โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

แอร์ไลน์ไทยตื่นหนุนใช้เชื้อเพลิงSAF ดันเป้าหมายก้าวสู่ยุคไร้มลพิษในด้านการบินที่ยั่งยืน

ไทยโพสต์

อัพเดต 1 วันที่แล้ว • เผยแพร่ 1 วันที่แล้ว

ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่ยุคใหม่ของการบินที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ด้วยการผลักดันการใช้เชื้อเพลิงอากาศยานแบบยั่งยืน หรือ SAF ที่ผลิตจากพลังงานหมุนเวียนหรือของเสีย และได้รับการรับรองมาตรฐานความยั่งยืน ซึ่งมีส่วนช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้อย่างมหาศาล สายการบินชั้นนำของไทย ไม่ว่าจะเป็นบางกอกแอร์เวย์ส ไทยเวียตเจ็ท และสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย หนุนใช้ SAF เพื่อตอบรับเป้าหมายที่ท้าทายของประเทศ การใช้ SAF อย่างน้อย 1% ของปริมาณน้ำมันที่เติมในเที่ยวบินระหว่างประเทศภายในปีนี้

บางกอกแอร์เวย์สชู Low Carbon Skies

23 ก.ค. 2568 - นายพุฒิพงศ์ ปราสาททองโอสถ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือสายการบินบางกอกแอร์เวย์ส ได้ประกาศความมุ่งมั่นในการลดปริมาณการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์จากการดำเนินธุรกิจ ภายใต้แคมเปญ "Low Carbon Skies by Bangkok Airways" โดยมีหมุดหมายสำคัญคือ การนำเชื้อเพลิง SAF มาใช้ในเที่ยวบินเชิงพาณิชย์อย่างเป็นทางการ ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2568 เป็นต้นไป

การเคลื่อนไหวครั้งนี้นับเป็นก้าวสำคัญของบางกอกแอร์เวย์ส ในการเปลี่ยนผ่านสู่อนาคตการบินที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และสอดคล้องกับเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Carbon Emissions) ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของนโยบายด้านความยั่งยืนในภาคการบิน โดยในปี 2567 ที่ผ่านมา บางกอกแอร์เวย์สได้เริ่มทดลองใช้เชื้อเพลิง SAF ในเที่ยวบินนำร่อง เส้นทาง “สมุย-กรุงเทพฯ” และในปีนี้จะขยายการใช้ SAF ในเที่ยวบินเชิงพาณิชย์จากกรุงเทพฯ (สุวรรณภูมิ) ไปยังจุดหมายปลายทางระหว่างประเทศ ได้แก่ พนมเปญ เซียมเรียบ หลวงพระบาง และมัลดีฟส์

สำหรับการใช้เชื้อเพลิง SAF ในช่วงเริ่มต้นนี้จะเป็นการผสมผสานระหว่าง SAF ในสัดส่วน 1% กับเชื้อเพลิง Jet A-1 สัดส่วน 99% ซึ่งคาดว่าจะสามารถลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้เฉลี่ยประมาณ 128 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์ต่อเที่ยวบิน สะท้อนถึงความมุ่งมั่นของบางกอกแอร์เวย์สในฐานะสายการบินชั้นนำระดับภูมิภาค ที่ไม่เพียงแต่มอบประสบการณ์การเดินทางที่น่าประทับใจ แต่ยังใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง

มุ่งสู่ ‘สายการบินยั่งยืน’ ด้วยแนวคิด ESG

นอกจากนี้ บางกอกแอร์เวย์สยังเดินหน้ามุ่งสู่เป้าหมาย "สายการบินยั่งยืน" ยึดหลักแนวคิด ESG ครอบคลุมทุกกระบวนการดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง และรับผิดชอบใน 3 ด้าน ได้แก่ สิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล โดยในด้านสิ่งแวดล้อม ให้ความสำคัญต่อการจัดการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การจัดการของเสีย การใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และพลังงานทางเลือก โดยมีการศึกษามาตรการด้านการใช้เชื้อเพลิงอากาศยานอย่างมีประสิทธิภาพให้ครอบคลุมทุกมิติ ด้วยการจัดทำรายงานคาร์บอนฟุตพรินต์ขององค์กร (ขอบเขตที่ 1-3) การเพิ่มประเภทถังคัดแยกขยะ การขยายผลการอัปไซคลิงของเสียภายในกระบวนการดำเนินธุรกิจเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณค่ากับสังคมและสิ่งแวดล้อม การส่งเสริมให้ผู้มีส่วนได้เสียมีส่วนร่วมกับบริการหรือกิจกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โครงการ Love Earth, Save Earth ปลูกมะพร้าวเพื่อเกาะสมุย ปีที่ 8 เป็นต้น

