบูรณาการกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) เพื่อผลักดันไปสู่ข้อเสนอเชิงนโยบาย

ดร.ดำรงค์ ศรีพระราม อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า วัตถุประสงค์ของการจัดงานนี้ก็เพื่อเป็นสนามให้นักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์ได้นำเสนอผลงาน โดยธีมในปีนี้เน้นเรื่องการบริหารเศรษฐศาสตร์ในยุคของความเท่าเทียม ความมีเสถียรภาพ และความยั่งยืน โลกปัจจุบันเปลี่ยนแปลงเร็วทั้งเทคโนโลยี การเมืองที่ผันผวนเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว รวมถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดขึ้นทั่วโลก หากเราจะสร้างความยั่งยืนทางเศรษฐกิจควรจะเดินไปอย่างไรในยุคที่วุ่นวายสับสน

“วันนี้เป็นสนามหนึ่งที่เปิดโอกาสให้นักวิชาการทั้งในประเทศไทยจากหลากหลายองค์กร และจากต่างประเทศมาแลกเปลี่ยน วิเคราะห์เพื่อหาแนวทางที่จะทำให้สังคมไทยอยู่รอดและยั่งยืน เราน่าจะได้แนวคิดใหม่ ๆ จากนักวิชาการทั่วประเทศที่มาร่วมนำเสนอผลงาน ซึ่งสุดท้ายเราจะเอาแนวคิดที่ได้มาเวิเคราะห์และจัดทำเป็นแนวทางว่าเศรษฐกิจของไทยจะเดินต่อไปอย่างไร ในยุคที่ต้องการความมั่นคงและยั่งยืน เพื่อผลักดันไปสู่ข้อเสนอเชิงนโยบายในลำดับต่อไป”

ภายในงานมีการมอบรางวัล “โครงการเศรษฐทัศน์ ประจำปี 2568” โดยธนาคารแห่งประเทศไทยร่วมกับ 9 สถาบันการศึกษา ระดับปริญญาตรี รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ พลอยภัทร เศรษฐากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชื่อบทความ: Dynamic Spillovers across Equity and FX Markets: Magnificent 7 and NEER Impacts on Thailand, รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ประภัสสร ดํางาม และ อภิวรรณ ชุ่มเขียว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ชื่อบทความ: The impact path of Globalization on Energy Intensity: The Mediating roles of Structural Factors and Green Innovation รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ชาคริต สุกิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชื่อบทความ: Governance Indicators and Economic Development Performance: Revisited รางวัลชมเชย นิธิศ เจนวินิจ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชื่อบทความ: ผลกระทบของค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อความเปราะบาง ของประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ และ พัชราภรณ์ บัวลอยลม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ชื่อบทความ: การพยากรณ์หนี้ครัวเรือนจากอัตราดอกเบี้ยนโยบาย: การเปรียบเทียบแบบจําลอง เศรษฐศาสตร์และ Machine Learning ในบริบทประเทศไทย

ระดับปริญญาโท-เอก รางวัลชนะเลิศ ปวริศ ปิยะจิตเมตตา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ชื่อบทความ: การวิเคราะห์ผลกระทบของนโยบายปฏิรูปที่ดินต่อการลดความเหลื่อมลํ้า: กรณีศึกษาของประเทศไทยโดยใช้บัญชีเมตริกส์สังคมและแบบจําลองดุลยภาพทั่วไป, ภาสินี ดํารง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ชื่อบทความ: การเสริมสร้างการทํางานร่วมกัน: การศึกษาเปรียบเทียบกิจกรรมทีมแบบออนไลน์และแบบเผชิญหน้าในเกมต้นทุนสาธารณะ รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ศวีระ ธรรมศิริ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ชื่อบทความ: Impacts of Tariffs, Non-tariff Measures and FTAs on Import Performance: Evidence from Thailand รางวัลชมเชย กัญญ์ชลิกา ผ่องจิตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ชื่อบทความ: ผลกระทบของความสลับซับซ้อนของกฏว่าด้วยแหล่งกําเนิดสินค้าต่อภาคการส่งออกไทย และ ดลภัค ชัยบุตร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ชื่อบทความ:Evaluating the Impact of Thailand's Conditional Cash Transfer Program on Learning Outcomes: Evidence from Regression Discontinuity Design

นอกจากนี้ผู้เข้าร่วมจะได้นำเสนอและแลกเปลี่ยนงานวิจัยด้านเศรษฐศาสตร์ที่หลากหลาย โดยเฉพาะการปฏิรูปเศรษฐกิจเพื่อความเป็นธรรม เสถียรภาพ และความยั่งยืน ซึ่งเชื่อมโยงกับเป้าหมาย SDGs เพื่อผลักดันข้อเสนอเชิงนโยบาย นอกจากนี้ยังเป็นโอกาสดีสำหรับนิสิตและคณาจารย์ในการพัฒนาศักยภาพวิชาการสู่สากล พร้อมสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยด้านเศรษฐศาสตร์ทั้งในและต่างประเทศ (ประเทศเยอรมัน สหรัฐอเมริกา สเปน เวียดนาม อินเดีย จีน อินโดนีเซีย ลาว) รวมทั้ง เป็นเวทีนำเสนอผลงานวิจัยสู่การตีพิมพ์ระดับนานาชาติ เพื่อยกระดับ QS Ranking ของสถาบัน.

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก เดลินิวส์

เดลินิวส์ 19 ก.ค. 68สงฆ์ใหญ่กว่าเหยื่อกอล์ฟ เต่าฮึ่มเชือด มั่วเมถุน-โกงหลายร้อยล.

22 นาทีที่แล้ว

เกษียณมี 4 ล้าน พอจริงไหม? เมื่อไม่มีเงินเดือนแต่ยังมีรายจ่ายทุกวัน

52 นาทีที่แล้ว

อากงทุ่มหมดตัว! ยกมรดกให้คนแปลกหน้า ขอแค่ดูแล “เจ้าเหมียว” หลังสิ้นใจ

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

จับ 1 หนี 5 แก๊งค้ายานรก ยึด 1.2 ล้านเม็ด ค่ากว่า 180 ล้าน โยงเครือข่ายว้าใต้

2 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความไลฟ์สไตล์อื่น ๆ

บอลวันนี้ ดูบอลสด ถ่ายทอดสด โปรแกรมฟุตบอล วันเสาร์ที่ 19 ก.ค. 68

PostToday

“Confidence Queen” ซีรีส์คอเมดี้แนวโจรกรรมของ ‘พัคมินยอง’ ประกาศสตรีม 6 ก.ย. นี้ บน Prime Video

Insight Daily

สยามพารากอน ผนึกพันธมิตร จัดงาน “ทั่วหล้าเทิดไท้ ถวายใจสดุดี” พร้อมฉลอง 50 ปี สัมพันธ์ไทย-จีน 25-28 ก.ค.นี้

สยามรัฐ

สจล. จับมือ อบก. เสริมแกร่งบุคลากรด้านการลดก๊าซเรือนกระจก

สยามรัฐ

ทำยังไงให้ได้ใจลูกค้าฉบับ KFC ในวันที่ผู้บริโภค ‘เลือกมากขึ้น’ แต่ ‘จ่ายน้อยลง’ สรุปจากงาน CTC 2025

Capital

วัดแถวๆ เยาวราช มีวัดอะไรบ้าง? ไหว้พระเสริมมงคลกลางกรุงแบบครบสายบุญ

TNN ช่อง16

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...