โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

ภาษีทรัมป์ 36% ฉุดส่งออกหดตัวลึก จีดีพีไทยทรุดต่ำกว่า 1.4%

เดลินิวส์

อัพเดต 1 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 8 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เดลินิวส์
สหรัฐเก็บภาษีนำเข้าสินค้าไทย 36% ฉุดส่งออกครึ่งปีหลังหดตัวลึก ขีดเส้นตายเจรจาภาษีทรัมป์ก่อน 1 ส.ค. นี้ เศรษฐกิจไทย GDP จ่อทรุดต่ำกว่า 1.4%

น.ส.ณัฐพร ตรีรัตน์ศิริกุล รองกรรมการผู้จัดการ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เปิดเผยว่า จากกรณีที่ไทยถูกสหรัฐเก็บภาษีนำเข้าสินค้า 36% จะส่งผลให้การส่งออกไทยปี 68 คาดว่าจะหดตัวลึกในช่วงครึ่งปีหลัง แต่การนำเข้าคาดว่าจะชะลอลงกว่าเดิม โดยอัตราภาษีนำเข้า 36% ที่ไทยถูกเรียกเก็บยังจะสูงกว่าหลายประเทศคู่แข่ง ส่งผลให้สินค้าไทยมีแนวโน้มสูญเสียส่วนแบ่งตลาดในสหรัฐ โดยเฉพาะสินค้าหม้อแปลงไฟฟ้า พรินเตอร์ เครื่องปรับอากาศ ปลาและกุ้งแปรรูป เป็นต้น

ทั้งนี้ การ re-export ไปยังตลาดสหรัฐ ผ่านประเทศไทย โดยมีการใช้ local content ต่ำ มีแนวโน้มจะชะลอลงไปด้วย โดยเฉพาะสินค้าเครื่องจักรกลที่เห็นการนำเข้าจากจีนเพิ่มขึ้นไปพร้อมๆ กับการส่งออกไปสหรัฐสูงขึ้น ซึ่งจะทำให้การนำเข้าสินค้าที่ใช้ไทยเป็นทางผ่านก็จะชะลอลงเช่นกัน

นอกจากนี้ ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นมากกว่าหลายประเทศในภูมิภาคยิ่งซ้ำเติมการส่งออก โดยค่าเงินบาทแข็งค่าจากระดับต้นปีที่ราว 34.50 บาทต่อดอลลาร์ มาอยู่ที่ระดับต่ำกว่า 32.50 บาท ณ วันที่ 7 ก.ค. 2568 หรือแข็งค่าไปแล้วราว 5%YTD นับตั้งแต่ต้นปี ซึ่งเป็นอีกปัจจัยกดดันต่อความสามารถทางการแข่งขันของสินค้าไทย

ภาษีนำเข้าสหรัฐ รายอุตสาหกรรมตามมาตรา 232 ยังเป็นความเสี่ยงสำคัญอยู่ โดยขณะนี้สหรัฐ อยู่ระหว่างการสอบสวนสินค้าที่อาจเข้าข่ายเป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติ ภายใต้มาตรา 232 อาทิ เซมิคอนดักเตอร์ ทองแดง ยา และไม้แปรรูป เป็นต้น ซึ่งตามกรอบระยะเวลาคาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จในช่วงปลายปี 2568 ไปจนถึงต้นปี 2569 หากมีการเก็บภาษีเพิ่มเติมจะยิ่งกดดันภาพรวมการส่งออกไทยเพิ่มขึ้นในปีหน้า เนื่องจากมีสัดส่วนต่อภาพรวมการส่งออกไทยค่อนข้างมาก

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินผลกระทบ หากไทยต้องเผชิญอัตราภาษีนำเข้าสูงกว่าหลายประเทศ จะกระทบต่อการส่งออกให้หดตัวลึกขึ้น และทำให้การลงทุนจากต่างชาติชะลอตามไปด้วยส่งผลต่อการลงทุนเอกชนให้หดตัวมากขึ้น นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่เป็นความเสี่ยงของเศรษฐกิจไทยในช่วงที่เหลือของปี 68 โดยเฉพาะจำนวนนักท่องเที่ยวที่มีแนวโน้มต่ำกว่าที่ประเมินเนื่องจากปัจจัยลบที่เข้ามากดดันเพิ่มขึ้น อาทิ สถานการณ์ในตะวันออกกลาง และสถานการณ์ไทย-กัมพูชา

