โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

หุ้น การลงทุน

ประชุม “OIC Meets CEO 2025”เข้ม เซ็ทมาตรฐานขั้นต่ำนโยบาย ESG ปรับปรุง Early Warning System : EWS ยกระดับกำกับคนกลางทั้งข้อสอบและเนื้อหาหลักสูตรตัวแทนนายหน้า

สยามรัฐ

อัพเดต 3 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 4 ชั่วโมงที่ผ่านมา

สำนักงาน คปภ. และภาคธุรกิจประกันภัย ร่วมประชุม “OIC Meets CEO 2025” ครั้งที่ 2/2568
ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมประกันภัยไทยสู่อนาคตที่ยั่งยืน

เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2568 สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (สำนักงาน คปภ.) จัดการประชุมผู้บริหารระดับสูงด้านการประกันภัย “OIC Meets CEO 2025” ครั้งที่ 2/2568 โดยนายชูฉัตร ประมูลผล เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (เลขาธิการ คปภ.) เป็นประธานการประชุม ร่วมกับ นายสาระ ลํ่าซำ ประธานสภาธุรกิจประกันภัยไทย นางนุสรา (อัสสกุล) บัญญัติปิยพจน์ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย ดร.สมพร สืบถวิลกุล นายกสมาคมประกันวินาศภัยไทย พร้อมด้วย ผู้บริหารสำนักงาน คปภ. ผู้บริหารสมาคมประกันชีวิตไทย ผู้บริหารสมาคมประกันวินาศภัยไทย และผู้บริหารบริษัทประกันภัยเข้าร่วม ณ ห้องชัยพฤกษ์ 2 หอประชุมกองทัพอากาศ (ทองใหญ่) กรุงเทพมหานคร

สำหรับการประชุมประจำปี 2568 ครั้งนี้ จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 2 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเวทีหารือเชิงนโยบายระหว่าง สำนักงาน คปภ. กับผู้บริหารบริษัทประกันภัยระดับสูง ในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมประกันภัยไทยสู่ความมั่นคง ยั่งยืน ทันสมัย และสอดรับกับบริบททางเศรษฐกิจและสังคมที่ปรับเปลี่ยนอย่างรวดเร็ว โดยในการประชุมดังกล่าว ได้มีการหารือในวาระที่สำคัญ 7 หมวดหลัก ประกอบด้วย
1. การกำกับดูแลความมั่นคงของธุรกิจประกันภัย ที่ประชุมได้ติดตามความคืบหน้าการดำเนินโครงการศึกษาเพื่อทบทวนประกาศสำนักงาน คปภ. ว่าด้วยการลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทประกันภัย และแนวทางการกำกับดูแลการลงทุนให้มีความรอบคอบและสอดคล้องกับสถานการณ์ความเสี่ยงในปัจจุบัน พร้อมทั้งพิจารณาการปรับหลักเกณฑ์การดำรงเงินกองทุนตามระดับความเสี่ยงของบริษัทประกันภัย ตลอดจนแนวทางการกำกับบริษัทประกันภัยแบบรวมกลุ่ม (Group-Wide Supervision) เพื่อให้การกำกับดูแลครอบคลุมทั้งในระดับบริษัทและระดับกลุ่มธุรกิจ นอกจากนี้ ยังมีการพัฒนาเกณฑ์การคำนวณสำรองประกันภัยให้มีความเหมาะสมกับลักษณะความเสี่ยงของธุรกิจ การยกระดับมาตรฐานการกำกับดูแลฐานะการเงินและความมั่นคงของบริษัทประกันวินาศภัยและประกันชีวิตตามหลักเกณฑ์ใหม่ รวมถึงการส่งเสริมให้การกำกับดูแลบริษัทประกันภัยมีความเข้มแข็งโดยใช้กลไกทางกฎหมาย และการกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำในการจัดทำนโยบายด้าน ESG การเปิดเผยข้อมูลด้าน ESG ของบริษัทประกันภัยต่อสาธารณชนอย่างโปร่งใส การติดตามผลการบังคับใช้แนวนโยบายที่เกี่ยวกับการระบุชื่อผู้ขับขี่ในกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ไฟฟ้า และการขอความร่วมมือในการอ้างอิงเอกสารประกอบการคำนวณระดับแอลกอฮอล์ย้อนหลังในชั้นศาล เพื่อประกอบกระบวนการพิจารณาอนุญาโตตุลาการให้เป็นไปอย่างรอบด้านและเป็นธรรม

2. ผลการบังคับใช้มาตรฐานรายงานทางการเงิน โดยรายงานความคืบหน้าการบังคับใช้มาตรฐานรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 17 เรื่อง สัญญาประกันภัย ซึ่งจะส่งผลโดยตรงต่อการจัดทำรายงานของบริษัทประกันภัย และสรุปผลการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงมาตรฐานการรายงานทางการเงินจากข้อมูลประจำไตรมาส 1/2568 และแนวทางการกำกับและติดตาม ธุรกิจประกันภัยของสำนักงาน อาทิเช่น การปรับปรุงหลักเกณฑ์และค่ามาตรฐานการจัดกลุ่มตามระบบสัญญาณเตือนภัยล่วงหน้า (Early Warning System : EWS) ในอนาคต รวมถึงการปรับปรุงหลักเกณฑ์ในการอนุมัติอนุญาตต่าง ๆ

