นักวิทย์ทึ่ง! ค้นพบโปรตีนในฟันสัตว์ดึกดำบรรพ์ อายุกว่า 24 ล้านปี
นักวิทยาศาสตร์ได้ทำการสกัดและถอดรหัสโปรตีนที่บรรจุในชั้นเคลือบฟัน (ชั้นนอกสุดของฟัน) ของซากสัตว์โบราณ อาทิ แรดโบราณ ช้าง และฮิปโปโปเตมัส ซึ่งมีอายุอยู่ระหว่าง 21-24 ล้านปี โดยตัวอย่างชิ้นฟอสซิลเหล่านี้มาจากบริเวณแคนาดาและเคนยาซึ่งอยู่ในเขตแอ่งเทอร์คานา ทางตะวันออกของทวีปแอฟริกา ซึ่งเป็นบริเวณที่อุดมไปด้วยซากสัตว์ยุคโบราณหลายยุค ตั้งแต่ยุคโอลิโกซีน มาจนถึงยุคไพลสโตซีน
การค้นพบครั้งนี้ถือเป็นก้าวสำคัญของวงการการศึกษาโปรตีน หรือ Paleoproteomics โดยเฉพาะการค้นพบโปรตีนจากซากที่มีอายุมากถึง 24 ล้านปี ซึ่งเป็นอายุที่มากกว่าการค้นพบก่อนหน้านี้ในระดับหลายเท่าตัว
โดยในแคนาดา เคยพบเศษโปรตีนจากแรดโบราณในบริเวณ Haughton Crater ที่มีอายุ 21-24 ล้านปี ส่วนในเคนยา นักวิจัยสามารถสกัดและวิเคราะห์โปรตีนจากชั้นเคลือบฟันที่มีอายุสูงสุดราว 18 ล้านปี จากฟอสซิลของช้างฝรั่งเศสโบราณและแรดโบราณอีกหลายชนิด
โปรตีนที่ถูกค้นพบ สามารถอยู่ในสภาพภูมิประเทศที่แตกต่างกันแบบสุดขั้ว ทั้งเขตหนาวของแคนาดา และภูมิอากาศร้อนบริเวณ Rift Valley ของเคนยา ซึ่งแสดงให้เห็นว่าชั้นเคลือบฟัน ซึ่งเป็นโครงสร้างที่แข็งแกร่งที่สุดในร่างกายสัตว์ สามารถปกป้องโปรตีนภายในให้อยู่ได้นานหลายล้านปีได้อย่างไม่คาดคิด
นักวิจัยจากสถาบันและพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติสมิธโซเนียน มหาวิทยาลัยฮาวาร์ด และ สถาบันโกลบแห่งมหาวิทยาลัยโคเปนเฮเกน กล่าวว่า ความทนทานของโปรตีนภายในชั้นเคลือบฟัน เปิดทางให้ใช้ข้อมูลโมเลกุลเหล่านี้ในการศึกษาวิวัฒนาการของสัตว์ ซึ่งก่อนหน้านี้อาศัยหลักฐานเพียงจาก DNA ที่เสียหายได้ง่ายและแทบไม่เคยพบจากซากที่เก่าเกินกว่า 2 ล้านปีเท่านั้น
ความสำคัญของการค้นพบนี้ไม่เพียงแต่ทำให้นักวิทยาศาสตร์สามารถนำข้อมูลโปรตีนโบราณมาใช้วิเคราะห์เพื่อสร้างแผนผังวิวัฒนาการของสัตว์ที่สูญพันธุ์ไปแล้วเท่านั้น แต่ยังช่วยแก้ข้อสงสัยเกี่ยวกับสายวิวัฒนาการในกลุ่มแรดและช้างโบราณ และอาจขยายผลไปถึงสัตว์ยุคก่อนมนุษย์หรือแม้แต่ไดโนเสาร์ ก็สามารถมีร่องรอยโปรตีนที่เก็บไว้ในฟอสซิลได้ในอนาคต
อย่างไรก็ตาม นักวิจัยบางคนยังแสดงความระมัดระวังต่อผลลัพธ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากตัวอย่างฟอสซิลในภูมิอากาศร้อนอย่างเคนยา ซึ่งท้าทายต่อการอนุมานว่าโปรตีนสามารถอยู่รอดในระยะเวลายาวนานถึง 18 ล้านปีได้จริง แม้ทีมวิจัยจะยืนยันความแม่นยำของกระบวนการสกัดและตรวจวัด
ทั้งนี้ ผลการศึกษาทั้งสองฉบับได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร Nature เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2025 โดยนักวิจัยระบุว่านี่คือการเปิดศักราชใหม่ให้กับสาขา Paleoproteomics ซึ่งอาจช่วยให้มนุษย์สามารถติดตามสายวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตย้อนหลังหลายสิบล้านปีได้อย่างชัดเจนกว่าที่เคยเป็นมา
ที่มา: Reuters
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
"โป๊ปเลโอที่ 14" ภาวนาให้กับผู้ได้รับผลกระทบ เหตุปะทะชายแดนไทย-กัมพูชา
รู้หรือไม่? ฉลามจะ “ช็อกตัวแข็ง” เมื่อถูกพลิกหงายท้อง เกิดจากอะไร?
“โคคา-โคล่า” เตรียมเปิดตัวโค้กเวอร์ชันใหม่ในสหรัฐฯ ใช้ “น้ำตาลอ้อย”
อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ : นักวิทย์ทึ่ง! ค้นพบโปรตีนในฟันสัตว์ดึกดำบรรพ์ อายุกว่า 24 ล้านปี
ติดตามข่าวล่าสุดได้ทุกวัน ที่นี่
- Website : https://www.pptvhd36.com