โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

Reciprocal Tariff ที่ 36% ซ้ำเติมเศรษฐกิจไทยความเสี่ยง GDP โตต่ำกว่า 1.4%

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย

อัพเดต 6 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 6 ชั่วโมงที่ผ่านมา

ไทยโดนภาษีนำเข้าสหรัฐฯ 36% สูงกว่าประเทศเวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย รวมถึงญี่ปุ่นและเกาหลีใต้
ในวันที่ 7 กรกฎาคม 2568 รัฐบาลสหรัฐฯ ประกาศใช้อัตราภาษีนำเข้าตอบโต้ (Reciprocal tariffs) ฉบับใหม่ โดยมีผลบังคับใช้ 1 สิงหาคม 2568 โดยประเทศไทยยังคงไม่ได้รับการลดอัตราภาษีนำเข้าจากเดิมที่ประกาศไว้เมื่อวันที่ 2 เม.ย. 2568 ที่อัตราร้อยละ 36 ทำให้สินค้าส่งออกไทยจะโดนอัตราภาษีฯ ที่สูงกว่าประเทศเวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย รวมถึงญี่ปุ่นและเกาหลีใต้
อัตราภาษีฯ ที่ 36% ยังสามารถเจรจาได้ ขึ้นกับเงื่อนไขการค้าและที่ไม่ใช่การค้าที่สหรัฐฯ ยอมรับ โดยมีการระบุข้อความจากประธานาธิบดีทรัมป์ว่า "หากประเทศต่าง ๆ เปิดตลาดของตนเอง เราอาจพิจารณาปรับเปลี่ยนภาษีเหล่านี้ อาจมีการแก้ไขได้ ทั้งเพิ่มขึ้นหรือลดลง ขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ของเรากับประเทศของคุณ" ซึ่งหากการเจรจาระหว่างไทย-สหรัฐฯ เดินหน้าต่อไป ข้อตกลงสุดท้ายอาจจะต้องมีการเปิดตลาดสินค้าสหรัฐฯมากขึ้น รวมถึงข้อตกลงที่ไม่ใช่ภาษีอื่นๆ ซึ่งต้องมีการประเมินผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยเพิ่มเติม
หากไทยโดนภาษีที่ 36% เสี่ยงเสียตลาดสหรัฐฯ ให้กับประเทศในภูมิภาคที่ได้รับภาษีต่ำกว่า และยังต้องติดตามผลกระทบจากภาษีรายอุตสาหกรรมตามมาตรา 232 ที่จะส่งผลกระทบเพิ่มเติม
อัตราภาษีนำเข้า 36% จะส่งผลให้การส่งออกไทยปี 2568 คาดว่าจะหดตัวลึกในช่วงครึ่งปีหลัง แต่การนำเข้าคาดว่าจะชะลอลงกว่าเดิม โดยอัตราภาษีนำเข้า 36% ที่ไทยถูกเรียกเก็บยังจะสูงกว่าหลายประเทศคู่แข่ง ส่งผลให้สินค้าไทยมีแนวโน้มสูญเสียส่วนแบ่งตลาดในสหรัฐฯ โดยเฉพาะสินค้าหม้อแปลงไฟฟ้า ปริ้นเตอร์ เครื่องปรับอากาศ ปลาและกุ้งแปรรูป เป็นต้น (รูปที่ 2) อย่างไรก็ตาม การ re-export ไปยังตลาดสหรัฐฯ ผ่านประเทศไทย โดยมีการใช้ local content ต่ำ มีแนวโน้มจะชะลอลงไปด้วย โดยเฉพาะสินค้าเครื่องจักรกลที่เห็นการนำเข้าจากจีนเพิ่มขึ้นไปพร้อมๆ กับการส่งออกไปสหรัฐฯ สูงขึ้น ซึ่งจะทำให้การนำเข้าสินค้าที่ใช้ไทยเป็นทางผ่านก็จะชะลอลงเช่นกัน
นอกจากนี้ ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นมากกว่าหลายประเทศในภูมิภาคยิ่งซ้ำเติมการส่งออก โดยค่าเงินบาทแข็งค่าจากระดับต้นปีที่ราว 34.50 บาทต่อดอลลาร์ฯ มาอยู่ที่ระดับต่ำกว่า 32.50 บาท ณ วันที่ 7 ก.ค. 2568 หรือแข็งค่าไปแล้วราว 5%YTD นับตั้งแต่ต้นปี ซึ่งเป็นอีกปัจจัยกดดันต่อความสามารถทางการแข่งขันของสินค้าไทย
ภาษีนำเข้าสหรัฐฯ รายอุตสาหกรรมตามมาตรา 232 ยังเป็นความเสี่ยงสำคัญอยู่ โดยขณะนี้สหรัฐฯ อยู่ระหว่างการสอบสวนสินค้าที่อาจเข้าข่ายเป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติ ภายใต้มาตรา 232 อาทิ เซมิคอนดักเตอร์ ทองแดง ยา และไม้แปรรูป เป็นต้น ซึ่งตามกรอบระยะเวลาคาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จในช่วงปลายปี 2568 ไปจนถึงต้นปี 2569 หากมีการเก็บภาษีเพิ่มเติมจะยิ่งกดดันภาพรวมการส่งออกไทยเพิ่มขึ้นในปีหน้า เนื่องจากมีสัดส่วนต่อภาพรวมการส่งออกไทยค่อนข้างมาก
GDP ปี 2568 เสี่ยงโตต่ำกว่า 1.4% ยังต้องติดตามการเจรจาของไทยหลังจากนี้ รวมถึงการเจรจาสหรัฐฯ - จีน หลังครบ 90 วัน
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินผลกระทบ หากไทยต้องเผชิญอัตราภาษีนำเข้าสูงกว่าหลายประเทศ จะกระทบต่อการส่งออกให้หดตัวลึกขึ้น และทำให้การลงทุนจากต่างชาติชะลอตามไปด้วยส่งผลต่อการลงทุนเอกชนให้หดตัวมากขึ้น นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่เป็นความเสี่ยงของเศรษฐกิจไทยในช่วงที่เหลือของปี 68 โดยเฉพาะจำนวนนักท่องเที่ยวที่มีแนวโน้มต่ำกว่าที่ประเมินเนื่องจากปัจจัยลบที่เข้ามากดดันเพิ่มขึ้น อาทิ สถานการณ์ในตะวันออกกลาง และสถานการณ์ไทย-กัมพูชา อีกทั้งตลาดนักท่องเที่ยวจีนยังคงไม่ฟื้นตัว รวมถึงเสถียรภาพทางการเมืองในประเทศอาจกดดันความเชื่อมั่นและการเบิกจ่ายงบประมาณ ซึ่งปัจจัยทั้งเรื่องภาษีสหรัฐฯ และปัจจัยในประเทศทั้งหมดนี้ ส่งผลให้ประมาณการ GDP ไทยในปี 2568 มีความเสี่ยงที่จะต่ำกว่า 1.4%
อย่างไรก็ตาม ยังมีเหตุการณ์ข้างหน้าที่ต้องติดตามทั้งความพยายามในการเจรจาการค้ารอบใหม่ของไทยก่อน 1 ส.ค. 68 ที่อัตราภาษีนำเข้า 36% จะมีผลบังคับใช้รวมถึงการเจรจาระหว่างสหรัฐฯ - จีน ในวันที่ 12 ส.ค. 68 หลังการชะลอขึ้นภาษี 90 วันสิ้นสุดลง ซึ่งศูนย์วิจัยกสิกรไทยจะประเมินเหตุการณ์ต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นในระยะข้างหน้าอันใกล้ และจะทบทวนตัวเลขประมาณการ GDP อีกครั้ง

