โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

อรุณรุ่งแห่งความสัมพันธ์ “ไทย-จีน” ชาวจีนในอุษาคเนย์เมื่อรัฐสยามโบราณก่อตัว

ศิลปวัฒนธรรม

อัพเดต 4 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 4 ชั่วโมงที่ผ่านมา
ภาพประกอบเนื้อหา - ชุมชนชาวจีนที่เมืองเทียนจิน (ภาพจากหนังสือ The Costume of China, 1805 - Internet Archive)

จุดเริ่มต้นความสัมพันธ์ไทย-จีนในยุคแรกเริ่ม ร่องรอยการมาเยือนสยามของชาวจีน พวกเขาเข้ามาทำอะไรในอุษาคเนย์

1 กรกฎาคม พ.ศ. 2568 เป็นวันครบรอบ 50 ปี การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูต ไทย-จีน แต่ตัวเลข 50 ปี นับว่าสั้นมาก เมื่อเทียบกับประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ของ 2 ประเทศ ซึ่งยืนยาวมาเป็นเวลาหลายศตวรรษตั้งแต่โบราณกาล มีการแลกเปลี่ยนกันในหลากหลายมิติ ทั้งการทูต การค้า สังคม และวัฒนธรรม ยังไม่รวมเรื่องไทยเป็นดินแดนที่มีชาวจีนโพ้นทะเลเป็นลำดับต้น ๆ ของโลก ยิ่งแสดงให้เห็นว่าวัฒนธรรมจีนเป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทยมานานแล้ว

ความสัมพันธ์อันลุ่มลึกและยาวนานนี้มีจุดเริ่มต้นอย่างไร ?

จี. วิลเลียม สกินเนอร์อธิบายไว้ในหนังสือ สังคมจีนในไทย ประวัติศาสตร์เชิงวิเคราะห์(2548 : มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์) ซึ่งขอสรุปความจาก “บทที่ 1 ศตวรรษต้น ๆ : ชาวจีนในสยามโบราณ” มาเล่าฝากไว้ ดังนี้

การค้าข้ามคาบสมุทร

ร่องรอยชาวจีนในอุษาคเนย์ (เอเชียตะวันออกเฉียงใต้) ปรากฏเป็นภาพสลักนูนต่ำศิลปะเขมร ที่ปราสาทบายน กลางเมืองนครธม เมืองหลวงของอาณาจักรพระนครสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ซึ่งสร้างเสร็จก่อนทศวรรษแรกของคริสต์ศตวรรษที่ 13

ภาพแผ่นหนึ่งในห้องโถงชั้นนอกของปราสาท แสดง “เรือสำเภาจีน” อย่างละเอียด ใบหน้าของกะลาสีคุมเรือบ่งบอกชัดเจนว่าไม่ใช่ชาวเขมร เรือสำเภานี้มีลักษณะเกือบทุกอย่างเหมือนเรือสำเภาที่ชาวจีนในสยามสร้างขึ้น และใช้สำหรับค้าขายในบริเวณอ่าวสยาม เมื่อหลายศตวรรษที่เพิ่งผ่านมา

การค้นพบนี้เป็นสิ่งยืนยันว่า พ่อค้าชาวจีนได้มาตั้งตลาดค้าและเมืองท่าในอ่าวสยามเรียบร้อยแล้ว เมื่อคนไทยมาถึงบริเวณปากแม่น้ำเจ้าพระยาและแหลมมลายูในคริสต์ศตวรรษที่ 13

ในทศวรรษสุดท้ายของคริสต์ศตวรรษที่ 13 โจวต้ากวานนักการทูตชาวจีน พบว่า ชาวจีนทำการค้าอยู่ที่นครธม และรายงานว่า ชาวจีนติดต่อกับกัมพูชาอย่างสม่ำเสมอ

ตามบันทึกเก่า ๆ ของไทย แหลมมลายูเป็นแห่งแรกของสยามที่พ่อค้าชาวจีนและชาวต่างประเทศอื่น ๆ มากันมาก ทุก ๆ ปีจะมีขบวนเรือสำเภาจากเมืองจีนมาแวะที่ท่าเรือและที่ตั้งต่าง ๆ ทางฝั่งตะวันออกของแหลมมลายู

หลักฐานที่ว่าคริสต์ศตวรรษที่ 13 และ 14 พ่อค้าชาวจีนพร้อมสินค้ามุ่งเดินทางไปยังอินเดียและตะวันตกไกล จริง ๆ อาจไปไกลได้เพียงชุมพร สุราษฎร์ธานี (บ้านดอน) หรือนครศรีธรรมราช (ลิกอร์) เท่านั้น โดยอาศัยลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ณ เมืองเหล่านี้ พ่อค้าจะขนสินค้าลงเรือ ถ่ายสินค้าต่อไปโดยทางบกให้ทันเวลาพอดีกับที่พวกเขาจะกลับเมืองจีน โดยอาศัยลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้

