โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

“อภิสิทธิ์” จี้รัฐหยุดวนลูปแจกเงิน แนะปฏิรูปรากเศรษฐกิจ กิโยตินกฎหมาย-เพิ่มทักษะคนไทย

PostToday

อัพเดต 15 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 8 ชั่วโมงที่ผ่านมา

เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2568 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการ “Exclusive Talk : ผ่าทางตันประเทศไทย” Chapter Three กับ 3 บก.เครือเนชั่น ประกอบด้วย นายสมชาย มีเสน นายวีระศักดิ์ พงษ์อักษร และ นายบากบั่น บุญเลิศ เนื่องในโอกาศครบรอบ 55 ปี เนชั่น กรุ๊ป ว่า ปัญหาเรื่องเศรษฐกิจ ต้องแบ่งเป็น 2 เรื่อง คือ ปัญหาเฉพาะหน้า เช่น เรื่องภาษีทรัมป์ และ นักท่องเที่ยวจีนหาย ที่ต้องหาต้นตอให้เจอ และเปิดเผยข้อมูลแบบโปร่งใส และ ปัญหาเศรษฐกิจที่สั่งสมมานานกว่า 1 ทศวรรษ ที่ต้องแก้ด้วยการกิโยตินกฎหมาย และ เพิ่มทักษะคนในประเทศ

นักท่องเที่ยวจีนหาย ไม่ใช่เพราะโซเชียลบอก ไม่ปลอดภัย

นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า เรื่องนักท่องเที่ยวจีนหาย เราควรจะสรุปได้ชัดเจนแล้วว่า มันไม่ใช่ปรากฏการณ์ธรรมชาติ เราไปบอกว่า ที่เป็นแบบนี้เพราะเศรษฐกิจจีนไม่ดี มันไม่ใช่ เพราะตลาดอื่นยังโตอยู่ เขายังไป มาเลเซียเวียดนาม ญี่ปุ่น แปลว่า มันมีปัญหา หรือ แม้แต่เราไปบอกว่าโซเชียลเขาบอกว่าประเทศไม่ปลอดภัยก็ตาม ตนเองขอถามว่าถ้าจีนจะคุมโซเชียลมีเดียในจีนเขาทำได้ไหม

สิ่งสำคัญคือ เราต้องเข้าถึงปัญหาให้ได้ว่า ที่จีนมีความรู้สึกว่า คนของเขายังไม่ควรมาเมืองไทยมันคืออะไรและแก้เสีย แม้กระทั่งเรื่องความปลอดภัยตั้งแต่มีกรณีดาราจีนถูกหลอก หรือ ไทยเกือบจะเป็นศูนย์กลางของโลกอยู่แล้วนั้น วันนี้ได้ทำไปถึงมาตรฐานที่จีนมั่นใจแล้วหรือยัง

อีกสิ่งคือปัญหาที่เรามักชอบพูดติดปาก คือ จีนเทา ถามว่า ถ้าไทยไม่เทา จีนจะเทาได้หรือ จีนก็คงรู้สึกว่า ถ้าประเทศไทยบังคับใช้กฎหมายทำตรงไปตรงมา จีนเทา ก็ไม่ใช่ปัญหาที่จะเกิดขึ้น

แนะรัฐบาลเปิดข้อมูลภาษีทรัมป์ ใครได้-เสีย-แผนเยียวยา

ส่วนเรื่องภาษีทรัมป์ การเจรจาตอนนี้พูดง่ายๆว่า มาถึงจุดนี้อะไรก็ลำบาก เพราะเวียดนามฟิลิปปินส์ อินโดนีเชีย แทบจะเรียกว่าให้เขาหมดแล้วแต่ก็ได้ที่ 19% ขณะที่มีความงงว่าทรัมป์ชมผู้นำฟิลิปปินส์ว่าตัดสินใจดีแล้ว แต่กลับพบว่า อยู่เฉยๆได้ 20% แต่เมื่อแลกหมดได้ 19%

