โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน ต้นแบบฟื้นฟูชายหาดให้ยั่งยืน

ไทยโพสต์

อัพเดต 7 กรกฎาคม 2568 เวลา 2.49 น. • เผยแพร่ 3 ชั่วโมงที่ผ่านมา

แนวชายฝั่งทะเลของประเทศไทยเผชิญปัญหาความเสื่อมโทรมจากกิจกรรมมนุษย์ การกัดเซาะชายฝั่ง และการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพบริเวณชายหาด หลายพื้นที่มีการใช้มาตรการโครงสร้างแข็ง กำแพงกันคลื่น เขื่อนกันคลื่น รอดักทราย ป้องกันการกัดเซาะโดยไม่มีการศึกษาถึงความเหมาะสม ซ้ำร้ายยิ่งทำให้เกิดกัดเซาะชายฝั่งต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม มีวิธีแก้ปัญหาโดยใช้ธรรมชาติคืนสมดุลระบบนิเวศชายฝั่งผ่านฟื้นฟูป่าชายหาดเกิดขึ้นครั้งแรกบริเวณชายหาดหน้าพระราชนิเวศน์มฤคทายวัน อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี

ภาพความร่วมมือร่วมใจ “ฅนดอยคำ” นำโดย นายพิพัฒพงศ์ อิศรเสนา ณ อยุธยา กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ดอยคำผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด คู่ค้าของบริษัทฯ คณะสื่อมวลชน และเจ้าหน้าที่จากมูลนิธิพระราชนิเวศน์มฤคทายวัน ในพระอุปถัมภ์ของสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ร่วมกันปลูกพันธุ์ไม้พื้นเมืองลงบนชายหาดหน้าพระราชนิเวศน์มฤคทายวัน อาทิ ต้นพลองเหมือด ต้นเกด ต้นข่อย ต้นกระทิง ต้นหูกวางและต้นมะพลับ

พืชเหล่านี้ล้วนเป็นพืชของสังคมพืชสันดอนทรายชายฝั่งที่มีบทบาทสำคัญในการรักษาน้ำใต้ดิน ยึดโครงสร้างของสันดอนทรายชายฝั่ง ลดความรุนแรงของลม และไอเกลือที่พัดเข้าสู่ฝั่ง และฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพบริเวณชายหาด ภายใต้จัดกิจกรรม “ปลูกต้นไม้ของสังคมพืชสันดอนทรายชายฝั่ง พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน” ประจำปี 2568 แสดงถึงความมุ่งมั่นในการอนุรักษ์ ฟื้นฟูโดยไม่ใช้โครงสร้าง เป็นกิจกรรมที่ดอยคำร่วมกับมูลนิธิฯ ครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนกล้าต้นพลองเหมือดและพลองกินลูก 100 ต้น จากกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

นายพิพัฒพงศ์ อิศรเสนา ณ อยุธยา กล่าวว่า การฟื้นฟูระบบนิเวศชายฝั่งเป็นเรื่องของความมั่นคงทางธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศ โดยเฉพาะแนวชายฝั่งทะเลของไทยที่เผชิญปัญหาการสร้างโครงสร้างเพื่อป้องกันการเซาะ ตลอดจนสิ่งก่อสร้างต่างๆ ที่รุกล้ำเข้าไปในเขตถอยร่นตามชายฝั่ง จนเกิดความเสียหายกับระบบนิเวศอย่างต่อเนื่องในวงกว้าง การปลูกพันธุ์ไม้พืชเมืองของสังคมพืชบนสันดอนทรายชายฝั่งจึงเป็นทางออกสำคัญที่ทั้งเรียบง่าย ประหยัด และยั่งยืน

“ กิจกรรมปลูกต้นไม้ของสังคมพืชชายหาดครั้งนี้จัดขึ้นเป็นปีที่ 3 ติดต่อกัน ไม่ใช่เพียงการปลูกต้นไม้ลงบนพื้นทราย แต่ยังเป็นการปลูกจิตสำนึกด้านธรรมชาติและนิเวศวิทยาในหัวใจของฅนดอยคำ รวมทั้งคู่ค้า และสื่อมวลชนที่มีบทบาทเป็นกระบอกเสียง ส่งต่อแนวคิด และความเข้าใจอย่างแท้จริงของการอนุรักษ์ระบบนิเวศตามธรรมชาติไปยังสังคมวงกว้าง นายพิพัฒพงศ์ เน้นย้ำ

กรรมการผู้จัดการใหญ่ดอยคำ กล่าวต่อว่า ดอยคำตระหนักดีว่าธุรกิจจะเติบโตอย่างยั่งยืนได้ต่อเมื่อดำเนินไปเคียงคู่กับธรรมชาติและชุมชน กิจกรรมครั้งนี้สอดคล้องกับแนวทางธุรกิจเพื่อสังคมที่ดอยคำยึดถือมาตลอด และตอบโจทย์เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน( SDGs) ขององค์การสหประชาชาติ ได้แก่ SDG 12 การผลิตและบริโภคที่ยั่งยืน SDG 14 การอนุรักษ์ทะเลและทรัพยากรทางทะเลอย่างยั่งยืน และ SDG 15 การปกป้อง ฟื้นฟู และใช้ประโยชน์จากระบบนิเวศบนบกอย่างยั่งยืน