3. การใช้ประโยชน์จากข้อมูลในอุตสาหกรรมประกันภัย เพื่อทราบรายละเอียดเกี่ยวกับแพลตฟอร์มเชื่อมโยงข้อมูลสุขภาพของคนไทย (Health Link) และเพื่อขับเคลื่อนการใช้ประโยชน์จากระบบดังกล่าวอย่างเต็มที่ โดยสำนักงาน คปภ. พร้อมทำหน้าที่เป็นหน่วยงานกลางในการประสานความร่วมมือระหว่างสมาคมประกันชีวิตไทย สมาคมประกันวินาศภัยไทย และสถาบันข้อมูลขนาดใหญ่ (องค์การมหาชน) (Big Data Institute : BDI) โดยจะร่วมกันหารือเชิงลึกในประเด็นสำคัญ อาทิ โอกาสในการใช้ประโยชน์จากข้อมูลในแพลตฟอร์ม Health Link ในมิติต่าง ๆ โดยที่ประชุมมีความคิดเห็นเกี่ยวกับความเพียงพอของชุดข้อมูลที่มีอยู่ รวมถึงประเภทข้อมูลสุขภาพที่ภาคธุรกิจประกันภัยต้องการเพิ่มเติม การกำหนดแนวทางเชื่อมโยงและพัฒนาการใช้ข้อมูลให้เกิดประโยชน์สูงสุด ตลอดจนการขอความร่วมมือจากภาคธุรกิจประกันภัยในการสนับสนุนให้โรงพยาบาลเอกชนเข้าร่วมการเชื่อมโยงข้อมูล เพื่อให้ข้อมูลสุขภาพของผู้เอาประกันภัยมีความครอบคลุมมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ ในส่วนของอัตราค่าบริการในการขอข้อมูล สามารถพิจารณาและหารือร่วมกันระหว่าง BDI กับภาคธุรกิจประกันภัยในลำดับถัดไป

4. การกำกับดูแลเรื่องการฉ้อฉลประกันภัย อาทิ การกำหนดตัวตรวจจับพฤติกรรมการฉ้อฉลประกันภัยจากระบบรายงานการฉ้อฉลของสำนักงาน คปภ. การบริหารความเสี่ยงของบริษัทประกันภัย กรณีตัวแทนประกันภัยหรือนายหน้าประกันภัยในสังกัดมี สถานะความเสี่ยงด้านการฉ้อฉลประกันภัยเป็นสีส้มและสีเหลือง และการเปิดเผยข้อมูลฉ้อฉลประกันภัยให้ภาคธุรกิจประกันภัย

5. การยกระดับประสิทธิภาพระบบคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ โดยที่ประชุมรับทราบแนวทางการยกระดับประสิทธิภาพของกลไกการทำงานในระบบคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ซึ่งได้ดำเนินการตามแผนที่วางไว้ และได้รับความร่วมมือจากภาคธุรกิจประกันภัยในการส่งเสริมการประกันภัยรถภาคบังคับ เพื่อให้ระบบสามารถให้ความคุ้มครองได้อย่างครอบคลุมและ มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

6. การยกระดับแนวทางการกำกับดูแลคนกลางประกันภัย สำนักงาน คปภ. ตระหนักถึงบทบาทสำคัญของ คนกลางประกันภัย จึงเร่งพัฒนามาตรฐานและกลไกกำกับดูแลให้ทันสมัย โปร่งใส และคุ้มครองผู้บริโภคอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีการดำเนินงานหลัก ดังนี้ การบริหารจัดการข้อมูลคนกลาง โดยส่งเสริมการลงทะเบียนระบบ e-Licensing เพื่อจัดทำฐานข้อมูลที่ถูกต้อง ครอบคลุม และทันสมัย พร้อมรณรงค์ให้ประชาชนตรวจสอบใบอนุญาตก่อนทำธุรกรรม การยกระดับความโปร่งใสและความเสี่ยงโดยกำชับให้บริษัทประกันภัยมีกระบวนการบริหารความเสี่ยงและควบคุมภายใน รวมถึงติดตามพฤติกรรมตัวแทนและนายหน้าอย่างใกล้ชิด ช่องทางการชำระเบี้ยประกันภัย โดยสนับสนุนการรับชำระเบี้ยประกันภัยผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อ ลดความเสี่ยงและอำนวยความสะดวกแก่ผู้เอาประกันภัย การพัฒนากฎหมายและข้อสอบ โดยดำเนินการปรับปรุงข้อสอบและเนื้อหาหลักสูตรสำหรับตัวแทนและนายหน้า โดยร่วมมือกับสมาคมภาคธุรกิจ พร้อมกำหนดแผนวิพากษ์และอนุมัติข้อสอบใหม่ในปี 2568 และมาตรฐานจรรยาบรรณและพัฒนาเครือข่ายวิชาชีพ โดยส่งเสริมให้สมาคมต่าง ๆ ร่วมพัฒนามาตรฐานจรรยาบรรณ และสนับสนุนการเข้าร่วมสมาคมตัวแทนเพื่อเสริมศักยภาพและภาพลักษณ์วิชาชีพในระยะยาว

