เอกชนเสนอรัฐเร่งปิดดีลสหรัฐ พลิกวิกฤตเป็นโอกาส
สำนักข่าวไทย Online
อัพเดต 14 กรกฎาคม 2568 เวลา 23.24 น. • เผยแพร่ 4 ชั่วโมงที่ผ่านมา • สำนักข่าวไทย อสมทกรุงเทพฯ 14 ก.ค.-เอกชน เสนอรัฐเร่งปิดดีลสหรัฐ พลิกวิกฤตเป็นโอกาส หนุนภาคเกษตร-อุตสาหกรรม
ภายในงานเสวนา “กรุงเทพธุรกิจ Roundtable: The Art of The (Re)Deal” นายรัฐวิชญ์ ปิยะปราโมทย์ ผู้ตรวจราชการ กระทรวงพาณิชย์ กล่าวถึงการเจรจาระหว่างไทยกับสหรัฐ กรณีสหรัฐประกาศเก็บภาษีตอบโต้กับประเทศคู่ค้า (Reciprocal Tariffs) ยอมรับว่าเป็นการเจรจาที่ยาก โดยคณะเจรจาทีมไทยทำงานเต็มที่ ที่ผ่านมานายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง ได้เชิญทั้งภาคเอกชน และภาคเกษตร ร่วมหารืออย่างใกล้ชิดมาโดยต้องตลอด สิ่งสำคัญต้องหาจุดสมดุล การเจรจามีทั้งฝั่งได้ประโยชน์และได้รับผลกระทบ
ส่วนกรณีที่ล่าสุด ได้ข้อสรุปการเจรจาแล้ว 2 ประเทศ คือ เวียดนาม และสหราชอาณาจักร สะท้อนถึงความยากลำบาก และต้องรอบคอบ อย่างไรก็ตามยืนยันว่า คณะเจรจาทำงานเต็มที่ โดยมาตการที่ภาคเอกชนต้องการสนับสนุนจากภาครัฐคือ มาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (soft loan) มาตรการด้านการตลาด การหาตลาดใหม่ๆ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การเพิ่มมุลค่า การเรื่องความปลอดภัยทางอาหาร และเรื่องข้อตกลง การค้าเสรี (FTA) โดยไทยได้ลงนาม FTA กับสมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรป (EFTA) ซึ่งถือเป็น FTA ฉบับแรกที่ไทยทำกับกลุ่มประเทศในยุโรป โดยเฉพาะท่ามกลางสถานการณ์ภูมิรัฐศาสตร์ ทำให้ FTA สำคัญมาก
นายจิรพันธ์ อัศวะธนกุล รองประธานกรรมการหอการค้าไทย กล่าวว่าที่ผ่านมา ปัญหาการสวมสิทธิ์เป็นเรื่องสำคัญที่สหรัฐฯ สนใจ โดยที่ผ่านมามีหลายหน่วยงานมาตรวจเรื่องการสวมสิทธิ์ ทั้งหน่วยงานรัฐ และอียู จึงมองว่ามื่อเกิดวิกฤตจึงเป็นโอกาสดีที่ได้มานังพูดคุยกัน สินค้าส่งออกหลายอย่าง เราจึงต้องมีวินัยและการตรวจสอบเข้มงวด ขณะที่โครงสร้างพื้นฐานเป็นอีกสิ่งหนึ่งสำคัญที่จะดึงดูดนักลงทุน รวมทั้งเห็นด้วยในการให้ความสำคัญกับภาคเกษตร รวมถึงดูและดอกเบี้ยและค่าเงินบาท พร้อมเสนอรัฐบาลพัฒนาเรื่องเหล่านี้จริงจัง เปลี่ยนวิกฤตเป็นโอกาสสร้างเศรษฐกิจให้ยั่งยืน
