โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

ชัวร์ก่อนแชร์ : ผลิตภัณฑ์เสริมสมรรถภาพทางเพศ จริงหรือ ?

ชัวร์ก่อนแชร์

อัพเดต 21 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 1 วันที่แล้ว • สำนักข่าวไทย อสมท

24 กรกฎาคม 2568

** เนื้อหานี้นำเสนอข้อเท็จจริงตามกรอบมาตรฐานของศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์โดยได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) **

ตามที่มีการแชร์ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่อ้างว่า เป็นอาหารเสริมผู้ชาย บำรุงร่างกาย กินแล้วช่วยเสริมสมรรถภาพทางเพศนั้น

บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์

ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ นายแพทย์สุรโชค ต่างวิวัฒน์ เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (สัมภาษณ์เมื่อ 7 กรกฎาคม 2568)

อาหารเสริมสมรรถภาพชาย อย่าหลงเชื่อคำโฆษณา ก่อนจะเสียทั้งเงินและชีวิต

“แข็ง อึด ทน” “คืนความหนุ่มใน 7 วัน” คงเป็นคำโฆษณาที่เราเห็นกันจนชินตาบนโลกออนไลน์ สำหรับผลิตภัณฑ์ที่อ้างว่าเป็น “อาหารเสริมสมรรถภาพทางเพศ” ซึ่งมักจะมาพร้อมกับรีวิวสุดอลังการและคำอวดอ้างที่ชวนให้เคลิบเคลิ้ม แต่เบื้องหลังคำโฆษณาเหล่านั้น คือความจริงที่น่ากลัวและอันตรายถึงชีวิตที่ผู้ชายทุกคนต้องรู้

ความจริงที่ต้องรู้ อาหารเสริม “รักษา” ไม่ได้

นายแพทย์สุรโชค ต่างวิวัฒน์ เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา ได้ออกมายืนยันอย่างหนักแน่นและชัดเจนว่า ปัจจุบันยังไม่มีผลิตภัณฑ์เสริมอาหารหรือสมุนไพรใด ๆ ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนว่าสามารถรักษาหรือแก้ไขภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศได้

หน้าที่ของ “อาหารเสริม” คือการให้สารอาหารที่อาจจำเป็นต่อร่างกายเท่านั้น ไม่ได้มีฤทธิ์ทางยาที่จะไป “รักษา” หรือ “แก้ไข” การทำงานที่ผิดปกติของระบบต่าง ๆ ในร่างกายได้ ดังนั้น หากคุณเห็นโฆษณาผลิตภัณฑ์เสริมอาหารใด ๆ ที่อ้างสรรพคุณในลักษณะนี้ ขอให้ตั้งธงในใจไว้ก่อนเลยว่า “น่าสงสัยและอาจเป็นอันตราย”

อันตรายที่ซ่อนอยู่ การลักลอบผสม “ยา”

แล้วทำไมบางคนถึงบอกว่ากินแล้ว “ได้ผลจริง”? คำตอบที่น่าตกใจก็คือ ผลิตภัณฑ์เหล่านั้นมักมีการลักลอบผสม “ยา” ที่ใช้รักษาภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศเข้าไป ซึ่งยาเหล่านี้คือยาอันตรายที่ต้องสั่งจ่ายโดยแพทย์เท่านั้น

ยาในกลุ่มนี้มีฤทธิ์ในการขยายหลอดเลือดทั่วร่างกาย ไม่ใช่แค่เฉพาะที่อวัยวะเพศ การซื้อมารับประทานเองโดยไม่ผ่านการวินิจฉัยจากแพทย์จึงอันตรายอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ, โรคเบาหวาน, หรือความดันโลหิตสูง การใช้ยาโดยไม่ระมัดระวังอาจทำให้เกิดปฏิกิริยากับยาที่ทานอยู่เดิมจนความดันตกอย่างรุนแรง, หัวใจวาย, หรือเสียชีวิตได้ในที่สุด

ทางออกที่ถูกต้องและปลอดภัย

ภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศเป็นเรื่องที่สามารถเกิดขึ้นได้ และที่สำคัญคือ “สามารถรักษาได้” แต่ต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น