ด้าน นางสาวเกล้ามาศ ยิบอินซอย ผู้อำนวยการสำนักงานมูลนิธิพระราชนิเวศน์มฤคทายวัน กล่าวว่า พื้นที่ชายหาดของพระราชนิเวศน์ฯ เคยเป็นระบบนิเวศหาดทรายที่สมบูรณ์ มีหาดทรายขาวสะอาดไปจนจรดชะอำ และหัวหิน มีระบบน้ำจืดใต้สันดอนทรายที่สามารถหล่อเลี้ยงทั้งระบบนิเวศ และชุมชนในอดีตที่นี่ ไม่มีแม่น้ำขนาดใหญ่ที่พาตะกอนเลนมาทับถม ซึ่งในบันทึกเก่าของพระราชนิเวศน์มฤคทายวัน พูดถึงหาดทรายขาว สะอาด ละเอียด สุดลูกหูลูกตา แต่ปี 2540 เกิดพายุไต้ฝุ่นลินดาภัยธรรมชาติครั้งนั้น ทำให้พื้นที่ชายหาดของพระราชนิเวศน์ฯ หายไป จากนั้นมีโครงการป้องกันการกัดเซาะตลอดแนวชายฝั่ง 3 กิโลเมตร ทั้งโครงสร้างรอดักทราย กำแพงกันคลื่น สันหินชะลอคลื่น จัดเต็มมาอยู่ที่ชายหาดแห่งนี้ทั้งหมด

“ มาตรการสิ่งก่อสร้าง ซึ่งใช้งบประมาณก่อสร้างจำนวนมาก ส่งผลกระทบระบบเนิเวศชายหาดมากกว่ารักษาธรรมชาติ เป็นต้นเหตุเกิดปัญหากัดเซาะในพื้นที่อย่างแท้จริง นำมาสู่การปรับเปลี่ยนหาแนวทางแก้ปัญหา โดยรื้อถอนรอดักทราย หินที่รื้อก็นำกลับมาปรับภูมิทัศน์พื้นที่ฟื้นฟูนิเวศที่ลุ่มน้ำจืดหลังสันดอนทราย ขณะนี้รื้อรอดักทรายของกรมเจ้าท่าแล้ว 3 ตัว จากทั้งหมด 8 ตัว แล้วยังมีกำแพงกันคลื่นที่จะต้องรื้อถอน นับได้ว่าเป็นที่แรกที่เริ่มโครงการรื้อถอนโครงสร้างป้องกันชายฝั่ง ในสายอนุรักษ์พระราชนิเวศน์ฯ ถือเป็นต้นแบบการฟื้นฟูระบบนิเวศโดยใช้ธรรมชาติ ก่อให้เกิดความมั่นคงและความหลากหลายทางชีวภาพกลับคืนมาได้ ทั้งยังพิสูจน์สังคมพืชบนสันทรายเกื้อกูลกัน “ นางสาวเกล้ามาศ กล่าว

ผอ.สำนักงานมูลนิธิฯ กล่าวด้วยว่า ตลอดหลายปีที่ผ่านมา นิเวศชายหาดได้รับผลกระทบจากกิจกรรมของมนุษย์หลากหลายแบบ เดิมสันดอนทรายชายฝั่งมีน้ำจืดที่แผ่อยู่ใต้ท้องทราย เป็นธรณีสัณฐานที่ไม่ได้พบเฉพาะพระราชนิเวศน์ แต่มีตลอดแนวชายฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน แต่เมื่อสภาพชายหาดเปลี่ยนแปลง สังคมพืชชายฝั่งถูกทำลาย ส่งผลให้น้ำจืดที่เคยอุดมสมบูรณ์หายไป เมื่อมีการปลูกพืชของสังคมพืชสันดอนทรายชายฝั่งดั้งเดิม เช่น พลองเหมือด เกด ข่อย มะนาวผี แจง กุ่มบก หูกวาง รักทะเล ไปจนกระทั่งพืชขนาดเล็กที่อยู่ติดกับแนวน้ำขึ้นน้ำลง เช่น หญ้าลูกลม คนทีสอทะเล ผักบุ้งทะเล ถั่วผี ถั่วคล้า เป็นการฟื้นคืนระบบนิเวศเดิมที่สอดคล้องกับความเป็นธรรมชาติ เคารพธรรมชาติ น้ำใต้ดินกลับมา จะช่วยฟื้นระบบนิเวศคลองบางตราน้อย คลองบางตราใหญ่ และบ่อน้ำจืดในพื้นที่อีกด้วย