คำอธิบายที่สมเหตุสมผลมากที่สุดเรื่องชาวจีนค้นพบแหล่งแร่ดีบุกทางภาคใต้ของสยามก็คือ พวกเขาเป็นผู้เดินทางข้ามแหลมแห่งนี้ และพบแหล่งแร่โดยบังเอิญระหว่างการเดินทางจากนครศรีธรรมราชทางฝั่งอ่าวสยามมายังตรังทางฝั่งทะเลอันดามัน โดยเริ่มจากถลุงแร่จำนวนไม่มากสำหรับใช้กันเอง ส่วนพ่อค้ากลุ่มอื่น ๆ ที่เสี่ยงเดินทางผ่านเข้ามาทางช่องแคบมะละกาก็อาจค้นพบทำนองเดียวกันที่ภูเก็ต

ดังนั้น ผู้ทำเหมืองดีบุกชาวจีนจึงเริ่มตั้งหลักแหล่งอย่างมั่นคงในภาคใต้ของสยาม ก่อนชาวตะวันตกรุ่นแรก ๆ เข้ามายังดินแดนแถบนี้เสียอีก

“สยาม” รัฐบรรณาการของจีน

ราชอาณาจักรสุโขทัยเกิดขึ้นเมื่อกลางคริสต์ศตวรรษที่ 13 ครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษเดียวกัน ราชสำนักมองโกลซึ่งผนวกจีนและสถาปนาราชวงศ์หยวนไปแล้ว พยายามรวมสุโขทัยที่ชาวจีนเรียกว่า “เซี่ยน”มาเป็นรัฐบรรณาการด้วย สุโขทัยตอบรับและส่งคณะทูตเดินทางไปปักกิ่งหลายครั้งตั้งแต่ ค.ศ. 1296 (พ.ศ. 1839) ถึง ค.ศ. 1329 (พ.ศ. 1866) หลังจากนั้นพ่อค้าจีนก็ทำการค้ากับเมืองต่าง ๆ ของสยาม (สุโขทัย) สืบต่อมาจนสิ้นราชวงศ์หยวน

เมื่อมีการโค่นอำนาจราชวงศ์มองโกลในจีน ความวุ่นวายภายในทำให้การค้ากับต่างประเทศหยุดชะงักไปหลายสิบปี และไม่ปรากฏว่ามีการค้าระหว่างจีนกับสยามใน 2-3 ทศวรรษแรกของราชวงศ์หมิง

ช่วงดังกล่าว อยุธยาเริ่มส่งคณะทูตบรรณาการไปยังนานกิง เมืองหลวงของราชวงศ์หมิงอย่างสม่ำเสมอ ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างสยามกับจีนฟื้นฟูอีกครั้ง คณะทูตราชวงศ์หมิงที่มายังกรุงศรีอยุธยาใน ค.ศ. 1370 (พ.ศ. 1913) ได้รับการต้อนรับที่น่าพึงพอใจ ทูตยังถือพระราชสาส์นถึง “เสียน-หลอ”คำเชื่อมที่หมายถึงอยุธยา เป็นการยอมรับว่าอาณาจักรนี้สืบทอดอำนาจมาจากสุโขทัย (เสียน) และละโว้ (หลอหู) อย่างถูกต้องและสมบูรณ์ กษัตริย์อยุธยายังได้รับการแต่งตั้งจากนานกิงให้เป็น “อ๋อง” ด้วย

ตั้งแต่นั้น สยามก็ส่งคณะทูตบรรณาการและไปเยือนจีนอย่างเป็นทางการหลายครั้งหลายหน

ในสมัยการสำรวจเส้นทางเดินเรือของ เจิ้งเหอซึ่งราชวงศ์หมิงรุ่งเรืองสุดขีด ไม่มีหลักฐานยืนยันว่าแม่ทัพขันทีผู้โด่งดังคนนี้เคยเข้ามาถึงอยุธยาหรือไม่ แต่เชื่อว่าสมาชิกคนสำคัญในคณะอย่าง หม่าฮวน, หูงเป่าและเฟ่ยซิ่นได้มาเยือนอยุธยาอย่างแน่นอน

ทั้งนี้เพราะหม่าฮวนและเฟ่ยซิ่นบันทึกถึงความประทับใจต่อเสรีภาพของสตรีสยาม ยิ่งกว่านั้นยังประทับใจที่สตรีสยามมีความสมัครใจต่อชาวจีน ดังที่เฟ่ยซิ่นเล่าว่า “เมื่อใดก็ตามที่ (สตรีสยาม) พบชาวจีนก็พอใจเป็นอันมาก และมักจะตระเตรียมเหล้ายาปลาปิ้งไว้ต้อนรับและแสดงความคารวะต่อเขาด้วยการร้องเพลงสนุกสนานและกักตัวไว้ทั้งคืน”

