โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

การเมือง

ใครเป็นบ้าง ‘หูอื้อ’ อาจเป็นสัญญาณอันตรายของโรคบางอย่าง

เดลินิวส์

อัพเดต 13 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 7 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เดลินิวส์
‘หูอื้อ’ อาจเป็นสัญญาณอันตรายของโรคบางอย่างได้ เปิดเคล็ดลับวิธีรับมือกับอาการ ‘หูอื้อ’ อ่านเลย…

วันนี้“เดลินิวส์” นำบทความจากเพจรามาแชนแนลโดย “อ.พญ.เนาวรัตน์ ตั้งบำรุงธรรม” ภาควิชาโสต ศอ นาสิกวิทยา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดลกล่าวว่าหู” เป็นอวัยวะสำคัญที่ไม่เพียงแค่ช่วยเรื่องการได้ยินเท่านั้น แต่ยังทำหน้าที่เรื่องการทรงตัวของร่างกายอีกด้วย หลายคนคงเคยมีอาการหูอื้อกันมาบ้าง หลายครั้งก็หายได้เองโดยไม่ต้องทำอะไรมาก แต่บางครั้ง อาการหูอื้อ อาจเป็นสัญญาณอันตรายของโรคบางอย่างได้

หูอื้อ” คือ การได้ยินเสียงที่ลดน้อยลงจากปกติหรือมีเสียงในหู อาจเกิดได้กับหูชั้นนอก หูชั้นกลาง และหูชั้นใน โดยหูชั้นนอกประกอบด้วยใบหูและรูหู หากมีสิ่งแปลกปลอมอุดตันบริเวณนี้ เช่น มีขี้หูหรือมีน้ำในหูจะทำให้หูอื้อได้ ถัดมาเป็นหูชั้นกลาง ประกอบด้วยแก้วหูและกระดูกเล็ก ๆ 3 ชิ้น หากแก้วหูทะลุ มีการอักเสบหรือมีน้ำขังในหูอาจทำให้หูอื้อได้เช่นกัน และชั้นในสุดคือหูชั้นใน ประกอบด้วยอวัยวะรับฟังเสียงรูปก้นหอยและเส้นประสาทหู หากมีการเสื่อมหรือบาดเจ็บก็เป็นสาเหตุให้เกิดหูอื้อได้

สาเหตุของหูอื้อ มีอาการหูอื้อเกิดได้จากหลายสาเหตุ แบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลัก ๆ คือ ส่วนการนำเสียง และส่วนประสาทการรับฟังเสียง

  • หูอื้อจากส่วนนำเสียงบกพร่อง อาจเกิดจากการมีขี้หู น้ำในหู มีสิ่งแปลกปลอมอยู่ข้างใน แล้วเกิดการติดเชื้อในหูชั้นกลาง หรือเกิดแก้วหูทะลุ
  • หูอื้อจากประสาทการรับฟังเสียง สังเกตได้ว่าเมื่ออายุมากขึ้น การได้ยินเสียงมักแย่ลง เพราะประสาทการรับฟังเสียงบกพร่องไปตามวัยนั่นเอง

แก้ อาการหูอื้อ ด้วย 4 วิธีนี้ ได้ผลจริงหรือ

อาการหูอื้อทำให้รู้สึกไม่สบายหู หลายคนอาจเคยแก้อาการหูอื้อด้วยวิธีต่าง ๆ กันมาบ้าง วิธีเหล่านี้ได้ผลแค่ไหน

