โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ภูมิภาค

สหรัฐตัดงบช่วยเหลือผู้อพยพ แม่ฮ่องสอนส่อวิกฤต สุขภาพ-ปากท้องน่าห่วง เสนอเปิดทางทำงานนอกศูนย์พักพิง

สยามรัฐ

อัพเดต 6 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 6 ชั่วโมงที่ผ่านมา

สหรัฐตัดการช่วยเหลือ ผู้อพยพในศูนย์จะอยู่อย่างไรต่อไป สส.บัญชีรายชื่อพรรคประชาชน จังหวัดแม่ฮ่องสอน อยากให้รัฐอนุญาตผู้หนีภัยในศูนย์ออกมาทำงานหารายได้นอกพื้นที่
เมื่อวันที่ 22 ก.ค.68 นายเล่าฟั้ง บัณฑิตเทอดสกุล สส.บัญชีรายชื่อพรรคประชาชน เปิดเผยว่า การตัดเงินให้การช่วยเหลือผู้หนีภัยจากการสู้รบภายในศูนย์พักพิงในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน ถือเป็นเรื่องใหญ่ของจังหวัดแม่ฮ่องสอน เพราะว่าเรามีศูนย์อพยพอยู่ในพื้นที่ชายแดนของจังหวัด เมื่อผู้หลบหนีภัยในศูนย์พักพิงไม่ได้รับการช่วยเหลือ ส่วนหนึ่งก็จะมาเบียดเบียนทรัพยากรของคนจังหวัดแม่ฮ่องสอนด้วย แต่อย่างไรก็ตาม เรื่องมนุษยธรรมเราก็ปฏิเสธไม่ได้ เมื่อตัดการให้ความช่วยเหลือไปแล้วเรื่องใหญ่ที่สุดคือเรื่องสุขภาพ ส่วนอีกเรื่องคือปากท้อง ที่ผ่านมาผู้หลบหนีภัยจากการสู้รบภายในศูนย์พักพิง ฯ ในพื้นที่แม่ฮ่องสอน ได้รับการช่วยเหลือจากสหประชาชาติ ซึ่งได้รับการระดมทุนจากต่างประเทศ เมื่อถูกตัดการช่วยเหลือ เรื่องปากท้องจึงเป็นสิ่งสำคัญ เคยเสนอชุดความคิดขึ้นมาแต่ก็ยังไม่ได้รับการตอบรับ คงต้องเรียกร้องไปยังกระทรวงแรงงาน และฝ่ายความมั่นคงเพื่อหาทางออกร่วมกัน


นายเลาฟั้ง ฯ กล่าวต่อไปว่า คนที่อยู่ในศูนย์อพยพ ส่วนหนึ่งเป็นวัยแรงงาน สามารถที่จะทำงานได้ โดยเฉพาะภาคการเกษตรของไทยเราก็ต้องการแรงงานราคาถูกเช่นกัน ทุกวันนี้เวลาเกษตรกรจะจ้างแรงงานางหญ้า ถ้าเป็นคนไทยก็ต้องจ้างราคาที่สูง ถ้ามีระบบในการจัดการให้แรงงานในศูนย์อพยพ สามารถออกมาทำงานข้างนอกได้ โดยเฉพาะภาคการเกษตร ก็จะเป็นการช่วยบรรเทาความเดือดร้อนให้กับผู้ที่อยู่ในศูนย์อพยพมีรายได้เลี้ยงดูตัวเอง ในขณะเดียวกันเกษตรกรที่เป็นคนไทยก็จะได้แรงงานที่ราคาถูกลงด้วย ส่วนเรื่องสุขภาพคงต้องทำงานอย่างจริงจังมากขึ้น เพราะเฉพาะในจังหวัดแม่ฮ่องสอนมีผู้หนีภัยจากการสู้รบอยู่ในศูนย์ประมาณกว่า 25,000 คน ในจำนวนนี้ถ้าไม่มีระบบอื่นมาดูแล เมื่อเขาเจ็บป่วยเดินเข้ามาในโรงพยาบาล หมอ ก็ต้องมาดูแล รักษา เมื่อผู้อพยพไม่มีจ่ายจะทำอย่างไร ก็เป็นปัญหาใหญ่มาก และต้องมีปัญหาแน่ ๆ ฉะนั้นกระทรวงสาธารณสุขจะต้องจัดการเรื่องนี้อย่างจริงจัง

จังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นอีกหนึ่งจังหวัดชายแดน มีประชากรรวมกันทั้ง 7 อำเภอ ประมาณ 288,082 คน และเป็นจังหวัดที่มีพื้นที่พักพิงชั่วคราวจากการสู้รบ จำนวน 4 แห่ง ปัจจุบันมีผู้อพยพหนีภัยจากการสู้รบภายในศูนย์มากกว่า 2 หมื่นคน
ตั้งแต่ปี พ.ศ.2527 ได้มีการสู้รบบ่อยครั้งระหว่างรัฐบาลเมียนมากับชนกลุ่มน้อยตามแนวชายแดน เป็นเหตุให้มีผู้หลบหนีภัยการสู้รบเดินทางเข้าในเขตพื้นที่ประเทศไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ภายหลังการประท้วงเรียกร้องประชาธิปไตยในเมียนมา เมื่อ 8 สิงหาคม 2531 เกิดการอพยพของชนกลุ่มน้อยในเมียนมาสู่พื้นที่ชายแดนตามอำเภอต่าง ๆ จ.แม่ฮ่องสอน สูงถึง 39,780 คน กระจัดกระจายอยู่ในหลายหมู่บ้าน ทำให้จังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยศูนย์สั่งการชายแดนจังหวัดแม่ฮ่องสอน ได้ดำเนินการจัดตั้งพื้นที่พักพิงชั่วคราว เพื่อดูแลให้ความปลอดภัยตามสภาวการณ์ที่เกิดขึ้น โดยรัฐบาลไทยได้อนุญาตให้ผู้อพยพหนีภัยดังกล่าวอาศัยอยู่ในพื้นที่พักพิงชั่วคราวบริเวณชาแดนไทย-เมียนมา ตามหลักมนุษยธรรมจนถึงปัจจุบัน โดยได้รับการสนับสนุนดูแลจาก สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) โดยมีองค์กรเอกชนระหว่างประเทศ 10 ประเทศเข้าไปดูแล อาทิ องค์การ TBBC เข้าไปดูแลเรื่องอาหาร ข้าวสาร น้ำตาล อาหารเสริม และเกลือ ส่วน IRC เข้าไปดูแลเรื่อง สาธารณสุข สำหรับ JRS ดูแลด้านการฝึกอาชีพ นอกจากนี้ยังมีหน่วยงานองค์กรต่าง ๆ รวมแล้ว 11 องค์กรที่เข้าไปดูแลให้ความช่วยเหลือแต่ละศูนย์ รวมทั้งมีการฝึกอาชีพ สอนภาษาถิ่น และภาษาอังกฤษ ส่วนภาษาไทยเปิดให้เรียนเป็นวิชาเลือก และยังมีโรงพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยเบื้องต้นหากอาการหนักจะส่งต่อไปยังโรงพยาบาลประจำจังหวัด
ข้อมูล ณ เดือนธันวาคม 2567 จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีศูนย์พักพิงผู้หนีภัยจากการสู้รบ จำนวน 4 พื้นที่ด้วยกัน ได้แก่
1.พื้นที่พักพิงบ้านใหม่ในสอย ต.บางปางหมู อ.เมือง ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ.2539 ปัจจุบันมีผู้หนีภัย จำนวน 1,719 ครัวเรือน จำนวน 6,642คน
2.พื้นที่พักพิงบ้านบ้านแม่สุริน ต.ขุนยวม อ.ขุนยวม ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2535 ปัจจุบันมีผู้หนีภัยจำนวน 407 ครัวเรือน จำนวน 1,831 คน
3.พื้นที่พักพิงบ้านแม่ลามาหลวง ต.สบเมย ตั้งขึ้นเมื่อป พ.ศ.2538 ปัจจุบันมีผู้หนีภัย จำนวน 1,692 ครัวเรือน จำนวน 9,071 คน
4. พื้นที่พักพิงบ้านแม่ละอูน ต.สบเมย อ.สบเมย ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ.2546 ปัจจุบันมีผู้หนีภัย จำนวน 1,513 ครัวเรือน จำนวน 8,053 คน
รวมผู้หนีภัยใน 4 พื้นที่พักพิงจังหวัดแม่ฮ่องสอน จำนวน 5,333 ครัวเรือน รวมทั้งสิ้น จำนวน 25,597 คน ในจำนวนนี้มีเด็กมากถึง 10,260 คน ร้อยละ 42 นักถือศาสนาคริสต์ และอีกร้อยละ 7 นับถือศาสนาพุทธ ตั้งแต่ปี 2549 เป็นต้นมา มีผู้หนีภัยจากทั้ง 4 ศูนย์ ฯ ได้เดินทางไปตั้งถิ่นฐานใหม่ยังประเทศที่ 3 เช่นที่ประเทศออตเตเลีย สวีเดน นอร์เวย์ นิวซีแลนด์ และสหรัฐอเมริกา ไปแล้วกว่า 25,000 คน ในจำนวนนี้เดินทางไปยังประเทศอเมริกามากที่สุดกว่า 1 หมื่นคน


