โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

การเมือง

เปิดประวัติ “สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ” รักษาการนายกฯ หลัง แพทองธาร หยุดปฏิบัติหน้าที่

Thaiger

อัพเดต 1 กรกฎาคม 2568 เวลา 21.22 น. • เผยแพร่ 5 ชั่วโมงที่ผ่านมา • Thaiger ข่าวไทย

ส่องประวัติ ‘อ๊อฟ สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ’ รักษาการนายกรัฐมนตรีคนใหม่ หลัง นางสาวแพทองธาร หยุดปฏิบัติหน้าที่ ปมคลิปเสียงคุยสมเด็จฯ ฮุนเซน โปรไฟล์ไม่ธรรมดา

วันนี้ (1 กรกฎาคม 2568) หลังจากที่องค์คณะตุลาการ ศาลรัฐธรรมนูญ ได้มีมติรับคำร้องของกลุ่มสมาชิกวุฒิสภา (สว.) 7 ต่อ 2 มีคำสั่งสำคัญให้ น.ส.แพทองธาร ชินวัตร หยุดปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรี โดยให้มีผลทันที จากกรณีคลิปเสียงสนทนาระหว่าง สมเด็จฯ ฮุน เซน และ น.ส.แพทองธาร ที่กลุ่ม สว. ผู้ร้องมองว่ามีการพาดพิงและด้อยค่ากองทัพ ทั้งยังขัดต่อรัฐธรรมนูญและเข้าข่ายฝ่าฝืนมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง

ด้วยเหตุนี้เอง ‘นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ’ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.คมนาคม จากพรรคเพื่อไทย ต้องขึ้นดำรงตำแหน่ง ‘รักษาการนายกรัฐมนตรี’ ตามมาตรา 158 ของรัฐธรรมนูญ ทางทีมงานเดอะไทยเกอร์จึงขอพาย้อนเส้นทางชีวิตของเขากันว่ามีประวัติและผลงานอันเป็นที่ประจักษ์ในเวทีการเมืองอย่างไรบ้าง

รู้จัก ‘สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ’ รักษาการนายกฯ

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ หรือชื่อเล่น อ๊อฟ เกิดเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2497 ที่กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรของนายอาฮง แซ่จึง และ นางม้วยเซียง มีพี่น้อง 5 คน คือ 1. นายสรรเสริญ จุฬางกูร 2. นายพัฒนา จึงรุ่งเรืองกิจ(เสียชีวิต) 3. นายโกมล จึงรุ่งเรืองกิจ 4. นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ 5. น.ส.อริสดา จึงรุ่งเรืองกิจ ทำให้สุริยะถือว่ามีศักดิ์เป็นอาของธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ (เป็นลูกของนายพัฒนา) และลุงของพงศ์กวิน จึงรุ่งเรืองกิจ ที่ปรึกษารวค. (ลูกของนายโกมล) อีกด้วย

แต่ด้วยความเห็นทางการเมืองต่างกันตั้งแต่สมัยธนาธรยังเป็นนักศึกษา เพราะเจ้าตัวไม่เห็นด้วยกับโครงการท่อส่งก๊าซไทย-มาเลย์ เป็นอย่างมากเพราะจะทำให้ประเทศไทยเสียผลประโยชน์อย่างมหาศาล นำไปสู่ความขัดแย้งกับสุริยะ ซึ่งเป็นรัฐมนตรีในรัฐบาลดร.ทักษิณ ชินวัตร ขณะนั้น ส่วนด้านความสัมพันธ์กับพงศ์กวิน ถือว่าเรียบง่ายไม่มีความขัดแย้งอะไร เพราะร่วมงานกับลุงสุริยะครั้งตั้งแต่ยังอยู่พรรคพลังประชารัฐ ก่อนย้ายตามเจ้าตัวไปที่พรรคเพื่อไทย

ภาพจาก : สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ – Suriya Jungrungruangkit

ด้านการศึกษา อ๊อฟจบการเรียนระดับมัธยมที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา และเข้าศึกษาต่อที่คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ก่อนที่จะเจอผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมืองในเวลานั้น ทำให้ตัดสินใจไปศึกษาต่อที่ต่างประเทศแทน จนสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี วิศวกรรมอุตสาหการ จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ ประเทศสหรัฐอเมริกา ในปี พ.ศ.2521 อีกทั้งยังสำเร็จการศึกษาวุฒิปริญญาบัตรในปี 2538 ที่วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.) อีกด้วย

