แจกทริค 5 วิธีบริหารเงินสำหรับชาว Gen Z บาลานซ์บัญชีให้มีทั้งเงินเก็บและเงินเปย์
Gourmet & Cuisine
อัพเดต 10 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 10 ชั่วโมงที่ผ่านมา • Gourmetand & Cuisine เว็บไซต์รวมเรื่องราวอาหารในยุคปัจจุบันที่อะไร ๆ ก็เร็วไปเสียหมด ทั้งกินเร็ว จ่ายเร็ว เก็บแต้มเร็ว…เรื่องเงินจึงกลายเป็นเรื่อง “ไว” ที่ต้อง “คิดให้ทัน” โดยเฉพาะกับ Gen Z ที่เติบโตมากับโลกดิจิทัลแบบเต็มขั้น และสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจที่ต่างจากคนรุ่นก่อนอย่างสิ้นเชิง ทั้งค่าครองชีพที่พุ่งสูงขึ้น ความไม่แน่นอนของอาชีพในยุค AI หรือแรงกระตุ้นจากโซเชียลมีเดียที่ชวนให้ใช้เงินแบบไม่รู้ตัว
จากรายงานของ Bank of America ปี 2024 พบว่า Gen Z มียอดใช้จ่ายเกือบสองเท่าเมื่อเทียบกับยอดเงินออมเฉลี่ย ชี้ให้เห็นถึงความท้าทายในการบริหารการเงินที่ต้องเผชิญกับแรงจูงใจจากทั้งเหตุผลและอารมณ์อยู่ตลอดเวลา เคทีซีจึงได้รวบรวม 5 วิธีการบริหารเงินสำหรับคนรุ่นใหม่ ให้ตอบโจทย์ทั้งความต้องการในปัจจุบันและเป้าหมายในอนาคตได้อย่างสมดุล
- กำหนดงบประมาณอย่างมีขอบเขต แม้การใช้เงินเพื่อเยียวยาความรู้สึกในวันที่เหนื่อยล้าจะเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน แต่การปล่อยให้การใช้จ่ายถูกขับเคลื่อนด้วยอารมณ์โดยไม่มีการวางแผนอาจนำไปสู่ปัญหาการเงินในระยะยาว การตั้งวงเงินสำหรับค่าใช้จ่ายหมวดตามใจที่ชัดเจน จะช่วยควบคุมการตัดสินใจไม่ให้ส่งผลต่อภาพรวมทางการเงินได้ เช่น กำหนดว่าในแต่ละเดือนจะใช้จ่ายเพื่อความบันเทิง อาหารนอกบ้าน หรือไลฟ์สไตล์ไม่เกิน 10–15% ของรายได้ นอกจากนี้ ควรแยกบัญชีเงินใช้กับเงินเก็บออกจากกันเพื่อป้องกันการใช้เกินแผนโดยไม่รู้ตัว
- ใช้เครื่องมือให้เห็นภาพรวมการใช้จ่าย การบริหารเงินอย่างมีเหตุผล เริ่มต้นจากการรู้จักตัวเองผ่านพฤติกรรมการใช้จ่ายจริง การมีตัวช่วยที่ทำให้ผู้ใช้สามารถดูข้อมูลค่าใช้จ่ายแบบเรียลไทม์ โดยแบ่งออกเป็นหมวดหมู่ เช่น อาหาร ท่องเที่ยว หรือผ่อนสินค้า จะทำให้ทราบว่าตนเองใช้อะไรมากเกินไปและวางแผนล่วงหน้าได้อย่างมีระบบ นอกจากนี้ยังสามารถตั้งเป้าหมายทางการเงินหรือเตือนเมื่อใช้จ่ายเกินงบ ทำให้ควบคุมอารมณ์ขณะตัดสินใจได้ดีขึ้น