และ 7. การพัฒนาศักยภาพบุคลากรและการสร้างความร่วมมือกับภาคธุรกิจประกันภัย โดยมีการรายงานผลโครงการพัฒนาบุคลากรประกันชีวิตแห่งชาติ (ASEAN Life Insurance Leadership Program : ALIP) และหารือยกระดับทักษะ ด้านวิทยาศาสตร์ประกันภัย รวมถึงการส่งเสริมความรู้ด้านประกันภัยผ่านการมีส่วนร่วมกับภาคธุรกิจประกันภัยในอนาคตต่อไป

สำหรับในแต่ละประเด็น มีการรายงานความคืบหน้า ข้อเสนอแนะ และแนวทางการดำเนินการเชิงรุกอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อส่งเสริมการกำกับดูแลที่เท่าทันความเสี่ยง การใช้ข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ และการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรในทุกระดับให้มีมาตรฐานเทียบเท่าระดับสากล การประชุมในครั้งนี้สำเร็จลุล่วงตามวัตถุประสงค์ โดยได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่งจากภาคธุรกิจประกันภัย นับเป็นอีกหนึ่งกลไกสำคัญที่สำนักงาน คปภ. ใช้เพื่อประสานความร่วมมือ แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น และรับฟังเสียงจากภาคธุรกิจอย่างใกล้ชิด อันจะนำไปสู่การยกระดับระบบประกันภัยไทยให้ทันสมัย โปร่งใส และเป็นเครื่องมือในการ บริหารความเสี่ยงของประเทศอย่างยั่งยืน ทั้งนี้ สำนักงาน คปภ. มีแผนจะจัดประชุม “OIC Meets CEO” ครั้งที่ 3/2568 ในช่วงปลายปี เพื่อเป็นเวทีต่อเนื่องในการติดตามผลการดำเนินงานตามแนวทางที่ได้หารือร่วมกัน และกำหนดมาตรการในอนาคตให้ครอบคลุมความท้าทายและโอกาสของอุตสาหกรรมประกันภัยในระดับประเทศต่อไป

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก สยามรัฐ

นกกระยางขาวนับแสนตัว ยึดพื้นที่เรือนจำทุ่งยั้งชั่วคราว ส่งกลิ่นเหม็นมูลนกสร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชนในพื้นที่ ม.6 ต.ทุ่งยั้ง

15 นาทีที่แล้ว

“หลิงหลิง คอง” จับไมค์ร้องเพลงประกอบซีรีส์ “เพียงเธอ Only You The Series” แรงติดเทรนด์ X อันดับ 1

20 นาทีที่แล้ว

"แพรรี่" ฟาดแซ่บ! เมื่อก่อนแค่ "สังฆทานเวียน" เดี๋ยวนี้ "สีกาเวียน" เพิ่ม

27 นาทีที่แล้ว

สมาคมแม่บ้านทหารบก สาขา มณฑลทหารบกที่ 37 ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมโครงการ "ขยะทองคำ" ค่ายเม็งรายมหาราช ชูแนวคิดสร้างมูลค่าเพิ่มจากวัสดุเหลือใช้

36 นาทีที่แล้ว

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความหุ้น การลงทุนอื่น ๆ

[Vision Exclusive] TU แนะเปิดเจรจา FTA หวังต่อรองภาษีสหรัฐ

หุ้นวิชั่น

2 บิ๊ก"อลิอันซ์ อยุธยา ประกันชีวิต"รุกจัดงานสัมมนาผู้บริหารตัวแทนประจำปี 2568

สยามรัฐ

EKH จบซื้อหุ้นคืน 342 ล้านบาท 55 ล้านหุ้น จากวงเงินไม่เกิน 400 ล้านบาท ตั้งแต่ 13ม.ค.-11ก.ค.

กรุงเทพธุรกิจ

GULF เพิ่มสัดส่วนถือหุ้น “AISBB” เป็น 50% เท่ากับ ADVANC

หุ้นวิชั่น

GULF เปิดตัว Data Center และ คลาวด์ ปี 69 หลังซื้อหุ้นเพิ่ม "เอไอเอส บรอดแบนด์" จาก ADVANC

กรุงเทพธุรกิจ

SCB 10X ลงทุนใน Pokee AI เดินหน้าขับเคลื่อนอนาคตของการทำงานอัตโนมัติด้วย AI

BTimes

‘บุรินทร์'เตือนไทยต้อง 'ปรับโครงสร้าง'รับศึกโลก เยียวยาอาจไม่ช่วย ถ้าแข่งขันไม่ได้

กรุงเทพธุรกิจ

ค่าเงินบาท ปิดวันนี้ 14 ก.ค. ที่ 32.39 บาท แข็งค่าสวนทางภูมิภาค

The Bangkok Insight

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...