ส่วนชีวิตสมรส นายสุริยะได้แต่งงานกับนางสุริสา จึงรุ่งเรืองกิจ มีบุตรชายด้วยกัน 1 คน คือ นายศาตนันท์ จึงรุ่งเรืองกิจ

ย้อนเส้นทางการเมือง 25 ปี เข้าร่วม 4 พรรค 3 สี

สุริยะเข้าสู่ชีวิตทางการเมืองมีตำแหน่งทางการเมืองครั้งแรก คือ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในสมัยรัฐบาลชวน หลีกภัย ปี พ.ศ. 2541 ในโควตาพรรคกิจสังคม ซึ่งการก้าวสู่เส้นทางทางการเมืองได้รับการเชื่อถือจากนายมนตรี พงษ์พานิช หัวหน้าพรรคกิจสังคม ซึ่งนายสุริยะได้เป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีหลายกระทรวงในช่วงที่นายสมศักดิ์ เทพสุทินดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี

ต่อมาในการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2544 นายสุริยะได้เข้าร่วมสังกัดพรรคไทยรักไทย ที่มี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นหัวหน้าพรรค โดยนายสุริยะเป็นสมาชิกผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 12 และได้เลื่อนขั้นตำแหน่งภายในพรรคฯสู่เลขาธิการแทน ร.ต.อ.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ นอกจากนี้ ในช่วงที่เคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมในรัฐบาลนี้ สุริยะ เคยถูกตรวจสอบกรณีทุจริตเครื่องตรวจสัมภาระภายในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ หรือ CTX9000 แต่ท้ายที่สุด คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช. ได้มีมติเอกฉันท์ยกคำร้องเนื่องจากมีพยานหลักฐานไม่เพียงพอ

ภาพจาก : สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ – Suriya Jungrungruangkit

กระทั่งถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยซึ่งถูกยุบในคดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2549 (ไทยรักไทย) หลังจากนั้นได้เข้าร่วมแถลงข่าวเปิดตัวพรรคภูมิใจไทยในปี 2552 และคืนสังเวียนเต็มตัวในฐานะหัวหน้ากลุ่มสามมิตร กลุ่มการเมืองของบุคคลระดับแกนนำที่มีอักษรหน้าชื่อขึ้นต้นด้วย ส. ประกอบด้วย นายสมศักดิ์ เทพสุทิน นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ และนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์

เวลาผ่านไป สุริยะและกลุ่มสามมิตรได้ประกาศร่วมงานกับพรรคพลังประชารัฐในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2562 โดยมีเจ้าตัวนั่งแท่นตำแหน่งรองหัวหน้าพรรคฯ ตั้งแต่ปี 63 จนถึงปี 65 และได้รับเลือกเป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในยุครัฐบาลประยุทธ์ ก่อนตัดสินใจย้ายไปอยู่พรรคเพื่อไทย สำหรับการเลือกตั้งปี 66 ที่จะถึงในเวลานั้น

ถึงแม้บทบาทในยุครัฐบาลเศรษฐาจะแสนสั้น แต่เจ้าตัวก็ควบหลายตำแหน่ง เช่น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และรองนายกรัฐมนตรีอีกด้วย

ภาพจาก : สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ – Suriya Jungrungruangkit