หม่าฮวนยังอธิบายด้วยว่า สามีชาวสยามไม่รู้สึกลำบากใจอะไรเลยต่อเรื่องราวเหล่านี้ แต่กลับภูมิใจว่าภรรยาของตนสวยพอจะทำให้ชายจีนพอใจได้

เรื่องราวดังกล่าวชี้ให้เห็นว่า ชาวจีนมีเหตุผลอื่นนอกเหนือจากการค้าในการมาเยือนเมืองสยาม และนั่นก็กระตุ้นให้การค้าขายและการอพยพมายังดินแดนอุษาคเนย์ของคนจีนแพร่หลายยิ่งขึ้น

อ่านเพิ่มเติม :

สำหรับผู้ชื่นชอบประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรม แง่มุมต่าง ๆ ทั้งอดีตและร่วมสมัย พลาดไม่ได้กับสิทธิพิเศษ เมื่อสมัครสมาชิกนิตยสารศิลปวัฒนธรรม 12 ฉบับ (1 ปี) ส่งความรู้ถึงบ้านแล้ววันนี้!! สมัครสมาชิกคลิกที่นี่

อ้างอิง :

จี. วิลเลียม สกินเนอร์ (G. William Skinner) ; พรรณี ฉัตรพลรักษ์ และคณะ แปล. บรรณาธิการโดย ชาญวิทย์ เกษตรศิริ. (2548). สังคมจีนในไทย ประวัติศาสตร์เชิงวิเคราะห์. กรุงเทพฯ : มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.

เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 1 กรกฎาคม 2568

อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ : อรุณรุ่งแห่งความสัมพันธ์ “ไทย-จีน” ชาวจีนในอุษาคเนย์เมื่อรัฐสยามโบราณก่อตัว

ติดตามข่าวล่าสุดได้ทุกวัน ที่นี่
– Website : https://www.silpa-mag.com

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก ศิลปวัฒนธรรม

“คึกฤทธิ์พบเหมาเจ๋อตง” ชั่วโมงประวัติศาสตร์ สานสัมพันธ์ ไทย-จีน ศักราชใหม่

4 ชั่วโมงที่ผ่านมา

พระบรมราชวังจตุมุขมงคล วังหลวงเขมรที่ได้อิทธิพลจากวังหลวงไทย

5 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความทั่วไปอื่น ๆ

ข่าวดี! พรุ่งนี้น้ำมันลดราคา มีผล ตี 5 วันที่ 2 ก.ค. 68 เป็นต้นไป

มุมข่าว

ติดสนั่น! หลังฝนถล่ม ติดตามกับ คู่หูจราจร : 1 กรกฎาคม 2568

สวพ.FM91

โรงเรียนสีเขียว ครูศิลปะเยี่ยวม่วง! รับดูดวันละ 3 ตัว มา 20 ปี

Khaosod

ครม.ขยาย ‘คุณสู้ เราช่วย’ ค้าง 1 วันเข้าร่วมได้ หนี้ 30,000 จ่าย 10% ปิดหนี้ทันที

ไทยพับลิก้า

ทีทีทีบีทุ่ม 2,062 ล้านบาท เข้าถือหุ้นใหญ่ บล.ธนชาต เป็นทางการ 99.97%

สำนักข่าวไทย Online

นึกว่าผีหลอก ที่แท้งูเหลือมรัดไก่ห้อยหัวลงจากต้นไม้

สำนักข่าวไทย Online

สามเณรีคืออะไร? รู้จักนักบวชหญิงในพระพุทธศาสนาอย่างลึกซึ้ง

TNN ช่อง16

(คลิป)"เท้ง"ย้ำจุดยืน ปชน.เรียกร้องยุบสภา โยงนิติสงครามทำ"อุ๊งอิ๊งค์" ถูกสั่งยุติหน้าที่นายกฯ

Manager Online

ข่าวและบทความยอดนิยม

“คึกฤทธิ์พบเหมาเจ๋อตง” ชั่วโมงประวัติศาสตร์ สานสัมพันธ์ ไทย-จีน ศักราชใหม่

ศิลปวัฒนธรรม

อรุณรุ่งแห่งความสัมพันธ์ “ไทย-จีน” ชาวจีนในอุษาคเนย์เมื่อรัฐสยามโบราณก่อตัว

ศิลปวัฒนธรรม

พระบรมราชวังจตุมุขมงคล วังหลวงเขมรที่ได้อิทธิพลจากวังหลวงไทย

ศิลปวัฒนธรรม
ดูเพิ่ม
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...