หลังจากสหรัฐ ประกาศงดสนับสนุนตัดการช่วยเหลือผู้อพยพที่อยู่ในศูนย์พักพิงทุกประเทศ ที่ได้รับเงินสนับสนุนจากสหรัฐอเมริกา ประเทศไทยซึ่งมีศูนย์พักพิงชั่วคราวอยู่หลายจังหวัด โดยเฉพาะจังหวัดแม่ฮ่องสอนเป็นอีกจังหวัดหนึ่งที่มีพื้นที่พักพิงผู้หนีภัยจากการสู้รบและได้รับผลกระทบเป็นอย่างมาก เนื่องจากองค์การ IRC ประจำจังหวัดแม่ฮ่องสอนแจ้งว่า องค์การ IRC ประจำประเทศไทย ได้ออกคำสั่งมายังองค์การ IRC ทุกพื้นที่ให้หยุดกิจกรรมทั้งหมดที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากรัฐบาลประเทศสหรัฐ ฯ เป็นระยะเวลา 90 วัน ตั้งแต่วันที่ 24 มกราคม 2568 เป็นต้นไป ซึ่งรวมถึงโครงการให้บริการด้านการดูแลสุขภาพ และยังมีองค์กรอื่น ๆ ในพื้นที่ที่ได้รับเงินช่วยเหลือจากสหรัฐฯ เช่น TBBC เข้าไปดูแลเรื่องอาหาร ข้าวสาร น้ำตาล อาหารเสริม และเกลือ ก็จะต้องถูกตัดการช่วยเหลือไปด้วย ระยะเวลา 3 เดือน หรือ 90 วัน ที่สหรัฐอเมริกากำหนดให้ จะสิ้นสุดวันที่ 31 ก.ค.68 นี้ เหลือเวลาเพียง 1 สัปดาห์ ผู้อพยพที่อยู่ในศูนย์พักพิงในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน จะอยู่อย่างไรต่อไป

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก สยามรัฐ

เจ้าท่าฯ ร่วมหารือ ส.ประมงนอกน่านน้ำไทย พัฒนาอุตสาหกรรมประมงนอกน่านน้ำของประเทศไทย

16 นาทีที่แล้ว

ไทยวางเป้า 6 เหรียญทอง ศึกยู19 ยู22 ชิงแชมป์เอเชีย

20 นาทีที่แล้ว

Scrap Lab มก. โชว์แนวคิด "Circular Economy" ในงานแสดงนิทรรศการ ณ นครนิวยอร์ก

22 นาทีที่แล้ว

เอ็มบีเคผนึก 3 สมาคมสื่อกีฬา! จัด "ตลาดนัดคนข่าวกีฬา-โปรโมตซีเกมส์" ที่พาราไดซ์ พาร์ค 3 -5 ต.ค. นี้

30 นาทีที่แล้ว

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความภูมิภาคอื่น ๆ

ลำพูนผุด “ทุ่งหัวช้างโมเดล ” ส่งเสริมกระบวนการพัฒนาผ้าลำพูน ให้พื้นที่อำเภอทุ่งหัวช้าง เป็นพื้นที่ต้นแบบการผลิตผ้าพื้นถิ่นของจังหวัด

สยามรัฐ

อุดรธานี ผึ้งแตกรังรุมต่อยนร.เจ็บระนาว 11 รายเฝ้าดูอาการ 2 ราย ผอ.โรงเรียนเผยสาเหตุ

สยามรัฐ

“พช.เมืองอ่างทอง เมืองแห่งความสุข” เสริมสร้างความเข้มแข็งและแก้ไขปัญหายาเสพติดในหมู่บ้าน/ชุมชนกองทุนแม่ของแผ่นดิน

สยามรัฐ

ตำรวจไทย ทำหนังสือเรียกตัว "โมนิก้า" ให้ปากคำ หลังชี้หน้าด่าทหารไทย ที่ปราสาทตาเมืองธม

สวพ.FM91

สุรินทร์ส่องเลขเด็ดแท่งศิลา กลางปราสาทตาควาย ได้เลขสมใจนำไปเสี่ยงโชค

สยามรัฐ

สบอ.7 ตรวจเข้มตามข้อร้องเรียน! พบสัตว์ป่าควบคุมที่ต้องแจ้งครอบครอง ส่งเจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบข้อเท็จจริง

สวพ.FM91

นายกเล็กโคราช เตรียมรับพายุ “วิภา” ป้องน้ำท่วมซ้ำซากเขตเศรษฐกิจ พร่องน้ำแก้มลิชง ขุดลอกกำจัดวัชพืช

สยามรัฐ

เน่าตลอดสาย สวนทางความเจริญ ทั้งขยะกากอุตสาหกรรม ถูกลอบทิ้งเกลื่อนเลียบสาย 7 พื้นที่บางปะกง ฉะเชิงเทรา

สยามรัฐ

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...