โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

ฝรั่งบอกว่ามี!! แนวคิดเชิงกลยุทธ์ฝ่าวิกฤติด้วย Proactive and Curious Mindset

กรุงเทพธุรกิจ

อัพเดต 12 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 5 ชั่วโมงที่ผ่านมา

ในยามที่ตนต้องเป็นที่พึ่งแห่งตนอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ หากจะฝ่าวิกฤติที่มีอยู่รอบด้านไปได้ด้วยดี จะคิดเหมือนกับที่เคยคิดอยู่ในยามรุ่งโรจน์คงไม่ได้ผล ต้องมีแนวคิดเชิงรุก และใฝ่เรียนรู้

ฝรั่งบอกว่ามีProactive and Curious Mindset คือ ไม่อยู่เฉยรอให้ปัญหาเกิดขึ้นแต่มองหาโอกาสและริเริ่มลงมือทำสิ่งใหม่ๆ อยู่เสมอ

เปิดใจเรียนรู้สิ่งแปลกใหม่อย่างสม่ำเสมอ และไม่หยุดที่จะตั้งคำถามและค้นหาคำตอบ เพื่อพัฒนาตัวเองและพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ ที่อาจเกิดขึ้นไม่คิดเชิงรุก ไม่ใฝ่เรียนรู้ในวันที่การนำองค์กรไร้ประสิทธิผล คือ หายนะที่รออยู่ในวันหน้า

Proactive and Curious Mindset บอกให้เรามีความพร้อมที่จะปรับตัว และเรียนรู้วิธีการใหม่ ๆ เทคโนโลยีก้าวหน้าไปก็ใฝ่ใจเรียนรู้ พร้อมจะนำเทคโนโลยีนั้นมาขับเคลื่อนให้เกิดนวัตกรรมในการงานเดิม หรือไปสร้างสรรค์กระบวนการใหม่ที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ หรือช่วยให้การงานมีประสิทธิผลเพิ่มมากขึ้น

ในยามที่ทิศทางการนำเปะปะ เป็นไปตามวาทะบนมโน มากกว่าหลักการ เราต้องการของใหม่ทั้งที่เป็นวิธีการ และเทคโนโลยีที่เก่งกว่าที่มีอยู่ทั้งเพื่อแก้ไขผลของการนำอย่างไร้ประสิทธิผล และใช้ในการรับมือความท้าทายใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น ควบคู่กันไป

Proactive and Curious Mindset สนับสนุนให้เราแก้ไขปัญหาในเชิงรุก แทนที่จะรอให้ปัญหาเกิดขึ้น จะมองหาโอกาสในการปรับปรุง หรือป้องกันปัญหาได้ตั้งแต่เนิ่นๆ ตัดไฟตั้งแต่ต้นลม

ช่วยลดความเสียหาย หรือเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการงานได้ในทุกโอกาสที่มีการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ทั้งก่อนและหลังการเปลี่ยนแปลงนั้น

Proactive and Curious Mindset เกิดขึ้นได้เฉพาะในองค์กรที่เพื่อนร่วมงานมีวัฒนธรรมการเรียนรู้ ให้ความสำคัญและส่งเสริมการเรียนรู้ มากกว่ายึดติดอยู่กับขั้นตอนการทำงานที่เคยมีมาแต่เดิม ไม่คิดแค่ว่าความสำเร็จในอดีตต้องได้ผลในปัจุบัน

Proactive and Curious Mindset ต้องการบรรยากาศการทำงานที่อำนวยให้เกิดการพัฒนาการงานของแต่ละคน เสี่ยงได้ พลาดได้ ขอเพียงแค่คิดอย่างรอบคอบก่อนทำ คนที่มีแนวคิดเชิงรุก และใฝ่เรียนรู้เป็นทรัพยากรสำคัญขององค์กรในยามนี้ เพราะมีความพร้อมที่จะรับมือการเปลี่ยนแปลง ทั้งทางบวกและทางลบที่จะเกิดขึ้นได้

