โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

SOCIEY: ดูโซเชียลอย่างไรไม่ให้ถูก AI หลอก? รวมวิธี ‘เช็กก่อนแชร์’ ว่าอันไหนภาพจริงหรือแค่ AI ทำ

BrandThink

เผยแพร่ 3 ชั่วโมงที่ผ่านมา

ทุกวันนี้เลื่อนดูโซเชียลมีเดียทีไรก็มักจะเจอแต่รูปเนียนๆ บางครั้งก็ดูเพอร์เฟกต์จนน่าสงสัย ทั้งหน้าสวยผิวฉ่ำ วิวอลัง หรือแม้กระทั่งข่าวดราม่าที่มาพร้อมภาพชัดแจ๋ว จนบางคนหลงเชื่อและแชร์กันว่อนอินเทอร์เน็ต โดยที่ไม่รู้เลยว่าภาพที่เราเห็นแท้จริงเป็นเพียงภาพที่ถูกสร้างจาก AI จนตอนนี้บนโซเชียลมีเดียเริ่มกลายเป็นพื้นที่ที่ใครหลายคนอาจเริ่มกังวลหรือรู้สึกกลัวถูก AI หลอกขึ้นมา

ด้วยเหตุนี้ BrandThink จึงอยากพาทุกคนไป ‘เช็กก่อนแชร์’ ให้แน่ใจว่าภาพหรือคลิปวิดีโอที่เราเห็นบนโซเชียลไม่ใช่สิ่งที่ AI สร้างขึ้นมา โดยคุณสามารถสังเกตสิ่งที่ AI สร้าง ด้วยวิธีดังนี้

1. สังเกตรายละเอียดรูปร่าง อวัยวะบางอย่างที่หายไปหรือวางผิดตำแหน่ง
ในการสร้างภาพวิดีโอของ AI บางครั้งแม้ดูสวยงาม สมจริง แต่ก็มักจะมีจุดเล็กๆ ที่ AI ทำพลาดได้ เช่น ในรูปภาพเป็นคน แต่มีนิ้วมือ 6 นิ้ว ใบหน้ายิ้มแต่ตาเศร้า แขนขายาวหรือสั้นกว่าปกติ

ในส่วนของวิดีโอคุณสามารถสังเกตการกะพริบตาที่ปกติมนุษย์จะมีการกะพริบตาบ่อยๆ และมีการขยับแขนขาตามสิ่งที่กำลังทำอยู่ ถ้าหากดวงตาในวิดีโอดูนิ่งไม่ขยับหรือกะพริบ แขนขาก็ไม่ได้ขยับตามอิริยาบถนั้น ก็ให้คุณเอะใจได้เลยว่าภาพหรือวิดีโอที่คุณเห็นอาจเป็นสิ่งที่ AI ทำ

2. สังเกตแสงเงาและพื้นผิวที่ดูเรียบเนียนเกินจริง
โดยปกติ AI มักจะทำให้แสงเงาและพื้นผิวดูเรียบเนียนเกินจริง ซึ่งคุณสามารถสังเกตแสงเงาได้จากการดูทิศทางเงา โดยหากเป็นสิ่งที่ AI ทำแสงเงาจะมีลักษณะทิศทางไม่สมเหตุสมผล หรือไม่มีแสงเงาเลย

และในส่วนของพื้นผิวให้คุณสังเกต ผิวหน้า ผิวตัว ผิวเสื้อผ้า หรือผิวพื้นหลัง ว่าดูเรียบเนียนจนคล้ายพลาสติก หรือดูวาวแปลกๆ หรือเปล่า โดยหากคุณเห็นว่าภาพหรือคลิปวิดีโอดูเนียนและแวววาวเกินจริง ก็ให้คุณสันนิษฐานไว้ก่อนเลยว่าภาพที่คุณเห็นอาจเป็นภาพจาก AI

3. สังเกตข้อความลายน้ำ หรือโลโก้ที่ดูแปลกตา
หากคุณต้องการเช็ก AI เพิ่มเติมคุณสามารถสังเกตข้อความ ป้ายชื่อร้าน หรือลายน้ำในภาพว่ามีการวางสลับกันไปมาจนคุณอ่านไม่ออก หรือเป็นตัวหนังสือที่เขียนมั่วๆ ไม่เป็นตัวอักษรหรือเปล่า ซึ่งถ้าหากคุณเห็นว่ามันดูวางมั่ว ไม่เป็นคำ ให้คุณระวังการถูก AI หลอกได้เลยเพราะ AI มักจะมีการเรียงตัวอักษรไม่เป็นคำหรือผิดไวยากรณ์จนคุณไม่สามารถอ่านได้