ทีจีชู SAF ลดปล่อยคาร์บอนได้สูงถึง 80%

ด้าน การบินไทย ในฐานะสายการบินชั้นนำของไทย มีความมุ่งมั่นที่จะเป็นผู้นำในการเปลี่ยนผ่านสู่อุตสาหกรรมการบินที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และการสร้างอนาคตที่ยั่งยืน ได้สนับสนุนการใช้เชื้อเพลิงอากาศยานที่ยั่งยืน SAF ก่อนหน้านี้ นายชาย เอี่ยมศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ได้ร่วมกับบริษัท ปตท.น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) (OR) นำร่องในการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง SAF ในเที่ยวบินของการบินไทย เส้นทาง ภูเก็ต-กรุงเทพฯ

การนำเชื้อเพลิง SAF มาใช้นำร่องกับเที่ยวบินของการบินไทย เพื่อแสดงถึงการตระหนักในความสำคัญของสิ่งแวดล้อม และการร่วมลงมือปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม โดยเชื้อเพลิง SAF มีอัตราการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ตลอดวงจรชีวิตน้อยกว่าเชื้อเพลิงอากาศยานโดยทั่วไป และสามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้สูงถึง 80% เมื่อเทียบกับเชื้อเพลิงโดยปกติ และยังสอดคล้องกับที่สหภาพยุโรปกำหนดสัดส่วนการผสมเชื้อเพลิง SAF ในน้ำมันอากาศยานที่จะทำการบินออกจากสนามบินในสหภาพยุโรปที่มีการเพิ่มสัดส่วนอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ การบินไทยมีความมุ่งมั่นในการรักษาสิ่งแวดล้อมเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืนในอนาคต ผ่านมาตรการเชิงรุกที่สำคัญที่จะทยอยตามมาอีกในอนาคต

เวียตเจ็ทเดินหน้าโครงการ ‘Green Route’

ขณะที่ เวียตเจ็ทไทยแลนด์ ประกาศเปิดตัวโครงการ “Green Route” อย่างเป็นทางการ เดินหน้าสู่การบินอย่างยั่งยืนด้วยการนำเชื้อเพลิงอากาศยานยั่งยืน (SAF) มาใช้บนเส้นทางบินพาณิชย์ที่ให้บริการอยู่แล้วทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ สะท้อนความมุ่งมั่นในการใส่ใจสิ่งแวดล้อมและสร้างอนาคตที่เป็นมิตรกับธรรมชาติ โดยเตรียมเริ่มใช้ SAF เพิ่มเติมในไตรมาสที่ 3 ของปี 2568 บนเส้นทาง กรุงเทพฯ (สุวรรณภูมิ)-เชียงใหม่ และกรุงเทพฯ (สุวรรณภูมิ)-ฟู้โกว๊ก (เวียดนาม)

โดย นายวรเนติ หล้าพระบาง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เวียตเจ็ทไทยแลนด์ กล่าวว่า โครงการ Green Route สะท้อนเจตนารมณ์ของเวียตเจ็ทไทยแลนด์ในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านสู่การบินอย่างยั่งยืน การนำเชื้อเพลิงอากาศยานยั่งยืนมาใช้ในการปฏิบัติการบิน ไม่เพียงเป็นความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเท่านั้น แต่ยังเป็นความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ตั้งแต่หน่วยงานภาครัฐ ผู้ผลิตเชื้อเพลิง ผู้ผลิตอากาศยาน ไปจนถึงผู้โดยสาร ที่มีบทบาทสำคัญในการร่วมผลักดันอนาคตของอุตสาหกรรมการบินสู่ความยั่งยืนอย่างแท้จริง

อย่างไรก็ตาม ในอนาคต เวียตเจ็ทไทยแลนด์มีแผนขยายการใช้เชื้อเพลิงอากาศยานยั่งยืน (SAF) บนเส้นทางบินอื่นๆ เพิ่มเติมอย่างต่อเนื่อง โดยตั้งเป้าหมายเพิ่มสัดส่วนการใช้ SAF ไม่น้อยกว่า 1% ภายในปี 2569 และเพิ่มเป็น 5% ภายในปี 2573 สอดรับกับเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของอุตสาหกรรมการบินในระดับภูมิภาคและระดับโลก