นายนาวา จันทนสุรคน รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประประเทศไทย กล่าวว่าประเทศไทยต้องเร่งสร้าง รั้วสูง กำแพงหนา ประตูเหล็ก โดยที่ผ่านมาหลายกลุ่มอุตสาหกรรมพยายามปรับตัวท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจ สุดท้ายมีบางรายไม่ไหว ต้องปรับลดปลดออก พร้อมเสนรัฐต้องกล้าใช้มาตรการตอบโต้การอุดหนุน สนับสนุนซอฟ์โลนให้ภาคอุตสาหกรรม นอกจากเยียวยาโดยตรง สามารถเยียวยาทางอ้อมได้ เช่น นโยบายการปรับขึ้นค่าแรงให้ถึง 650 บาท ที่จะส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการ เชื่อว่าภาคราชการเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อน ขณะนี้เราโดนหลายด้าน จึงต้องการการระมัดระวังป้องกัน
นายธนากร เกษตรสุวรรณ ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) กล่าวว่าที่ผ่านมาได้หารือ กับหอการค้าไทย ประธานสภาอุตสาหกรรม เห็นตรงกันว่าหากยังไม่ประคองอุตสาหกรรมให้แข่งขันได้ เศรษฐกิจไทยจะเสียหายมาก การที่สหรัฐตั้งกำแพงภาษี เพราะประเมินว่าหากสหรัฐผลิตไม่ได้จะเสียหายมาก และกลัวจีนแซงหน้า ทั้งนี้ คาดการณ์ ยุโรปอาจจับมือจีน แต่สหรัฐยังไม่จับมือกับใคร ทำไมไม่ไปดีล เพราะไทยมีซัพพลายเชน มีแรงงาน เราต้องปกป้องเกษตร แต่ปกป้องยังไงให้ค่อยๆโตขึ้น อุตสาหกรรมก็อยากเติบโต ทั้งนี้มองว่า สหรัฐส่งสัญญาณชัดเจนว่าให้ไทยปรับจูนฝั่งจีน ให้ใกล้เคียงสหรัฐ
ดังนั้น มองว่าต้องรักษาสหรัฐ แล้วหาทางเจรจาให้เหมาะสม พร้อมฝากถึงภาครัฐ อยากให้ทบทวนนโยบายค่าแรงขั้นต่ำ ที่ผลักดีนในเติบโตรวดเร็ว ที่จะกระทบการแข่งขัน การลดดอกเบี้ยนโยบายของ ธปท. ที่ส่งผลถึงต้นทุนของผู้ประกอบการ และธุรกรรมอำพราง ในการทำธุรกิจในไทย การถือหุ้น ขอให้ชัดเจนว่าทำตามกฏหมาย และรัฐควรจริงจังกับนโยบายส่งเสริมการค้าให้เป็น digitalization จากที่ยังเป็นเอกสาร ย้ำเป็นโยบายที่ดี แต่ต้องทำให้ได้
ดร.สัมพันธ์ ศิลปนาฏ นายกสมาคมนายจ้างอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ และอุปนายกสมาคมเซมิคอนดักเตอร์ไทย กล่าวถึงปัญหาการสวมสิทธิ์ว่าในกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์และเซมิคอนเตอร์และเซมิคอนดักเตอร์ทั้งหมดว่าเป็นศูนย์ โดยผ่านการตรวจสอบและจัดการกันมาแล้วโดยภาคเอกชนตั้งแต่เมื่อห้าปีที่แล้ว เนื่องจากเคยถูกจับตามองมาก่อน อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมากลุ่มอิเล็กทรอนิกส์-เซมิคอนดักเตอร์ถูกเก็บภาษีนำเข้าและส่งออกที่ 0% กระทั่งปัจจุบันโดนที่ 10% ก็ปรับตัวยากอยู่แล้ว หากมากกว่านี้หรือมากกว่าประเทศคู่แข่ง กระทบแรงงานแน่นอน เพราะจำเป็นต้องลดการผลิต และอาจมีการย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศที่ต่ำกว่าซึ่งเป็นเรื่องปกติ พร้อมกับเห็นด้วยว่าการ “เปลี่ยนวิกฤติเป็นโอกาส” เป็นเรื่องสำคัญ ในระยะสั้นรัฐบาลต้องดูแลผู้ที่ได้รับผลกระทบ แต่ระยะยาวอย่าทิ้งจุดยืนของประเทศ ซึ่งภาพที่ชัดคือเทคโนโลยี.-516.-สำนักข่าวไทย