อย่างไรก็ดี หากคุณได้ลองเช็กแล้วแต่ยังไม่แน่ใจ คุณสามารถใช้วิธีการนำภาพไปค้นหาย้อนกลับ (Reverse Image Search) เพื่อตรวจเช็กอีกครั้งใน Google Images หรือ TinEye เพื่อดูว่าภาพต้นทางมาจากไหน เคยถูกใช้ที่ไหนมาก่อนบ้าง ซึ่งถ้าค้นแล้วเจอว่าเป็นภาพจากเว็บสร้าง AI หรือเจอซ้ำในหลายเว็บไซต์ที่ไม่ใช่สื่อที่เชื่อถือได้ ก็อาจเป็นสัญญาณว่าภาพนั้นไม่ใช่เรื่องจริง หรือในอีกวิธีคือการใช้ AI Detector เครื่องมือตรวจสอบในเว็บไซต์ที่สามารถช่วยตรวจสอบว่าไฟล์ภาพหรือวิดีโอนั้นถูกสร้างโดย AI หรือไม่

ดังนั้นท้ายที่สุด ไม่ว่าจะรูปภาพ ข่าว หรือคลิปวิดีโอจะดูสมจริงแค่ไหน แต่ถ้าเราไม่มั่นใจจริงก็อย่าเพิ่งรีบแชร์ออกไป เพราะทุกครั้งที่เรากดแชร์สิ่งที่ไม่จริงก็ยิ่งถูกส่งต่อและขยายวงกว้างมากขึ้นเรื่อยๆ และเพื่อไม่ให้เกิดความเข้าใจผิด คุณก็สามารถลองสังเกต AI ด้วยวิธีข้างต้นให้แน่ใจก่อนว่าเป็นเรื่องจริงหรือไม่ เพื่อให้ตัวเราและคนรอบข้างได้ปลอดภัยจากการถูก AI หลอก แถมยังช่วยให้โลกโซเชียลมีข้อมูลที่น่าเชื่อถือเพิ่มขึ้นอีกด้วย

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก BrandThink

SOCIETY: บริการแบบใดเอาแต่มอง เมื่อพนักงาน Gen Z ไม่ทักทายลูกค้า มันจึงเกิดความตึงระหว่างวัยขึ้นมาอีกเรื่อง

4 ชั่วโมงที่ผ่านมา

SOCIETY: Prada ถูกวิจารณ์หนัก หลังออกรองเท้าคอลเลกชันใหม่ คล้ายรองเท้าพื้นเมืองอินเดีย สะท้อนปัญหาการฉกฉวยทางวัฒนธรรมในวงการแฟชั่น

7 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความทั่วไปอื่น ๆ

ออกกฎกระทรวงควบคุมเงินวัด ห้ามถือเงินเกิน 1 แสน เริ่ม 1 ต.ค. นี้

ข่าวช่องวัน 31

แพทย์เตือน! พบเคส เด็ก 8 ขวบป่วยบาดทะยักรุนแรง หลังฉีดวัคซีนไม่ครบ

News In Thailand

ตำรวจสอบสวนกลาง ตั้งศูนย์ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาฯ มอบดาบ ‘บิ๊กเต่า’ สางปัญหา

ไทยโพสต์

Minor tremor in Myanmar, felt by people in Chiang Rai province today

Thai PBS World

ราคาทองปิดตลาด วันนี้ 14 ก.ค. 68

มุมข่าว

"เลขา ป.ป.ช." บอกไม่ทราบ ปมตั้งคณะไต่สวนสอบคลิปเสียง ‘อิ๊งค์’

สยามรัฐ

‘ออมสิน’ พร้อมเชื่อมฟันเฟืองเล็กๆ ต่อจิ๊กซอว์ บรรเทาปัญหาเชิงโครงสร้าง ด้วย ‘Creating Shared Value’

ไทยพับลิก้า

สะพัด ป.ป.ช. ตั้งองค์คณะไต่สวน ‘แพทองธาร’ ปมคลิปคุยฮุน เซน

ไทยโพสต์

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...