โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

การเมือง

ภูมิใจไทยเสนอร่างพ.ร.บ.สร้างเสริมสังคมสันติสุขแบบด่วน! ปิดประตูไม่นิรโทษกรรมคดี 112 แต่ให้คดีกบฏ

iLaw

อัพเดต 16 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 16 ชั่วโมงที่ผ่านมา • iLaw

9 กรกฎาคม 2568 สภาผู้แทนราษฎรมีวาระพิจารณาร่างกฎหมายนิรโทษกรรม-สร้างเสริมสังคมสันติสุข รวมสี่ฉบับซึ่งเสนอโดยภาคประชาชนเข้าขื่อเสนอ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) พรรคก้าวไกล (ก่อนถูกยุบพรรค) สส.พรรครวมไทยสร้างชาติ และสส. พรรคครูไทยเพื่อประชาชน (ซึ่งภายหลังย้ายไปสังกัดพรรคกล้าธรรม) แม้ร่างกฎหมายทั้งสี่ฉบับจะมีหลักการเดียวกันคือ นิรโทษกรรมคดีการเมือง แต่มีจุดแตกต่างที่สำคัญหลายจุด ทั้งข้อหาที่จะเข้าข่ายนิรโทษกรรม ซึ่งร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรมประชาชนเสนอให้นิรโทษกรรมคดีมาตรา 112 ขณะที่ร่างพ.ร.บ.สร้างเสริมสังคมสันติสุขทั้งสองฉบับ ระบุชัดไม่นิรโทษกรรมคดีมาตรา 112 แต่นิรโทษกรรมข้อหา “กบฏ” ตามมาตรา 113

อย่างไรก็ดี ก่อนเข้าสู่วาระการพิจารณา พิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่หนึ่ง ซึ่งนั่งเป็นประธานในที่ประชุม แจ้งว่ามีร่างพ.ร.บ.สร้างเสริมสังคมสันติสุขอีกฉบับที่ สส. พรรคภูมิใจไทยเสนอด้วยและเพิ่งบรรจุวาระการประชุมไป โดยมีสาระสำคัญดังนี้

ล็อกตั้งแต่หลักการ ปิดประตูไม่นิรโทษกรรมคดี 112

ร่างพ.ร.บ.สร้างเสริมสังคมสันติสุข ฉบับสส.พรรคภูมิใจไทย เขียนชัดไม่นิรโทษกรรมคดี 1) ความผิดทุจริตหรือประพฤติไม่ชอบ 2) ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 เหมือนร่างที่เสนอโดยสส. พรรครวมไทยสร้างชาติ และสส.พรรคครูไทยเพื่อประชาชน และความผิดอีกสองประเภทที่จะไม่นิรโทษกรรม คือความผิดที่ทำให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย หรือความผิดต่อส่วนตัวหรือการกระทำที่ต้องรับผิดต่อบุคคล เขียนเหมือนร่างพรรครวมไทยสร้างชาติ ไม่แตกต่างกัน

นอกจากระบุในเนื้อหาร่าง ร่างพ.ร.บ.สร้างเสริมสังคมสันติสุข ฉบับพรรคภูมิใจไทย ยังเขียนกำชับในหลักการของร่าง ว่า ไม่รวมถึงการกระทำความผิด 1) การกระทำความผิดฐานทุจริตหรือประพฤติมิชอบ 2) การกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 3) การกระทำความผิดที่ทำให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย หรือเป็นการกระทำความผิดต่อส่วนตัว หรือเป็นการกระทำความผิดที่ต้องรับผิดต่อบุคคลใดที่มิใช่หน่วยงานรัฐเป็นการเฉพาะรายหรือเฉพาะกลุ่ม ซึ่งการระบุในหลักการของร่าง จะส่งผลให้เมื่อถึงขั้นตอนพิจารณาในวาระสอง ชั้นกรรมาธิการ จะไม่สามารถ “แก้ไขเพิ่มเติม” เพื่อนิรโทษกรรมความผิดเหล่านี้ได้เลย ตามข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2562 ข้อ 120 วรรคสาม เขียนว่า “คณะกรรมาธิการอาจเพิ่มมาตราขึ้นใหม่หรือตัดทอนหรือแก้ไขมาตราเดิมได้ แต่ต้องไม่ขัดกับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัตินั้น”

ตั้งกรรมการสายกระบวนการยุติธรรม พิจารณานิรโทษกรรมคดีการเมือง

หลักคิดของร่างพ.ร.บ.สร้างเสริมสังคมสันติสุข ฉบับสส.พรรคภูมิใจไทย ไม่แตกต่างจากร่างฉบับพรรครวมไทยสร้างชาติและร่างพรรคครูไทยเพื่อประชาชน คือ ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาชุดหนึ่งเพื่อพิจารณาชี้ขาดว่ากรณีใดที่จะได้รับนิรโทษกรรมบ้าง ตามความผิดท้ายร่างพระราชบัญญัติ โดยความผิดที่จะได้นิรโทษกรรมตามร่างพรรคภูมิใจไทย ภาพรวมไม่แตกต่างจากร่างพรรครวมไทยสร้างชาติและร่างพรรคครูไทยเพื่อประชาชน เช่น นิรโทษคดีความผิดฐานกบฏ ตามมาตรา 113 ความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้าย แต่มีฐานความผิดที่ร่างพรรคภูมิใจไทยเสนอเพิ่มขึ้นมาซึ่งไม่มีในร่างรวมไทยสร้างชาติและร่างครูไทยเพื่อประชาชน คือ ความผิดตามกฎหมายรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2535

คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดการกระทำความผิดเพื่อการนิรโทษกรรม ตามร่างพ.ร.บ.สร้างเสริมสังคมสันติสุขฉบับพรรคภูมิใจไทย ประกอบด้วยตัวแทนจากองค์กรฝ่ายตุลาการและองค์กรในกระบวนการยุติธรรมทั้งหมด ได้แก่

1) ประธานศาลฎีกา เป็นประธาน

2) ประธานศาลรัฐธรรมนูญ

3) ประธานศาลปกครองสูงสุด

4) อัยการสูงสุด

5) เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม

แตกต่างจากร่างพ.ร.บ.สร้างเสริมสังคมสันติสุขอีกสองฉบับ รวมถึงร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรมประชาชนที่ภาคประชาชนเสนอ และร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรมที่สส. พรรคก้าวไกลเสนอ ที่กำหนดให้กรรมการยังมีตัวแทนจากฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ หรือมีตัวแทนภาคประชาชนด้วย โดยภราดร ปริศนานันทกุล สส. พรรคภูมิใจไทย ผู้ชี้แจง อธิบายเหตุผลว่า ไม่กำหนดให้นักการเมืองเข้ามาเป็นกรรมการเพราะจะเกิดอคติหรือเกิดความเอนเอียงเข้าข้างฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด

นิรโทษกรรมคดีการเมือง ครอบคลุมช่วงชุมนุมพันธมิตร - กปปส.

สำหรับกรอบระยะเวลาคดีที่จะนิรโทษกรรม ร่างพ.ร.บ.สร้างเสริมสังคมสันติสุข ฉบับพรรคภูมิใจไทยกำหนดเวลาเหมือนร่างพรรครวมไทยสร้างชาติ คือ เริ่มต้นปี 2548 สิ้นสุด ปี 2565 ส่วนร่างพรรคครูไทยเพื่อประชาชน กำหนดวันที่ชัดเจนคือ 19 กันยายน 2549 - 30 พฤศจิกายน 2565 ร่างพรรคก้าวไกล เริ่ม 11 กุมภาพันธ์ 2549 และสิ้นสุดถึงวันที่พ.ร.บ.ประกาศใช้ ส่วนร่างภาคประชาชน กำหนดกรอบเวลาไว้กว้างเพื่อครอบคลุมคดีทางการเมืองที่เกิดตั้งแต่ 19 กันยายน 2549 ถึงวันที่พ.ร.บ.ประกาศใช้

ช่วงเวลาที่เริ่มต้นนิรโทษกรรม ช่วงเวลาที่สุดท้ายที่จะนิรโทษกรรม ร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรมประชาชน (เสนอโดยประชาชน 19 กันยายน 2549 วันที่พ.ร.บ.ประกาศใช้ ร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรม (เสนอโดยพรรคก้าวไกล) 11 กุมภาพันธ์ 2549 วันที่พ.ร.บ.ประกาศใช้ ร่างพ.ร.บ.สร้างเสริมสังคมสันติสุข (เสนอโดยพรรคครูไทยเพื่อประชาชน) 19 กันยายน 2549 30 พฤศจิกายน 2565 ร่างพ.ร.บ.สร้างเสริมสังคมสันติสุข (เสนอโดยพรรครวมไทยสร้างชาติ) พ.ศ. 2548 พ.ศ. 2565 ร่างพ.ร.บ.สร้างเสริมสังคมสันติสุข (เสนอโดยพรรคภูมิใจไทย) พ.ศ. 2548 พ.ศ. 2565

กรอบระยะเวลาดังกล่าว อาจทำให้คดีการชุมนุมใหญ่ของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย หรือกลุ่มเสื้อเหลือง และคดีการชุมนุมของกลุ่มคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.) ได้รับนิรโทษกรรมไปด้วย ซึ่งคดีสืบเนื่องจากการชุมนุมเหล่านี้ หลายคดีก็เป็นคดีความมั่นคงเช่นเดียวกันกับมาตรา 112 เช่น คดีขัดขวางการเลือกตั้ง ในความผิดฐานร่วมกันเป็นกบฏ มาตรา 113 คดีกบฏและก่อการร้าย

https://www.ilaw.or.th/articles/19176

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก iLaw

สภาถก #นิรโทษกรรมประชาชน เกือบหกชั่วโมงแต่ยังไม่ได้โหวต จับตาต่อ 16 กรกฎาคม 2568

9 ชั่วโมงที่ผ่านมา

7 วันดันร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรมประชาชน

9 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความการเมืองอื่น ๆ

ท่าทาง เพื่อไทย จะผสมสีไม่ได้?? อ.เจษฎา เพื่อไทยอยู่คนเดียวดีกว่า ถ้าแลนด์สไลด์ครั้งหน้า!!

TOJO NEWS

นลินี หารือผู้บริหาร DP World ดูไบ ดันไทย สู่ศูนย์กลางโลจิสติกส์ ระดับโลก

MATICHON ONLINE

เพื่อนธนาธรยกนิ้วให้ ‘อุ๊งอิ๊ง’ เป็น ‘อวชาตบุตร’ ทำสิ่งที่ชนชั้นนำตั้งใจมากว่า 20 ปีสำเร็จได้!

ไทยโพสต์

แม่ทัพภาคที่ 2 นำสิ่งของพระราชทานจากในหลวง-กรมสมเด็จพระเทพฯ มอบทหารชายแดนไทย-กัมพูชา

ไทยโพสต์

จิราพร เยือนเจนีวา หารือเลขาธิการ UNCTAD นำ สคบ. ร่วมลงนาม MOU

MATICHON ONLINE

"อาถรรพ์เลข 6"กับการเมืองไทย : เชื่อมโยงตระกูล"ชินวัตร"

PostToday

ข่าวและบทความยอดนิยม