โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

ลาบูบูจะช่วยให้ภาพลักษณ์จีนดีขึ้นได้จริงไหม?

Thairath Plus - ไทยรัฐพลัส

อัพเดต 7 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 7 ชั่วโมงที่ผ่านมา
ภาพไฮไลต์

หูแหลม ตาโต และรอยยิ้มซุกซนที่เผยให้เห็นฟันแหลม ‘ลาบูบู’ กลายเป็นตัวละครที่ครองใจคนทั่วโลกในช่วงหลายปีมานี้ จนกลายเป็นเทรนด์ที่ทุกคนต้องตามไปต่อคิวหน้า ‘ป๊อปมาร์ท’ ร้านอาร์ตทอยจากจีนที่กำลังสร้างกระแสให้ทุกคนสะสมตุ๊กตากันถ้วนหน้า

เราเห็นกระแสนี้ในไทยและเอเชียมายาวนาน แต่ช่วงปีที่ผ่านมานี้ คนฝั่งตะวันตกเริ่มให้ความสนใจกับอาร์ตทอยจากจีนมากขึ้นเรื่อยๆ เห็นได้ชัดจากภาพคนดังอย่าง Rihanna ถือกระเป๋าห้อยลาบูบู เช่นเดียวกันกับ Dua Lipa รวมทั้ง David Beckham และ Hailey Bieber ก็โพสต์ภาพอาร์ตทอยในอินสตาแกรมเช่นกัน

เดือนมีนาคม ป๊อปมาร์ทได้เปิดป๊อปอัพที่ห้างสรรพสินค้าหรูอย่าง Harrods ในอังกฤษ ส่วนหน้าร้านป๊อปมาร์ทในออสเตรเลียเต็มไปด้วยคนต่อแถวรอซื้อลาบูบูตั้งแต่ตี 3 จนตัวแทนจากร้านป๊อปมาร์ทในออสเตรเลียกล่าวว่า “ลาบูบูกำลังครอบงำชาวออสอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน” รวมถึงคนในแอลเอ แม้จะมายืนจองคิวตั้งแต่ตี 4 แต่หลายคนก็ต้องกลับบ้านด้วยมือเปล่า เพราะของมีจำกัด และยังมีการประมูลลาบูบูขนาดเท่าตัวคนในราคา 150,000 ดอลลาร์ที่ประเทศจีน

ลาบูบูได้รับความสนใจทุกหย่อมหญ้าชนิดที่แม้แต่เจ้าหน้าที่ตรวจกระเป๋าในสนามบินอเมริกา ยังชวนผู้โดยสารที่หิ้วอาร์ตทอยกลับประเทศ ดูตัวลาบูบูในกล่องสุ่มผ่าน ‘เครื่องเอกซเรย์’ นี่คือเรื่องเล่าจาก มาร์ติน อองเดรย์ นาวาโร นิบุงโก นักดนตรีวัย 22 ผู้เดินทางจากไทยกลับอเมริกาพร้อมลาบูบู 12 ตัวไปฝากเพื่อน เมื่อถึงสนามบินในซานฟรานซิสโก มีเจ้าหน้าที่ 6 คนมารวมตัวคุยกันหน้ากระเป๋าของเขาเพื่อค้นหาว่าในกล่องสุ่มเป็นลาบูบูตัวไหน

ลาบูบูเป็นหนึ่งในตัวละครที่อยู่ในหนังสือเด็ก The Monsters สร้างโดย Kasing Lung ศิลปินชาวฮ่องกงที่เติบโตในเนเธอร์แลนด์ เขาได้รับแรงบันดาลใจสร้างตัวละครต่างๆ ใน The Monsters มาจากตำนานนอร์ดิก

ในปี 2019 เขาได้เซ็นสัญญากับป๊อปมาร์ท บริษัทผลิตอาร์ตทอย ก่อตั้งโดย Wang Ning นักธุรกิจชาวจีน การเซ็นสัญญาของ Kasing Lung ไม่ได้จำกัดอยู่แค่ลาบูบูเท่านั้น แต่ยังประกอบไปด้วย ผู้นำเผ่า Zimomo, Mokoko เพื่อนของลาบูบู และ Zimomo แฟนของลาบูบู