- ใช้สิทธิประโยชน์ของบัตรเครดิตให้เกิดประโยชน์สูงสุด การใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตไม่ได้ก่อให้เกิดภาระเสมอไปหากใช้อย่างเข้าใจและมีวินัย การใช้สิทธิประโยชน์ เช่น สะสมคะแนน KTC FOREVER เพื่อแลกส่วนลดหรือเครดิตเงินคืนจากร้านค้าที่ร่วมรายการ ถือเป็นการได้เพิ่มจากการใช้จ่ายที่ต้องจ่ายอยู่แล้ว นอกจากนี้บัตรเครดิตยังมีแผนการผ่อนชำระ 0% ที่ช่วยให้วางแผนรายจ่ายก้อนใหญ่ได้โดยไม่ต้องแบกรับดอกเบี้ยเพื่อความคล่องตัวในการบริหารค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือน รวมถึงสร้างมูลค่าเพิ่มจากการใช้จ่ายอย่างชาญฉลาด
- สร้างระบบการออมแบบอัตโนมัติ การตั้งระบบโอนเงินอัตโนมัติจากบัญชีรายรับไปยังบัญชีเงินออมทันทีเมื่อเงินเดือนเข้า เป็นวิธีที่ช่วยให้การออมเกิดขึ้นได้จริงโดยไม่ต้องพึ่งพาแรงจูงใจ เช่น โอนเข้าบัญชีเงินฝากประจำ หรือบัญชีเงินเก็บทันทีหลังเงินเดือนเข้า จะช่วยสร้างวินัยโดยไม่ต้องตัดสินใจทุกเดือน และลดความเสี่ยงที่เงินจะหมดก่อนออม นอกจากนี้ยังสามารถกำหนดเป้าหมายรายเดือน เช่น ออม 20% ของรายได้ หรือตั้งเป้าสำหรับเป้าหมายระยะกลาง เช่น เที่ยวต่างประเทศ ซื้อคอร์สเรียน หรือสร้างกองทุนฉุกเฉิน
- ให้รางวัลตัวเองอย่างมีหลักการ การให้รางวัลตนเองไม่ใช่เรื่องผิดเมื่อมาพร้อมกับการกำหนดขอบเขตและเงื่อนไข เช่น หากสามารถออมได้ครบตามเป้าหมายจะซื้อของที่อยากได้ 1 ชิ้น หรือพาตัวเองไปเที่ยวพักผ่อนเล็ก ๆ จะช่วยให้ไม่รู้สึกว่าการบริหารการเงินเป็นเรื่องที่กดดันเกินไป แนวคิดนี้ยังช่วยกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมทางการเงินที่ยั่งยืน เพราะความรู้สึกภูมิใจในความสำเร็จและให้รางวัลกับความพยายามจะช่วยให้มีแรงจูงใจในระยะยาวได้ ในโลกที่เต็มไปด้วยสิ่งเร้าและความเปลี่ยนแปลง คนรุ่นใหม่ไม่จำเป็นต้องเลือกข้างระหว่างการใช้ชีวิตอย่างมีความสุขในปัจจุบัน หรือการวางแผนอนาคตอย่างรอบคอบ หากมีระบบคิดและเครื่องมือที่เหมาะสม การใช้จ่ายอย่างรู้คุณค่าและการออมอย่างมีเป้าหมายสามารถเกิดขึ้นควบคู่กันได้ ผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ KTC PHONE 02 123 5000 หรือติดตามโปรโมชันของเคทีซีได้ที่ www.ktc.co.th สำหรับผู้ที่ต้องการสมัครสมาชิกบัตรเครดิตเคทีซี สามารถคลิกดูรายละเอียดได้ที่ลิงค์ https://ktc.today/apply-card หรือติดต่อศูนย์บริการสมาชิก “เคทีซี ทัช” ทุกสาขาทั่วประเทศ หมายเหตุ : บัตรเครดิตใช้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนได้ตามกำหนด จะได้ไม่เสียดอกเบี้ย 16% ต่อปี