มาวันนี้ ผมเห็นใจรัฐบาล คาดว่าโอกาสที่จะได้ดีกว่า 19% หรือ 20 % ไม่มีอยู่แล้ว เพียงแต่วันนี้รัฐบาลไม่เคยพูดกับประชาชนคนไทยว่า ถ้ายอมเพื่อให้ได้ 20% เอาอะไรแลกบ้าง ใครได้ประโยชน์ เสียประโยชน์ และมีแผน 1 แผน 2 อย่างไร จะเยียวยาอย่างไร เรากลับไม่ได้ยินอะไรแบบนี้เลย ที่สำคัญดูจากรูปการณ์แล้ว พบว่า เรื่องภาษีทรัมป์ ไม่ได้มีหลักเกณฑ์อะไร ทุกประเทศอยู่ที่ทรัมป์จะพอใจ

ขอเตือนว่า อย่าคิดว่ามันจบ 1 สิงหาคม หรือ 12 สิงหาคม แม้แต่เวียดนามเองก็ตาม ที่ยอมให้ทุกอย่างแล้ว แต่จากนี้ 6 เดือน หรือ 1 ปี หากเวียดนามยังเกินดุลอยู่จะเหลืออะไรไปแลก

เศรษฐกิจไทยแก้ด้วยกิโยตินกฎหมาย-พัฒนาทักษะ

นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ในขณะที่ต้องแก้ปัญหาเฉพาะหน้านั้น ปัญหาเศรษฐกิจที่สั่งสมมากว่า 1 ทศวรรษ ก็ต้องแก้ในระยะยาวด้วย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการกีโยตินกฎหมาย ปรับปรุงให้เอื้อต่อการลงทุนของธุรกิจใหม่ๆ ไปพร้อมๆกับการพัฒนาทักษะบุคลากร

ตอนนี้ประเทศไทยมีอัตราการเจริญเติบโตที่ต่ำกว่าในอดีต และต่ำกว่าประเทศเพื่อนบ้าน ที่สำคัญต่ำกว่าศักยภาพของประเทศ ซึ่งอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจยังสร้างความเหลื่อมล้ำหมายความว่า แม้ว่าจะโตกี่เปอร์เซ็นต์ แต่ก็ยังมีคนจำนวนมากติดลบ

ทั้งหมดนี้เป็นอาการที่บอกว่า ไม่ใช่วัฏจักรเศรษฐกิจ คำตอบไม่ได้อยู่ที่การกระตุ้นเศรษฐกิจเฉพาะหน้า ด้วยแลนด์บริดจ์ หรือ กาสิโน ไม่ได้ จึงต้องกลับไปดูว่า เมื่อ 10 ปีที่ผ่านมา เราไม่ได้ปรับตัวอย่างไร

เรื่องใหญ่มี 2 เรื่องคือ 1 กฎหมาย กฎกติกา ที่เกี่ยวกับการทำธุรกิจ เพราะธุรกิจใหม่ๆไม่กล้ามาเนื่องจากไม่รู้ว่ากติกาเราคืออะไร และ 2.เรื่องของทักษะของคน ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่ และไม่ใช่เรื่องง่าย

นายอภิสิทธิ์ ยกตัวอย่างตอนที่ตนเองแก้ปัญหาวิกฤตต้มยำกุ้งและแฮมเบอร์เกอร์ ว่า ต้มยำกุ้งเป็นวิกฤตการเงิน เกิดขึ้นเฉียบพลัน เพราะทุนสำรองหมด สถาบันการเงินมีปัญหา มันจึงมีสูตรการแก้ แม้แก้แล้วเจ็บ และ เจ็บจริง ส่วนวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ คือ ท่องเที่ยวหาย ส่งออกหาย ก็แก้ด้วยการเติมกำลังซื้อ

แต่ปัญหาของสภาวะที่เราเผชิญอยู่ทุกวันนี้คือ ไม่เป็นวิกฤต แต่มันซึมลงมาเรื่อยๆ จนเราไม่มีความตื่นตัวที่จะบอกว่า มันไม่ได้แล้ว นับวันเราชินชาไปเรื่อยๆ เหมือนเมื่อก่อนนี้ เวลานายกฯมาบอกว่าเราจะโต 3% เราจะร้องโห่ แต่พอมาวันนี้บอกเราโต 3% เราก็บอกว่า แค่นี้ก็ดีใจแล้ว เพราะเราไปยอมรับว่า ศักยภาพเราอยู่แค่นี้