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก ศูนย์วิจัยกสิกรไทย

ส่งออก PCB ไทยปีนี้ อาจไม่เป็นตามคาด หากไทยโดนภาษี 36% ตลอดทั้งปี

6 ชั่วโมงที่ผ่านมา

ส่งออกน้ำมันรำข้าวไทยปี 2568 มูลค่าโตพุ่ง 12.8% สูงสุดในรอบ 3 ปี

6 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความไอที ธุรกิจอื่นๆ

วิกฤตเศรษฐกิจไทยปี 2569: ภาคส่งออก ท่องเที่ยว และการบริโภคเผชิญความท้าทายหนัก แนะมนุษย์เงินเดือนและฟรีแลนซ์เร่งปรับตัว

ทันหุ้น

หยุดยาว 10-11 ก.ค.นี้! ขึ้นทางด่วนฟรี 3 เส้นทาง

สยามรัฐ

“ธนวัฒน์ ปัญญาสกุลวงศ์” ลาออกบอร์ด EASTW มีผลพรุ่งนี้

ข่าวหุ้นธุรกิจ

THG แจ้ง “จิระพงษ์ วินิชบุตร” ลาออกกรรมการอิสระ หลังเกษียณอายุ มีผล 16 ก.ค.นี้

ข่าวหุ้นธุรกิจ

ปักกิ่งขู่ตอบโต้เด็ดขาด! หากชาติพันธมิตรหนุน “ทรัมป์” ลดบทบาท “จีน” จากห่วงโซ่เศรษฐกิจ

ข่าวหุ้นธุรกิจ

ส่งออก PCB ไทยปีนี้ อาจไม่เป็นตามคาด หากไทยโดนภาษี 36% ตลอดทั้งปี

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...