เริ่มแรกลาบูบูเติบโตในประเทศจีนเท่านั้น จนช่วงหลังโควิดที่หลายประเทศเริ่มฟื้นตัวแล้ว อาร์ตทอยก็เริ่มเป็นที่รู้จักนอกประเทศจีน โดยเริ่มจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก่อน แล้วจึงค่อยๆ เป็นกระแสไปยังที่อื่นๆ ทั่วโลก

ข้อมูลจากบีบีซียกตัวอย่างให้เห็นการเชื่อมต่อของเทรนด์นี้จากเรื่องราวของหญิงสาวคนหนึ่งที่อาศัยอยู่แคนาดาชื่อว่าฟิโอน่า เธอรู้จักลาบูบูครั้งแรกจากเพื่อนชาวฟิลิปปินส์ในปี 2023 นั่นเป็นช่วงที่เธอเริ่มซื้อสินค้าเพราะความน่ารัก แต่เมื่อเริ่มมีกระแสความนิยมมากเท่าไหร่ “ฉันก็ยิ่งอยากได้มันมากขึ้นเท่านั้น” เธอกล่าว

ชื่อเสียงของลาบูบูยังมาจากการที่คนดังจำนวนมากช่วยเพิ่มความสนใจให้เทรนด์นี้ด้วย เห็นได้ชัดในเดือนเมษายน ปี 2024 เมื่อลิซ่า สมาชิกวง BLACKPINK เริ่มโพสต์ภาพลาบูบูในอินสตาแกรม และเธอยังให้สัมภาษณ์กับ Variety Fair เรื่องความชอบอาร์ตทอยด้วยการนำลาบูบูและตัวละครอื่นๆ ที่สะสมไว้หลายขนาดไปตั้งโชว์ ทำให้คนเริ่มสนใจว่าทำไมตุ๊กตาเหล่านี้ถึงกลายเป็นกระแสและทำให้คนชอบใจมากถึงเพียงนี้?

อะไรคือสิ่งที่อาร์ตทอยกำลังตอบโจทย์ความรู้สึกคนทั่วโลก

“สามีของฉันไม่เข้าใจว่าทำไมฉัน–ซึ่งอยู่ในวัย 30 ถึงต้องหมกมุ่นอยู่กับเรื่องแบบนี้” ฟิโอน่า ชาวแคนาดาที่ชื่นชอบลาบูบูกล่าวกับบีบีซี

มองเผินๆ มันก็เป็นหนึ่งใน ‘เทรนด์’ ที่มาแล้วก็อาจจะหายไป แต่สิ่งที่ซ่อนอยู่ภายใต้กระแสใหญ่ คือ การเป็นของเล่นให้วัยผู้ใหญ่ได้รู้สึกย้อนความหลังท่ามกลางโลกอันวุ่นวาย

“หลังจากการระบาดใหญ่ ประชาชนจีนจำนวนมากต้องการหลีกหนีจากความวุ่นวายทางอารมณ์ และลาบูบูเป็นตัวละครที่มีเสน่ห์มากแม้จะดูวุ่นวาย” แอชลีย์ ดูดาเรนอก ผู้ก่อตั้งบริษัทวิจัย ChoZan ในประเทศจีนกล่าว “มันแสดงให้เห็นถึงการต่อต้านความสมบูรณ์แบบ”

ความนิยมอีกอย่างที่คนมักจะสนุกกับลาบูบูคือ การแต่งตัวให้กับตุ๊กตา ไม่ว่าจะกระเป๋าใบเล็ก เก้าอี้จิ๋ว หรือชิ้นส่วนน่ารักๆ ทำให้ของเล่นจากป๊อปมาร์ทมอบความเป็นเด็กให้ผู้คนอีกครั้งท่ามกลางโลกที่ซับซ้อนเกินจะเข้าใจ ประกอบกับคาแรกเตอร์ของตุ๊กตาเหล่านี้แสดงท่าทางเข้าใจง่าย ไม่ต้องใช้ชั้นเชิงทางศิลปะตีความตัวละครให้ยาก จึงทำให้คนรู้สึก ‘ใกล้ชิด’ กับอาร์ตทอยได้