ผลงาน-ตำแหน่งที่เคยได้รับ

  • รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงอุตสาหกรรม (พรรคไทยรักไทย, รัฐบาลทักษิณ 2) (พรรคพลังประชารัฐ,รัฐบาลประยุทธ์ 2)
  • รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงคมนาคม (พรรคไทยรักไทย, รัฐบาลทักษิณ 2)
  • เลขาธิการพรรค พรรคไทยรักไทย
  • พ.ศ. 2544 – พ.ศ. 2545 – รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงอุตสาหกรรม (ส.ส. บัญชีรายชื่อลำดับที่ 12 พรรคไทยรักไทย, รัฐบาลทักษิณ 1)
  • พ.ศ. 2541 – รัฐมนตรีช่วยว่าการ กระทรวงอุตสาหกรรม (พรรคกิจสังคม, รัฐบาลชวน 2)
  • ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการ กระทรวงอุตสาหกรรม
  • ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการ กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม
  • ที่ปรึกษารัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
  • ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  • ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการ กระทรวงพาณิชย์
  • กรรมการ การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ปตท.)
  • กรรมการ บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด
  • ประธานกรรมการ บริษัท ซัมมิทอิเล็กทรอนิกส์ คอมโพเนนท์ จำกัด
  • ประธานกรรมการ บริษัท ซัมมิท แอดวานซ์ แมททีเรียล จำกัด
  • กรรมการผู้จัดการ บริษัท โอโดซีพ อินดัสตรี จำกัด
  • กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซัมมิท โอโตบอดี้ อินดัสตรี จำกัด
  • กรรมการบริหาร บริษัท ซัมมิท ไพน์เฮิร์สท กอล์ฟ แอนด์ คันทรีคลับ จำกัด
  • ประธานกรรมการยุทธศาสตร์การเลือกตั้ง พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่เคยได้รับ

  • พ.ศ. 2545 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)
  • พ.ศ. 2544 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)
  • พ.ศ. 2516 – เหรียญสนองเสรีชน (ส.ส.ช.)
ภาพจาก : สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ – Suriya Jungrungruangkit

ล่าสุด องค์คณะตุลาการ ศาลรัฐธรรมนูญ มีมติพิจารณาคำร้องของกลุ่มสมาชิกวุฒิสภา (สว.) โดยเสียงข้างมาก 7 ต่อ 2 มีคำสั่งสำคัญให้ น.ส.แพทองธาร ชินวัตร หยุดปฏิบัติหน้าที่ นายกรัฐมนตรี โดยให้มีผลทันทีตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2568 เป็นต้นไปจนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำวินิจฉัย แจ้งให้ผู้ร้องและผู้ถูกร้องทราบ ส่งผลให้นาย ‘นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ’ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.คมนาคม จากพรรคเพื่อไทย ต้นขึ้นรักษาการเก้าอี้นายกฯ ตามมาตรา 158 ของรัฐธรรมนูญ

อ่านข่าวทีเกี่ยวข้อง

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก Thaiger

เที่ยวไทยคนละครึ่ง จ่ายเงินก่อน ได้สิทธิก่อน ไม่ต้องแย่งลงทะเบียน

43 นาทีที่แล้ว

สุดซึ้ง สามเณรีเจนี่ โพสต์ข้อความถึงลูกสาว น้องโนล่า ลั่น แม่บวชเพื่อรักโลก

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

สามเณรี คือใคร เส้นทางนักบวชหญิง ทำไมยากกว่าผู้ชาย ต้องถือศีลกี่ข้อ

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

กัณวีร์ ย้อน “แพทองธาร” ถ้ายุบสภาแต่แรก คงไม่โดนหยุดปฏิบัติหน้าที่

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความการเมืองอื่น ๆ

พรรคการเมืองแอบหลังเด็ก ท่องจำแต่เกลียดรัฐประหาร แต่กลับรับได้กับรัฐบาลไร้ฝีมือที่ส่อทำไทยเสียดินแดน

THE STATES TIMES

เปิดเหตุผล "เสียงข้างน้อย" ตุลาการศาลรธน. เห็นควรให้ "แพทองธาร" หยุดปฏิบัติหน้าที่ เฉพาะ "นายกฯ" เหมือนกรณี "ทวี สอดส่อง"

สยามรัฐ

"สุชาติ"ไม่น้อยใจปรับ"ครม."อยู่ที่เดิม ลั่นไม่ได้มาทำเพื่อตัวเอง แต่เพื่อให้รัฐบาลเดินหน้า

ข่าวเวิร์คพอยท์ 23

ชูวิทย์ มอง นายกฯตระกูลชิน สะดุดขาตัวเองล้มทุกครั้ง

ข่าวช่อง8

รวมพลังแผ่นดินฯ แถลงชัดลั่นจุดยืนไม่เอารัฐประหาร-อุ๊งอิ๊ง นัดชุมนุมใหญ่กลาง สิงหา.

ไทยโพสต์

มติก.ต.เห็นชอบ “อดิศักดิ์ ตันติวงศ์” เป็นประธานศาลฎีกาคนใหม่

ฐานเศรษฐกิจ

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...
Loading...
Loading...