นางสาวเกล้ามาศกล่าวว่าเราอยากให้สังคมได้เห็นการอนุรักษ์ระบบนิเวศและอนุรักษ์วัฒนธรรมอย่างเคารพเป็นพื้นฐานการพัฒนาอย่างยั่งยืน เพราะการดูแลรักษาทรัพยากรสามารถนำไปต่อยอดได้ เกิดการเรียนรู้อย่างสนุกสนานเมื่อมาพระราชนิเวศน์มฤคทายวัน มาชมป่าชายหาด ฟังเสียงคลื่น ทำให้คนได้อยู่กับตัวเองในสภาพแวดล้อมที่เป็นธรรมชาติดั้งเดิม มีสวนพฤกษศาสตร์ หอพรรณไม้ของพืชชายหาดของประเทศไทยอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน

แนวทางฟื้นฟูสมดุลชายหาดพระราชนิเวศน์ฯ รศ.ดร.กิติเชษฐ์ ศรีดิษฐ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวว่า เมื่อนำโครงสร้างแข็งออกจากชายฝั่ง ทำให้สันดอนทรายกลับมา เราฟื้นฟูสภาพแวดล้อมทางกายภาพกลับมา เดิมมีแต่สนทะเล ทั้งต้นเดิมและปลูกใหม่ เพราะสนทะเลเป็นพืชโตเร็ว ดูดน้ำเร็ว แย่งที่พืชธรรมชาติ ก็ต้องนำพืชนอกถิ่นออกไป เพื่อเปิดทางให้พืชธรรมชาติอื่นๆ เจริญงอกงาม อย่างต้นเกดหรือที่เรียก “ราชายตนะ” เป็นไม้พื้นถิ่น หรือต้นข่อยนำมาปลูกก็เจริญงอกงาม เพราะระบบน้ำจืดใต้ดินกลับมา จนสามารถให้บริการทางระบบนิเวศ ขณะเดียวกันต้นไม้สามารถกระจายพันธุ์ได้ตามธรรมชาติ ด้วยดิน น้ำ ลม พายุ ทุกวันนี้สังคมพืชชายฝั่งกลับมามีชีวิตอีกครั้ง คาดหวังให้ชายหาดพระราชนิเวศน์เป็นตัวอย่างของการฟื้นฟูชายหาดและแก้ปัญหากัดเซษะชายฝั่งด้วยธรรมชาติ ทำให้เกิดความหลากหลายทางชีวภาพของพืชและสัตว์นานาชนิด

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก ไทยโพสต์

หมอตุลย์ เตรียมบุก สตช. ยื่นหนังสือถึง ผบ.ตร. ค้านเลื่อนขั้นแต่งตั้ง 2 หมอ ปมชั้น 14

2 ชั่วโมงที่ผ่านมา

พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า ‘เหนือ-อีสาน’ ฝนตกหนัก ‘กทม.’ ร้อยละ 70 ของพื้นที่

2 ชั่วโมงที่ผ่านมา

อดีตบิ๊กข่าวกรอง สวน ‘เคลมโบเดีย’ ปราสาทตาเมือนธมของไทย ถ้าไม่ใช่ฝรั่งเสศต้องท้วงตั้งแต่ปี 2478

3 ชั่วโมงที่ผ่านมา

‘จตุพร-ฉันทวิชญ์’ ลุยหนองคาย ดันค้าชายแดนแตะ 2 ล้านล้านในปี 70

3 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความทั่วไปอื่น ๆ

ไฟไหม้รถยนต์ ใกล้แยกมหานคร จนท.พร้อมรถดับเพลิงฉีดน้ำควบคุมก่อนจะลุกลาม

สวพ.FM91
วิดีโอ

ทรงห่วงใย ทหารชายแดน สุดปิติ! “สมเด็จพระเทพฯ” พระราชทานพระให้มทภ.ภ2 ฝากกำลังใจ

ThaiNews - ไทยนิวส์ออนไลน์

"ทวี" เปิดงานเกษตรแฟร์ แม่ลาน จ.ปัตตานี พัฒนาเศรษฐกิจ

Manager Online

ของขึ้น"กัน จอมพลัง"โต้เสียงวิจารณ์ ทำให้ทหารสุขสบายจนเคยตัว

TNews

ระทึก!โครงอาคารในซอยนิมิตรใหม่ 6 ทรุดตัว คนงานบาดเจ็บ 13 ราย

NATIONTV

วันอาทิตย์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ.2568

สำนักข่าวไทย Online

อีกแล้ว! “อิ๊งค์” เสียเหลี่ยม วธ.กัมพูชาจี้ส่งคืนวัตถุโบราณ 20 ชิ้นภายใน ส.ค.68 ตามที่ตกลง ชี้ข้ออ้างขาดงบฟังไม่ขึ้น

Manager Online

กรมความมั่นคงจีน ระดมกำลัง ลงพื้นที่เมียวดี ถกแก๊งคอลเซ็นเตอร์ หลังเงียบนานหลายเดือน

MATICHON ONLINE

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...