นาวาร์โร นิบุงโก นักดนตรีวัย 22 กล่าวว่า เวลาที่เขาห้อยลาบูบูออกจากบ้าน จะได้รับการทักทายจากคนแปลกหน้าอย่างเป็นมิตรเสมอ ทำให้เขารู้สึกสบายใจและได้เปิดประตูสู่การสนทนาที่ไม่เป็นอันตรายและปราศจากการเมือง “มันคือการหลีกหนีออกจากโลกความเป็นจริง” เขากล่าวกับเดอะนิวยอร์กไทมส์

โกซเด กอนชู เบิร์ก (Gozde Goncu Berk) นักวิชาการด้านการออกแบบชาวอเมริกัน ตั้งข้อสังเกตว่ากระแสอาร์ตทอยที่มีอิทธิพลในแง่ของการพาคนหลบหนีออกจากโลกความเป็นจริงไม่ได้เกิดขึ้นในสุญญากาศ แต่ฝังอยู่ในบริบททางวัฒนธรรม เนื่องจากกระแสแฟชั่นมักรวมเอาความวิตกกังวลทางสังคม การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี และความปรารถนาที่เหมือนกันมาไว้ด้วยกัน

อีกส่วนที่สำคัญคือ เทคนิคการขายของป๊อปมาร์ทที่อาร์ตทอยจะมาใน ‘ระบบกล่องสุ่ม’ เราจะไม่มีทางรู้ว่าตัวเองจะได้ตัวไหนจนกว่าจะเปิดกล่อง มันจึงสร้างความรู้สึก ‘เซอร์ไพรส์’ ในขณะเดียวกัน บางคอลเลคชั่นไม่ได้ผลิตในปริมาณมาก จึงเกิดการ ‘ช่วงชิง’ โมเดลหายาก วิธีการนี้เป็นเกมที่ทำให้คนอยากเข้าร่วมและอยากเอาชนะ ประกอบกับวิตกกังวลว่าตัวเองจะเป็น ‘คนที่จะพลาดเทรนด์อะไรบางอย่างไป’ ทำให้ผู้คนยอมไปต่อคิวตั้งแต่เช้ามืดเพื่อไขว่คว้าอาร์ตทอยเหล่านี้มาให้ได้

ดังนั้น แม้อาร์ตทอยจะเป็นศิลปะรูปแบบหนึ่งที่คนเข้าถึงได้ง่าย และเป็นพื้นที่สบายใจที่คนพอจะหามาครอบครองได้ แต่มันก็เป็นน้ำหวานที่คนต้องคอยหามาสูบฉีดเข้าเส้นเลือดอยู่เรื่อยๆ เพราะมันเป็นศิลปะที่ผสานอยู่กับลัทธิบริโภคนิยมผ่านการผลักดันของทุนใหญ่

พิสูจน์ได้ด้วยรายได้ของป๊อปมาร์ทปี 2024 ตัวเลขอยู่ที่ 1.8 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งเพิ่มขึ้นมากกว่า 100 เปอร์เซ็นต์จากปีก่อนหน้า โดยรายได้ 40% มาจากการขายนอกประเทศจีน และเฉพาะยอดขายลาบูบูและเพื่อนๆ ในเรื่อง The Monsters มีจำนวนถึง 400 ล้านดอลลาร์ นับว่าเติบโตขึ้น 726 เปอร์เซ็นต์จากปีก่อนหน้า

ปัจจุบันป๊อปมาร์ทมีเครื่องขายตุ๊กตาอัตโนมัติกว่า 2,000 เครื่องทั่วโลก แฟนๆ สามารถซื้อลาบูบูได้ทั้งหน้าร้านและออนไลน์ โดยมีหน้าร้านใน 30 ประเทศ ตั้งแต่สหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักรไปจนถึงออสเตรเลียและไทย

ลาบูบูจะทำให้ภาพลักษณ์จีนดีขึ้นได้จริงไหม?