“การเปิดตัวโครงการ Green Route ในครั้งนี้ สะท้อนถึงความมุ่งมั่นอย่างต่อเนื่องของเวียตเจ็ทไทยแลนด์ในการขับเคลื่อนการพัฒนาอย่างยั่งยืน พร้อมทั้งเป็นแรงสำคัญในการส่งเสริมการเติบโตของอุตสาหกรรมการบินของไทยอย่างสมดุลในทุกมิติ ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม หรือสังคม อีกทั้งยังเสริมสร้างบทบาทของเวียตเจ็ทไทยแลนด์ในฐานะผู้นำด้านการบินอย่างยั่งยืนแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” นายวรเนติ กล่าว

CAAT ขับเคลื่อนไทยสู่ฮับ SAF อาเซียน

ด้าน พลอากาศเอกมนัท ชวนะประยูร ผู้อำนวยการสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (CAAT) ได้ตอกย้ำบทบาทของไทยในการผลักดันการใช้เชื้อเพลิงการบินที่ยั่งยืน โดยเข้าร่วมบรรยายพิเศษในหัวข้อ “Role of SAF in Aviation Transport Decarbonization” ภายในงาน SEA SAF Forum : From Waste to Wings-Thailand’s Role in Sustainable Aviation Fuel (SAF) เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2568 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กรุงเทพมหานคร โดยในการประชุมครั้งนี้จัดขึ้นภายใต้ความร่วมมือระหว่าง National Energy Technology Center (ENTEC), Deutsche Gesellschaft für Internationale Zusammenarbeit (GIZ) GmbH, หอการค้าเยอรมัน-ไทย (GTCC) และ Informa Markets-Thailand โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมบทบาทของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในการพัฒนาและผลักดันการใช้ SAF เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคการบิน

“CAAT ในฐานะหน่วยงานกำกับดูแลการบินพลเรือนของไทย ได้ร่วมแลกเปลี่ยนมุมมองและนโยบายเกี่ยวกับการสนับสนุนการใช้ SAF เพื่อยกระดับมาตรฐานความยั่งยืนของอุตสาหกรรมการบินไทย พร้อมทั้งย้ำถึงความสำคัญของการประสานความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาควิชาการ ในการผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนผ่านอย่างเป็นรูปธรรม” พลอากาศเอกมนัท กล่าว.

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก ไทยโพสต์

สรุปเหตุปะทะ 24 ก.ค. พลเรือนเสียชีวิต 13 ทหารเสียชีวิต 1 บาดเจ็บรวม 46

4 ชั่วโมงที่ผ่านมา

มีทหารไว้ทำไม

5 ชั่วโมงที่ผ่านมา

ศีลเสมอกัน?

5 ชั่วโมงที่ผ่านมา

ชายแดนยังเดือด ‘แม้ว’ ไม่วายอวดบทบาท เหน็บฮุนเซนเหมือนพระยาละแวก

5 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความธุรกิจ-เศรษฐกิจอื่น ๆ

ถอดรหัสกลยุทธ์ P&G ดัน "แพนทีน ทรีตเมนต์" บุกตลาด คาดดันยอดโต 300%

ฐานเศรษฐกิจ

ธุรกิจท่องเที่ยวอ่วม คนไทยแบกภาระหนี้สูง-ศก.ไม่ดี ทุบความเชื่อมั่นต่ำสุดในรอบปี

MATICHON ONLINE

เปิดสูตร 'คิงเพาเวอร์' ฝ่าวิกฤตสภาพคล่อง หยุดเลือดปิด 3 ดิวตี้ฟรีดาวน์ทาวน์

ฐานเศรษฐกิจ

การบินไทย นำโบอิ้ง 787-8 Dreamliner ให้บริการเส้นทางพนมเปญ 25 ก.ค.นี้

ฐานเศรษฐกิจ

ไลอ้อน ประเทศไทย เดินหน้า “Sandbox Model จังหวัดเด็กฟันดี” ส่งรถ ทันตกรรม ร่วม Kick Off โรงเรียนพญาไท

SMART SME

สุกี้ตี๋น้อย เปิดบริการ Tn Lounge สำหรับสมาชิก ฟรี! เครื่องดื่ม-ของทานเล่น

SMART SME

คลัง เปิดมาตรการช่วยเหลือจากแบงก์ บรรเทาผลกระทบ เหตุไม่สงบชายแดนไทย-กัมพูชา

MATICHON ONLINE

Broker ranking 24 Jul 2025

Manager Online

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...