ปีนี้ยังไงก็ต้องลุ้น เหนื่อย เพราะภาวะที่เป็นผลกระทบกับภาคส่งออก บวกกับปัญหาใหญ่ที่สุดที่ทรัมป์สร้างให้กับโลก คือความไม่แน่นอน นักลงทุนก็ตัดสินใจไม่ได้เลย เพราะไม่รู้จะลงทุนที่ไหนแล้วเจอภาษีเท่าไหร่บ้าง ดังนั้น ปีนี้ยังไงก็ลำบาก

แต่ประเด็นที่บอกก็คือว่า ถ้าตั้งโจทย์ว่า อัดฉีดให้ตัวเลขดีขึ้น เราก็วกกลับมาที่เดิม แต่ถ้าเราบอกว่าวันนี้เป็นเรื่องใหญ่ที่เราต้องมาผ่าตัด คือเรื่องกฎหมาย และเรื่องทักษะ แม้อาจจะไม่เห็นผลทันที

แต่มันต้องเริ่มต้น และมันต้องอาศัยความเข้าใจของทุกภาคส่วนที่จะดึงเข้ามา และเรื่องกฎหมายมันไปไกล เนื่องจากว่ามันไม่ใช่เรื่องมาบอกว่า มีกี่ฉบับ ล้าสมัย เพราะมันจะเยอะมาก ถ้าแก้ไม่รู้ต้องใช้เวลาเท่าไหร่ ซึ่งไม่ทันการณ์

ดังนั้น มันต้องการนวัตกรรมที่มีกฎหมายที่ออกมาให้ครอบคลุม เกี่ยวกับการแก้ระบบการอนุญาตธุรกิจให้เกิดขึ้นได้ โดยเฉพาะธุรกิจใหม่ๆ ที่เราไม่คุ้นเคย ต้องเปลี่ยนหลักคิด เช่น ถ้าเรายังคิดว่ามีธุรกิจใหม่เข้ามา เช่น AI เราต้องมีกฎหมายควบคุม AI ก็ต้องนั่งเขียนกฎหมายศึกษารายละเอียดว่า AI เป็นอะไร คือมันไม่ใช่หลักคิด แต่ต้องกลับไปคิดว่า ใครอยากทำอะไรใหม่ๆเบื้องต้นทำได้ แต่ทำแล้วต้องดูว่ากระทบกับความมั่นคง ความปลอดภัย การเอารัดเอาเปรียบหรือไม่ ไม่เช่นนั้นวิ่งเท่าไหร่ก็ไม่ทันเทคโนโลยี

สิ่งเหล่านี้มันเกิดขึ้นยาก อย่างรัฐบาลที่ผ่านมา คือรัฐบาลผสม แต่มันไม่กลมกลืนเหมือนแบ่งสัมปทาน 2 ปีที่ผ่านมา เราแทบจะไม่ได้ยินว่า ทิศทางรัฐบาลคืออะไร เรารู้แต่ว่ากระทรวงสาธารณสุขจะทำแบบนี้ แยกส่วนกัน

ดังนั้น เรื่องที่พูด 2 เรื่อง ไม่สามารถแก้ได้โดยกระทรวงใดกระทรวง 1 และมันไปไกลกว่านั้นคือ มันต้องมีฝ่ายค้านมาคิดด้วย เพราะมันเป็นเรื่องของกระบวนการนิติบัญญัติ ทุกพรรคต้องมาคุยเงื่อนไขที่กำหนดร่วมกันจะเรียกว่าการทำกฎหมายให้เป็น fast track หรือกีโยติน ก็แล้วแต่

แนวโน้มอนาคตมีไม่กี่เรื่อง คือเทคโนโลยี สิ่งแวดล้อม ความเป็นธรรม ยกตัวอย่างภาคการเกษตรก็ต้องยกเครื่องทั้งหมด เราโชคดีที่อุดมสมบูรณ์มาโดยตลอด เราไม่เคยดิ้นรนในการให้ภาคการเกษตรมีการเปลี่ยนแปลง แต่วันนี้เรากำลังถูกเงื่อนไขต่างๆเพิ่มขึ้นมาอีกเยอะ เพราะภาคการเกษตรเป็นภาคที่ปล่อยคาร์บอนเป็นอันดับ 2 รองจากภาคพลังงาน