ด้วยยอดขายของป๊อปมาร์ทและปรากฏการณ์คนต่อแถวตั้งแต่เช้ามืดไปจนถึงของลอกเลียนแบบลาบูบูมีให้เราเห็นกันเกลื่อนเมือง ทำให้จีนเริ่มเห็นแล้วว่า ตัวละครในป๊อปมาร์ทจะเป็น ‘ซอฟต์พาวเวอร์’ ผลักดันภาพลักษณ์จีนได้

สำนักข่าวซินหัวของจีนระบุว่า "ลาบูบูแสดงให้เห็นถึงความน่าดึงดูดใจของความคิดสร้างสรรค์ คุณภาพ และวัฒนธรรมของจีนในภาษาที่คนทั้งโลกเข้าใจได้"

“และยังทำให้ทุกคนมีโอกาสได้เห็น ‘จีนสุดเท่’”

สื่อของรัฐบาลจีนพยายามจะตีความว่า ลาบูบูจะกลายเป็นมาตรฐานทางวัฒนธรรมป๊อปของจีนที่บุกในตลาดโลก สอดคล้องกับที่ตัวแทนป๊อปมาร์ทให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวออสเตรเลียว่า อาร์ตทอยเหล่านี้ไม่ใช่ของเล่น แต่เป็น ‘กระแสวัฒนธรรมป๊อปที่สะสมได้’

ความพยายามผลักดันให้ลาบูบูเป็น ‘ซอฟต์พาวเวอร์’ จากจีน อาจมีส่วนช่วยกู้ภาพลักษณ์ประเทศแหล่งกำเนิดโควิดก็เป็นได้ แม้จะมีชาวเน็ตจีนเล่นมุกตลกขบขันว่า อันที่จริง คนในอเมริกาหรือยุโรป อาจจะไม่ได้สนใจตั้งแต่แรกว่า ลาบูบูมาจากจีน ทำให้พวกเขาเปิดใจซื้อ

แต่จากผลสำรวจของ Morning Consult ในเดือนพฤษภาคม พบว่า เป็นครั้งแรกที่จีนมีภาพลักษณ์นำหน้าสหรัฐฯ โดยเมื่อประเมินจากความเห็นในประเทศต่างๆ นับตั้งแต่เดือนมกราคม ปี 2025 ประเทศส่วนใหญ่มีมุมมองต่อจีนดีขึ้นพร้อมๆ กัน

รวมทั้งผลสำรวจของ Pew ในเดือนเมษายน พบว่า สัดส่วนของชาวอเมริกันที่มีความคิดเห็นเชิงลบต่อจีนก็ลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 5 ปี

ภาพไฮไลต์

ซู อาว ชาวจีนในออสเตรเลียให้สัมภาษณ์กับเดอะนิวยอร์กไทมส์ว่า เพื่อนของเธอในออสเตรเลียมีมุมมองต่อจีนในทางดีมากขึ้น หลังจากเห็นความนิยมของลาบูบู

อย่างไรก็ตาม ภาพลักษณ์ที่ดีขึ้นของจีนไม่ได้เกิดขึ้นเพราะลาบูบูเพียงอย่างเดียว แต่อาจเกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์อื่นๆ เช่น รถยนต์ไฟฟ้า หรือวิดีโอเกม Black Myth: Wukong รวมทั้งแบรนด์สินค้าร้านอาหารของจีนที่ตีตลาดไปทั่วโลก ประกอบกับบริบทภาพลักษณ์สหรัฐฯ ตกต่ำลงจากนโยบายภาษีของทรัมป์ ทำให้ภาพลักษณ์จีนอยู่ในทางบวกขึ้นด้วย

ทิศทาง ‘ซอฟต์พาวเวอร์’ ที่เป็นไปในทางบวกเหล่านี้ น่าจะช่วยให้นโยบายของสี จิ้นผิงที่ต้องการผลักดันให้บทสนทนาของคนทั่วโลกมองจีนในทางบวกผ่านวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว เพื่อสนับสนุนการอ้างว่าต่อไปนี้จีนจะเป็นผู้นำโลกทางเลือกใหม่แทนสหรัฐอเมริกา