  • วิธีที่ 1 ใช้ไม้แคะหู
    วิธีนี้ไม่จริง แม้ว่าขี้หูอุดตันอาจเป็นสาเหตุหนึ่งของอาการหูอื้อ แต่ไม่แนะนำให้ใช้ไม้แคะ เนื่องจากขี้หูอาจถูกดันเข้าไปลึกขึ้น อุดตันมากขึ้น หากไม่ระวังอาจเกิดการบาดเจ็บของหูชั้นนอกหรือเกิดแก้วหูทะลุได้ ทำให้เกิดการติดเชื้อหรือการได้ยินลดลง โดยปกติแล้วขี้หูสามารถออกมาเองได้โดยไม่ต้องแคะ แต่หากมีขี้หูมาก ขี้หูเหนียว จนเกิดการอุดตันภายในรูหูควรมาพบแพทย์เพื่อเอาออกอย่างถูกต้อง
  • วิธีที่ 2 นวดหู
    วิธีนี้ไม่จริง การนวดหูอาจช่วยให้รู้สึกสบายหูด้านนอก แต่ไม่ได้ช่วยแก้อาการหูอื้อ หากเกิดอาการปวดหูแล้วรู้สึกดีขึ้นอาจเป็นเพราะอาการหูอื้อที่เป็นอยู่ใกล้จะหายพอดี
  • วิธีที่ 3 หยอดน้ำใส่หูแล้วเอียงออก
    วิธีนี้ไม่จริง เพราะจะยิ่งทำให้มีน้ำในหูมากขึ้น และอาจเกิดหูอักเสบติดเชื้อได้ ขณะอาบน้ำจึงควรระวังไม่ให้น้ำเข้าหู หากต้องการใช้คอตตอนบัดเช็ดออก ควรเช็ดเฉพาะภายนอกใบหูเท่านั้น
  • วิธีที่ 4 บีบจมูก กลืนน้ำลาย
    วิธีนี้จริงเป็นบางกรณี เพราะหูอื้อเกิดได้จากหลายสาเหตุ หากหูอื้อเพราะความผิดปกติจากการทำงานของท่อปรับความดันในหูชั้นกลาง การใช้มือบีบจมูกแล้วกลืนน้ำลาย หรือบีบจมูกแล้วปิดปากเบ่งลมออกจะช่วยให้อาการหูอื้อดีขึ้นได้ อย่างไรก็ตาม ควรระมัดระวังไม่ทำแรงเกินไป และไม่ควรทำในช่วงที่เป็นหวัดหรือมีการติดเชื้อของทางเดินหายใจ

การรักษา อาการหูอื้อ มีหลายวิธีขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำให้เกิด อาการหูอื้อ ดังนี้

  • ขี้หูอุดตัน ไม่ควรแคะหู อาจหยอดยาละลายขี้หู หากอาการไม่ดีขึ้นหรือมีอาการปวดหูร่วมด้วย ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจอย่างละเอียด
  • แรงดันอากาศ ใช้การกลืนน้ำลาย เคี้ยวหมากฝรั่ง หรือเอามือบีบจมูกแล้วเบ่งลมออกเบา ๆ
  • โรคหวัด การเป็นหวัดอาจทำให้เกิดจมูกอักเสบเรื้อรัง หรือไซนัสอักเสบได้ จึงควรพบแพทย์เพื่อตรวจดูความผิดปกติของหูชั้นกลางและโพรงจมูก
  • โรคบางชนิด หูอื้ออาจเกิดจากโรคหรือภาวะของโรคบางอย่าง จึงควรรักษาโรคที่เป็นสาเหตุของอาการหูอื้อ
  • ผลข้างเคียงจากยาบางชนิด คนไข้อาจต้องเปลี่ยนยาเพื่อลดผลข้างเคียงที่ทำให้เกิดหูอื้อ
  • แก้วหูอักเสบหรือฉีกขาด กรณีนี้ใช้การรักษาด้วยการผ่าตัด

อาการหูอื้อ แบบไหนควรรีบพบแพทย์

หากเกิดอาการหูอื้อเฉียบพลัน อยู่ ๆ ก็ไม่ได้ยินเสียง หรือมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น เวียนหัว มีน้ำออกจากหู ควรมาพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุ

หูอื้อกับความเสี่ยงโรคอื่น ๆ เพราะหูอื้อเป็นอาการเบื้องต้นที่บ่งบอกว่ามีความผิดปกติเกิดขึ้นกับช่องหู และอาจเป็นสัญญาณบอกโรคบางอย่างได้ เช่น ช่องหูชั้นนอกตีบแคบ ขี้หูอุดตัน การติดเชื้อในช่องหู แก้วหูทะลุ หูน้ำหนวก โรคของเส้นประสาทรับเสียง โรคของสมอง มีเนื้องอก