Proactive and Curious Mindset ส่งเสริมให้เรามองไปในอนาคต ใฝ่รู้ในเชิงสถานการณ์ คิดในเชิงฉากทัศน์ว่าอะไรที่อาจเกิดขึ้นได้บ้าง มองเห็นความท้าทายเชิงกลยุทธ์ มองเห็นโอกาสเชิงกลยุทธ์ที่อาจเกิดขึ้น ไม่รอจนเกิดปัญหาขึ้นมา แล้วค่อยเริ่มต้นคิดหาทางแก้ไขกันในวันนั้น

ตัวเราเอง หรือเพื่อนร่วมงานมีแนวคิดเชิงรุก และใฝ่เรียนรู้มากน้อยแค่ไหน ไม่อาจประเมินได้จากการทดสอบเพียงครั้งสองครั้ง เหมือนการประเมินไอคิวของคน แต่ต้องประเมินจากหลายมิติ อย่างต่อเนื่องในช่วงระยะเวลาที่นานพอควร

เริ่มจากการสังเกตพฤติกรรมในการทำงานประจำวัน ว่ามีความริเริ่มมากน้อยแค่ไหน อาสาทำโครงการใหม่ๆ เสนอแนวคิดในการปรับปรุงกระบวนการทำงานอยู่บ่อยครั้งเพียงใด แต่ไม่ใช่แค่มีวาทะหรูๆอยู่เป็นประจำ พูดได้และทำจริงได้ตามที่พูด

มักมีความพยายามแก้ปัญหาด้วยตัวเองก่อนที่จะขอความช่วยเหลือเสมอ ไม่ร้องหาความช่วยเหลืออย่างพร่ำเพรือ มีความพยายามในการเรียนรู้เรื่องใหม่ๆ มีการแบ่งปันสาระข่าวสาร รวมทั้งประสบการณ์ทางเทคโนโลยีใหม่ ๆ กับเพื่อนร่วมงานอย่างสม่ำเสมอ เน้นการสร้างความเข้าใจที่ลึกซึ้งเกี่ยวกับเรื่องนั้น เน้น “ทำไม” และ “อย่างไร” มากกว่า “อะไร”

ถ้าอยากให้คนรุ่นใหม่ที่เข้ามาร่วมงาน มีแนวคิดเชิงรุกและใฝ่เรียนรู้ติดตัวไปตลอด ต้องส่งเสริมการ “อยากรู้” ด้วยการเปิดโอกาสและมอบหมายงานที่ต้องใช้ความคิดริเริ่มในการทำงาน อย่าแค่บอกว่างานนี้ให้ทำตามที่ฉันสั่ง

ส่งเสริมให้คนรุ่นใหม่“ตั้งคำถาม” โดยไม่ตอบว่า ไม่รู้ หรือ ห้ามไม่ให้ถามเรื่องนั้นเรื่องนี้ แต่ตอบคำถามด้วยความกระตือรือล้น หากเป็นไปได้แล้ว แทนที่จะบอกคำตอบทั้งหมด ให้ย้อนถามคำถามปลายเปิดที่กระตุ้นให้เกิดการ “อยากรู้”มากยิ่งขึ้น

ปลูกฝังการ “ลงมือทำ” ด้วยการ เป็นตัวอย่างในเรื่องการ “ลงมือทำ” ด้วยการแสดงความสนใจและใช้ความพยายามในการเรียนรู้การใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ หรือวิธีการใหม่ ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการงาน ทำตนเป็นหัวหอกในการทดลองใช้เทคโนโลยีหรือวิธีการใหม่ๆ เพื่อเก็บเกี่ยวบทเรียนสำหรับปรับปรุงการงาน

กระตุ้นให้ทีมงานคนรุ่นใหม่ตั้งเป้าหมายที่ต้องใช้การคิดนอกกรอบและการลงมือทำอย่างจริงจัง ยกย่องคนรุ่นใหม่ที่แสดงความพยายามในการริเริ่ม ทดลอง และเรียนรู้ แม้ว่าผลลัพธ์อาจจะยังไม่สมบูรณ์แบบก็ตาม สิ่งนี้จะกระตุ้นให้เกิดการลงมือทำอย่างต่อเนื่อง พร้อมกับหลีกเลี่ยงการซ้ำเติมหากพลาดท่าใด ๆ