อีกทั้งตลาดนักท่องเที่ยวจีนยังคงไม่ฟื้นตัว รวมถึงเสถียรภาพทางการเมืองในประเทศอาจกดดันความเชื่อมั่นและการเบิกจ่ายงบประมาณ ซึ่งปัจจัยทั้งเรื่องภาษีสหรัฐ และปัจจัยในประเทศทั้งหมดนี้ ส่งผลให้ประมาณการ GDP ไทยในปี 2568 มีความเสี่ยงที่จะต่ำกว่า 1.4%

อย่างไรก็ตาม ยังมีเหตุการณ์ข้างหน้าที่ต้องติดตามทั้งความพยายามในการเจรจาการค้ารอบใหม่ของไทยก่อน 1 ส.ค. 68 ที่อัตราภาษีนำเข้า 36% จะมีผลบังคับใช้รวมถึงการเจรจาระหว่างสหรัฐ-จีน ในวันที่ 12 ส.ค. 68 หลังการชะลอขึ้นภาษี 90 วันสิ้นสุดลง ซึ่งศูนย์วิจัยกสิกรไทยจะประเมินเหตุการณ์ต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นในระยะข้างหน้าอันใกล้ และจะทบทวนตัวเลขประมาณการ GDP อีกครั้ง

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก เดลินิวส์

สุดทึ่ง! ฝูงฉลามครีบดำ 158 ตัว โผล่อ่าวมาหยา ส่งสัญญาณดีระบบนิเวศฟื้น

22 นาทีที่แล้ว

เตรียมยื่น DSI รับเป็นคดีพิเศษ ปมบุกจับนายทุนสวนมะม่วง ‘ไร่หุบผึ้ง’ ยึดที่รุกป่า 3,952 ไร่

28 นาทีที่แล้ว

9 สัญญาณเตือน ร่างกายกำลังขาดแมกนีเซียม

57 นาทีที่แล้ว

‘ทักษิณ’ ชี้ ‘ทรัมป์’ ส่งจดหมายขีดเส้นภาษีนำเข้าเป็นการเจรจาทางธุรกิจ

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความธุรกิจ-เศรษฐกิจอื่น ๆ

ดั่งต้องมนต์เมืองอุบลฯ ททท.จัดงานวิจิตร หนุนไทยเป็นศูนย์กลางท่องเที่ยวภูมิภาค

MATICHON ONLINE

Broker ranking 9 Jul 2025

Manager Online

Charles House Flow น้ำแร่ขวดหรู ดูแพงแต่แฝงความประหยัด แถมเมดอินสุรินทร์

SMART SME

“ทักษิณ’ ชี้คุยภาษีสหรัฐฯ เวลายังไม่หมด หาทางต่อได้ ลั่นเราขอความแฟร์ แนะใจเย็นๆ

สยามรัฐ

“ทักษิณ” ยอมรับช็อกฮุนเซนปล่อยคลิปเสียง มองไทย-กัมพูชา ไม่อยู่ในสถานะประกาศสงครามต่อกัน

การเงินธนาคาร

"รมว.คลัง" สั่งเอกชนทำการบ้าน เจาะผลกระทบภาษีสหรัฐ พร้อมมาตรการรองรับ ส่ง 11 ก.ค.นี้

สยามรัฐ

กรมพัฒนาที่ดิน ผนึก 5 หน่วยงาน ผลิตน้ำหมักชีวภาพจากปลาหมอคางดำ หวังตัดวงจรการระบาด

MATICHON ONLINE

EA ฉลุย! ผู้ถือหุ้นกู้ 9 รุ่น อนุมัติขยายระยะเวลาไถ่ถอนออกไป 5 ปี

PostToday

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...