โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

การเมือง

ทำไมถึงห้ามโจมตีโรงพยาบาลพลเรือน? รู้จัก ‘อนุสัญญาเจนีวา ฉบับที่ 4’ กับกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ ที่กลายเป็นข้อพิพาทล่าสุดระหว่างไทย-กัมพูชา

BrandThink

อัพเดต 23 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 23 ชั่วโมงที่ผ่านมา

อนุสัญญาเจนีวา (Geneva Conventions) คือหนึ่งในสนธิสัญญาระหว่างประเทศที่มีกฎเกณฑ์สำคัญที่สุดในการจำกัดความป่าเถื่อนของสงคราม ด้วยการคุ้มครองผู้ที่ไม่ได้เข้าร่วมการสู้รบอย่าง พลเรือน แพทย์ เจ้าหน้าที่บรรเทาทุกข์ และผู้ที่ไม่สามารถสู้รบได้ ไม่ว่าจะเป็น ทหารที่บาดเจ็บ เจ็บป่วย หรือเชลยศึก

อนุสัญญาเจนีวาถือเป็นแกนหลักของกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศที่ห้ามการโจมตีในภาวะสงคราม ซึ่งมีทั้งหมด 4 ฉบับ และพิธีสารเพิ่มเติมอีก 3 ฉบับ

โดยฉบับที่ 1 จะเน้นการคุ้มครองทหารที่บาดเจ็บและเจ้าหน้าที่แพทย์ในสนามรบ

ฉบับที่ 2 เน้นคุ้มครองทหารบาดเจ็บในสงครามทางทะเล

ฉบับที่ 3 คุ้มครองเชลยศึกไม่ให้ถูกทรมานหรือปฏิบัติอย่างไร้มนุษยธรรม

และฉบับที่ 4 มุ่งเน้นไปที่การคุ้มครอง ‘พลเรือน’ ในเขตสงครามหรือในพื้นที่ที่ถูกยึดครอง

โดยอนุสัญญาเจนีวาฉบับที่ 4 ถือเป็นหนึ่งในหัวใจสำคัญในการปกป้องประชาชนผู้ไม่เกี่ยวข้องในศึกสงคราม รวมไปถึงการมีข้อห้ามที่ระบุชัดในมาตรา 18 ‘การคุ้มครองโรงพยาบาลพลเรือน’ ที่ว่าโรงพยาบาลพลเรือนที่จัดตั้งขึ้นเพื่อการดูแลผู้ป่วยและผู้บาดเจ็บ รวมถึงสตรีมีครรภ์และผู้สูงอายุจะต้องได้รับการคุ้มครอง เคารพในทุกสถานการณ์ และจะต้องไม่ตกเป็นเป้าของการโจมตี

โดยประเทศไทยถือเป็นหนึ่งในภาคีที่ได้ลงนามในอนุสัญญาเจนีวา 4 ฉบับ เมื่อปี พ.ศ. 2497 โดยมีภาคีในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เข้าร่วมเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม มาเลเซีย สิงคโปร์ และกัมพูชา

ทั้งนี้หากประเทศภาคีมีการโจมตีละเมิดอนุสัญญาจะเข้าข่ายเป็นอาชญากรรมสงคราม (War Crimes) ซึ่งมีผลทางกฎหมายระหว่างประเทศ และอาจถูกดำเนินคดีโดยศาลอาญาระหว่างประเทศ (ICC)

อย่างไรก็ดีเหตุที่อนุสัญญาเจนีวาถูกยกมาพูดถึงอีกครั้งในสังคมไทย สืบเนื่องมาจากกรณีตึงเครียดบริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา เมื่อเช้าวันที่ 24 กรกฎาคม 2568 เวลา 08.20 น. ได้เกิดเหตุการณ์ทหารกัมพูชาเปิดฉากยิงฝั่งไทย และเกิดการยิงปะทะตลอดมาจนเวลา 11.54 น. เหตุการณ์รุนแรงขึ้น เมื่อกองกำลังฝั่งกัมพูชาได้ใช้จรวดหลายลำกล้อง BM-21 โจมตีโรงพยาบาลพนมดงรัก อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์ ซึ่งเป็นสถานพยาบาลพลเรือน และถือเป็นหนึ่งในพื้นที่ห้ามละเมิดในอนุสัญญาเจนีวา ด้วยเหตุนี้ทำให้การกระทำของกองกำลังกัมพูชามีส่วนเข้าข่ายการละเมิดอนุสัญญาเจนีวาอย่างร้ายแรง

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก BrandThink

SOCIETY: นานาชาติมีถ้อยแถลงต่อสถานการณ์ ระหว่างไทย-กัมพูชาอย่างไรบ้าง? หลังเหตุปะทะของวันที่ 24 กรกฎาคม 2568

12 ชั่วโมงที่ผ่านมา

MIND: ถ้าเด็กเล็กๆ อยู่ ‘หน้าจอ’ มากเกินไป จะเกิดอะไรขึ้น? แล้วพ่อแม่ควรแก้ไขอย่างไรดี

19 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความการเมืองอื่น ๆ

ไทยแถลงต่อ UNSC ประณามกัมพูชารุกราน ละเมิดอธิปไตย-โจมตีพลเรือน ย้ำตอบโต้เพื่อป้องกันตนเองตามกฎบัตร UN

สยามรัฐ
วิดีโอ

'นายใหญ่ทักษิณ' ถึงแล้วอุบลฯ

THE ROOM 44 CHANNEL
วิดีโอ

แถลงการณ์ต้องแบบนี้! 'วราวุธ' ประณาม "เขมร" โจมตีพลเรือนแนวชายแดน

THE ROOM 44 CHANNEL

ทหารไทยปักธงชาติ 'ภูมะเขือ'ยึดพื้นที่เบ็ดเสร็จ หลังกัมพูชาเข้าตีกลางดึก

กรุงเทพธุรกิจ

กองทัพไทยแพร่ถ้อยแถลงบนเวที UNSC ประณามกัมพูชายิงพลเรือน

กรุงเทพธุรกิจ

พม.ฟ้องโลกกัมพูชาโจมตีพลเรือนไทยก่ออาชญากรรมต่อมนุษย์

PostToday

ข่าวและบทความยอดนิยม