เกษตรในปัจจุบันทำให้มีแต่คนอายุเยอะทำ เด็กรุ่นใหม่ไม่ปรารถนาทำเกษตรแบบเดิม แต่ถ้าเป็นเกษตรอัจฉริยะนำเทคโนโลยีเข้ามา มันตอบโจทย์สิ่งแวดล้อม เพิ่มประสิทธิภาพ และทำให้คนในภาคการเกษตรมีรายได้เพิ่มขึ้น รัฐและท้องถิ่นต้องรวมตัวกันช่วยเกษตรกรรายย่อย ไม่ใช่นโยบายอุ้มราคา เพราะปัญหาก็จะวนมาที่เดิม

เรื่องทักษะ ตนเองเคยเสนอเป็นนโยบายพรรคประชาธิปัตย์ปี 2562 แล้ว ยกตัวอย่าง แทนที่จะแจกเงินหมื่น เปลี่ยนเป็นแจกคูปองคนละหมื่น เพื่อให้ไปเรียนรู้ ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน AI คอมพิวเตอร์ ทำบัญชี เพราะแจกเงินก็แจกตั้งแต่สมัยพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ก็ยังกลับมาที่เดิม

เรื่องทักษะจริงๆแล้วเราต้องยอมรับต่อให้เราทำเรื่องนี้อย่างเร่งด่วน เราก็ยังตามไม่ทันหลายที่คำถามคือทำไมเราไม่พยายามชักจูงคนเก่งให้มาอยู่ที่นี่ เราไม่ได้ต้องการเงิน เท่ากับสมองของเขา และเราสามารถดึงดูดเขาให้มาอยู่ที่ประเทศไทยได้ด้วยซอฟต์พาวเวอร์ที่ไทยมี และต่างชาติชอบอยู่แล้ว

ถ้าไปถามต่างชาติทั่วโลก จะพบว่าประเทศไทย ติดอันดับที่ต่างชาติอยากมาอยู่ เช่นเดียวกับเงื่อนไขการส่งเสริมการลงทุนที่ต้องปรับให้เขามาถ่ายทอดเทคโนโลยีให้ประเทศไทยด้วยเพื่อให้คนไทยได้เรียนรู้และเติบโต

ดังนั้นตรงนี้ต่างหากถึงจะผ่าทางตัน ไม่ใช่แต่การวนเวียนแต่เรื่องเฉพาะหน้า แจกเงิน ไม่แจกเงิน หรือแก้ปัญหาดอกเบี้ยสูงไป

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก PostToday

เจรจาภาษีทรัมป์คืบหน้า ปิดดีลญี่ปุ่น ดันตลาดหุ้นสหรัฐปิดบวก

56 นาทีที่แล้ว

บอลวันนี้ ดูบอลสด ถ่ายทอดสด โปรแกรมฟุตบอล วันพฤหัสบดีที่ 24 ก.ค. 68

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความธุรกิจ-เศรษฐกิจอื่น ๆ

เปิดแล้ว “ASEAN Tools Expo 2025” เวทีเครื่องมือช่างระดับอาเซียน

ฐานเศรษฐกิจ

อดีตผู้ว่าททท.ถอดรหัสตลาดท่องเที่ยวไทย ย้ำเร่งกู้จีนเที่ยวไทย

ฐานเศรษฐกิจ

อายิโนะโมะโต๊ะ เผย 3 แผนใหญ่ ปี 68 หลังทำรายได้ 3.2 หมื่นล้าน

SMART SME

ผู้ช่วยฯ “จักรพล” เดินหน้ายกระดับธุรกิจที่พักเพื่อการท่องเที่ยว จับมือกระทรวงมหาดไทย ผลักดันแนวทางเชิงรุก หนุนผู้ประกอบการเข้าระบบ

สวพ.FM91

Thai economic sectors at risk without reforms amid US trade talks

Thai PBS World

Broker ranking 23 Jul 2025

Manager Online

'รองนายกฯพิชัย' หารือประธานฯ บริษัท MinebeaMitsumi Inc. หนุนลงทุนต่อเนื่องในไทย พร้อมผลักดันด้านโลจิสติกส์และพลังงาน

VoiceTV

“รัฐบาลไทย” เรียกทูตไทยประจำกัมพูชากลับประเทศ ลดระดับความสัมพันธ์

การเงินธนาคาร

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...