LDCT การคัดกรองโรคปอด ด้วยปริมาณรังสีน้อยกว่าการทำ CT Scan
จากข้อมูลของสถาบันมะเร็งแห่งชาติมะเร็งปอดยังคงเป็นหนึ่งในสามอันดับต้นๆของโรคมะเร็งที่คร่าชีวิตคนไทยมากที่สุดและแนวโน้มยังคงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆโดยเฉพาะในกลุ่มคนที่มีพฤติกรรมเสี่ยงเช่นสูบบุหรี่เคยอยู่ในพื้นที่ฝุ่นหนาแน่นหรือมีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งปอดหลายคนมองว่าอาการไอเหนื่อยง่ายหรือแน่นหน้าอกเป็นเพียงปัญหาเล็กน้อยหรือเกิดจากความเครียดในชีวิตประจำวันแต่แท้จริงแล้วสิ่งเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคร้ายที่ซ่อนอยู่
แม้หลายคนจะเข้ารับการตรวจสุขภาพปอดด้วยการเอกซเรย์ธรรมดาเป็นประจำทุกปีแต่ในความเป็นจริงการตรวจเพียงเท่านี้อาจไม่เพียงพอโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีของมะเร็งปอดระยะแรกซึ่งก้อนเนื้อมักมีขนาดเล็กเกินกว่าที่จะปรากฏบนฟิล์มเอกซเรย์ส่งผลให้โรคยังคงซ่อนตัวอยู่โดยที่เราคิดว่าปอดปกติหากปล่อยให้เวลาผ่านไปจนเกิดอาการชัดเจนส่วนใหญ่จะเข้าสู่ระยะที่ 3 หรือ 4 ซึ่งการรักษาอาจจะเปลี่ยนจากการหายขาดเป็นการรักษาเพื่อคุมโรคให้สงบ ไม่ว่าจะด้วยการใช้ยามุ่งเป้า ยาเคมีบำบัดฉายแสงซึ่งไม่เพียงแต่กระทบต่อร่างกายแต่ยังส่งผลต่อคุณภาพชีวิตอย่างรุนแรง
LDCT หรือ Low-Dose CT Scan จึงกลายเป็นทางเลือกใหม่ในการคัดกรองโรคปอดที่ทั้งแม่นยำและปลอดภัยกว่าเดิม ด้วยการใช้ปริมาณรังสีน้อยกว่าการทำ CT Scan แบบปกติ แต่ยังคงสามารถตรวจพบก้อนเนื้อหรือความผิดปกติขนาดเล็กได้ตั้งแต่ระยะเริ่มต้น แม้ในผู้ที่ยังไม่มีอาการใด ๆ เลย เทคโนโลยีนี้จึงเหมาะอย่างยิ่งสำหรับการค้นหามะเร็งปอดระยะเริ่มต้นในกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงโดยเกณฑ์เบื้องต้นที่แนะนำให้เข้ารับการตรวจ ได้แก่ ผู้ที่มีอายุระหว่าง 50–80 ปี มีประวัติสูบบุหรี่สะสมตั้งแต่ 20 ซอง-ปีขึ้นไป ยังสูบบุหรี่อยู่ หรือเพิ่งเลิกสูบไม่เกิน 15 ปี และไม่มีอาการที่บ่งชี้ว่ามีมะเร็ง เช่น ไอเรื้อรัง น้ำหนักลด เหนื่อยง่าย และมีสุขภาพแข็งแรงพอที่จะรับการรักษาหากตรวจพบมะเร็ง
ทั้งนี้ เกณฑ์ดังกล่าวเป็นแนวทางทั่วไปซึ่งเกิดจากงานวิจัยสู่คำแนวทางปฏิบัติ แต่ในบางกรณี เช่น ผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเคยเป็นมะเร็งปอด หรือมีปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ อาทิการสูบบุหรี่แม้ไม่ถึง 20 ซอง-ปี การได้รับควันบุหรี่มือสอง การสัมผัสสารก่อมะเร็งที่มีวิจัยรองรับ ได้แก่ แร่ใยหินที่เคยใช้ในวัสดุก่อสร้างอย่างหลังคา กระเบื้อง หรือฉนวนกันความร้อนในอาคารเก่า ซึ่งเมื่อเสื่อมหรือแตกหักอาจปล่อยเส้นใยเล็ก ๆ ฟุ้งในอากาศให้สูดดมเข้าสู่ปอดโดยไม่รู้ตัว รวมถึงการได้รับรังสีเรดอน ซึ่งเป็นก๊าซกัมมันตรังสีจากดินและหินที่อาจสะสมภายในอาคารที่ระบายอากาศไม่ดี หรือมีโรคปอดเรื้อรังบางชนิด เช่น ถุงลมโป่งพอง ซึ่งมีความเสี่ยงที่จะเกิดมะเร็งปอดขึ้นในอนาคตในกรณีเหล่านี้แพทย์จะประเมินความเหมาะสมเป็นรายบุคคลก่อนเข้ารับการตรวจเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด
อย่างไรก็ตาม จุดที่หลายคนอาจไม่ทราบคือ LDCT มีความไวสูงมากในการตรวจจับสิ่งผิดปกติ แม้จะมีข้อดีในการค้นหามะเร็งระยะเริ่มต้น แต่ความไวนี้ก็อาจนำมาซึ่งความวิตกกังวล เพราะบางครั้ง LDCT อาจพบ “จุดเล็ก ๆ” ที่ยังไม่สามารถสรุปได้ว่าเป็นเนื้อร้ายหรือไม่ หลายครั้งอาจเป็นเพียงหินปูนหรือร่องรอยการติดเชื้อในอดีต โดยเฉพาะวัณโรคซึ่งพบได้บ่อยในประเทศไทย หรืออาจเป็นก้อนที่ไม่อันตรายและไม่จำเป็นต้องรักษา ซึ่งจะต้องติดตามผลอย่างใกล้ชิด หากไม่มีแพทย์ผู้ชำนาญที่สามารถวิเคราะห์และอธิบายผลอย่างเหมาะสม ผู้ป่วยอาจเกิดความตื่นตระหนกโดยไม่จำเป็น และนำไปสู่การตรวจซ้ำหรือเข้ารับการรักษาโดยไม่จำเป็น ส่งผลต่อทั้งคุณภาพชีวิตและความเครียดโดยรวม
ผศ.นพ.วิรัช ตั้งสุจริตวิจิตร แพทย์ผู้ชำนาญด้านโรคระบบทางเดินหายใจ โรงพยาบาลวิมุต อธิบายว่า LDCT ตรวจคัดกรองมะเร็งปอด — ไม่ใช่แค่เรื่อง “รู้ผล” แต่คือเรื่องของ “การรู้เท่าทัน” ทุกวันนี้ การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเข้มต่ำ (Low-Dose CT หรือ LDCT) กลายเป็นเครื่องมือสำคัญในการค้นหามะเร็งปอดระยะเริ่มต้น โดยเฉพาะในกลุ่มเสี่ยงสูง เช่น ผู้ที่สูบบุหรี่ หรือมีประวัติสัมผัสสารก่อมะเร็ง หลายคนอาจมองว่า“ทำLDCT ก็แค่รู้ผลว่าเป็นหรือไม่เป็นมะเร็ง”แต่ความจริงแล้วเรื่องนี้ไม่ได้ง่ายหรือจบแค่การรู้ผลเพียงอย่างเดียวสิ่งสำคัญที่ควรตระหนักคือLDCT อาจพบสิ่งผิดปกติที่ไม่ใช่มะเร็งก็ได้เช่นจุดเงาเล็กๆที่เกิดจากพังผืดหรือแคลเซียมร่องรอยจากการติดเชื้อในอดีตเยื่อหุ้มปอดที่หนาตัวจากการอักเสบเรื้อรังซึ่งสิ่งเหล่านี้อาจไม่มีอันตรายแต่หากผู้ป่วยไม่ได้รับคำอธิบายที่ชัดเจนก็อาจเกิดความวิตกกังวลโดยไม่จำเป็น”
ผศ.นพ.วิรัชตั้งสุจริตวิจิตรยังให้ความรู้เพิ่มเติมว่าโรคปอดไม่ได้มีแค่มะเร็งแต่ยังรวมถึงโรคเรื้อรังที่คนไทยมักมองข้ามเช่นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังหรือCOPD ซึ่งเกิดจากการสูบบุหรี่และการสัมผัสฝุ่นควันเป็นเวลานานโรงพังผืดในปอดหรือแม้แต่ภาวะปอดอักเสบหลังติดเชื้อไวรัสเช่นโควิด-19 ที่อาจจะยังคงทิ้งรอยแผลถาวรในปอดโดยไม่แสดงอาการ โรคปอดที่เกิดจากการประกอบอาชีพ การปล่อยปละละเลยโรคเหล่านี้ไว้ในระยะยาวจะส่งผลกระทบต่อสมรรถภาพในการหายใจทำให้เหนื่อยง่ายและเสี่ยงต่อการเสียหายของปอดในระยะยาวและบางครั้งยังเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งปอดได้ในที่สุด
ข่าวที่เกี่ยวข้อง