เมื่อคนรุ่นใหม่ได้เห็นแบบอย่างในการลงมือทำและกล้าเผชิญความผิดพลาดนั้นอย่างเปิดเผย ได้เห็นการวิเคราะห์ถึงสาเหตุ และบทเรียนที่ได้รับจากความผิดพลาดนั้น ไม่เห็นความพยายามแก้ตัว ไม่เห็นการทำผิดให้กลายเป็นถูก จะช่วยปลูกฝังวัฒนธรรมของ "แนวคิดเชิงรุกและใฝ่เรียนรู้"ที่ยั่งยืน

คนรุ่นใหม่จะรู้สึกมั่นใจที่จะทดลอง ตั้งคำถาม และเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ โดยไม่ต้องกลัวความล้มเหลว แต่กล้ายอมรับว่าผิดเป็นครู รู้จักแยกแยะระหว่างความผิดพลาดที่เกิดจากการขาดความรับผิดชอบกับความผิดพลาดที่เกิดจากการทดลองหรือการเรียนรู้

คนรุ่นใหม่นี้จะมีความสามารถที่ยั่งยืนและมีประสิทธิภาพในการฝ่าวิกฤติในทุกโอกาส ไม่ว่าผู้นำจะย่ำแย่ปานใด.

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก กรุงเทพธุรกิจ

TSMC แซงบัฟเฟตต์ ขึ้นแท่น 'บริษัทเอเชียมูลค่า 1 ล้านล้านดอลลาร์'

11 นาทีที่แล้ว

ตลาดหุ้นไทยวันนี้ (21 ก.ค.) เพิ่มขึ้น 1.55 จุด อยู่ในโมเมนตัมขาขึ้น

19 นาทีที่แล้ว

อะไรทำให้ ‘แซม อัลท์แมน’ กลายเป็น AI Buddy คนใหม่ของทรัมป์แทนมัสก์

28 นาทีที่แล้ว

หุ้น 3 ฟู้ดเดลิเวอรี่ยักษ์พุ่งแรง หลังจีนเรียกคุย ‘Meituan-JD.com-Ele.me ‘

45 นาทีที่แล้ว

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความไอที ธุรกิจอื่น ๆ

อยากเกษียณคุณภาพ สร้างได้ด้วยตัวเรา

Wealth Me Up

"TNL" ปลื้มผลตอบรับหุ้นกู้ชุดใหม่ เดินหน้าขยาย 3 ธุรกิจหลักรองรับการเติบโตระยะยาว

สยามรัฐ

CGSI แนะซื้อ BBL เป้า 170 บาท ชี้กำไร Q2 โตเกินคาด – ตั้งสำรองลด

ข่าวหุ้นธุรกิจ

สรุป SET100 วันนี้ PLANB บวกสูงสุด 9%

ข่าวหุ้นธุรกิจ

แม็คโครจัดแคมเปญพิเศษ ฉลองครบรอบ 36 ปี ตอบแทนลูกค้าคนสำคัญ ดีลสุดคุ้ม ลุ้นโชคใหญ่ รวมมูลค่ากว่า 3 ล้านบาท

สยามรัฐ

PROUD ผนึก “ไวทัลไลฟ์” มอบสิทธิดูแลสุขภาพลูกบ้าน “วี อารีย์” หลังปิดดีลขาย 160 ล้าน

ข่าวหุ้นธุรกิจ

คริปโตดูดเม็ดเงินสถิติใหม่ 4.4 พันล้านดอลล์ ดันยอดปีนี้ทะลุ 2.7 หมื่นล้าน

ทันหุ้น

อะไรทำให้ ‘แซม อัลท์แมน’ กลายเป็น AI Buddy คนใหม่ของทรัมป์แทนมัสก์

กรุงเทพธุรกิจ

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...