วิธีดูแลสุขภาพหู ด้วยวิธีง่าย ๆดังนี้

  • หลีกเลี่ยงการฟังเสียงดัง การใส่หูฟังนาน ๆ หากต้องอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีเสียงดังควรใส่อุปกรณ์ป้องกันเสียง
  • หลีกเลี่ยงการแคะหู ระวังไม่ให้น้ำเข้าหู หรือทำกิจกรรมที่ทำให้เกิดการกระแทกที่ศีรษะหรือหู
  • หลีกเลี่ยงการใช้ยาบางชนิดที่อาจเป็นพิษต่อหูชั้นใน
  • หากมีการติดเชื้อที่หูควรรีบรักษา

กิจวัตรประจำวันหลายอย่างอาจทำให้เราเสี่ยงต่อการเกิดหูอื้อได้ง่าย แต่หากลดปัจจัยเสี่ยงดังกล่าว และรีบพบแพทย์เมื่อมีภาวะผิดปกติจะช่วยให้ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีก่อนที่จะเกิดอันตรายจนถึงขั้นสูญเสียการได้ยินไปตลอดกาล

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก เดลินิวส์

ปชช.สองแผ่นดิน ริมน้ำสาละวิน ร่วมปลูกป่าสันติภาพ สร้างพรหมแดนสีเขียว เป็นแนวกันชนไฟป่าอย่างยั่งยืน

8 นาทีที่แล้ว

อบจ.กำแพงเพชร จัดซื้อเครื่องจักรเพิ่มศักยภาพพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน

14 นาทีที่แล้ว

จากนี้พี่คือแม่ของหนู! ‘แอนชิลี’ เผ็ดซี้ดเกินต้านไหว อวดลุคบิกินีไฟลุกสะกดหัวใจ

17 นาทีที่แล้ว

‘สุดารัตน์’ เอาใจช่วยทีมไทยแลนด์ เจรจารักษาผลประโยชน์ประเทศ

33 นาทีที่แล้ว

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความการเมืองอื่น ๆ

“คุณหญิงสุดารัตน์” ลุยจตุจักร หลังผู้ค้าร้องเรียนปัญหาค่าแผง-ค่าเช่าพุ่งสูง ชี้ ห้องน้ำปิดปรับปรุงมานานนับ 5 เดือน

THE ROOM 44 CHANNEL

คลิปไม่สะเทือน! กกต.ไม่รับคำร้องแพทองธาร - ลั่นช่วยหาเสียงได้ปกติ

มุมข่าว

“อนุสรณ์” ชี้ เลือกตั้งซ่อม สส.เขต 5 จ.ศรีสะเกษ เพื่อไทยโอกาสสูงป้องกันแชมป์ได้

สยามรัฐ

“เผ่าภูมิ” เดินสาย “หวยเกษียณ-หัวลำโพง”

INN News

‘ศศิกานต์’ ยัน ’พีระพันธุ์‘ พร้อมชี้แจงข้อกล่าวหา คดีถุงยังชีพ ลั่น ไม่ได้ทำผิด

Khaosod

'สุดารัตน์' ลุย ตลาดนัดจตุจักร แฉทุจริต-เอื้อเอกชน ค่าเช่าพุ่ง

กรุงเทพธุรกิจ

ข่าวและบทความยอดนิยม

ทั่วไทยฝนลดเว้น กทม. ฉ่ำร้อยละ 70 เตือน 6 จว. ระวังน้ำท่วมฉับพลัน-น้ำป่าหลาก

เดลินิวส์

เดลินิวส์ 19 ก.ค. 68สงฆ์ใหญ่กว่าเหยื่อกอล์ฟ เต่าฮึ่มเชือด มั่วเมถุน-โกงหลายร้อยล.

เดลินิวส์

เกษียณมี 4 ล้าน พอจริงไหม? เมื่อไม่มีเงินเดือนแต่ยังมีรายจ่ายทุกวัน

เดลินิวส์
ดูเพิ่ม