  • ปรึกษาแพทย์ : คือขั้นตอนแรกและสำคัญที่สุด แพทย์จะทำการซักประวัติ ตรวจร่างกาย และวินิจฉัยหาสาเหตุที่แท้จริง ซึ่งอาจมาจากปัจจัยทางร่างกายหรือจิตใจ
  • รับการรักษาที่ถูกต้อง : แพทย์จะพิจารณาแนวทางการรักษาที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคล ซึ่งอาจเป็นการใช้ยา, การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม, หรือการรักษาด้วยวิธีอื่น ๆ
  • ยาต้องสั่งโดยแพทย์เท่านั้น : ยาที่ใช้รักษาภาวะนี้เป็นยาควบคุมพิเศษ ไม่สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป ต้องใช้ใบสั่งยาจากแพทย์เท่านั้น

การหลงเชื่อโฆษณาและซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ไม่มีคุณภาพมากินเอง ไม่เพียงแต่จะไม่ช่วยแก้ปัญหา แต่ยังเป็นการนำชีวิตไปเสี่ยงกับอันตรายโดยไม่จำเป็น อย่าให้ความอายหรือความเข้าใจผิดมาบดบังการรักษาที่ถูกต้องและปลอดภัยนะคะ

ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

เรียบเรียงโดย : ชยานิษฐ์ ผ่องใส

ดูเพิ่มเติมรายการ ชัวร์ก่อนแชร์ : ผลิตภัณฑ์เสริมสมรรถภาพทางเพศ จริงหรือ ?

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก ชัวร์ก่อนแชร์

ชัวร์ก่อนแชร์: การสักลาย เสี่ยงมะเร็ง จริงหรือ?

8 ชั่วโมงที่ผ่านมา

ชัวร์ก่อนแชร์ : เป็น “ไข้ทับระดูห้ามฉีดยา” เพราะอาจถึงตายได้ จริงหรือ ?

1 วันที่แล้ว

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความทั่วไปอื่น ๆ

รมว.ท่องเที่ยวฯ เยี่ยมให้กำลังใจผู้อพยพที่บุรีรัมย์

สำนักข่าวไทย Online

ผู้เข้าร่วมงานประชุมสื่อ-คลังสมอง SCO สัมผัสหลากวัฒนธรรมจีน

Xinhua

“วราวุธ” ขอบคุณทุกไลค์ ชี้ทุกคำพูดออกมาจากใจ

สำนักข่าวไทย Online

รู้จัก “โรคสมองเสื่อมส่วนหน้า” โรคหายากที่เปลี่ยนพฤติกรรม-ภาษา

ThaiNews - ไทยนิวส์ออนไลน์

กรมบัญชีกลาง เพิ่มวงเงินทดลองราชการ จังหวัดละ 100 ล้านบาท รับปัญหาชายแดนกัมพูชา

ฐานเศรษฐกิจ

รฟม. แจ้งปิดเบี่ยงการจราจร ถนนเทียมร่วมมิตร จุดกลับรถปั๊มน้ำมันบางจาก 1-12 ส.ค. 68 เวลา 22.00 น.-05.00 น.

สวพ.FM91

8 อาหารยอดฮิตที่กินแล้วง่วงนอน ทำให้ร่างกายเข้าสู่โหมดพักผ่อน

ThaiNews - ไทยนิวส์ออนไลน์

76 ปี ‘ทักษิณ ชินวัตร’ 6 รอบชีวิต 3 ทศวรรษการเมืองไทย

THE STANDARD

ข่าวและบทความยอดนิยม

ชัวร์ก่อนแชร์ Motor Check :  เตือน ! ห้ามใช้ตัวหลอกเข็มขัดนิรภัย อันตราย จริงหรือ ?

ชัวร์ก่อนแชร์

ชัวร์ก่อนแชร์ : 6 ผลเสียที่ควรรู้ก่อนดื่ม “ชามัทฉะ” จริงหรือ ?

ชัวร์ก่อนแชร์

ชัวร์ก่อนแชร์ KEYWORD : GHOST FLEXING — อยู่ ๆ ก็หาย แล้วกลับมาเฉิดฉายเกินคาดซะงั้น !

ชัวร์ก่อนแชร์
ดูเพิ่ม
Loading...