สำหรับนักวิชาการชาวจีนอย่าง หวง ริฮาน ศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัยหัวเฉียวในมณฑลฝูเจี้ยน มองว่าการที่ซอฟต์พาวเวอร์จีนจะประสบความสำเร็จได้ ประกอบด้วยปัจจัยหลายอย่าง ข้อแรก–ทุกวันนี้ความสำเร็จนั้นเกิดขึ้นจากนักธุรกิจจีนรุ่นใหม่ที่ได้ทำงานอย่างอิสระและได้ทดลองทำอะไรใหม่ๆ ระดับโลก ประเด็นนี้นำมาสู่ข้อสอง–รัฐบาลอาจจะต้องผ่อนปรนมาตรการต่างๆ ให้ผ่อนคลายมากขึ้น

“ในแวดวงวัฒนธรรม ฉันคิดว่ารัฐบาลควรผ่อนปรนการควบคุม” ศาสตราจารย์ริฮานกล่าว

นี่อาจเป็นความท้าทายของรัฐบาลจีนที่ยังคงเซ็นเซอร์เนื้อหาบางอย่างอย่างเข้มงวด โดยเฉพาะแนวคิดสังคมก้าวหน้า หรือเนื้อหาที่ขัดแย้งกับความคิดเห็นของรัฐบาลจีน แสดงให้เห็นว่า หากลาบูบูไม่ได้มีความคิดเห็นทางการเมืองแตกต่างจากรัฐบาลจีนมาก มันก็อาจจะกลายเป็นซอฟต์พาวเวอร์ที่จีนอยากส่งออก และมีส่วนช่วยให้คนมองจีนในมุมมองแง่บวกก็เป็นได้

อ้างอิง: theguardian.com, bbc.com, nytimes.com, nytimes.com

ตามข่าวก่อนใครได้ที่
- Website : plus.thairath.co.th
- LINE Official : Thairath

Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก Thairath Plus - ไทยรัฐพลัส

รถ EV ยังไม่น่าไว้ใจ - น้ำมันก็แพง เมื่อการมี ‘รถยนต์’เต็มไปด้วยความเสี่ยง เมืองจะแก้ปัญหาการเดินทางอย่างไรได้บ้าง?

16 ชั่วโมงที่ผ่านมา

ไล่นายกฯ สำเร็จแล้วจบไหม? แน่ใจแค่ไหนว่าจะไม่สร้างเงื่อนไขใหม่ให้เกิดรัฐประหารอีกครั้ง

1 วันที่แล้ว

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความไลฟ์สไตล์อื่น ๆ

หมอลำหุ่นสินไซ : จาก ฮูปแต้ม สู่การแสดงหุ่นอีสานร่วมสมัย ไฮไลต์เทศกาลอีสานสร้างสรรค์ 2025

Sarakadee Lite

LISA x PlayStation แคมเปญโดนใจ! Global Ambassador คนใหม่ ถูกใจคอเกม

LSA Thailand

“ห้องอาหารเบญจรงค์” บ้านดุสิตธานี ชวนสัมผัสเสน่ห์อาหารไทยในชุดปิ่นโตสุดประณีต

Manager Online

เปิดตัว “Miss Chinese Internationnal (Thailand) 2025” ตัวแทน 5 ภาค ชิงมงรอบไฟนอลสู่เวทีระดับโลก

สยามรัฐ

สัมผัสรสชาติแห่งตำนานจีนและมองโกเลีย ในบุฟเฟต์อาหารจีน Dynasty Nights ณ ห้องอาหารซาวิโอ

Manager Online

ลิ้มรสเมนูอาหารทะเลยั่งยืน เสิร์ฟความสดใหม่จากทะเลใต้ ณ ห้องอาหารพาโกด้า ไชนีส เรสเตอรองท์

Manager Online

ข่าวและบทความยอดนิยม

ดูเพิ่ม
Loading...